Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมตามอาการทางจิตที่สำคัญ - Coggle Diagram
การพยาบาลแบบองค์รวมตามอาการทางจิตที่สำคัญ
ความผิดปกติด้านความคิด
ความผิดปกติทางความคิด แบ่งเป็น 2 แบบ คือ ความผิดปกติของกระแสและรูปแบบความคิด (Stream and Form of Thought) และความผิดปกติในเนื้อหาความคิด (Content of Thought)
อาการหลงผิด (Delusion)
เป็นความคิดหรือความเชื่อที่ผิด ๆ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เป็นความเชื่อที่ฝังแน่น ไม่สามารถ ลบล้างหรือเปลี่ยนความเชื่อนั้นได้ แม้ว่าจะมีหลักฐานหรือเหตุผลที่ตรงข้ามกับความเชื่อนั้นมายืนยันว่าความเชื่อดังกล่าวนั้นมิได้เป็นความเชื่อที่ยึดถือร่วมกันในวัฒนธรรมนั้น ๆ
อาการหลงผิด (Delusion) เป็นอาการที่เกิดจากความคิดแปลก ๆ เข้าใจยาก และเป็นสถานการณ์ที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง มักเริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนปลายระหว่างอายุ 40 55 ปี และในผู้สูงอายุ แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย
แนวคิดการเกิดอาการหลงผิด
แนวคิดจิตวิเคราะห์ อาการหลงผิดเกิดจากพัฒนาการด้านอารมณ์ล่าช้า จากการขาดการกระตุ้นหรือขาดความสนใจจากพ่อแม่ ทาให้รู้สึกไม่ปลอดภัย และไม่สามารถสร้างความไว้วางใจผู้อื่นได้ ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ อาจเกิดความกลัว ความเครียด และความวิตกกังวล ควบคุมตนเองไม่ได้ในสถานการณ์บางอย่าง
แนวคิดชีววิทยา โอกาสเสี่ยงของบุคคลในครอบครัวที่มีสมาชิกมีอาการหลงผิด โดยเฉพาะใน ฝาแฝด พบว่าอาการหลงผิดเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของ Limbic System and Basal Ganglia ในสมอง โดยเฉพาะสมองซีกซ้าย การเจ็บป่วยบางอย่างอาจทาให้เกิดอาการหลงผิด
แนวคิดด้านสังคม บุคคลที่มีอาการหลงผิดและหวาดระแวง มักมีพ่อแม่ที่เข้มงวด บังคับและสมบูรณ์แบบมากเกินไป มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ บุคคลที่มีอาการหลงผิดมักเกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก มักพบอาการเหล่านี้ในกลุ่มผู้อพยพ กลุ่มที่ต้องพบกับสภาวะต่าง ๆ ที่มีความเครียดสูง และชนชั้นที่มีเศรษฐานะต่า
สาเหตุของความหลงผิด
ทางด้านร่างกาย เป็นโรคที่ทำให้มีการสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการคิดหรือการรับรู้ ทำให้บุคคลมีการรับรู้ที่ผิดไป หรือมีการแปลความหมายที่ผิดไป หรือเกิดจากการได้รับสารพิษ
ทางด้านจิตใจ เป็นการใช้กลไกทางจิต (Defense Mechanism) ในการป้องกันตนเองเกินไป และในระดับที่เป็นพยาธิสภาพ เช่น Denial หรือ Projection เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจที่มีความวิตกกังวลมาก ทาให้มีความคิดที่ผิดปกติไป
ทางด้านสังคม จากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก เลี้ยงดูอย่างไม่มีความสม่าเสมอ เกิดความคิดสงสัย มองโลกในแง่ร้ายจนกลายเป็นความคิดหวาดระแวงและหลงผิด
ลักษณะทางคลินิกของผู้ที่มีความหลงผิด
อารมณ์ ความรู้สึกและอารมณ์ที่ตรวจพบ มักสอดคล้องกับเนื้อหาที่หลงผิด เช่น ผู้รับบริการมีอาการหลงผิดคิดว่าตนเองเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ก็จะรู้สึกยินดีมีความสุข
