Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ที่มีความผิดปกติด้านความคิดและการรับรู้ - Coggle…
การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ที่มีความผิดปกติด้านความคิดและการรับรู้
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
คือ โรคทางจิตเวชที่มีความผิดปกติของสมอง แสดงออกทางความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม ที่มีระดับความรุนแรงที่หลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะมีอาการต่อเนื่องระยะยาว
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวเคมีของสมอง(Biological factors) มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจิตเภทมีความสัมพันธ์กับdopamine ในสมองโดยมีปริมาณdopamine ที่synapse ในสมองมากเกินไป
ปัจจัยด้านจิตใจ(Psychological factors) จากทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการพบว่าเป็นความผิดปกติจากพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลในวัยเด็กโดยเฉพาะในขวบปีแรก
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม(Sociocultural factors) จาการศึกษาพบว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท
ปัจจัยด้านพันธุกรรม(Genetic factors) ได้มีการศึกษาด้านพันธุกรรมของบุคคลที่ป่วยเป็นโรคจิตเภทพบว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
อาการและอาการแสดง
1) อาการด้านบวก (positive symptoms) ได้แก่
อาการหลงผิด (delusion)เป็นความผิดปกติทางความคิด ทําให้ผู้ป่วยมีความเชื่อและความคิดในเรื่องต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามหลักความจริง และไม่สามารถลบความเชื่อนั้นออกไปจากความทรงจําได้ บางรายปล่อยให้อาการหลงผิดก่อตัวขึ้นในจิตใจนานเข้า
อาการประสาทหลอน (prominent hallucination) คือ การมีประสาทหลอนจากประสาทสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง โดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอก เช่น หูแว่วได้ยินเสียงคนพูดด้วยโดยที่มองไม่เห็นตัว เห็นภาพคน สัตว์ หรือสิ่งของโดยไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่จริ
การพูดแบบไม่มีระเบียบแบบแผน (disorganized speech)คือการพูดในลักษณะที่หัวข้อวลีหรือประโยคที่กล่าวออกมาไม่สัมพันธ์กัน เช่น การเปลี่ยนเรื่องที่พูดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กันเลย
พฤติกรรมแบบไม่มีระเบียบแบบแผน (disorganized behavior)คือ พฤติกรรมที่ผิดแปลกไปอย่างมากจากธรรมเนียมปฏิบัติของคนทั่วไปในสังคม เช่น ไม่ใส่เสื้อผ้า การเล่นอุจจาระ ปัสสาวะ
พฤติกรรมเคลื่อนไหวผิดแปลกไปจากปกติ(catatonic behavior) เช่น การเคลื่อนไหวมากเกินไปน้อยเกินไป หรือนิ่งแข็งอยู่กับที่
2) อาการด้านลบ (negative symptoms) ได้แก่
อารมณ์ทื่อ (blunted affect) และเฉยเมย
ความคิดอ่านและการพูดลดลง
ขาดความสนใจในการเข้าสังคมและกิจกรรมที่เคยสนใจ
ไม่ดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัว
3) อาการด้านการรู้คิด (cognitive symptoms)
ความสามารถในการจัดการ การตัดสินใจ การวางแผน (executive function) ลดลง
ความสามารถในการคงความใส่ใจ (attention) ลดลง
ความจําเพื่อใช้งาน (working memory) บกพร่องคือความสามารถในการจดจําข้อมูลเฉพาะหน้า
ลักษณะอาการเริ่มต้น
อาการเริ่มต้นด้วยพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมเช่นชอบแยกตัวอยู่ตามลําพังพูดน้อยลง
ไม่สนใจตนเองแต่งกายสกปรก-แสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์สีหน้าเฉยเมย
ขาดความคิดริเริ่มไม่สนใจการเรียนและการทํางาน
การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันบกพร่อง
พูดคนเดียว
การจําแนกชนิดของโรคจิตเภท
Simple Type ผู้ป่วยขาดความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมภายนอกโดยสิ้นเชิงบุคลิกภาพเปลี่ยนไปในทางเสื่อมเก็บตัวอยู่ตามลําพังคนเดียวละเลยกิจวัตรประจําวันอารมณ์เฉยเมย
Disorganized Type (Hebephenic) ผู้ป่วยจะมีอาการประสาทหลอนและความคิดหลงผิดมีความคิดและคําพูดไม่สอดคล้องกัน(incoherence) อารมณ์เฉยเมยapathyหรือinappropriateไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ผู้ป่วยเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุยังน้อยและเกิดขึ้นช้าๆ
Catatonic Type ผู้ป่วยมีอาการสําคัญคือมีความผิดปกติที่พฤติกรรมการเคลื่อนไหวอาจเป็นได้ทั้งแบบไม่เคลื่อนไหว(stupor) ปฏิเสธต่อต้าน(negativism) อยู่ในท่าเดิม(rigidity) หรือตื่นเต้นวุ่นวาย(excitement)
Paranoid Type ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดระแวงหลงผิดมีอาการโกรธง่ายก้าวร้าวชอบทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นผู้ป่วยประเภทนี้การดําเนินชีวิตไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนักอาการค่อนข้างคงที่การพยากรณ์โรคมักจะดีกว่าโรคจิตเภทชนิดอื่น
Schizoaffective มีอาการเฉียบพลันอาการเข้าได้กับโรคจิตเภทมีอารมณ์เศร้าร่วมกับอาการเบื่ออาหารนอนไม่หลับคิดช้ารู้สึกว่าตนมีความผิดเบื่อชีวิตคิดอยากตายมีอัตราการฆ่าตัวตายบ่อยกว่าโรคจิตเภทชนิดอื่น
Undifferentiated Type ผู้ป่วยประเภทนี้มีอาการของโรคจิตเภทไม่ชัดเจนไม่สามารถจัดเข้าประเภทอื่นๆได้มีอาการหลงผิดประสาทหลอนความคิดไม่ปะติดปะต่อกัน
Residual Type ผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดนี้จะเคยเป็นโรคจิตเภทชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อนแล้วอาการดีขึ้นแต่ยังมีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่เช่นชอบนั่งแยกตัวอยู่คนเดียวสีหน้าเฉยเมยไม่ค่อยแสดงความรู้สึกขาดความคิดริเริ่มมักคิดและพูดอะไรแปลกๆพบว่ายังมีloosening of association อยู่บ้างไม่มีอาการหลงผิดประสาทหลอนมักกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง
โรคจิตเภท (schizophrenia) ตามเกณฑ์วินิจฉัย ICD-10
โรคจิตเภท มีลักษณะทั่วไป คือ มีความผิดปกติทางความคิดและการรับรู้ มีอารมณ์ไม่เหมาะสมหรือเฉยเมย โดยระดับความรู้สึกตัวและสติปัญญามักยังปกติอยู่อย่างไรก็ตามการสูญเสียด้านการรู้คิดจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์ทางจิตพยาธิสภาพที่สําคัญที่สุด ได้แก่ ความคิดแพร่กระจาย การหลงผิดในการรับรู้หลงผิดว่าถูกควบคุม หูแว่ว ได้ยินคนอื่นนินทาผู้ป่วย มีความคิดที่ผิดปกติและมีอาการด้านลบ
การวินิจฉัยแยกโรค
โรคที่อาจมีอาการคล้ายกันได้คือโรคอารมณ์แปรปรวนโรคประสาทย้ําคิดย้ําทําและโรคOrganic brain syndrome
การบําบัดรักษา
Psychotherapy, Individual, Group, Behavioral, Supportive, Family Therapy อาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม
Milieu Therapy เน้นที่การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมลดภาวะเครียดพัฒนาความสามารถในการปรับตัวรายบุคคล
การรักษาด้วยยาเช่นยาAntipsychotic drugs, Antiparkinson agents อาจต้องเตรียมไว้เพื่อลดอาการextra pyramidal side effect ของยา
Somatic or Electroconvulsive Therapy ใช้ในรายต่อไปนี้
Severe Schizophrenia ผู้ป่วยรายที่ใช้ยาไม่ได้ผลหรือเป็นชนิดcatatonia แบบstupor หรือexcitement ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นเร็วมากภายหลังทํา2-3 ครั้งโดยให้ยาจิตบาบัดร่วมไปด้วย
ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างมากร่วมด้วยบางรายมีอารมณ์เศร้ารุนแรงและคิดฆ่าตัวตายการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าจะช่วยลดอาการซึมเศร้าและป้องกันการฆ่าตัวตายได้
ผู้ป่วยที่มีอาการคลุ้มคลั่งมากไม่สามารถควบคุมด้วยยาทําสัปดาห์ละ3 ครั้งทํา6-12สัปดาห์ต่อการรักษาครั้งหนึ่ง
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาลมีการก าหนดเป้าหมายให้ชัดเจนเช่นเป้าเหมายระยะสั้นสาหรับผู้ป่วยที่มีอาการระยะวิกฤตและอาการไม่รุนแรงมากเป้าเหมายระยะยาว
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่นเนื่องจากมีความคิดหลงผิด
เป้าหมาย
เพื่อช่วยให้มีความคิดอยู่ในความเป็นจริงและป้องกันไม่ให้ผลของความคิดหลงผิดเกิดเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่น
การปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทําของผู้ป่วยเช่นผู้ป่วยคิดว่าเขาควรจะตายผู้ป่วยจะพยายามฆ่าตัวตายพยาบาลจึงควรระมัดระวังในประเด็นนี้
ตระหนักว่าความคิดของผู้ป่วยเป็นความคิดที่ยึดแน่นและผู้ป่วยเชื่อว่าเป็นจริงตามนั้น
ยอมรับในความคิดหลงผิดของผู้ป่วยโดยพยาบาลไม่ควรโต้แย้งหรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังนั้นไม่จริงและพยาบาลไม่ต้องปฏิบัติตามที่ผู้ป่วยเชื่อและไม่ควรนําคําพูดของผู้ป่วยไปพูดล้อเล่น
การเข้าไปเปลี่ยนความคิดของผู้ป่วยนั้นกระทําได้ค่อนข้างยากแต่ถ้าผู้ป่วยมีความไว้วางใจและเชื่อถือในตัวพยาบาลการแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันด้วยการให้ความจริง(Present reality) ยังเป็นที่ยอมรับได้
พยาบาลต้องให้ความสําคัญกับการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดอย่างสม่ําเสมอเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้พูดถึงความคิดของเขาได้อย่างอิสระและเพื่อได้รับฟังความคิดของผู้ป่วย
สาหรับผู้ป่วยที่มีความคิดหลงผิดแบบระแวงพยาบาลควรปฏิบัติดังนี้
พยาบาลต้องไม่ทําให้ผู้ป่วยสงสัยในพฤติกรรมของพยาบาลเพราะผู้ป่วยจะระมัดระวังตัว
การเข้าไปสนทนากับผู้ป่วยต้องแนะนําตัวและบอกวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
การปฏิบัติต่อผู้ป่วยต้องคงเส้นคงวาเมื่อมีข้อตกลงต่อกันแล้วจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง
หลีกเลี่ยงการเข้าไปจับต้องตัวผู้ป่วยและไม่ควรใช้ภาษาหรือกิริยาที่ก่อให้เกิดความสงสัยหรือตีความได้ไม่ชัดเจน
การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภท
ด้านสุขภาพทั่วไปผู้ป่วยที่มีความคิดผิดปกติอาจมีความบกพร่องในการดูแลสุขภาพรับฟังปัญหาของผู้ป่วยตรวจร่างกายบริเวณผิวหนังรอยแผลรอยเข็มจากการใช้ยาฉีด
ด้านโภชนาการอาจมีภาวะทุโภชนาการได้อาจหวาดระแวงไม่ยอมรับประทานอาหารหรือในรายที่แยกตัวมากจะไม่สนใจไม่รับรู้ความรู้สึกหิวหรืออยากอาหาร
ด้านการขับถ่ายผู้ที่มีอาการทางจิตมากอาจจะไม่รู้ว่าตนเองต้องไปห้องน้ําหรือมีอาการdisorientation ไปห้องน้ําไม่ถูกหรือสับสนซึ่งปัญหาส่วนมากเกิดขึ้นเพราะอาการทางจิต
ด้านกิจกรรมประจําวันมี2 ด้านคือ
Underactivity ไม่ทําอะไรหรือไม่เคลื่อนไหวมักแยกตัวไม่สนใจสิ่งแวดล้อมไม่สนใจในกิจวัตรประจาวันของตนเองจะนํามาซึ่งปัญหาและอาการทางจิตอื่นๆ
Overactivity ไม่อยู่เฉยเดินไปมานั่งไม่ติดจะเป็นผู้ป่วยที่พูดเสียงดังพูดเร็วเคลื่อนไหวมากผู้ป่วยกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมรุนแรง
ด้านการพักผ่อน-นอนหลับอาการนอนไม่หลับติดต่อกันหลายวันในผู้ป่วยจิตเภทมักเป็นอาการนําเริ่มแรกก่อนมีอาการทางจิตอื่นๆ
ด้านความคิดและการรับรู้ส่วนมากผู้ป่วยมักมีความบกพร่องในการคิดและการตัดสินใจแม้ในสถานการณ์ง่ายๆความคิดที่แปรปรวนมากขึ้นมักจะเป็นเรื่องของความหลงผิด
ด้านการรับรู้ตนเองผู้ป่วยมีความบกพร่องในการรับรู้ตนเองเช่นผู้ป่วยคิดว่าตนเองมีพละกําลังมากมีความสามารถสูง
ด้านบทบาทและสัมพันธภาพความสามารถในการเข้าสังคมของผู้ป่วยบกพร่องการใช้คําพูดหรือการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารเป็นลักษณะไม่พัฒนา