Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่8 แนวคิดการบำบัดรักษาทางจิตเวช : การบำบัดทางจิตและการรักษาด้วยไฟฟ้…
หน่วยที่8 แนวคิดการบำบัดรักษาทางจิตเวช : การบำบัดทางจิตและการรักษาด้วยไฟฟ้า
นางสาววริศรา ทะบูรกรณ์ รหัสนักศึกษา1162122011080 นักศึกษาชั้นปีที่3
การบำบัดทางจิต
แนวคิดเกี่ยวกับการบำบัดทางจิต ; ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)ผู้สร้างรูปแบบการบำบัดทางจิตที่เรียกว่า จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis/Classical Psychoanalysis) เป็นรูปแบบการบำบัดมีแนวคิดว่า การปลดปล่อยสิ่งที่บุคคลเก็บกดไว้ในจิตใจส่วนจิตใต้สำนึก
องค์ประกอบของการบำบัดทางจิต
กระบวนการรักษา
การประเมินผลเบื้องต้น : เป็นการตรวจสอบว่ามีปัญหาอะไร มีความผิดปกติอะไร อย่างไรโดยการตรวจสอบทางจิตวิทยา ตรวจวินิจฉัยแยกทั้งทางกายและจิต
การให้คำมั่น : ผู้รักษาและผู้ป่วยตกลงเห็นชอบว่าจะรับรักษา ต่างฝ่ายมีหน้าที่ฟังปฏิบัติและต้องปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด
ระยะของการรักษา
ระยะแรกของการทำจิตบำบัด :การรักษาทั้งแบบให้รู้ความจริง(Insight Psychotherapy) และการรักษาแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
จิตบำบัดระยะที่2
Transferenceมักเข้าใจว่าเป็นความรู้สึกรักใคร่ห่วงใยหรือเป็นความรู้สึกที่ดีนั้นเป็นจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะความรู้สึก Transference อาจเป็นความจริง โกรธ กลัวก็ได้
CounterTransferenceคือ ความรู้สึกของผู้รักษาต่อผู้ป่วยรู้สึกว่าผู้ป่วยนั้นมีความสำคัญต่อตนเป็นพิเศษยิ่งกว่าผู้ป่วยธรรมดาเกินความจริง ความรู้สึกนั้นอาจเป็นทางดี
จิตบำบัดระยะที่3หรือระยะสุดท้าย : มีผลกระทบต่อจิตใจทั้ง 2 ฝ่าย จึงต้องให้ผู้ป่วยเตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้าก่อนหยุดรักษาให้มีเวลาปรับตัว อาจเป็นเวลา 3 เดือน หรือ6 เดือน การรักษาแบบให้รู้ความจริงที่ได้สำเร็จ
ผู้ป่วย :บุคลิกนิสัยของผู้ป่วย แรงจูงใจต่อการรักษา ลักษณะการพูด
ผู้รักษา :ความสามารถในการสร้างสัมพันธ์ การผูกมิตร คนที่มีความสามารถในการผูกมิตร
ปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดทางจิต
ความเครียด: การรับผู้ป่วยไว้ทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น อุ่นใจ รู้สึกว่ามีที่พึ่ง มีผู้ช่วยไม่ตกอยู่ในสถานที่ว้าเหว่ ไร้ที่พึ่ง เกิดความรู้สึกอบอุ่นมั่นใจมากขึ้น
การระบายความในใจ : ผู้ป่วยหลายคนอาจจะมีความว้าเหว่ ไม่มีเพื่อน เมื่อพบกับผู้รักษาแล้วมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
การทำตัวเหมือน : ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาใกล้ชิดผู้ป่วยทำตัวเหมือนผู้รักษา โดยไม่รู้ตัว อาจเป็นเรื่องแนวคิด การมองโลกวิธีการแก้ปัญหา
การรู้จักตนเอง : การรู้ว่ามีแผลในจิตใจ ความขัดแย้งที่เคยแอบแฝงอยู่ในจิตไร้สำนึกนั้นได้ปรากฏออกมาในจิตสำนึก
การเรียนรู้ใหม่ :จิตบำบัดนั้นเป็นการตรวจสอบแนวทางการดำเนินชีวิตและเทคนิคในการดำเนินชีวิตการต่อสู้ การแก้ปัญหา
รูปแบบการบำบัดทางจิต
แบ่งตามจำนวนหรือลักษณะผู้รับการบำบัด : จิตบำบัดรายบุคคล (Individual Psychotherapy)จิตบ าบัดคู่ (Couple Psychotherapy) จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy) จิตบำบัดครอบครัว (Family Psychotherapy)
แบ่งตามระยะเวลาที่ทำ : จิตบำบัดระยะสั้น (Short-term Psychotherapy)จิตบำบัดระยะสั้น (Long-term Psychotherapy)จิตบำบัดจำกัด (Time-limited Psychotherapy)
แบ่งตามแนวคิด หรือ ทฤษฎีหลักที่ใช้เป็นแนวทางในการรักษา : จิตบำบัดเชิงจิตวิเคราะห์ จิตบำบัดไดนามิก จิตบำบัดการนึกคิด พฤติกรรมบำบัด จิตบำบัดการนึกคิดและพฤติกรรม
