Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ…
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2564
หมวดที่ ๑ บททั่วไป (ข้อ๔)
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้ “การรักษาโรคเบื้องต้น” หมายความว่ากระบวนการประเมิน ภาวะสุขภาพทั้งการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัย แยกโรค การรักษาโรคและการบาดเจ็บ การป้องกันโรค รวมถึงการปฐมพยาบาล เพื่อการแกปัญหา ความเจ็บป่วย บรรเทาความรุนแรง หรืออาการของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะการเจ็บป่วยหรือภาวะวิกฤต
“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายความว่าการได้รับบาดเจ็บหรือการ เจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภัยอันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที
“การเจ็บป่วยวิกฤต” หมายความว่า การเจ็บป่วยที่ มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
“การปฐมพยาบาล” หมายความว่า การให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้บาดเจ็บ หรือผู้เจ็บป่วย โดยดูแลเพื่อบรรเทาอาการ หรือ ป้องกันมิได้ภาวะนั้นเลวลง หรือเพื่อส่งเสริมการฟื้นหายการได้รับการช่วยเหลือจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
“การให้ภูมิคุ้มกัน” หมายความว่า กระบวนการที่ทำให้ร่างกาย สร้าง หรือเกิดภูมิคุ้มกัน หรือมีภูมิต้านทานต่อโรคที่ต้องการ โดยการให้วัคซีน
หมวดที่ ๒ การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ส่วนที่ ๑ การพยาบาล(ข้อ ๕-๘)
ข้อที่ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจะให้บริการได้เฉพาะผู้ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษา หรือเมื่อเป็นการรักษาโรคเบื้องต้น หรือการปฐมพยาบาล
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ชั้นสอง ให้กระทำการพยาบาลที่ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนตามแผนการพยาบาล ในกรณีที่เป็นปัญหา ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือวิกฤต จะทำการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลได้จะต้องกระทำร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะการ ให้ยาทางปากและยาภายนอก ตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาหรือเมื่อเป็นการปฐมพยาบาล และห้ามให้ยาในชนิด และช่องทางตามที่สภาการพยาบาลประกาศตาม ข้อ ๖.๑ และ ๖.๒
ส่วนที่ ๒ การทำหัตถการ(ข้อ ๙)
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งกระทำการพยาบาลโดยการทำหัตถการตามขอบเขตที่กำหนด
หมวดที่ ๓ การรักษาโรคเบื้องต้น (ข้อ ๑๐-๑๕)
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งให้กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งต้องกระทำการรักษาโรคเบื้องต้นตามข้อกำหนดของ สภาการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งถ้าจำเป็นต้องใช้ยาให้ใช้ยาได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาล ประกาศกำหนด
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ในการให้ภูมิกันโรคต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนด
ข้อ ๑๕ ต้องมีบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย หรือ ผู้รับบริการ อาการ และ การเจ็บป่วย โรค การพยาบาล การให้ การรักษา หรือการให้บริการ วันเวลาในการให้บริการ ชื่อผู้ประกอบวิชาชีพตามความเป็นจริง ตามแบบของสภาการ พยาบาล เก็บบันทึกและรายงาน ไว้เป็นหลักฐานเป็นเวลา ๕ ปี
หมวดที่ ๔ การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ส่วนที่ ๑ การพยาบาลก่อนการตั้งครรภ์ระยะตั้งครรภ์
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งให้การผดุงครรภ์แก่หญิงและ ครอบครัวเมื่อต้องการมีบุตรก่อนการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ด้วยกระบวนการ
ข้อ ๑๗ แนะนำและส่งต่อหญิงมีครรภ์ให้ได้รับการตรวจและการรักษากับผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรม ตามเกณฑ์การฝากครรภ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๑๘ ส่งต่อหญิงมีครรภ์กลุ่มเสี่ยง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขหรือการตรวจพบภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) หรือท่าของทารกในครรภ์ผิดปกติหรือมีภาวะความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และการคลอดอน ๆ ให้ได้รับการรักษาพยาบาลจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือส่งต่อไปสถานพยาบาลที่มีความพร้อมเพื่อความปลอดภัยของหญิงมีครรภ์และทารก
ส่วนที่ ๒ การพยาบาลระยะคลอด
ข้อ ๑๙ ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะกระทำการผดุงครรภ์ได้แต่เฉพาะรายที่ตั้งครรภ์ปกติ และคลอดอย่างปกติ ตลอดจนการดูแลมารดาและทารกแรก เกิด
ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งให้การผดุง ครรภ์หญิงมีครรภ์ ระยะก่อนคลอด
ข้อ ๒๑ การพยาบาล ระยะคลอด (Intrapartum)
ข้อ ๒๒ การช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทำคลอด ในรายที่มีการคลอดผิดปกติเช่น การคลอดติดไหล่หน้าหรือการใช้เครื่องมือช่วยคลอดด้วยเครื่องสุญญากาศ ด้วยคม หรือการช่วยทำผ่าตัดคลอด การช่วยทำหัตถการทางสูติกรรมที่มีความปลอดภัยต่อหญิงมีครรภ์
ข้อ ๒๓ ห้ามผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการที่ เกี่ยวกับการคลอด
ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งจะกระทำการช่วยคลอดฉุกเฉินในรายที่มีการคลอดผิดปกติที่ไม่สามารถตรวจ พบก่อนการทำคลอด และไม่สามารถหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมท าการคลอดได้ภายในเวลา อันสมควร และเห็นประจักษ์ว่าถ้าละเลยไว้จะเป็นอันตรายต่อมารดาหรือทารกก็ให้ทำคลอดใน รายเช่นนั้นได้แต่ห้ามให้ใช้คีมสูงในการทำคลอด หรือ ใช้เครื่องดูดสุญญากาศในการทำคลอด หรือทำการผ่าตัดในการทำคลอด หรือให้ยารัดมดลูกก่อนคลอด
ข้อ ๒๕ ในรายที่มีการตกเลือดหลังคลอดถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายต่อมารดาให้รักษาอาการตกเลือดเบื้องต้นตามความจำเป็นและส่งต่อทันที
ส่วนที่ ๓ การพยาบาลมารดาและทารก ระยะหลังคลอด (Postpatum)
ข้อ ๒๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ให้การพยาบาลกับมารดาหลังคลอดอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะภาวะตกเลือดหลังคลอด และหรืออาการอื่นที่อาจจะเกิดขึ้น
ข้อ ๒๗ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะต้องใช้ยาทำลายและป้องกันการติดเชื้อสำหรับหยอดตา หรือป้ายตาทารกแรกเกิดทันที
ข้อ ๒๘ การพยาบาลทารกแรกเกิด โดยการประเมินสัญญาณชีพ ความผิดปกติ หรือความพิการที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และให้มารดาได้สัมผัสโอบกอดทารกและเริ่มให้ดูดนมจากมารดา ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด
ข้อ ๒๙ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของหญิงตั้งครรภ์ การพยาบาลระยะตั้งครรภ์ การคลอด การพยาบาลหลังคลอด และการให้การบริการตามความเป็นจริง ตามแบบของสภาการ พยาบาล และต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน เป็นระยะเวลา ๕ ปี
ข้อ ๓๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุง ครรภ์ ชั้นสอง ให้กระทำการพยาบาลระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และการพยาบาลหลังคลอด ใน รายตั้งครรภ์และการคลอดปกติในสถานพยาบาลและการเยี่ยมบ้านที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนตามแผนการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด เมื่อเป็นการทำร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการผดุง ครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ห้ามไม่ให้กระทำในกรณีที่เป็นปัญหายุ่งยาก ซับซ้อน หรือ ตรวจพบความผิดปกติ
ส่วนที่ ๔ การวางแผนครอบครัวและการคัดกรองมารดาทารก
ข้อ ๓๑ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง สามารถกระทำการพยาบาล และการวางแผนครอบครัว
ข้อ ๓๒ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง สามารถทำการคัดกรองมารดาทารก
ข้อ ๓๓ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง การให้บริการวางแผนครอบครัวแบบใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์
ส่วนที ๕ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่มารดา ทารก และเด็ก
ข้อ ๓๔ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งจะให้ภูมิคุ้มกันโรคต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุข ประกาศกำหนด
ข้อ ๓๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ให้คำแนะนำเรื่องการเข้ารับภูมิคุ้มกันโรคและติดตามให้มารับภูมิคุ้มกันโรค
นางสาวภัทรภา สุวรรณศร ชั้นปี2A เลขที่53 รหัสนักศึกษา 63123301112