Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ - Coggle…
หน่วยที่ 3 การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์
นางสาววริศรา ทะบูรกรณ์ รหัสนักศึกษา1162122011080 นักศึกษาชั้นปีที่3
กลุ่มโรคซึมเศร้า (Depressive disorder)
Major depressive disorder (MDD)
มีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย5อาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2สัปดาห์ และต้องมีอาการอย่างน้อยหนึ่งข้อของ 1) อารมณ์เศร้า 2) เบื่อหน่ายไม่มีความสุข
อาการดังกล่าวทําให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมานหรือทําให้เสียหน้าที่การงาน การใช้ชีวิตในสังคม
อาการไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากสารเช่นสารเสพติด ยาหรือโรคทางกาย
Persistent depressive disorder /Dysthymia
มีอารมณ์เศร้าเกือบท้ังวันทั้งที่ผู้ป่วยรู้สึกเองและที่ผู้อื่นสังเกตเห็นและมีวันที่เป็นมากกว่าวันที่ไม่เป็นติดต่อกันอย่างน้อย2ปี
ขณะที่ซึมเศร้ามีอาการต่อไปนี้2อาการขึ้นไป
เบื่ออาหารหรือกินจุ สมาธิไม่ดีหรือลังเลในการตัดสินใจ
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวไม่มีระยะเวลาที่เป็นปกตินานกว่า2เดือน
อาจมีอาการของโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องนาน2ปี
อาการดังกล่าวทําให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมานหรือทําให้เสียหน้าที่การงาน การใช้ชีวิตในสังคม
อาการไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากสารเช่นสารเสพติด ยาหรือโรคทางกาย
กลุ่มโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
Bipolar I disorder มีอาการเมเนียสลับกับช่วงซึมเศร้าหรืออาจมีอาการเมเนียเพียงอย่างเดียวก็ได้
มีอาการเข้ากับ Manic episodeอย่างน้อย1คร้ัง
อาการไม่ได้เกิดจาก Schizoaffective disorder หรือโรคจิตชนิดอื่น
Bipolar II disorder มีอาการซึมเศร้าสลับกับช่วงไฮโปเมเนียโดยที่ไม่เคยมีอาการของ Manic episode
มีอาการของ Hypomanic Episode อย่างน้อย1ครั้งและมีอาการของ Major Depressive Episodeอย่างน้อย 1 คร้ัง
ไม่เคยมีอาการของ Manic episode
อาการไม่ได้เกิดจาก Schizoaffective disorder หรือโรคจิตชนิดอื่น
อาการของภาวะซึมเศร้าหรือการเปลี่ยนแปลงระหว่างระยะซึมเศร้ากับ Hypomania ท่ีเกิดบ่อยข้ึนหรือคาดเดาไม่ได้
Cyclothymic Disorder เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM V
มีช่วงที่มีอาการของ hypomania อยู่มากแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ของ hypomaniaและมีช่วงท่ีมีอาการซึมเศร้าซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ของMajor depressive episodeนานอย่างน้อย2ปี
ในช่วงระยะดังกล่าวต้องมีช่วง hypomania ร่วมกับช่วงที่มีอาการซึมเศร้า รวมแล้วอย่างน้อยครั้งหน่ึงของระยะเวลาท้ังหมดและไม่มีระยะเวลาที่ไม่เป็นปกติหรือไม่มีอาการนานกว่าคร้ังละ 2เดือน
ไม่มีอาการที่เข้าได้กับ hypomania, mania, major depressive episode
อาการไม่ได้เกิดจากSchizoaffective disorderหรือโรคจิตชนิดอื่น
อาการไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากสารเสพติด ยารักษาโรคหรือโรคทางกาย
อาการเหล่านี้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานหรือทําให้เสียหน้าที่การงาน การใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีนัยสําคัญทางการแพทย์หรือการทําหน้าที่ทางสังคมหรือด้านอื่นๆท่ีสําคัญบกพร่องไป