จิตบำบัดรายบุคคล : มุ่งเน้นการช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นรายบุคคล ใช้หลักการบำบัดความขัดแย้งที่อยู่ในจิตไร้สำนึกของผู้ป่วย
จิตบำบัดแบบการเรียนรู้ใหม่ :เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ใหม่ โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่ผิด
จิตบำบัดชนิดปรับโครงสร้างใหม่ : เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ รูปแบบที่ใช้มักเป็นรูปแบบจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ หรือจิตบำบัดแบบเน้นกระบวนการด้านจิตใจ
จิตบำบัดแบบประคับประคอง: เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสบายขึ้นโดยลดแรงกดดันต่อผู้ป่วย แต่คงสภาพโครงสร้างของบุคลิกภาพเดิม ไม่ขุดคุ้ยลงไปหาความขัดแย้ง ในจิตไร้สำนึก
จิตบำบัดรายกลุ่ม: เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์มนุษย์สัมพันธ์ใหม่เกิดประสบการณ์ที่ดีกับคนอื่น ๆเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านจิตใจอารมณ์
การบำบัดการนึกคิด : เพื่อช่วยให้มีรูปแบบความคิดในการมองเรื่องราวต่าง ๆ ตลอดจนมีการตัดสินใจที่ถูกต้อง
พฤติกรรมบำบัด : อาการทางจิตเป็นผลของการเรียนรู้ทางพฤติกรรม (Learned Behavior) และสามารถแก้ไขได้โดยการเรียนรู้ใหม่
บทบาทของพยาบาลในการทำจิตบำบัด
บทบาทพยาบาลในการทำจิตบำบัดรายบุคคล
การเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
ขณะทำจิตบำบัด ถ้าผู้บำบัดและผู้ป่วยพร้อมที่จะให้พยาบาลเข้าไปอยู่ด้วย ให้สังเกตพฤติกรรม อาการของผู้ป่วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประเมินและบันทึกพฤติกรรม อาการของผู้ป่วยทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำจิตบำบัดทุกครั้ง
ประเมินผู้ป่วยได้ทุกขั้นตอน
บทบาทพยาบาลในการทำจิตบำบัดกลุ่ม
พิจารณาและตัดสินใจวางโครงสร้างของกลุ่ม และก าหนดรูปแบบในการดำเนินกลุ่ม
พิจารณากลุ่มว่ามีเป้าหมาย
สร้างบรรยากาศในกลุ่ม ให้มีความเป็นมิตร
การรักษาด้วยไฟฟ้า
ประเภทของการรักษาด้วยไฟฟ้า
Classical or Unmodified ECT : เป็นการรักษาโดยไม่ใช้ยาระงับความรู้สึกก่อนปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปที่สมองผู้ป่วยวิธีนี้จึงท าโดยที่ผู้ป่วยรู้สึกตัว
ข้อดี :ผู้ป่วยรู้สึกตัวเร็วหลังทำลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ข้อเสีย : ผู้ป่วยอาจเกิดความวิตกกังวลหรือกลัว
Modified ECT : การใช้ยาระงับความรู้สึกที่ออกฤทธิ์สั้นก่อนปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปที่สมองผู้ป่วยโดยใช้ยาดมสลบแบบGeneralized Anesthesia
ข้อดี : ลดความวิตกกังวลหรือกลัวของผู้ป่วย
ข้อเสีย : ผู้ป่วยอาจหยุดหายใจขณะทำ
ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยไฟฟ้า
ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (High Suicidal Disorder)จากอาการประสาทหลอน (Hallucination)หลงผิด (Delusion)โรคซึมเศร้า (Major Depression Disorder)
ผู้ป่วยด้วยโรคผิดปกติทางอารมณ์(Affective Disorders)ชนิด Depressive Episode ส่วน Manic Episode จะใช้วิธีการรักษาด้วยไฟฟ้าในกรณีที่มีอาการรุนแรงมากหรือแพ้ยา
ผู้ป่วยจิตเภทชนิดคลั่งหรือซึมเฉย (Schizophrenia ชนิด Catatonic Typeทั้ง Stupor and Excitement)ที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาหรือมีอาการมาก
ผู้ป่วยโรค Schizoaffective Disorder ที่มีอารมณ์แปรปรวนทั้งชนิดซึมเศร้าและคลุ้มคลั่ง
ผู้ป่วยโรคObsessive Compulsive Disorder จะให้การรักษาด้วยไฟฟ้าเฉพาะกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก
ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีอาการแพ้ยา
ข้อห้ามและควรระวังในการรักษาด้วยไฟฟ้า
เนื้องอกในสมอง เนื่องจากการท า ECT อาจท าให้ Intracranial Pressure เพิ่มขึ้น
โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด อาจเสี่ยงต่อการเกิด Cardiac Arrhythmia จากการใช้ยาระงับความรู้สึก หรือจากการชัก
โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด อาจเสี่ยงต่อการเกิด Cardiac Arrhythmia จากการใช้ยาระงับความรู้สึก หรือจากการชัก
การติดเชื้อในกระแสโลหิตเฉียบพลัน
ภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนรุนแรง อาจท าให้กระดูกแตกหักได้
ผู้ป่วยสูงอายุ
ผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยไฟฟ้า
ขณะทำECT
ในช่วงที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย พบว่ามีความดันโลหิตสูงหรือต่ำไม่เสมอกัน มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ (Arrhythmia)อาจเต้นช้าหรือเร็วมากกว่าปกติ แต่ไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้อาจมีอาการชักนาน ขากรรไกรแข็ง สำลักหรือหยุดหายใจนาน
หลังทำ ECT
ระยะสั้น : จะพบอาการสับสน มึนงงปวดศีรษะ (ประมาณ 1-2 ชม.) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและคลื่นไส้
ระยะยาว : อาจมีความจำบกพร่อง หรือผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าตนเองหลงลืม (Amnesia) พบได้ทั้ง Anterograde and Retrograde Amnesia คิดช้าลง อาการเหล่านี้จะเริ่มดีขึ้น หลังจากผู้ป่วยหยุดทำ ECT ประมาณ 3-6 สัปดาห์
อาการข้างเคียงอื่นๆ
กระดูกและข้อเคลื่อน เนื่องมาจากการเกร็งและกระตุกที่รุนแรง จึงจำเป็นต้องมีการ Support บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ขณะผู้ป่วยเกิดอาการ
สมองถูกทำลาย พบได้น้อย แก้ไขโดยการใช้ไฟฟ้าในขนาดที่พอเหมาะ การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ และการให้ยาคลายกล้ามเนื้อ
การชักที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Seizure)ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดมาก กลัว ตื่นตระหนก และอาจไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา
กระบวนการทางการพยาบาลในการรักษาด้วยไฟฟ้า
การรวบรวมข้อมูล : ประวัติต่างๆของผู้ป่วย เซ็นใบยินยอมการยอมรับรักษาด้วยไฟฟ้า
การวินิจฉัยทางการพยาบาล : เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยไฟฟ้า
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
ด้านร่างกาย
ตรวจดู Chart ผู้ป่วยเกี่ยวกับรายละเอียดการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และใบเซ็นยินยอมการรักษา
ให้ผู้ป่วยงดน้ำงดอาหารมื้อเช้าในวันที่ทำ ECTหรืออย่างน้อย 4-6 ชม.ก่อนทำ
ด้านจิตใจ
าการงุนงง ปวดศีรษะ และจำไม่ได้ จะเป็นอยู่ชั่วคราว แล้วความจำจะค่อย ๆ กลับมาเองจนเป็นปกติ
การพยาบาลผู้ป่วยขณะทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
c
ระยะเกร็ง (Tonic Stage)ใช้เวลาประมาณ 10-15 วินาที สังเกตจากการเกร็งของฝ่าเท้าและกล้ามเนื้อมัดใหญ่
ระยะกระตุก (Clonic Stage)ใช้เวลาประมาณ 30-60 วินาที สังเกตจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะ หรือการกระตุกของนิ้วหัวแม่เท้า
ระยะหยุดหายใจ (Apnea Stage)ใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาที
ระยะหลับ (Sleep Stage) ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
ระยะงุนงงสับสน (Confused Stage)ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
การพยาบาลผู้ป่วยหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล