Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่10 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาระบบต่อมไร้ท่อ, 1)…
บทที่10
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาระบบต่อมไร้ท่อ
10.1 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาระบบต่อมไร้ท่อในระยะระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง
10.1.1 โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Diabetes mellitus)
สาเหตุ
เด็กมีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือบิดาหรือมารดาเป็นโรคเบาหวาน
การติดเชื้อไวรัส เช่น คางทูม หัดเยอรมัน สุกใส
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Autoimmune system)
อาการและอาการแสดง
ถ่ายปัสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก (Polyuria) ในเด็กมักพบปัสสาวะรดที่นอนหรือ ปัสสาวะทิ้งไว้มีมดตอม
กระหายน้ํามาก (Polydipsia) เป็นผลจากการถ่ายปัสสาวะออกมาก
น้ําหนักลด (Weight loss) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เนื่องจากร่างกาบใช้ไขมันและโปรตีน สร้างพลังงานแทนคาร์โบไฮเดรต
หิวบ่อย รับปประทานมาก (Polyphagia) เกิดจากร่างกายใช้คาร์โบไฮเดรต หรือน้ําตาล ไม่ได้ หรือใช้ได้น้อย
2) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type II diabetes mellitus)ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาเบาหวานชนิดที่ 2 พบเพิ่มขึ้นในวัยรุ่น
สาเหตุ
เกิดภาวะดื้ออินสุลิน (insulin resistance) เมื่อรับประทานอาหาร ตับอ่อน พยายามผลิตอินซูลิน เพื่อนําน้ําตาลจากอาหารเข้าเซลล์ไปใช้เป็นพลังงาน แต่ภาวะดื้ออินซูลิน ทําให้ อินซูลินทําหน้าที่ลดน้ําตาลในเลือดได้ไม่ดี ส่งผลให้น้ําตาลในเลือดสูง
ปัจจัยเสี่ยง
มีประวัติเบาหวานในครอบครัว เด็กผู้หญิง เศรษฐานะครอบครัวต่ำ มีภาวะ โภชนาการเกิน หรือมีปญั หาเกี่ยวกับ insulin resistance และ metabolic syndrome เด็กและวัยรุ่นกลุ่ม นี้จะมีโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
10.1.2 โรคเบาจืด (Diabetes insipidus: DI)
สาเหตุ
ความผิดปกติของสมอง (Central diabetes insipidus) ทําให้การหลั่ง Antidiuretic hormone (ADH) หรือ Vasopressin ลดลง หรือไม่มีการหลั่ง เช่น เนื้องอกบริเวณใกล้ต่อมใต้สมอง ส่วน หลัง การผ่าตัดบริเวณใกล้ต่อมใต้สมอง การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ความผิดปกติของไต (Nephrogenic diabetes insipidus) ทําให้ไตไม่ตอบสนองต่อ ADH ไตจึงดูดกลับน้ําลดลง เช่น กรวยไตอักเสบ โรคเรื้อรัง
พยาธิสรีรวิทยา
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior pituitary gland) สร้างและหลั่ง ฮอร์โมน ADH ซึ่งตามปกติ ADH มีฤทธิ์เก็บกักน้ําในร่างกาย ยับยั้งไม่ให้ไตขับปัสสาวะออกมากกว่าปกติ โดยการดูดกลับที่หลอดไตฝอยส่วนปลาย เมื่อร่างกายขาด ADH จึงมีการขับปัสสาวะออกมากกว่าปกติ การ สูญเสียน้ําทางปัสสาวะมากทําให้เกิดภาวะเลือดข้น จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยกระหายน้ํา จึงดื่มน้ํามาก
การรักษา
ให้น้ําชดเชยให้เพียงพอ
ให้ฮอร์โมนที่ทําหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ําที่ไตทดแทน เช่น ฉีด Aqueous vasopressin, Pitressin (Vasopressin) tannate in oil และ Synthetic ADH เช่น 1-deamino-8-D- arginine vasopressin: DDAVP) หรือพ่นในรูจมูก
ผ่าตัดเนื้องอกในสมองออก รักษาด้วยการฉายแสงหรือเคมีบําบัด
10.1.3 ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)
1) ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กําเนิด
เป็นความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ส่งผลให้ทารกไม่สามารถผลิตธัยรอยด์ ฮอร์โมน (Thyroxin hormone) หรือผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทําให้ทารกเกิด ความผิด ปกติในการสร้างอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งจะตรวจพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนอายุ 2 ปี ทารกที่มีความผิดปกตินี้และไม่ได้รับการรักษาจะเกิดภาวะปัญญาอ่อนอย่างรุนแรง (Cretinism)
พยาธิสรีรวิทยา
สมองส่วนไฮโปธารามัส สร้างและหลั่ง Thyrotropin Releasing Hormone (TRH) ไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary gland) ให้หลั่ง Thyroid stimulating hormone (TSH) ไปควบคุมการสร้างและหลั่งฮอร์โมน Triiodothyronine (T3), Thyroxine (T4) และ Thyrocalcitonin จากต่อมธัยรอยด์ออกมาสู่กระแสเลือด (ภาพที่ 10.4) ถ้าเด็กขาดธัยรอยด์ฮอร์โมน จะทําให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองล่าช้า สติปัญญาต่ำ
2) ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนที่เกิดขึ้นภายหลังเกิด
การมีอาการและอาการแสดงหรือตรวจพบภายหลังอายุ 2 ปีว่ามีสติปัญญาอ่อนไม่รุนแรงเท่าแบบภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กําเนิด
สาเหตุ
การขาดธาตุไอโอดีน (Iodine deficiency)
การได้รับยาหรือสารที่ขัดขวางการสร้างฮอร์โมนธัยรอยด์ (Goitogens) เช่น Iodide, Thiouracia
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ Autoimmune thyroid disease
การรักษา
ให้ Thyroxine ชนิดรับประทาน ในรูป L-thyroxine (L-T4 หรือ Na-L- T4) ปรับขนาดยาตามวัย
10.1.4 ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนสูงกว่าปกติ (Hyperthyroidism)
สาเหตุ
ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนสูงกว่าปกติที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กคือ โรคเกรฟ (Graves’ disease)
พยาธิสรีรวิทยา
ต่อมธัยรอยด์ทํางานมากกว่าปกติ จึงผลิตและหลั่งธัยรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่ กระแสเลือดมากผิดปกติ จึงไปยับยั้งการหลั่ง TRH และTSH ทําให้ร่างกายมีเมตาบอลิซึมสูง ซึ่งธัยรอยด์ ฮอร์โมนที่มีมากขึ้นอาจจะ สร้างขึ้นเองในร่างกายหรือได้รับมาจากภายนอก
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของยาต้านธัยรอยด์ คือ ผื่นคันตามผิวหนัง และเม็ด เลือดขาวลดต่ำลงมาก ทําให้ติดเชื้อ มีไข้ เจ็บคอ
1) โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type I diabetes mellitus หรือ Insulin dependent diabetes mellitus; IDDM)