Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมตามอาการทางจิตที่สำคัญ - Coggle Diagram
การพยาบาลแบบองค์รวมตามอาการทางจิตที่สำคัญ
ความผิดปกติด้านความคิด
อาการหลงผิด (Delusion
เป็นความคิดหรือความเชื่อที่ผิด ๆ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เป็นความเชื่อที่ฝังแน่น ไม่สามารถลบล้างหรือเปลี่ยนความเชื่อนั้นได้
แนวคิดการเกิดอาการหลงผิด
แนวคิดจิตวิเคราะห์แนวคิดจิตวิเคราะห์ อธิบายว่า อาการหลงผิดเกิดจากพัฒนาการด้านอารมณ์ล่าช้า จากการขาดการกระตุ้นหรือขาดความสนใจจากพ่อแม่
แนวคิดชีววิทยาแนวคิดนี้อธิบายถึง โอกาสเสี่ยงของบุคคลในครอบครัวที่มีสมาชิกมีอาการหลงผิด โดยเฉพาะในฝาแฝด
แนวคิดด้านสังคม แนวคิดนี้เชื่อว่า บุคคลที่มีอาการหลงผิดและหวาดระแวงมักมีพ่อแม่ที่เข้มงวด บังคับและสมบูรณ์แบบมากเกินไปมีความภาคภูมิใจในตนเอง
สาเหตุของความหลงผิด
ทางด้านร่างกายเป็นโรคที่ทำให้มีการสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการคิดหรือการรับรู้ ทำให้บุคคลมีการรับรู้ที่ผิดไป หรือมีการแปลความหมายที่ผิดไป หรือเกิดจากการได้รับสารพิษ ได้แก่ ยา L.S.D. สุรา ทำให้มีความผิดปกติได้
ทางด้านจิตใจเป็นการใช้กลไกทางจิต(Defense Mechanism)ในการป้องกันตนเองเกินไป และในระดับที่เป็นพยาธิสภาพ เช่น Denial หรือ Projection เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจที่มีความวิตกกังวลมาก ท าให้มีความคิดที่ผิดปกติไป ซึ่งพบในผู้ป่วยจิตเวช
ทางด้านสังคม จากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก เลี้ยงดูอย่างไม่มีความสม่ำเสมอ เกิดความคิดสงสัย มองโลกในแง่ร้ายจนกลายเป็นความคิดหวาดระแวงและหลงผิด
ลักษณะทางคลินิกของผู้ที่มีความหลงผิด
อารมณ์ความรู้สึกและอารมณ์ที่ตรวจพบ มักสอดคล้องกับเนื้อหาที่หลงผิด
การรับรู้ผู้รับบริการที่มีอาการหลงผิดจะไม่มีอาการประสาทหลอนเด่นชัด
ความคิดผู้รับบริการมีเนื้อหาความคิดผิดปกติเป็นอาการส าคัญ อาการหลงผิดมักเป็นระบบ เช่นหลงผิดคิดว่าถูกปองร้าย
สภาวะแห่งตนและการตระหนักรู้ผู้รับบริการไม่มีความผิดปกติของการรับรู้วัน เวลา และสถานที่
การควบคุมตนเองแพทย์มักประเมินผู้รับบริการที่มีอาการหลงผิดด้านความคิด หรือการวางแผนในการดำเนินการใด ๆ เช่น การฆ่าตัวตาย การฆ่าผู้อื่น หรือการก่อความรุนแรง
การตัดสินใจและการหยั่งรู้ตนเองผู้รับบริการไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการหยั่งรู้ตนเอง และมักถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยตำรวจ ครอบครัว หรือนายจ้าง
กระบวนการวางแผนการพยาบาลผู้รับบริการที่มีอาการหลงผิด
การประเมินปัญหา (Assessment)ควรประเมินอาการแสดงออกทางภาษากาย ซึ่งบ่งชี้ถึงความไม่ไว้วางใจบุคคลอื่น เช่น ระแวดระวังเกินกว่าเหตุ หรือกลัวเมื่อเข้าไปอยู่ในห้อง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
อาการหวาดระแวง (Paranoid)
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม มีประวัติบุคคลในครอบครัว
ด้านการเลี้ยงดู ขาดความอบอุ่นและความรักในครอบครัว
ประสบการณ์ชีวิตประจำวัน เกิดการรับรู้ไปในทางร้าย รู้สึกถูกคุกคาม ทำให้เกิดความกดดันทางจิตใจ ไม่สามารถปรับตัวได้
การได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่น สุรา แอมเฟตามีน
การเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง
อาการและอาการแสดง
การรับรู้มักระแวงหรือมองผู้ใกล้ชิดว่าคิดแอบทำร้าย มีเจตนาร้าย ประสงค์ร้าย คอยคุกคาม ทำร้าย ทำอันตราย มักใช้กลไกป้องกันตนเอง (Defend Mechanism) แบบโทษผู้อื่น (Projection) วิธีการปฏิเสธ (Denial)
อารมณ์มีความรู้สึกสงสัย คลางแคลงใจ อิจฉาริษยา ขุ่นเคือง โกรธ ระแวดระวัง แบบไม่เป็นมิตรตลอดเวลา อารมณ์อ่อนไหว (Over Sensitivity
พฤติกรรมมีท่าทีป้องกันตัวเองตลอดเวลา ไม่ไว้วางใจผู้อื่น สายตาระแวดระวัง ชอบแอบมองผู้อื่นด้วยความสงสัย
กลไกการเกิดอาการหวาดระแวง
อาการหวาดระแวงเริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อบุคคลเกิดความรู้สึกไม่เชื่อมั่น (Inconsistency) ต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม รู้สึกไม่ไว้วางใจ (Mistrust) รู้สึกไม่เป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป (Hostile) เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็มักจะโทษผู้อื่น
ประเภทของอาการหวาดระแวง
Simple Paranoid Stateเป็นสภาวะหวาดระแวง ซึ่งมีความหลงผิดว่าตนถูกควบคุมบังคับ ถูกปองร้าย หรือถูกกระท าโดยวิธีการพิเศษบางอย่าง
Paranoidเป็นความหวาดระแวงที่เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน ฝังแน่น โดยไม่มีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย
Paraphreniaเป็นอาการหวาดระแวงของจิตเภท (Paranoid Schizophrenia)มักมีอาการหลงผิดคิดว่าคนอื่นมาทำร้ายและตนเองเป็นผู้ยิ่งใหญ่
Induced Psychosisเป็นอาการหวาดระแวงชนิดเรื้อรัง และไม่มีลักษณะชัดเจน เกิดจากการได้รับความทรมานจากอาการหลงผิดแบบหวาดระแวง
การรักษา
การใช้ยา
จิตบำบัด
พฤติกรรมบำบัด
การปฏิบัติการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมบกพร่อง
สร้างสัมพันธภาพเชิงบำบัดเพื่อให้ผู้รับบริการไว้วางใจ
สนับสนุนให้ผู้รับบริการมีสัมพันธภาพที่เหมาะสม โดยการทักทายพูดคุยกับผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ และเท่าเทียมกับผู้รับบริการอื่น
กระตุ้นให้มีสัมพันธภาพทางสังคม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมรวมกลุ่ม และมีส่วนร่วมกิจกรรมส่วนรวมในหอผู้ป่วย
ส่งเสริมการดูแลด้านกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการ ได้แก่ ความสะอาดของร่างกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อนที่เพียงพอ
ความผิดปกติด้านการรับรู้
ประสาทลวง(Illusion)
เป็นความผิดปกติของการรับรู้ที่มีสิ่งเร้ากระตุ้นต่อประสาทสัมผัส แต่บุคคลรับรู้หรือแปลผิด เช่น เห็นสายน้ำเกลือหรือเห็นเชือกเป็นงู
ประสาทหลอน(Hallucination)
ประสาทหลอน (Hallucinations) เป็นความผิดปกติของการรับรู้โดยปราศจากสิ่งเร้าภายนอก เป็นไปตามอวัยวะรับรู้ของคนเรา
ระสาทหลอน (Hallucinations) เป็นการรับรู้แบบผิด ๆ ผ่านประสาทการรับรู้ทั้ง 5 แสดงออกในเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
สาเหตุ
ประสาทหลอน(Hallucinations) เกิดในผู้รับบริการที่มีความผิดปกติทางจิต เช่น จิตเภท ซึมเศร้า เพ้อ สับสน ความจ าเสื่อม และอาการที่เกี่ยวข้องกับสุราและสารเสพติด อาการประสาทหลอนอาจเกิดในคนปกติที่มีประสบการณ์การแยกตัวการรับรู้การเปลี่ยนแปลง เช่น ตาบอด หูไม่ได้ยิน หรือผู้ที่มีปัญหาด้านการพูด ประสาทหูหลอน เป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
พยาธิสภาพทางจิต