การรับรู้ ผู้รับบริการที่มีอาการหลงผิดจะไม่มีอาการประสาทหลอนเด่นชัด อย่างไรก็ตามอาจมีอาการประสาทหลอนเกี่ยวกับกลิ่น หรือการสัมผัส ซึ่งสอดคล้องกับอาการหลงผิด
ความคิด ผู้รับบริการมีเนื้อหาความคิดผิดปกติเป็นอาการสำคัญ อาการหลงผิดมักเป็นระบบ เช่นหลงผิดคิดว่าถูกปองร้าย
สภาวะแห่งตนและการตระหนักรู้ ผู้รับบริการไม่มีความผิดปกติของการรับรู้วัน เวลา และสถานที่ ยกเว้นอาการหลงผิดที่เกี่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ หรือเวลา ส่วนความจำมักไม่เปลี่ยนแปลง
การควบคุมตนเอง อาการหลงผิดด้านความคิด หรือการวางแผนในการดำเนินการใด ๆ เช่น การฆ่าตัวตาย การฆ่าผู้อื่น หรือการก่อความรุนแรง ถ้าผู้รับบริการไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มักต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การตัดสินใจและการหยั่งรู้ตนเอง ผู้รับบริการไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการหยั่งรู้ตนเอง และมักถูกนาส่งโรงพยาบาลโดยตำรวจ ครอบครัว หรือนายจ้าง
กระบวนการวางแผนการพยาบาลผู้รับบริการที่มีอาการหลงผิด
การประเมินปัญหา (Assessment) ประเมินอาการแสดงออกทางภาษากาย ซึ่งบ่งชี้ถึงความไม่ไว้วางใจบุคคลอื่น เช่น ระแวดระวังเกินกว่าเหตุ หรือกลัวเมื่อเข้าไปอยู่ในห้อง ระหว่างการสัมภาษณ์ผู้รับบริการจะตั้งใจฟังมาก มีพฤติกรรมแบบตั้งรับหรือป้องกันตนเองจากการถูกทาร้าย ผู้รับบริการอาจนั่งที่ขอบเก้าอี้หรือกางแขนออกป้องกันตนเอง อาจกากระดาษหรือวัตถุอื่น ๆ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล รู้สึกไม่ปลอดภัย จากความคิดหลงผิดว่าถูกปองร้าย การแก้ปัญหาครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ มีความแปรปรวนด้านกระบวนการคิด การแปลความหมายไม่ถูกต้อง
การปฏิบัติการพยาบาล สร้างสัมพันธภาพเชิงบาบัดกับผู้รับบริการ เพื่อสร้างความไว้วางใจ พยาบาลต้องเป็นที่พึ่งพาได้ ซื่อตรง และตอบสนองต่อการปฏิบัติตอบกลับ (Feedback) ของผู้รับบริการ ปฏิบัติกับผู้รับบริการอย่างจริงใจ บนพื้นฐานอารมณ์และพฤติกรรมทางลบของผู้รับบริการ ยอมรับอาการหลงผิดของผู้รับบริการ เพื่อสร้างความไว้วางใจ และให้ความช่วยเหลือ
การประเมินผลการพยาบาลผู้รับบริการสามารถเผชิญความกลัวจากอาการหลงผิด โดยไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือคุกคาม ผู้รับบริการตระหนักถึงความเป็นจริง ไม่มีอาการหลงผิด หรือแปลความหมายผิด ผู้รับบริการและครอบครัวให้ความร่วมมือในการรักษา
อาการหวาดระแวง (Paranoid)
บุคคลที่มีความผิดปกติมักจะไม่ไว้วางใจ ไม่เชื่อใจผู้อื่น ระแวงสงสัย โดยขาดหลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอ มีพฤติกรรมระมัดระวังตนมาก มีความระมัดระวังในการแสดงออก มีความรู้สึกไวต่อปฏิกิริยาการแสดงออกของผู้อื่น แปลพฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่นว่ามุ่งร้าย มีความรู้สึกว่าตนเองได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม และมักจะโต้ตอบรวดเร็วด้วยอารมณ์โกรธอย่างรุนแรงต่อบุคคลอื่น
