Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อน จากการตั้งครรภ์, นางสาวกานต์ธิดา รตาภรณ์ เลขที่ 11 รหัส…
ภาวะแทรกซ้อน
จากการตั้งครรภ์
อาการแพ้ท้องรุนแรง
(hyperemesis gravidarum)
สาเหตุ
1.การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
(hormonal stimulus)
Estrogen
Human chorionic gonadotrophin (HCG) ที่มีปริมาณมากเกินไป
2.การปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์
(evolutionary adaptation)
มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย (Ambivalance)
มีความ ยุ่งยากในบทบาทการเป็นมารดา
การปรับตัวกับแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
อาการ
อาการไม่รุนแรง
1.1อาเจียนน้อยกว่า 5 ครั้งต่อวัน สามารถทำงานได้ตามปกติ
1.2ลักษณะอาเจียนไม่มีนํ้าหรือเศษอาหาร
1.3นํ้าหนักตัวลดเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการขาดสารอาหาร
1.4สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
2.อาการรุนแรงปานกลาง
2.1อาเจียนติดต่อกัน 5-10 ครั้งต่อวัน
2.2อาเจียนติดต่อกันไม่หยุดภายใน 2-4 สัปดาห์
2.3อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
2.4น้ำหนักตัวลด มีอาการขาดสารอาหาร
2.5มีภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis)
3.อาการรุนแรงมาก
3.1อาเจียนมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
3.2อาเจียนทันทีภายหลังรับประทาน และอาเจียนติดต่อกันเกิน 4 สัปดาห์
3.3อ่อนเพลีย ซูบผอม น้ำหนักตัวลดมาก
3.4เกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
ความหมาย
อาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่มีอาการรุนแรงตลอด ระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ น้ำหนักลดลง ร่างกายขาดความสมดุลของสารนํ้าและสารอาหาร
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (Gestational hypertensive disorders หรือ Pregnancy -induced hypertension (PIH )
ความหมาย
ภาวะความดันโลหิตสูงที่ เกิดขึ้นโดยตรงจากการตั้งครรภ์ ในระยะตั้งครรภ์จนกระทั่งถึงระยะหลังคลอด และหายไป ภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.Transient or Gestational hypertension คือ ภาวะความดันโลหิตที่ค่อยๆ สูงขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอด ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะหรือไม่ มีภาวะบวมความดันโลหิตจะลดลงอยู่ในระดับปกติภายใน10วันหลังคลอด
Pre-eclampsia คือ ภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ เมื่อ GA > 20 wks. ร่วมกับการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ปริมาณโปรตีน > 1 gm.% หรือ 1-2 บวก ทดสอบโดยใช้ Urine reagent strips หรือ โปรตีน > 0.3 gm.% จาก Urine 24 ชั่วโมง และ/หรือมีอาการบวม กดบุ๋ม แบ่งออกเป็น
แบ่งเป็น 2 ระดับ
Mild pre - eclampsia ความดันโลหิตสูงก่อนชัก ระดับเล็กน้อยมีค่า Diastolic 90- <110 mm.Hg, หรือ Systolic 140 - < 160 mm.Hg. ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะ < 5 gm.% หรือ 1- 2บวกในปัสสาวะที่เก็บ24ชั่วโมง และ/หรือ อาการบวมกดบุ๋ม
Severe pre - eclampsia ความดันโลหิตสูงก่อนชัก ระดับรุนแรง มีอาการ ดังต่อไปนี้
BP. ค่าdiastolic > 110 mm.Hg. หรือ Systolic > 160 mm.Hg.
โปรตีน > 5 gm.% ในปัสสาวะที่เก็บ 24 ชั่วโมงหรือ 3-4 บวก
ปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง < 400-500 ml. หรือ < 100 ml. ใน 4 ชั่วโมง
อาการทางสมองและการมองเห็น เช่น ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ จุดบอดที่ลานสายตา เห็นภาพไม่ชัด
มีพยาธิสภาพที่ตับ เซลล์ตับถูกทำลาย
มีภาวะเกล็ดเลือดตำ (Thrombocytopenia)
มีพยาธิสภาพที่หลอดเลือดและหัวใจ
มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะ Eclampsia ได้ในระยะต่อมา
มีแนวโน้มที่จะเป็นเกิดภาวะ HELLP syndrome ได้ในระยะต่อมา
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
Eclampsia คือ การทีมีภาวะ Severe pre - eclampsia และมีอาการชัก เกร็ง ร่วมด้วย อาการชักจะต้องไม่มีสาเหตุจากภาวะอื่นๆ เช่น ลมบ้าหมู โรคทางสมอง
ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำ
ครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios)
ความหมาย
ภาวะตั้งครรภ์ที่มีจำนวนน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกินเปอร์เซนไตล์ที่ 95 ของแต่ละอายุครรภ์ หรือ AFI เกิน 24-25 ซม ถ้าวัดปริมาตรได้โดยตรงจะถือที่มากกว่า 2,000 มล. ตอนครรภ์ครบกำหนด ส่วนมากแล้วจำนวนน้ำคร่ำที่มากมักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรียกว่า chronic hydramnios แต่ถ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วันก็เรียกว่า acute hydramnios ทั้งนี้ลักษณะของน้ำคร่ำจะเหมือนกับครรภ์ปกติ