พยาธิสภาพทางจิตของประสาทหลอนไม่เป็นที่แน่ชัด หลายทฤษฎีหรือแนวคิดพยายามอธิบายปัจจัยที่ส าคัญ ด้านจิตวิทยา สรีรวิทยา และปัจจัยอื่น ๆ มาอธิบาย บางทฤษฎีกล่าวถึงการตื่นตัวของสมองที่ถูกโจมตีโดยการกระตุ้นของร่างกายหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งไปยับยั้งการรับรู้ ท าให้สิ่งที่อยู่ใต้จิตส านึกหรือก่อนจิตส านึกถูกปลดปล่อยออกมาในรูปแบบของอาการประสาทหลอน
อาการและอาการแสดง
ผู้รับบริการที่มีอาการประสาทหลอนมักอยู่คนเดียว นั่งและจ้องไปที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ ยิ้มและพูดกับตนเอง อาจมีอาการโกรธหรือทำร้ายผู้อื่น
การจำแนกประสาทหลอน
ประสาทหลอนทางหู หรือเสียงแว่ว (Auditory Hallucinations)อาการประสาทหลอนทางหู คือ การได้ยินเสียงแว่ว หรือที่เรียกว่าหูแว่วเป็นอาการสำคัญ และได้รับการวินิจฉัยบ่อยที่สุด โดยพบได้ถึงร้อยละ 60-70 ลักษณะที่พบ
ประสาทตาหลอน หรือภาพหลอน (Visual Hallucinations)การเห็นภาพหลอนอาจเป็นได้ตั้งแต่รูปแบบที่ไม่ซับซ้อน
ประสาทหลอนด้านการรับกลิ่น (Olfactory Hallucinations)ประสาทหลอนทางการรับกลิ่นอาการนี้เกิดขึ้นได้ในผู้รับบริการจิตเภท
ประสาทหลอนด้านการรับรส (Taste Hallucinations)รสชาติหลอนนี้อาจเป็นรสชาติของอาหารหรือสิ่งของ ได้แก่รสหัวหอม รสโลหะ
ประสาทหลอนทางผิวสัมผัส(Tactile Hallucinations)อาการประสาทหลอน ที่เกิดกับผัสสะทางร่างกาย
การปฏิบัติการพยาบาล(Implementation)
เสี่ยงต่อพฤติกรรมรุนแรงในการทำร้ายตนเอง/ผู้อื่น
สร้างความไว้วางใจแก่ผู้รับบริการ
รับฟังผู้รับบริการแสดงความรู้สึกด้วยความเข้าใจและใส่ใจ
กระตุ้นให้ผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัด
ดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น
สังเกตพฤติกรรม ทั้งในส่วนที่เป็นภาษาพูด (Verbal Communication)และไม่ใช่ภาษาพูด (Non-verbal Communication)เกี่ยวกับอาการประสาทหลอน
ความผิดปกติด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพ
แนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
แบบชอบแสดงตัว (Extrovert)มีลักษณะเปิดเผย กล้าแสดงออก ชอบเป็นจุดเด่น แต่งตัวดี ร่าเริงแจ่มใส ชอบความสนุกสนาน
แบบชอบเก็บตัว (Introvert)มีลักษณะเงียบเฉย ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ไม่ค่อยพูดถ้าจะพูดก็มักจะพูดเรื่องของตัวเอง ชอบเขียนมากกว่าพูด ชอบความเงียบสงบ ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบสังสรรค์ ไม่ชอบความวุ่นวาย ไม่ชอบทำตัวเด่น
แบบกลาง ๆ (Ambivert)มีชีวิตเรียบง่าย ไม่ชอบเก็บตัวมากไปและไม่ชอบแสดงออกมากไป อยู่คนเดียวก็มีความสุข คบหากับคนทั่วไปได้ดี ไม่พูดมากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
พฤติกรรมแยกตัว /บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (WithdrawBehavior/Schizoid Personality Disorder)
ลักษณะทางคลินิกพฤติกรรมแยกตัวบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติประเภทนี้ จะมีลักษณะเย็นชา ห่างเหิน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น เป็นคนเงียบ ๆ ที่คนเข้าไม่ถึง แยกตัว ไม่เข้าสังคม มีชีวิตอยู่อย่างเงียบ ๆ โดยไม่มีอารมณ์ผูกพันกับผู้อื่น
ลักษณะเด่นของพฤติกรรมแยกตัว
Autistic Thinkingความคิดจะวกวนอยู่แต่เรื่องของตนเอง ไม่สามารถแยกตนเองจากสิ่งแวดล้อมได้
