Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพในภาวะเฉียบพล…
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพในภาวะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง
7.1 การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
เกิดจากการคลอดท่าผิดปกติ หรือต้องใช้เครื่องมือช่วยทำคลอด (F/E,V/E)
แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.ความบอบช้ำที่เกิดต่อผิวหนัง
Caput succedaneum คือ หนังศีรษะบริเวณืี่เป็นส่วนนำบวม มีการคั่งของน้ำ
Artificial caput บอบช้ำจากถ้วยของเครื่องดูดสุญญากาศ
Cephalhematoma คือ มีเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง
2.กระดูกหัก
กระดูกไหปลาร้าหัก เกิดในเด็กโตคลอดติดไหล่
แนวทางการดูแล
กระดูกหักที่ไม่แยกออกจากกัน ไม่ต้องใส่เฝือก
กระดูกหักออกจากกันต้องใส่เฝือกชั่วคราว
3.ความบอบช้ำต่อระบบประสาท
Spinal cord injury อาการลำตัวหรือแขนขาเกร็ง อัมพาตตั้งแต่เกิด เสียชีวิตหลังคลอดแบบมี spinal shockหรือเป็นมากก็ตายคลอด
Facial nerve palsy ศีรษะกดกับกระดูก sacrum ของแม่ คีมกดที่กกหู ทำให้ไม่สามารถย่นหน้าผาก มุมปากข้างนั้นขยับได้ หายเองได้ใน 3 สัปดาห์หลังคลอด
Brachial plexus palsy มี 3 แบบ
Erb’s palsy
Klumpke’s paralysis
Complete brachial plexus palsy :
การพยาบาลกลุ่มอาการ Brachial plexus palsy
เน้นการจัดท่าให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว ตรึงแขนให้อยู่ในท่ากางหมุนออก ศอกงอตั้งฉากกับลำตัวโดยยกแขนขึ้นระดับศีรษะ(คล้ายท่ายกแขนขึ้นยอมแพ้)
ใช้ผ้าอ้อมพันรอบแขน
ตรึงด้วยวิธีโคลนฮิทธิ์
ติดตามและประเมินแขน
สอนให้ผู้ดูแลมีการเคลื่อนไหวแขนของทารกอย่างนุ่มนวล
7.2 ทารกน้ำหนักผิดปกติ/IUGR
ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intrauterine growth restriction : IUGR หมายถึง การที่ทารกในครรภ์ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพที่ควรจะเป็น ทารกจะมีน้ำหนักน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่เจริญเติบโตปกติ
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR)
ทารกจะมีขนาดเล็กเหมือนเด็กตัวเล็ก ทั้งขนาดศีรษะ เส้นรอบท้องหรือความสูง
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetric IUGR) ทารกมีภาวะทุพโภชนาการเป็นหลัก ทารกจะมีขนาดเล็กในทุกระบบอวัยวะ ยกเว้นขนาดศีรษะที่ปกติ
สาเหตุ
สาเหตุจากมารดา
มารดามีโรคประจำตัว
ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่
ขาดอาหาร
น้ำหนักตัวน้อย
สาเหตุจากทารก
โครโมโซมผิดปกติ
มีความพิการแต่กำเนิด
ครรภ์แฝด
มีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
สาเหตุจากมดลูก รกและสายสะดือ
มดลูกผิดปกติ
รกเสื่อม
รกเกาะต่ำ
สายสะดือพันกัน สายสะดือตีบ
ปัญหาที่พบบ่อย
1.ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (Perinatal asphyxia)
2.การติดเชื้อแต่กำเนิด (Congenital infection)
3.ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia)
4.ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
5.การสูดสำลักขี้เทา (Meconium aspiration syndrome)
การพยาบาลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
1.ดูแลอุณหภูมิกายให้อยู่ที่ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
2.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและออกซิเจนในเลือดปกติ
3.การป้องกันการติดเชื้อ
เน้นล้างมือก่อน-หลังสัมผัสทารก
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล
4.ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าอายุครรภ์
ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่าอายุครรภ์ (Large for gestational age)
อาจเป็นทารกที่ครบกำหนด หรือทารกเกิดก่อนกำหนด
สาเหตุ
มารดารับประทานอาหารมากขณะตั้งครรภ์
มีการติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์
พิการแต่กำเนิดเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร
มารดาเป็นเบาหวาน
ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกรุนแรงในทารก
กรรมพันธุ์จากบิดามารดา
ลักษณะของทารก
ตัวโต อ้วน หน้ากลม มีขนตามตัวมาก ผมดกดำ มีตัวแดงจากภาวะเลือดข้น
ปัญหาที่พบได้ในทารก
1.ปัญหาจากการคลอด
ทารกตัวใหญ่ ทำให้เกิดอัมพาตของแขน กระดูกกะโหลกศีรษะแตกจากแรงกด