สาเหตุ
1) สาเหตุที่เกี่ยวกับทารก (ร้อยละ 20) โดยแบ่งออกเป็นความพิการของทารก ซึ่งส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการกลืนของทารกตั้งแต่ความผิดปกติของระบบประสาทลงมาถึงการอุดกั้นของทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยที่สุด
ความผิดปกติอื่น ๆ เช่น trisomy 18, ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis) ทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลวจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ทารกซีดจากโรคฮีโมโกลบินบาร์ท การติดเชื้อของทารกในครรภ์
ครรภ์แฝด ที่มีภาวะแทรกซ้อนคือ twin-to- twin transfusion syndrome พบได้ร้อยละ 7
สาเหตุที่เกี่ยวกับมารดา (ร้อยละ 20) ได้แก่ มารดาเป็นเบาหวาน โดยเฉพาะในรายที่ควบคุมไม่ดีซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 25 ทารกในครรภ์จะมีภาวะ hyperglycemia ส่งผลต่อระบบ osmotic ทำให้สร้างปัสสาวะมากขึ้น ( polyuria ) และถ้าทารกมีภาวะ macrosomia จะมีการเพิ่มขึ้นของ cardiac output และ ปริมาตรของเลือดในร่างกาย ส่งผลให้ glomerular filtration rate เพิ่มขึ้น ทำให้มีปัสสาวะออกมากขึ้นด้วย
สาเหตุที่เกี่ยวกับรก เช่น เนื้องอกของรก chorioangioma
ไม่ทราบสาเหตุ เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด คือร้อยละ 60 อาจเป็นความแปรปรวนของครรภ์ปกติ ครรภ์แฝดน้ำในกลุ่มนี้มักไม่รุนแรงมากคือระดับน้อยถึงปานกลาง
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
ความหมาย
ภาวะตั้งครรภ์ที่มีจำนวนน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ ในบางรายปริมาณน้ำคร่ำมีน้อยจากค่าปกติมากอาจจะลดลงจนเหลือเพียง 2-3 มล.ของน้ำคร่ำที่ข้นเหนียวทั่ว ๆ ไปภาวะนี้มักมีน้ำคร่ำประมาณ 100-300 มล.
สาเหตุ
ทารกพิการโดยกำเนิด
การอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะของทารก
ภาวะไตฝ่อทั้งสองข้าง (renal agenesis)
ทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 13 triploidy เป็นต้น
มารดาเป็นความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
preeclampsia
ภาวะเบาจืด (diabetes insipidus)
มารดาได้รับยาบางอย่าง เช่น indomethacin, angiotensin-converting enzyme inhibitors
รกเสื่อมสภาพ (utero-placental insufficiency; UPI)
ครรภ์เกินกำหนด
รกลอกตัวก่อนกำหนด
Twin-twin transfusion syndrome
การรั่วของถุงน้ำคร่ำเป็นเวลานาน ๆ
ครรภ์แฝด (Multifetal Pregnancy)
ชนิดของครรภ์แฝด (Zygosity,
Chorionicity and amnionicity)
Dizygotic (Fraternal) twins คือ ครรภ์แฝดที่เกิดจากการผสมของไข่ 2 ใบ กับอสุจิ 2 ตัว เพศของทารกอาจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกัน ลักษณะของรก เยื่อหุ้มรก และถุงน้ำคร่ำ เป็นแบบ dichorion diamnion โดยรกจะพบเป็น 2 อันแยกกันหรือ
เป็นอันเดียวที่เชื่อมกันได้
Monozygotic (Identical) twins คือ ครรภ์แฝดซึ่งเกิดจากการปฏิสนธิของไข่ใบเดียวกับอสุจิตัวเดียว แล้วมีการแยกเป็น 2 ตัวอ่อน (Twinning process) โดยจำนวนรกและถุงน้ำคร่ำจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ(Fertilized ovum) แบ่งตัว
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่เกิดทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป ได้แก่ แฝดคู่ (Twins) แฝดสาม (Triplets) แฝดสี่ (Quadruplets) เป็นต้น โดยครรภ์แฝดมีผลทำให้เพิ่มภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ทั้งต่อมารดาและทารก โดยพบว่ายิ่งจำนวนทารกมากขึ้นโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็ยิ่งสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบอัตราการตายปริกำเนิดของแฝดสองและแฝดสาม พบว่าสูงกว่าการ
ตั้งครรภ์เดี่ยวเป็น 5 และ 10 เท่าตามลำดับ
สาเหตุ
อุบัติการณ์ของครรภ์แฝดพบได้ประมาณ 1 ต่อ 90 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งปัจจุบันพบว่าอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มากขึ้น โดยพบว่าในประเทศพัฒนาแล้ว
อุบัติการณ์ของการตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
แฝดจากไข่สองใบ (Dizygotic twins) พบประมาณ 2 ใน 3 ของครรภ์แฝดทั้งหมด โดยในแต่ละประเทศมักมีอุบัติการณ์แตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่มักพบว่าทำให้อุบัติการณ์ของครรภ์แฝดไข่คนละใบเพิ่มขึ้น ได้แก่ เชื้อชาติผิวดำ ประวัติครอบครัวโดยเฉพาะญาติฝ่ายมารดา ภาวะโภชนาการที่ดีของมารดา มารดาอายุมาก การได้รับยากระตุ้นการตกไข่หรือการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ส่วนแฝดจากไข่ใบเดียวกัน (Monozygotic twins) พบประมาณ 1 ใน 3 ของครรภ์แฝด โดยมีอุบัติการณ์ค่อนข้างคงที่
ในทุกกลุ่มประชากรคือประมาณ 1 ต่อ 250
นางสาวกานต์ธิดา รตาภรณ์ เลขที่ 11
รหัส 611901011