Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นิ่วในถุงน้ำดี - Coggle Diagram
นิ่วในถุงน้ำดี
-
-
สาเหตุของโรคนิ้วเกิดจาก
ตกผลึกของหินปูน(แคลเซียม) คอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน(สารเคมีชนิดหนึ่งที่ให้สีเหลืองออกน้ำตาล เกิดจากการแตกตัวหรือการตายของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด) ที่มีอยู่ในน้ำดี
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกผลึกของสารเหล่านี้เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็กๆ หลายๆ ก้อนก็ได้
ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นวงรีคล้ายลูกแพร์ยาวประมาณ 4 นิ้ว อยู่ใต้ตับบริเวณส่วนบนขวาของช่องท้อง มีหน้าที่เก็บน้ำดีจากตับเอาไว้ พอเรากินอาหาร ถุงน้ำดีก็จะบีบน้ำดีออกมาเพื่อช่วยย่อยไขมัน แต่หากเรากินไขมันมากเกินไปและย่อยไม่หมดก็มีโอกาสเกิดการสะสมในถุงน้ำดี เมื่อมากเข้าจนขาดความสมดุลก็จะเกิดปฏิกิริยาการตกตะกอนเป็นผลึกของคอเลสเตอรอลผสมกับการมีหินปูนมาจับกลายเป็น ‘นิ่วในถุงน้ำดี’ ในที่สุด นิ่วที่เกิดขึ้นอาจะเป็นแบบเล็กๆ หลายก้อน หรือก้อนใหญ่ก้อนเดียวก็ได้
-
อาการของนิ่วในถุงน้ำดี
พบอาการผิดปกติแสดงให้เห็นและมักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช็คร่างกายบางคนอาจมีอาการ
ท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ เรอ คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาการของอาหารไม่ย่อย ซึ่งมักเป็นหลังกินอาหารมันๆ ในรายที่ก้อนนิ่วเคลื่อนไปอุดในท่อส่งน้ำดี จะมีอาการปวดบิดรุนแรงเป็นพักๆ ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา ซึ่งอาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา มักปวดนานเป็นชั่วโมงๆ และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
บางคนอาจปวดรุนแรงจนเหงื่อออก เป็นลม อาการปวดท้องมักเป็นหลังกินอาหารมันหรือกินอาหารมื้อหนัก บางคนอาจมีอาการดีซ่าน (ตาเหลือง) เกิดขึ้นตามหลังอาการปวดท้อง การตรวจร่างกายมักไม่พบสิ่งผิดปกติ มักไม่มีไข้ บางครั้งอาจตรวจพบอาการกดเจ็บเล็กน้อยบริเวณใต้ลิ้นปี่และได้ชายโครงขวา