Out of Reality อยู่ในโลกของความฝัน(Fantasy)การแสดงออกไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ มีประสาทหลอน (Hallucination)แปลภาพผิด (Illusion)หลงผิด (Delusion) ตามมา
Impairment of Intelligent ความสามารถทางสติปัญญาเสื่อมลง การตัดสินใจเสีย
Inappropriate Mood อารมณ์จะราบเรียบ (Apathy)ทุกครั้งอารมณ์ไม่สมเหตุผล
การเคลื่อนไหวช้า ไม่กระฉับกระเฉง
ขาดความสนใจด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การรักษาความสะอาดร่างกาย การแต่งกาย การขับถ่าย การรับประทานอาหาร
เกณฑ์การวินิจฉัยพฤติกรรมแยกตัว
ไม่สนใจจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่น หรือใกล้ชิดกับคนในครอบครัว
ชอบทำกิจกรรมที่ต้องทำคนเดียว
ไม่มีความสนใจ หรือสนใจน้อยมาก ในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้อื่น
มีกิจกรรมด้านความสนุกสนานน้อย
กลไกการเกิดพฤติกรรมแยกตัว
ฤติกรรมแยกตัวจะค่อย ๆ สะสมมาตั้งแต่วัยทารกและเติบโต ด้วยการขาดความมั่นคงทางจิตใจ ไม่กล้ามีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ซึ่งมักเกิดจากการเลี้ยงดู
พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ (Manipulative Behavior)
พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ (Manipulative Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่มีอิทธิพลควบคุมบุคคลอื่น โดยใช้อ านาจหรืออิทธิพลเหนือผู้อื่น พยายามให้ผู้อื่นท าตามความต้องการของตนเอง
สาเหตุการเกิดพฤติกรรม
มักพบในบุคคลมีความวิตกกังวล ความต้องการไม่สมหวัง มีความต้องการโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้อื่น การปรับตัวไม่สมดุลโดยจะให้ผู้อื่นทำงานทุกอย่างแทนตนเอง ไม่ทำอะไรด้วยตนเองเพราะกลัวความล้มเหลว ถ้าไม่มีผู้ใดยอมท าก็จะแสวงหาไปเรื่อยๆ
ลักษณะเด่นของพฤติกรรมได้แก่
ต่อต้านกระบวนการบำบัดรักษาพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหา
แสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ
ขัดขืน ขัดแย้ง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
กระบวนการวางแผนการพยาบาลผู้รับบริการที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders)
การประเมินสภาพ (Assessment)ทำได้โดยใช้ทักษะการสังเกตอาการทางคลินิก (Clinical Observation)ร่วมกับการสัมภาษณ์ประสบการณ์ชีวิต (Life Experience Interviewing)ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน และประเมินปัญหาปัจจุบันที่เกิดขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาล
มีการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการคิด เนื่องจากมีการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นบิดเบือน
สร้างสัมพันธภาพเชิงบำบัด เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่น
ให้การยอมรับผู้รับบริการโดยไม่ตำหนิพฤติกรรม (แปลก ๆ) ที่แสดงออก
ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเริ่มจากคนจำนวนน้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น
กระตุ้นให้ผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัด และฝึกทักษะทางสังคมที่จำเป็น
ดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ประเมินประสิทธิผลของยา และติดตามการเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา