Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
41111149-4EB5-4314-BD1E-980443BADD91 ระนาดเอก, สมาชิกกลุ่ม ม.4/8
…
ระนาดเอก
ประวัติ
ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง
ส่วนประกอบ
ผืน
ผืนระนาดไม้เนื้อแข็ง เสียงจะแกร่ง และดังคมชัดเหมาะสำหรับบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ส่วนผืนระนาดที่ทำจากไม้ไผ่จะให้เสียงที่นุ่มนวล
ราง
-
ไม้ตี
ไม้ตีระนาดเอกทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นท่อนกลมเล็กๆ 2 อัน หัวไม้ตีทำด้วย ด้ายพันด้วยผ้าชุบรัก ลักษณะเป็นปื้นกลมเวลาตีมีเสียงดังแข็ง
-
ศิลปินที่มีชื่อเสียง
บุญยงค์ เกตุคง
ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2463 บิดามารดามีอาชีพเป็นนักแสดง ซึ่งต้องย้ายสถานที่ประกอบอาชีพบ่อย ๆ เมื่อยังเยาว์จึงอาศัยอยู่กับตาและยายที่จังหวัดสมุทรสาคร และเริ่มหัดเรียนดนตรีไทย เมื่ออายุได้ 10 ปี ก็สามารถบรรเลงฆ้องวงทำเพลงโหมโรงเช้าและโหมโรงเย็นได้ ซึ่งถือว่าได้ผลการศึกษาดนตรีขั้นต้น ครั้นอายุได้ 11 ปี บิดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของครูหรั่ง พุ่มทองสุข ซึ่งเป็นครูดนตรีมีชื่ออยู่ที่ปากน้ำภาษีเจริญ เมื่อครูอายุได้ 16 ปี บิดาเห็นว่ามีความรู้เพลงการดีพอสมควรจะช่วยครอบครัวได้ จึงช่วยให้ไปทำหน้าที่นักดนตรีประจำคณะนาฎดนตรีของบิดา โดยเริ่มจากคนตีฆ้องวงใหญ่ แล้วจึงได้เป็น คนตีระนาดเอก ทั้งนี้ได้รับการฝึกสอนเป็นพิเศษจากอาชื่อ
นายประสิทธิ์ เกตุคง ให้มีความรู้เรื่องเพลงสองชั้นที่ลิเกให้ร้องเป็นประจำ จึงมีความรู้และไหวพริบดีมากขึ้นในเรื่องเพลงประกอบการแสดง ในระหว่างที่ใกล้จะเกษียณอายุราชการ ครูบุญยงค์ได้ร่วมมือกับอาจารย์บรูซ แกสตัน ก่อตั้งวงดนตรีไทยร่วมสมัยชื่อ “วงฟองน้ำ” ขึ้น ครูบุญยงค์ เกตุคง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2539 สิริรวมอายุได้ 76 ปี ได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็นระนาดเทวดา เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกัน และท่านยังได้รับคำยกย่องอีกว่าเสียงระนาดของท่านเปรียบได้กับเสียงของ
ไข่มุกร่วงบนจานหยก
ผลงาน🎶
-
ประพันธ์เพลงประเภทเถา ได้แก่เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงทยอยเถา ชเวดากองเถา เริงเพลงเถา กัลยาเยี่ยมห้อง เป็นต้น
-
-
-
ประสิทธ์ ถาวร
ประวัติ🤩
เป็นนักดนตรีและอาจารย์ทางด้านดนตรีไทย เกิดที่ตำบลท่าเจ้าสนุก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2464 เรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลวัดสฏางค์เมื่ออายุ 7 ปีจนอายุได้ 13 ปี จึงมาเรียนที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์ กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2477 จนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 และได้รับประกาศนียบัตรวิชาดุริยางค์ไทย ใน พ.ศ. 2482 ประสิทธิ์หัดเล่นดนตรีไทยครั้งแรกเมื่อเรียนชั้นประถม ได้เรียนระนาดจากครูเจริญ ดนตรีเจริญ จนได้เพลงเดี่ยวระนาดเช่น พญาโศก และเชิดนอกก่อนเข้าโรงเรียนนาฏดุริยางค์ ต่อมาสมัครเป็นศิษย์ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้เข้ามารับราชการ ณ กองการสังคีต กรมศิลปกรเมื่อ พ.ศ. 2493
จนเกษียณอายุราชการ เมื่อ พ.ศ. 2526
ผลงาน👏
เคยเดี่ยวระนาดเอกสองรางถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗
-
วงดนตรี
วงปี่พาทย์
-
เนื้อหา
วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับ
เครื่องตี ได้แก่ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ
มี 9 ประเภท
-
-
-
-
-
-
-
-
-
หน้าที่ของระนาดเอก
ระนาดเอกใช้บรรเลงในวงดนตรีปี่พาทย์ได้หลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และจุดประสงค์ในการบรรเลง
โดยส่วนมากทำหน้าที่เป็นผู้นำวง ในการล้อและขัด
การดำเนินทำนองจะเป็นไปอย่างละเอียด เรียกว่า เก็บ
วิธีการบรรเลง
- การเคลื่อนของมือ โดยที่มือซ้ายและมือขวาต้องอยู่ในแนวขนานกัน ตำแหน่งของหัวไม้อยู่กึ่งกลางลูกระนาด และเอียงตามทิศทางของผืนระนาด
- การยกไม้ เสียงของระนาดเอกจะดังมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพลังในการตี
-
- น้ำหนักมือ ต้องลงน้ำหนักของมือซ้ายและมือขวาให้เท่ากัน
สมาชิกกลุ่ม ม.4/8
นราวิชญ์ เลขที่ 1
ณฐนนท์ เลขที่ 6
พีร เลขที่ 8
ชวิน เลขที่ 14
พฤกษ์ตะวัน เลขที่ 21
ภารวี เลขที่ 27