Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โภชนาการของบุคคลในภาวะปกติ - Coggle Diagram
โภชนาการของบุคคลในภาวะปกติ
โภชนาการสาหรับหญิงตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระของหญิงตั้งครรภ
มดลูกเพิ่มความจุ จาก10มล.เป็น5ลิตร น้ำหนักจาก70กรัม เป็นประมาณ1,100กรัม กล้ามเนื้อขยายตัว
การเปลี่ยนเเปลงของฮอร์โมน มีการเพิ่มของฮอร์โมนestrogen และ progesteroneช่วยให้ผนังมดลูกแข็งแรง
การเปบี่ยนของการไหลเวียนของเลือด เมื่อครรภ์ใกล้ครบกำหนด ปริมาตรของเลือดจะมีการเพิ่มร้อยละ45
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง น้ำย่อยหลั่งน้อยลง เกิดอาการแน่น ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียนได้ง่าย
อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการแพ้ท้อง เบื่ออาหาร
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
เกณฑ์การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวที่เหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์
1หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคอ้วน
2หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกิน
3หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวปกติ และวางแผนที่จะให้นมบุตรหลังคลอด
4หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นวัยรุ่น
5หญิงตั้งครรภ์ที่มีลูกแฝด
ความต้องการสารอาหารขณะตั้งครรภ์
1สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้จากเนื้อสัตว์ นม ไข่ ข้าว
2โปรตีน มีผลต่อสติปัญญาและการเรียนรู้
3แคลเซียม นม กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย นมถั่วเหลือง เต้าหู้
4เหล็ก ได้แก่ ตับ ม้าม ไต เลือด ไข่แดง เนื้อแดงและผักใบเขียว
5ไอโอดีน อาหารทะเลต่างๆ
6โฟเลท ผลไม้ และผักใบเขียว ถั่วต่างๆ
7วิตามินบี6,วิตามินซี,วิตามินเอ,วิตามินดี
ปัจจับอื่นๆที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
•แอลกอฮอล์
•คาเฟอีน
•เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อ หมู ปลา กุ้ง หอย หรือเป็ด
•นม ควรดื่มนมไขมันต่ำวันละ1-2แก้ว หรือนมถั่วเหลืองแทน
•ไข่ ควนกินวันละ1ฟอง
•ผลไม้ วันละ2-4ครั้ง เพื่อให้ได้รับวิตามินและเกลือแร่ มะละกอสุก สับปะรด กล้วย
•ผัดชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักตำลึง คะน้า ฟักทอง
•ถั่วเมล็ดต่างๆ
•ไขมันหรือน้ำมัน
•น้ำ ควรดื่มน้ำวันละ1,500-2,000มล.หรือ 6-8แก้ว
โภชนาการสาหรับหญิงหลังคลอดและให้นมบุตร
เพิ่มปริมาณขึ้นเพราะทารกต้องการสารอาหารมากกว่าตอนอยู่ในท้อง ต้องการพลังงานเพื่อการหายใจ การเต้นของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวต่างๆ
การหลั่งน้ำนมของแม่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ การทำงานหนัก เหนื่อย หรืออดนอน ทำให้มีน้ำนมน้อย
ชนิดของน้ำนมแม่หลังคลอด
น้ำนมเหลือง
น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน
น้ำนมแท้
ข้อดีของการให้ลูกดูดนมมารดา
ประจำเดือนมาช้า ช่วยในการวางแผนครอบครัว ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
ลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม
ความต้องการสารอาหารในระยะให้นมบุตร
พลังงาน เพื่อใช้ในการผลิตน้ำนมสำหรับทารก โดยเฉพาะ6เดือนแรก
โปรตีน ควรได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นวันละ25 กรัม/วัน
แคลเซียม วันละ250-300มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก วันละ15มก. เนื่องจากหญิงให้นมบุตรไม่มีประจำเดือนไม่มีการสูญเสียธาตุเหล็ก ซื้อได้จากการกินเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว
ไอโอดีน เพิ่มวันละ50ไมโครกรัม
วิตามินชนิดต่างๆ
ปัญหาโภชนาการในหญิงให้นมบุตร
ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารแสลง หญิงให้นมบุตรโดยเฉพาะในชนบท จะมีความเชื่อเรื่องอาหารแสลง งดกินเนื้อวัว หอย กบปลาบางชนิด เชื่อว่ากินแล้วทำให้มดลูกชื้นไม่แห้ง
•ความยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้หญิงหลังคลอดให้นมบุตรขาดโปรตีน ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถหาซื้อกินได้
•นิสัยการบริโภคไม่ดี
•ขาดความรู้ด้านโภชนาการ
แนวทางการบริโภคอาหารของหญิงให้นมบุตร
ประเภทของอาหาร
เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือมีมันน้อย
ไข่ควรกินวันละ1ฟอง
นมสดอย่างน้อยวันละ2แก้วหรือมากกว่า
ผลไม้ เช่น ส้ม มะละกอสุก สับปะรด ฝรั่ง กล้วย อย่างน้อยวันละ6ส่วน
ข้อแนะนำเกี่ยวกับอาหารในหญิงให้นมบุตร
กินครบ5หมู่ และปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งเหล้าดองยา ชา กาแฟ
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานเพราะยาบางชนิดสามารถผ่านมา
น้ำนมแม่ไปสู่ลูกได้
พักผ่อนให้เพียงพอ
โภชนาการสำหรับวัยทารก
การเลี้ยงนมด้วยนมแม่
ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6เดือน หลังจากนนั้นจึงเริ่มให้อาหารเสริม นมแม่มีความสำคัญและประโยชน์
ความพร้อมในการให้อาหารสำหรับทารก
ความพร้อมของระบบทางเดินอาหาร น้ำย่อยต่างๆในกระเพาะอาหารของทารกแรกเกิดถึง6เดือน ยังมีปริมาณน้อยมาก
ความพร้อมของไต อัตรากรองของไตของทารกร้อยละ15ของผู้ใหญ่ และจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ เพิ่มขึ้นและจะเท่ากับผู้ใหญ่เมื่ออายุ 2ปี ไตของทารกแรกเกิดยังไม่สามารถขับถ่ายยูเรียและฟอสฟอรัสทางปัสสาวะได้ดีถ้าทารกได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูงมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะยูเรียในเลือดสูงได้
ความพร้อมของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ข้อแนะนำการให้อาหารสำหรับทารก
ให้นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง6เดือน ไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำ
เริ่มให้อาหารเสริมเมื่ออายุครบ6เดือนเต็มควบคู่ไปกับนมแม่
เพิ่มจำนวนมื้ออาหารเมื่ออายุลูกเพิ่มขึ้น จนครบ3มื้อเมื่อลูกอายุ 10-12เดือน ให้อาหารครบ5หมู่
ให้อาหารธรรมชาติหลีกเลี่ยงการปรุงแต่งรส
อาหารต้องสะอาดและปลอดภัย
ให้ดื่มน้ำสะอาด งดเครื่องดื่มรสหวานและน้ำอัดลม
เล่นกับลูกสร้างความผูกพัน
การแพ้อาหารในทารก
การแพ้โปรตีนส่วนใหญ่มีทั้งในรูปของนม(วัว)และอาหารเสริม การแพ้โปรตีนในน้ำนมวัวมักเกิดในช่วงอายุ1-4เดือน จะมีอาการคัดจมูก อาเจียน ปวดท้อง มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
โภชนาการสาหรับเด็กก่อนวัยเรียน
เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองช้ากว่าในวัยทารก
เด็กวัยนี้เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
นิสัยการรับประทานอาหารที่ดี
มีการเจริญเติบโตของร่างกาย และมีการเล่นออกกำลังกาย ทำให้สูญเสียพลังงานไป จึงต้องฝึกให้รับประทานอาหารหลักวันละ3มื้อ ให้มีอาการว่างระหว่างมื้อเช้าและบ่าย
ให้เด็กลองรับประทานอาหารใหม่ๆ ครั้งละน้อยๆ ปรุงรส และสีสันให้น่ากิน
ไม่ควรให้รางวัลจูงใจให้เด็กรับประทานอาหารเป็นการสร้างนิสับไม่ดี
โภชนาการเด็กวัยเรียน
ข้อปฎิในการจัดอาหาร
จัดอาหารให้ครบ5หมู่ควรให้เด็กเสนอรายการอาหารบ้าง เพื่อให้รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม ฝึกวินัยในการรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รับประทานอาหารจุบจิบ
เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากเด็กก่อนวันเรียน การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ สมองและระบบประสาทจะไม่มีการเจริญเติบโตเพิ่มขนาดแต่จะมีพัฒนาการเสริมสร้างเชาวน์ปัญญา
โภชนาการสำหรับวัยรุ่น
ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายอย่าง ต่อมไร้ท่อต่างๆ ทำงานมากขึ้น มีการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆมากขึ้น กระดูกขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ร่างกายสูงขึ้น น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการสารอาหารมากขึ้น
ความต้องการสารอาหารของวัยรุ่น
พลังงาน
•วัยรุ่นชายควรได้รับ2,300-2,400kcal/วัน
•วัยรุ่นหญิงควรได้รับพลังงาน1,850-2,000kcal/วัน
โปรตีน อย่างน้อยวันละ1-2กรัมต่อน้ำหนักตัว1กก.