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม มีประวัติบุคคลในครอบครัว
ด้านการเลี้ยงดู ขาดความอบอุ่นและความรักในครอบครัว
ประสบการณ์ชีวิตประจาวัน เกิดการรับรู้ไปในทางร้าย รู้สึกถูกคุกคาม ทำให้เกิดความกดดันทางจิตใจ ไม่สามารถปรับตัวได้
การได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่น สุรา แอมเฟตามีน
อาการและอาการแสดง
การรับรู้ มักระแวงหรือมองผู้ใกล้ชิดว่าคิดแอบทาร้าย มีเจตนาร้าย ประสงค์ร้าย คอยคุกคาม ทำร้าย ทาอันตราย มักใช้กลไกป้องกันตนเอง (Defend Mechanism) แบบโทษผู้อื่น (Projection) วิธีการปฏิเสธ (Denial)
อารมณ์ มีความรู้สึกสงสัย คลางแคลงใจ อิจฉาริษยา ขุ่นเคือง โกรธ ระแวดระวัง แบบไม่เป็นมิตรตลอดเวลา อารมณ์อ่อนไหว (Over Sensitivity)
พฤติกรรม มีท่าทีป้องกันตัวเองตลอดเวลา ไม่ไว้วางใจผู้อื่น สายตาระแวดระวัง ชอบแอบมองผู้อื่นด้วยความสงสัย
กลไกการเกิดอาการหวาดระแวง
อาการหวาดระแวงเริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อบุคคลเกิดความรู้สึกไม่เชื่อมั่น (Inconsistency) ต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม รู้สึกไม่ไว้วางใจ (Mistrust) รู้สึกไม่เป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป (Hostile) เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็มักจะโทษผู้อื่น (Projection) การมีประสบการณ์ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือทาสิ่งใด ๆ ด้วยตนเองไม่สำเร็จ สูญเสีย ทำให้ขาดความภาคภูมิใจ ไม่มั่นใจในตนเอง ใช้กลไกการป้องกันทางจิตแบบปฏิเสธ (Denial)
ประเภทของอาการหวาดระแวง
Simple Paranoid State เป็นสภาวะหวาดระแวง ซึ่งมีความหลงผิดว่าตนถูกควบคุมบังคับ ถูกปองร้าย หรือถูกกระทำโดยวิธีการพิเศษบางอย่าง เป็นอาการสำคัญ ความหลงผิดนี้ค่อนข้างฝังแน่น
Paranoid เป็นความหวาดระแวงที่เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน ฝังแน่น โดยไม่มีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย บุคลิกภาพและอารมณ์เป็นปกติ ความหลงผิดที่สำคัญ คือ หลงว่าตนมีความสาคัญเป็นพิเศษ
Paraphrenia เป็นอาการหวาดระแวงของจิตเภท (Paranoid Schizophrenia) มักมีอาการหลงผิดคิดว่าคนอื่นมาทาร้ายและตนเองเป็นผู้ยิ่งใหญ่ บุคลิกภาพและสติปัญญาไม่ผิดปกติ แต่มีอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นอย่างเด่นชัด
Induced Psychosis เป็นอาการหวาดระแวงชนิดเรื้อรัง และไม่มีลักษณะชัดเจน เกิดจากการได้รับความทรมานจากอาการหลงผิดแบบหวาดระแวง ซึ่งเป็นผลมาจากสัมพันธภาพกับคนใกล้ชิดหรือบุคคลอื่นที่มีอาการหลงผิด
การรักษา
การใช้ยา
จิตบาบัด
พฤติกรรมบาบัด
การปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเชิงบาบัดเพื่อให้ผู้รับบริการไว้วางใจ
สนับสนุนให้ผู้รับบริการมีสัมพันธภาพที่เหมาะสม โดยการทักทายพูดคุยกับผู้รับบริการอย่างสม่าเสมอ และเท่าเทียมกับผู้รับบริการอื่น
กระตุ้นให้มีสัมพันธภาพทางสังคม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมรวมกลุ่ม และมีส่วนร่วมกิจกรรมส่วนรวมในหอผู้ป่วย
ความผิดปกติด้านการรับรู้
ความผิดปกติทางจิต มักพบความผิดปกติด้านการรับรู้ร่วมด้วย ส่งผลให้กระบวนการรับรู้ความเป็นจริงเสียไป
ประสาทลวง (Illusion) ความผิดปกติของการรับรู้ที่มีสิ่งเร้ากระตุ้นต่อประสาทสัมผัส แต่บุคคลรับรู้หรือแปลผิด
ประสาทหลอน (Hallucination) ความผิดปกติของการรับรู้โดยปราศจากสิ่งเร้าภายนอก เป็นไปตามอวัยวะรับรู้ของคนเราเป็นการรับรู้แบบผิด ๆ ผ่านประสาทการรับรู้ทั้ง 5 แสดงออกในเรื่องของ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส โดยที่ไม่มีสิ่งเร้าภายนอกที่มีอิทธิพลและกระทบการรับรู้ปกติ เป็นความฝันและจินตนาการที่เกิดขึ้นจากอาการประสาทหลอนที่ไม่สมบูรณ์
สาเหตุ
ประสาทหลอน (Hallucinations) เกิดในผู้รับบริการที่มีความผิดปกติทางจิต เช่น จิตเภท ซึมเศร้า เพ้อ สับสน ความจำเสื่อม และอาการที่เกี่ยวข้องกับสุราและสารเสพติด อาการประสาทหลอนอาจเกิดในคนปกติที่มีประสบการณ์การแยกตัว การรับรู้การเปลี่ยนแปลง
เป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยที่มีผลต่อประสาทหูหลอน ได้แก่ ความเครียดจากปัจจัยด้านชีววิทยา จิตวิทยา สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัญหาซึ่งผู้รับบริการพยายามเผชิญและแก้ปัญหา
อาการและอาการแสดง
มีอาการประสาทหลอนมักอยู่คนเดียว
นั่งและจ้องไปที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ ยิ้มและพูดกับตนเอง
มีอาการโกรธหรือทำร้ายผู้อื่น มีพฤติกรรมแปลก ๆ
การจำแนกประสาทหลอน
ประสาทหลอนทางหู หรือเสียงแว่ว (Auditory Hallucinations) การได้ยินเสียงแว่ว หรือที่เรียกว่าหูแว่วเป็นอาการสาคัญเสียงที่ได้ยิน ได้แก่ เสียงวี้ ๆ เสียงผิวปาก เสียงหึ่ง ๆ ของแมลง เสียงเครื่องจักรกล รวมถึงเสียงดนตรี
ประสาทตาหลอน หรือภาพหลอน (Visual Hallucinations) เห็นภาพหลอนอาจเป็นได้ตั้งแต่รูปแบบที่ไม่ซับซ้อน เช่น แสงวาบ ฯลฯ ไปจนกระทั่งเป็นรูปแบบที่ซับซ้อนเป็นเรื่องราว
ประสาทหลอนด้านการรับกลิ่น (Olfactory Hallucinations)
ประสาทหลอนด้านการรับรส (Taste Hallucinations) รสชาติหลอนนี้อาจเป็นรสชาติของอาหารหรือสิ่งของ ได้แก่ รสหัวหอม รสโลหะ หรืออาจเป็นรสแปลกประหลาดต่าง ๆ อาจพบในผู้รับบริการโรคจิตเภท ซึ่งเกิดร่วมกับความหลงผิดว่าถูกวางยาพิษ
ประสาทหลอนทางผิวสัมผัส (Tactile Hallucinations) Superficial Hallucination อาการประสาทหลอนทางผิวกาย ได้แก่ Thermic Hallucination, Hepatic (Tactile) Hallucination and Paraesthesic Hallucination Kinaesthetic Hallucination เป็นอาการประสาทหลอนที่เกิดกับข้อและกล้ามเนื้อ อาการนี้มักเกิดร่วมกับ Somatic Delusion Visceral Hallucination เป็นอาการประสาทหลอนที่เกิดกับอวัยวะภายใน
การพยาบาล
สร้างความไว้วางใจแก่ผู้รับบริการ
รับฟังผู้รับบริการแสดงความรู้สึกด้วยความเข้าใจและใส่ใจ
สังเกตพฤติกรรม ทั้งในส่วนที่เป็นภาษาพูด (Verbal Communication) และไม่ใช่ภาษาพูด (Non-verbal Communication) เกี่ยวกับอาการประสาทหลอน
ให้โอกาสผู้รับบริการในการตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เหมาะสม และจากัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ความผิดปกติด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพ
เป็นแบบแผนและการดาเนินชีวิต ที่เบี่ยงเบนไปจากวัฒนธรรมของบุคคลนั้น ๆ และเป็นไปอย่างถาวร บุคลิกภาพนี้จะปรากฏในช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แล้วจะดำเนินไปเช่นนั้นเรื่อย ๆ ไม่มีการยืดหยุ่น อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ หรือไม่สามารถใช้ชีวิตเข้ากับสังคมได้ โดยที่บุคลิกภาพผิดปกตินี้ไม่มีความผิดปกติทางจิต
บุคลิกภาพแปรปรวน (Personality Disorders) งพฤติกรรมและการดาเนินวิถีชีวิตของบุคคล ที่เบี่ยงเบนไปจากสังคมหรือวัฒนธรรมนั้น ๆ และมักปรับหรือเปลี่ยนได้ยาก บุคลิกภาพแปรปรวนมักจะเริ่มต้นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น พฤติกรรมที่ดำเนินมักขาดความยืดหยุ่น ทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวในการดาเนินชีวิตร่วมกับบุคคลอื่น
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) บุคคลที่มีลักษณะและการดำเนินชีวิตซึ่งแสดงออกทางอารมณ์ ความคิดและเจตคติ ตลอดจนพฤติกรรมแตกต่างไปอย่างมากจากวัฒนธรรมของตน และจะส่งผลกระทบต่ออาชีพและกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมของผู้นั้น ความผิดปกติดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว และจะคงอยู่ถาวรตลอดไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
แนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
แบบชอบแสดงตัว (Extrovert) มีลักษณะเปิดเผย กล้าแสดงออก ชอบเป็นจุดเด่น แต่งตัวดี ร่าเริงแจ่มใส ชอบความสนุกสนาน มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ ชอบเข้าสังคม การสังสรรค์ การพบปะพูดคุยกับผู้อื่น สนใจเรื่องราวของผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบอะไรซ้ำซาก สามารถปรับตัวได้ดี ชอบทางานเป็นกลุ่ม มีมนุษยสัมพันธ์ดี
แบบชอบเก็บตัว (Introvert) มีลักษณะเงียบเฉย ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ไม่ค่อยพูด ถ้าจะพูดก็มักจะพูดเรื่องของตัวเอง ชอบเขียนมากกว่าพูด ชอบความเงียบสงบ ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบสังสรรค์ ไม่ชอบความวุ่นวาย ไม่ชอบทาตัวเด่น พอใจที่จะอยู่เบื้องหลัง
แบบกลาง ๆ (Ambivert) มีชีวิตเรียบง่าย ไม่ชอบเก็บตัวมากไปและไม่ชอบแสดงออกมากไป อยู่คนเดียวก็มีความสุข คบหากับคนทั่วไปได้ดี ไม่พูดมากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
พฤติกรรมแยกตัว /บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (Withdraw Behavior/Schizoid Personality Disorder)
ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมแยกตนเองจากการพบปะติดต่อกับบุคคล และความกดดันต่าง ๆ หนีจากสิ่งแวดล้อมและความเป็นจริงในชีวิต เพราะทนต่อปัญหาและความกังวลไม่ได้
ลักษณะเด่นของพฤติกรรมแยกตัว
Autistic Thinking ความคิดจะวกวนอยู่แต่เรื่องของตนเอง ไม่สามารถแยกตนเองจากสิ่งแวดล้อมได
Out of Reality อยู่ในโลกของความฝัน (Fantasy) การแสดงออกไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ มีประสาทหลอน (Hallucination) แปลภาพผิด (Illusion) หลงผิด (Delusion) ตามมา
Impairment of Intelligent ความสามารถทางสติปัญญาเสื่อมลง การตัดสินใจเสีย
Inappropriate Mood อารมณ์จะราบเรียบ (Apathy) ทุกครั้งอารมณ์ไม่สมเหตุผล
การเคลื่อนไหวช้า ไม่กระฉับกระเฉง
ขาดความสนใจด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจาวัน
เกณฑ์การวินิจฉัยพฤติกรรมแยกตัว
ไม่สนใจจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่น หรือใกล้ชิดกับคนในครอบครัว
ชอบทากิจกรรมที่ต้องทำคนเดียว
ไม่มีความสนใจ หรือสนใจน้อยมาก ในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้อื่น
ไม่สนใจในคำชม หรือคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่น
กลไกการเกิดพฤติกรรมแยกตัว
ครอบครัวที่บิดามารดาหรือบุคคลในครอบครัวมีความขัดแย้งกัน
ครอบครัวที่บิดามารดามีลักษณะปกป้องคุ้มครองเด็กมากเกินไป เด็กไม่มีโอกาสเผชิญปัญหาด้วยตนเอง
ครอบครัวที่บิดามารดามีลักษณะแยกตัว ซึมเฉยเงียบ ไม่ค่อยแสดงออก มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นน้อยหรือยาก และไม่ยอมให้เด็กติดต่อพบปะสัมพันธ์กับบุคคลอื่นนอกบ้าน
ครอบครัวมีปัญหาร้าวฉาน ยุ่งยาก บิดามารดาทะเลาะวิวาทกันเสมอ บิดามารดาหย่าร้าง บุคคลในครอบครัวไม่สนใจซึ่งกันและกัน เด็กจะขาดความสุข ขาดความรัก ขาดความอบอุ่น ทาให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่ามีปมด้อย ไร้คุณค่า ไม่ไว้วางใจใคร สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นไม่สาเร็จ
พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ (Manipulative Behavior)
พฤติกรรมที่มีอิทธิพลควบคุมบุคคลอื่น โดยใช้อำนาจหรืออิทธิพลเหนือผู้อื่น พยายามให้ผู้อื่นทำตามความต้องการของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้อื่น พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการมีผลทั้งในทางสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ และมีผลในทางทำลาย
สาเหตุการเกิดพฤติกรรม
บุคคลมีความวิตกกังวล ความต้องการไม่สมหวัง มีความต้องการโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้อื่น
การปรับตัวไม่สมดุล โดยจะให้ผู้อื่นทางานทุกอย่างแทนตนเอง ไม่ทาอะไรด้วยตนเองเพราะกลัวความล้มเหลว ถ้าไม่มีผู้ใดยอมทำก็จะแสวงหาไปเรื่อยๆ
ลักษณะเด่นของพฤติกรรม
ต่อต้านกระบวนการบำบัดรักษา พยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหา
แสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ
ขัดขืน ขัดแย้ง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
ถ้าถูกจำกัดสิทธิ์หรือขัดใจ จะแสดงปฏิกิริยารุนแรง
การปฏิบัติการพยาบาล
ให้การยอมรับผู้รับบริการโดยไม่ตำหนิพฤติกรรม (แปลก ๆ) ที่แสดงออก
กระตุ้นให้ผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัด และฝึกทักษะทางสังคมที่จำเป็น
ดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ประเมินประสิทธิผลของยา และติดตามการเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเริ่มจากคนจำนวนน้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น