Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
กลุ่มอาการที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทําลายทําให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีจํานวนลดลงจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
สาเหตุของการติดเชื้อจาก
มารดาสู่ทารก
ส่วนใหญ่เด็กจะติดเชื้อเอชไอวีขณะอยู่ในครรภ์ผ่านทางรก เรียกวิธีการแพร่เชื้อนี้ว่า MOTHER TO INFANT TRANSMISSION
หรือติดเชื้อในระหว่างคลอด
อาจได้รับเชื้อจากนมมารดาหากทารกกินนมมารดาที่ติดเชื้อด้วย
ระยะเวลาของการแพร่เชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกมี 3 ระยะ
1.ระหว่างการตั้งครรภ์(INTRAUTERINE)
เข้าสู่ทารกผ่านทางระบบไหลเวียนเลือด
โดยรก
ตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
2.ระยะการคลอด (INTRAPARTUM)
ทารกจะสัมผัสกับเลือด
น้ำคร่ำ และสารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดาจํานวนมาก
3. ระยะหลังคลอด ( PASTPARTUM)
ทารกจะสัมผัสกับสารคัดหลั่งของมารดาคือน้ำนม ดังนั้น จะไม่แนะนําให้ดื่มนมมารดาจะแนะนําให้เลี้ยงทารกด้วยนมผสมแทน
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเชื้อไวรัสเอดส์เข้าสู่ร่างกาย จะไปจับกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4+ (T LYMPHOCYTES)
ไวรัสใช้ GP120 บนผิวนอกเซลล์จับกับแอนติเจน CD4 บนผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาว
เชื้อไวรัสเอดส์จะเข้าไปในเซลล์ CD4+ ใช้เอนไซม์ REVERSETRANSCRIPTASE เปลี่ยน RNA ของมันให้เป็นDNA เพื่อจะ INTEGRATE เข้าไปอยู่ใน DNAของเซลล์เม็ดเลือดขาว
จีโนมของเชื้อไวรัสเอดส์จะแฝงตัวอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว มีการแบ่งตัวเพิ่มจํานวนตามการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาว
เชื้อไวรัสเอดส์ที่สมบูรณ์จํานวนมาก จะถูกสร้างขึ้นและถูกปลดปล่อยออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาว และเข้าไปในเซลล์ CD4 +อื่นๆ ต่อ
ทําให้เซลล์ CD4+ ในร่างกายติดเชื้อ
และถูกทําลายลงในเวลาอันรวดเร็ว
ร่างกายไม่สามารถกําจัด
เชื้อโรคอื่นได้ เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสหรือ
เป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่เชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายจนเกิดเป็นโรคเอดส์ในเด็กสั้นกว่าในผู้ใหญ่
มีการจําแนกระยะของการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ เป็น3 ระยะ
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
ระยะป่วยเป็นเอดส์
เป็นระยะน้ำหนักลด ผอมอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลียมากแม้จะรับประทานอาหารได้ และเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาลที่รุนแรงจนเสียชีวิต
อาการและการแสดงของเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี
ตับม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ท้องเสียเรื้อรัง พยาธิสภาพที่สมอง
น้ำหนักลด เลี้ยงไม่โต พัฒนาการช้า มีผื่นที่ผิวหนัง ติดเชื้อราในปาก ปอดอักเสบ ต่อมน้ำลายพาโรติคอักเสบ
การดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อในปัจจุบัน
ใช้ยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง นำมาใช้หลายตัวรวมกัน ยาสูตรพื้นฐานสูตรแรกคือ ยากลุ่ม nucleoside reverse transcriptase 2 ตัว ร่วมกับยากลุ่ม non- nucleoside reverse transcriptase อีก 1 ตัว
ได้แก่ zidovudine (หรือ stavudine) ร่วมกับ lamivudine ร่วมกับ nevirapine
ดูแลสุขภาพทั่วไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อ การเจ็บป่วยซ้ำเติม
ให้อาหารที่สะอาดเพียงพอ ครบทุกหมู่ ระวังอาหารหวาน และการคานมขวดจนหลับ เพราะมักเป็นสาเหตุของภาวะฟันผุอย่างแรงได้
อาบน้ำ แปรงฟัน ตัดเล็บ ล้างมือ ต้องเน้นย้ำมากกว่าปกติ
แนะนำให้ดื่มน้ำสุกเสมอ
ไม่ให้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ต้องมีการสัมผัส
ควรส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกาย และมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ไปโรงเรียนตามปกติ หลีกเลี่ยงภาวะที่ต้องมีการกระทบกระแทกมีเลือดออก