วิตามินเกลือแร่
ความสำคัญของอาหารในเด็กวัยรุ่น
กินอาหารให้ครบ5หมู่
ครบ3มื้อ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้รับสารอาหารต่างๆในปริมาณเพียงพอกับความต้องการ หากงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เช่นงดมื้อเช้า จะทำให้ขาดสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับไปอย่างน้อย1ใน3ของความต้องการทั้งวัน
โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่
วัยนี้ร่างกายจะไม่มีการเสริมสร้างเพื่อการเจริญเติบโต แต่ยังมีการเสริมสร้างเซลล์ต่างๆเพื่อรักษาสมรรถภาพการทำงานในร่างกายให้คงที่
ความต้องการสารอาหารในวัยผู้ใหญ่
พลังงาน ควรมาจากคาร์โบไฮเดรตร้อยละ55โปรตีนร้อยละ15และไขมันร้อยละ30
โปรตีน วันละ1กรัมต่อน้ำหนักตัว1กก.
วิตามินและเกลือแร่วัยๅนี้ความต้องการพอๆกับวัยรุ่น ยกเว้นแคลเซียมและฟอสฟอรัสต้องการน้อยลงเหลือ800มิลลิกรัม เนื่องจากในระยะนี้ไม่มีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น
วัยทอง วัยหมดประจำเดือน ในผู้หญิงอายุประมาณ50ปี จะมีอาการร้อนวูบวาย มีการเปลี่ยนแปลงของระบบปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ อาการกระดูกพรุน กระดูกเปราะ หักง่าย มีอาการของระบบหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นผลมาจากขาดฮอร์โมน
โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
กระบวนการแก่
เป็นกระบวนการเกิดขึ้นที่ปกติ ความแก่จะเกิดขึ้นเร็วหรือช่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เมื่อร่างกายเจริญเติบโตถึงขีดสุดแล้วการเปลี่ยนแปลงในร่างกายจะเป็นไปในทางเสื่อมสลายมากกว่าการเสริมสร้างเซลล์ ประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆลดลงหรือสูญเสียหน้าที่ไป
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุที่มีปลต่อภาวะโภชนาการ
1การทำงานของประสาทสัมผัสทั้ง5ลดลง ได้แก่ การมองเห็น การรับรส การดมกลิ่น
2ภาวะสุขภาพปากและฟัน ฟันผุไม่มีฟัน รวมทั้งต่อมน้ำลายทำงานลดลง มีผลทำให้การบดเคี้ยวอาหารเป็นไปไม่ดี
3การเคลื่อนไหวลำไส้ของกระเพาะอาหารและสำไส้ลดลง
4ประสิทธิภาพการเผาผลาญอาหารกลูโคสลดลง
5การทำงานของระบบไหลเวียนเเละไตลดลง
6เนื้อเยื่อที่ปราศจากไขมันลดลง
7เนื้อกระดูกลดลงเมื่ออายุ40ปีขึ้นไป
8ปัจจัยด้านเศรษฐกิจแบะจิตสังคม พบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวจะรับประทานอาหารได้น้อยลง