Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sick cell disease), นางสาวภูริชญา นักสอน เลขที่47…
โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sick cell disease)
พยาธิสภาพ
เกิดความผิดปกติของยีนใน ฮีโมโกลบินทำให้เกิดภาวะซีดเรื้อรัง ปวด อวัยวะถูกทำลาย เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียชีวิตง่ายจากเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ในฮีโมโกลบินของคนทั่วไปจะมีฮีโมโกลบินปกติ (HbA) ประมาณ 98-99% สำหรับผู้ป่วย Sickcell disease จะมีฮีโมโกลบินเอส (HbS) ซึ่งมีความไวต่อปริมาณออกซิเจนที่ต่ำของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงหดและโค้งลง เม็ดเลือดแดงจึงมีรูปร่างเปลี่ยนไปมีลักษณะเป็นโค้งคล้ายเคียว แตกง่ายขึ้นและเกาะกันเป็นกลุ่มได้ง่ายจึงขัดขวางการไหลเวียนเลือดไปสู่เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อขาดเลือด
ภาวะที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด ได้แก่ ภาวะพร่องออกซิเจน ขาดน้ำ ติดเชื้อ เลือดหนืด ตั้งครรภ์ ดื่มสุรา อยู่ในที่สูง ภาวะร่างกายเป็นกรด ออกกำลังกายหักโหม ความเครียด และการได้รับยาสลบ และเมื่อปัจจัยที่เป็นสาเหตุเหล่านี้หายไป เม็ดเลือดแดงส่วนใหญ่จะกลับมามีรูปร่างปกติ และภาวะพร่องออกซิเจนจะหมดไป เม็ดเลือดที่มีHbS > 40% จะมีอายุประมาณ 10-20 วันการเกิดการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงรูปเคียวบ่อย ๆ เป็นเวลานานทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะถูกทำลาย จากการขาดออกซิเจนทำให้เซลล์ตายได้ อวัยวะที่ได้รับผลกระทบบ่อย ๆ ได้แก่ ม้าม ตับ หัวใจ ไต สมอง ข้อ กระดูก และจอตา
การประเมิน
การประเมินโดยการสังเกต ในผู้ที่มีภาวะแฝงจะไม่มีอาการ และไม่พบความผิดปกติจากการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการใด นอกจากพบ HbS เท่านั้น
อาการปวดเนื่องจากเกิดภาวะอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน Hematocrit ต่ำเนื่องจากมีการแตกของเม็ดเลือดแดง ร่วมกับพบเหล็กและบิลลิรูบินสูงขึ้นด้วย ในผู้ป่วยเรื้อรังอาจพบจำนวนเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นเนื่องจากการชดเชยส่วนที่ถูกทำลาย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ปวดเนื่องจากเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนและมีการทำลายของข้อ
การพยาบาล
ควบคุมอาการปวดให้อยู่ในระดับ ≤ 3 ด้วยยากลุ่ม opioid ในระยะ crisis
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อลดความเข้มข้นของหลอดเลือด ควรได้รับ Hypotonic solution ทาง
หลอดเลือดดำ
ดูแลให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น อาบน้ำอุ่น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนลดลง
การพยาบาล
ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ใช้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อตามมาตรฐาน ล้างมือบ่อย ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ห้ามผู้ที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจเข้าทำการพยาบาลหรือเข้าเยี่ยม เว้นแต่ต้องใช้ facial mask
ในกรณีต้องดูแลสายที่ที่การสอดใส่เข้าสู่ร่างกายต้องยึดหลัก aseptic technique เสมอ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปควรได้ทั้งทางการดื่มและทางหลอดเลือด 200 cc/hr
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
1 more item...
นางสาวภูริชญา นักสอน เลขที่47 รหัส62129301540