2.ปัญหาในระยะหลังเกิด
1.น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
2.โรคไฮยาลีนเมมเบรน (Hyaline membrane disease)
3.ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง (Hyperbilirubinemia)
4.ภาวะเลือดข้น (Polycythemia)
5.ภาวะแคลเซียม แมกนีเซียมในเลือดต่ำ
6.ความพิการแต่กำเนิด
การพยาบาล
ส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่
สังเกตและบันทึกอาการทั่วไปของทารก
ตรวจและบันทึกผลของน้ำตาลในเลือด
ติดตามและบันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
สังเกตอาการของทารกอย่างใกล้ชิด
7.3 ทารกแรกเกิดติดเชื้อ
ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด(neonatal sepsis)
เกิดจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตของทารกแรกเกิด ทารกรับเชื้อโรคจากร่างกายของมารดาเข้าสู่ร่างกายทารกได้ 4 ทางคือ
เชื้อจากช่องคลอดเข้าไปในถุงน้ำคร่ำทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่สายสะดือและเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดของสายสะดือ
ทารกหายใจหรือกลืนเอาน้ำคร่ำที่มีเชื้อโรคปนอยู่
เชื้อโรคติดอยู่กับผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆของทารกขณะผ่านช่องคลอดของมารดา
ทารกได้รับเชื้อจากมารดาที่มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตในระยะก่อนคลอดผ่านทางรก
บทบาทของพยาบาล
1.เฝ้าระวังปัจจัยด้านมารดา/ทารก
2.ติดตามประเมินอาการทางคลินิกของภาวะติดเชื้อในทารก จาก
T สูง ต่ำ/ระบบประสาท ซึม เคลื่อนไหวน้อย ชัก/ระบบทางเดินอาหาร ไม้ดูดนม สำรอก ท้องอืด/HR>180BPM/RRเร็ว อกบุ๋ม จมูกบาน/น้ำตาลต่ำ
3.รายงานแพทย์
4.จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เก็บตัวอย่าง/เก็บตัวอย่างส่งตรวจ/ติดตามผลการตรวจ
ให้การดูแลทารกแรกเกิดตามอาการที่เกิดขึ้น
7.4 ทากแรกเกิดจากมารดาติดสารเสพติด
บุหรี่
ผลกระทบต่อทารก
ส่งผลใ้ห้มีการขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก ทำให้เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว
ผลกระทบต่อมารดา
โรคหลอดเลือดอุดตัน
โรคหลอดลมอักเสบ
แอลกอฮอล์
ผลกระทบต่อทารก
การเจริญบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย
ด้านพัฒนาการของสติปัญญามีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำและเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวล มีภาวะซึมเศร้า
อาการ
ช่วงตาสั้น
ร่องริมฝีปากบนเรียบ
ริมฝีปากบนยาวและบาง
หนังคลุมหัวตามาก
จมูกแบน
ปลายจมูกเชิดขึ้น
บริเวณส่วนกลางใบหน้ามีการพัฒนาน้อยกว่าปกติ
แอมเฟตามีนและอนุพันธ์
ผลกระทบต่อทารก
มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมองภาวะสมองตาย
อาการถอนยาในทารกแรกเกิด
อาการแสดงของอาการถอนยาจะปรากฎในช่วง 48-72 ชั่วโมงแรกเกิด
ร้องเสียงแหลม ร้องกวน
แขนขาสั่นหรือสั่นทั้งตัว
ใช้จมูกหรือศีรษะถูกับที่นอนจนเป็นรอยแดง
ชัก หมดสติ และตายได้
ไข้ อาเจียน กินนมน้อย ถ่ายเป็นน้ำ
7.5 Birth asphyxia
เป็นภาวะขาดออกซิเจนในเลือดแดงตั้งแต่แรกเกิด ทารกจะไม่มีชีพจรหลังคลอด
สาเหตุ
เกิดการคลอดลำบากและขาดออกซิเจน คือ การคลอดโดยใช้ไหล่คลอด
มารดาตกเลือด อายุมาก มีโรคเบาหวาน รกเกาะต่ำ
ทารกมีการสำลักน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปน ภาวะติดเชื้อในครรภ์
อาการและอาการแสดง
การแบ่งความรุนแรงของ Perinatal asphyxia (WHO criteria) โดยดู Apgar score ที่ 5 นาที
Normal (No asphyxiia):8-10
Mild to moderate perinatal asphyxia:4-7
Severe perinatal asphyxia:0-3
7.6 Meconium aspiration syndrome
คือ ภาวะสำลีขี้เทาที่อยู่ในน้ำครำ่เข้าปอดในทารกแรกเกิด
อาการแสดง
รุนแรงน้อย
ทารกหายใจเร็วเพื่อเพิ่ม Minute ventilation
รุนแรงปานกลาง
หายใจเร็ว ช่องซี่โครงยุบลงขณะหายใจ เขียวคล้ำ
รุนแรงมาก
หายใจล้มเหลวทันทีหลังคลอด ฟังเสียงปอดได้ Rhonchi และ crackle
การรักษา
ในรายที่ขี้เทาปริมาณน้อย
ใช้ลูกยางแดงดูดทางปากและจมูกเมื่อศีรษะพ้นจากช่องคลอด
ในรายที่ขี้เทามีปริมาณมาก
ใส่ท่อช่วยหายใจและดูดขี้เทาออกทางท่อช่วยหายใจ หลังจากดูดหมดแล้ว
หลักการสำคัญ
กรณีที่น้ำคร่ำมีขี้เทาและทารกVigorous=>ทารกดี(ทารกหายใจปกติ + ขยับแขนขา +HR>100/min)
ทารก Not Vigorous => ทารกไม่ดี(ทารกหายใจไม่ดี+ ขยับแขนขา ไม่ได้+HR<100/min)