ระยะMania (Manic episode)มีเกณฑ์การวินิจฉัย
มีอารมณ์คึกคักแสดงความรู้สึกโดยไม่รั้งหรือมีอารมณ์หงุดหงิดผิดปกติ และคงอยู่ตลอดอย่างชัดเจนอย่างน้อย1สัปดาห์หรือนานเท่าใดก็ได้
อาการรุนแรงจนทําให้การทําหน้าที่ด้านการงาน สังคม ความสัมพันธ์เสียไปหรือจําเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีอาการทางจิตร่วมด้วย
อาการไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากสารเสพติด ยา หรือการรักษาอื่นหรือการเจ็บป่วยทางกายเช่นไทรอยด์เป็นพิษ
ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด อย่างน้อย 3อาการหรือ 4อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิดและอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีนัยสําคัญ
มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากหรือมีความคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่
ความคิดพรั่งพรู (Flight of idea) หรือรู้สึกว่าความคิดแล่นเร็วคิดหลายเรื่องพร้อมๆกัน (racing thought) เปลี่ยนเรื่องเร็ว จนพูดตามไม่ทัน
ความต้องการนอนลดลงเช่นได้นอน3ชั่วโมงก็รู้สึกเต็มอิ่มแล้ว
ระยะ hypomania (hypomanic episode)มีเกณฑ์การวินิจฉัย
มีช่วงที่อารมณ์คึกคักแสดงความรู้สึกโดยไม่รั้งหรือมีอารมณ์หงุดหงิดที่ผิดปกติและคงอยู่ตลอดอย่างชัดเจนอย่างน้อย4วัน
ผู้อื่นสังเกตเห็นความผิดปกติด้านอารมณ์และการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
อาการนี้ไม่มีความรุนแรงเพียงพอที่จะทําให้เกิดความบกพร่องทางด้านกิจกรรมทางสังคมหรือหน้าที่การงานไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลและไม่มีอาการโรคจิต
อาการไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากสารเสพติด ยา หรือการรักษาอื่นหรือการเจ็บป่วยทางกายเช่นไทรอยด์เป็นพิษ
ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด อย่างน้อย 3อาการหรือ 4อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิดและอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีนัยสําคัญ
พูดคุยมากกว่าปกติ หรือพูดไม่ยอมหยุด (pressure of speech) มีกิจกรรมมากผิดปกติ วอกแวกง่าย (distractibility)
ระยะซึมเศร้า Major depressive episode)เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM V มีดังน
อาการทําให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมานหรือทําให้เสียหน้าที่การงาน
การใช้ชีวิตในสังคม
อาการไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากสารเสพติด ยารักษาโรคหรือโรคทางกาย
มีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย5อาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย2สัปดาห์และต้องมีข้อ1)อารมณ์เศร้าหรือ2)เบื่อหน่ายไม่อยากทําอะไรอย่างน้อย1ข้อ
น้ําหนักตัวลด(weight loss)หรือเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจควบคุมหรือเพิ่มน้ําหนัก(น้ําหนักตัวเปลี่ยนแปลงมากกว่า5%ของน้ําหนักตัวปกติในเวลา 1เดือน)เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้นเกือบทุกวัน
เชื่องช้าเคลื่อนไหวช้าลง หรือกระวนกระวาย กระสับกระส่ายอยู่ไม่สุขจนคนอื่นสังเกตเห็นได้ มีอาการเกือบทุกวัน
การรักษาและการบําบัด
การรักษาด้วยยา
ระยะ mania ใช้ยาควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizer)
ลิเทียม (Lithium) ใช้ในการควบคุมอารมณ์
Sodium Valproate และ carbamazepine เป็นยากันชัก
ยารักษาโรคจิตใช้ลดอารมณ์พลุ่งพล่านหรืออาการโรคจิต
ยากลุ่ม Benzodiazepineใช้ร่วมกับยาปรับอารมณ์เพื่อลดอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ ก้าวร้าว หงุดหงิด วิตกกังวล
ยากลุ่ม Benzodiazepineใช้ร่วมกับยาปรับอารมณ์เพื่อลดอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ ก้าวร้าว หงุดหงิด วิตกกังวล
การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า (Electro Convulsive Therapy)
การรักษาทางจิตสังคม (Psychological treatment)
จิตบําบัด (Psychotherapy) เป็นการทําจิตบําบัดรายบุคคลหรือจิตบำบัดรายกลุ่ม
การบําบัดความคิด(Cognitive therapy) หลักการของวิธีการรักษานี้เชื่อว่าผู้ป่วยมีความคิดที่ผิดพลาด(cognitive distortion)
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบําบัด (Milieu therapy)โดยจัดบรรยากาศในหอผู้ป่วยให้รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น เป็นมิตร
การบําบัดความคิดและพฤติกรรม Cognitive Behavior Therapy (CBT)มุ่งแก้ไขปรับแนวคิดและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
พฤติกรรมบําบัด (Behavior therapy)ในผู้ป่วยซึมเศร้าจะเป็นการนําพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยมาเป็นเป้าหมายในการรักษา
การประเมินสภาพจิต
ลักษณะทั่วไป : 1.ผู้ป่วยซึมเศร้ามักไม่สนใจดูแลตนเองไม่อยากทํากิจวัตรประจําวันที่เคยทําอยู่A 2.สําหรับผู้ป่วยแมเนี่ย จะร่าเริง พูดมาก พูดคุยโอ้อวด การแต่งกายประหลาด
อารมณ์ : ประเมินโดยการพูดคุยกับผู้ป่วยจากการสังเกต การพูด การสื่อสาร น้ําเสียง สีหน้า ท่าทาง
การรับรู้ : ผู้ป่วยซึมเศร้าอาจมี Illusion หรือ hallucination
สติสัมปชัญญะ : ในผู้ป่วยซึมเศร้าจะสับสน ซึม ช้า ไม่มีสมาธิ ประสาทสัมผัสไม่ดี ส่วนผู้ป่วยแมเนียจะวอกแวก ไม่มีสมาธิ มีกิจกรรมต่างๆมากขึ้น อยู่ไม่นิ่ง
ความคิด : hypomaniaมีลักษณะช่างพูด พูดต่อเนื่อง อย่างรวดเร็ว กระแสความคิดมีความคิดมากมายส่วนในแมเนียมีความคิดทะเยอทะยาน ฟุ้งซ่าน ความคิดแล่นเร็ว หลงผิด คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ รู้สึกตนเองมีคุณค่าหรือมีอํานาจเพิ่มขึ้น
สาเหตุ
ปัจจัยเหตุทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors) :เหตุการณ์ที่ทําให้เกิดความเจ็บปวดทางใจอย่างรุนแรง(traumatic life event) หรือความยากลําบากในชีวิต (adverse event)
ปัจจัยตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ : ฟรอยด์เชื่อว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความโกรธหรือความก้าวร้าวไม่สามารถแสดงออกมาได้จึงหันความโกรธหรือความก้าวร้าวเข้าหาตนเองและเกิดอารมณ์เศร้า ส่วน Mania เกิดจากการแสดงออกโดยการต่อต้าน ความเศร้า
ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors)
พันธุกรรม (genetics)
สารสื่อประสาท (Neurotransmitter)
Catecholamine hypothesis ผลการศึกษาพบว่าถ้า Norepinephrine มี
ปริมาณลดลง ทําให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า (Depression) และถ้าสูงทําให้เกิดอาการ Mania
Serotonin hypothesis มีการศึกษาพบว่าการมี Serotonin ต่ำทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าได้ และถ้ามีปริมาณสูงทําให้เกิดอาการ Mania
การทํางานของต่อมไร้ท่อ (Neuroendocrine)
การทํางานของสารที่มีผลต่อร่างกาย (Neurophysiological factors)