Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจสายตา - Coggle Diagram
การตรวจสายตา
การวัดสายตา
1.ให้นักเรียนยืนที่ระยะห่างจากแผ่นวัดสายตา 6 เมตร ใช้ Occluder ปิดตาซ้าย โดยไม่กดลูกตา แล้วอ่านตัวเลขบนแผ่นวัดสายตาด้วยตาข้างขวา จากแถวบนสุดก่อน การตัดสินว่าอ่านผ่าน ต้องอ่านถูกเกินครึ่งของบรรทัด
2.การบันทึกผลความสามารถของการมองเห็น (V.A.) เป็นเศษส่วน โดย เศษ คือ ระยะทางที่ผู้ถูกทดสอบยืน และส่วน คือ ระยะตัวอักษรที่อ่านได้บนแผ่นวัดสายตา
3.ถ้าอ่านได้ถึงแถวล่างสุดก่อนเส้นสีแดงถูกต้อง ถือว่ามีสายตาปกติ ให้บันทึกค่าสายตาที่วัดได้ คือ 6/6 เมตร ถ้าอ่านได้ไม่ถึง ให้บันทึกเลขส่วนของค่าสายตาที่อ่านได้ตามตัวเลขที่กำกับไว้ในเเถวนั้น ในกรณีที่อ่านผิด ให้บันทึกว่าอ่านผิดกี่ตัว
4.ในกรณีที่มีค่าสายตาต่ำกว่า 6/6 ให้วัดสายตาอีกครั้งโดยการมองผ่านรู P.H. (pin hole) แล้วอ่านแถวเดิมที่อ่านไม่ได้ ถ้าอ่านถูกต้องแสดงว่า ค่าสายตาที่ต่ำกว่าปกติ จากการหักเหของแสงคลาดเคลื่อน
5.หากในระยะ 6 เมตร แล้วไม่สามารถมองเห็นบรรทัดบนสุดได้ ให้เลื่อนระยะที่ยืนเข้ามาทีละ 1 เมตร แล้วอ่านเฉพาะแถวบนสุดจนกว่าจะอ่านได้
6.หากยืนที่ระยะ 1 เมตรแล้วไม่สามารถอ่านตัวเลขแถวบนสุดได้ ให้หยุดทดสอบด้วย Snellen chart แล้วทดสอบด้วยการนับนิ้วมือ หากนับถูกจะมีระดับการมองเห็น เท่ากับ counting fingers (CF)
7.หากไม่สามารถนับนิ้วได้ ให้ใช้วิธีโบกหรือเคลื่อนไหวมือไปมาในแนวตั้งหรือแนวนอน แล้วดูว่าสามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของมือหรือไม่ ถ้ารับรู้ได้จะมีระดับการมองเห็น เท่ากับ hand motion (HM)
8.หากไม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของมือได้ให้ผู้ตรวจใช้แสงไฟส่องหน้าตา และให้ชี้บอกทิศทางของแสงไฟที่ส่อง หากชี้ได้ถูกระบบการมองเห็นเท่ากับ projection of light (PJ) หากรับรู้แค่มีแสงแต่บอกทิศทางไม่ได้ ระดับการมองเห็นเท่ากับ perception of light (PL)
9.หากไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามีแสงไฟหรือไม่แสดงว่าการมองเห็นเท่ากับ บอดสนิท หรือ no light perception (NPL)
10.กรณีสวมแว่นตาอยู่แล้ว ให้วัด 2 ครั้ง คือวัดก่อนสวมแว่น แล้วบันทึกในช่องวัดสายตาไม่สวมแว่น แล้ววัดอีก 1 ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าแว่นตาของนักเรียนเหมาะสมกับตาหรือไม่ แล้วบันทึกในช่องวัดสายตาสวมแว่น
-
-
-
-