Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ICSPFT - Coggle Diagram
ICSPFT
การทดสอบสมรรถภาพทั้ง 8 อย่าง
4.ลุก-นั่ง 30 วินาที ใช้ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ
5.ดึงข้อ ใช้วัดความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแขนและไหล่
3.แรงบีบมือ ใช้วัดพลังของกล้ามเนื้อแขน
6.วิ่งเก็บของ ใช้วัดความว่องไวในการวิ่งกลับตัวระยะทาง 10 เมตร
2.ยืนกระโดดไกล ใช้วัดพลังของกล้ามเนื้อขา
7.ความอ่อนตัว ใช้วัดความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่นของ
1.วิ่งเร็ว 50 เมตร
8.วิ่งระยะไกล ใช้วัดความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด และระบบหายใจ
วิธีขั้นตอนการทดสอบ
1) วิ่ง 50 เมตร
1.นาฬิกาจับเวลาอ่านละเอียด 1/100 วินาที
ลู่วิ่ง 50 เมตร มีเส้นเริ่ม และเส้นชัย
ธงปล่อยตัวสีแดง, นกหวีด
3.แรงบีบมือ (Grip Strength)
1.ให้ผู้รับการทดสอบเช็ดมือให้แห้งเพื่อกันลื่น แล้วใช้มือข้างที่ถนัดจับเครื่องวัดให้เหมาะมือที่สุด โดยข้อนิ้วที่ 2 รับน้ำหนักของเครื่องวัด (ผู้แนะนำช่วยปรับระดับเครื่องวัดให้พอเหมาะ) ยืนตรงปล่อยแขนห้อยห่างลำตัวเล็กน้อย กำมือบีบเครื่องวัดจนสุดแรง ระหว่างบีบห้ามไม่ให้มือหรือเครื่องวัดถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของลำตัว และห้ามเหวี่ยงเครื่องโถมตัวอัดแรง ให้ทำการทดสอบ 2 ครั้งการบันทึก
ลุก – นั่ง 30 วินาที
จัดผู้รับการทดสอบเป็นคู่ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบคนแรกนอนหงายบนเบาะ เข่างอตั้งเป็นมุมฉาก ปลายเท้าแยกห่างกันประมาณ 30 ซม. ประสานนิ้วมือรองท้ายทอยไว้ ผู้ทดสอบคนที่ 2 คุกเข่าที่ปลายเท้าของผู้รับการทดสอบ (หันหน้าเข้าหากัน) มือทั้งสองกำและกดข้อเท้าของผู้รับการทดสอบไว้ให้หลังติดพื้น เมื่อผู้ให้สัญญาณบอก “เริ่ม” พร้อมเริ่มจับเวลา ผู้รับการทดสอบลุกขึ้นนั่ง ก้นและเท้าติดพื้น ให้ศอกทั้งสองแตะเข่าทั้งสอง แล้วกลับนอนลงในท่าเดิมจนนิ้วจรดเบาะ จึงกลับลุกนั่งขึ้นใหม่ ทำเช่นนี้ติดต่อกันไปอย่างรวดเร็วจนครบ 30 วินาที
2.ยืนกระโดดไกล
แผ่นยางกระโดดไกล มีขีดบอกระยะทาง และแท่นยืนติดแผ่นยางพร้อมเบาะรอง
ให้วัดระยะจากเส้นเริ่มไปยังรอยส้นเท้าข้างที่ใกล้ที่สุด
เท้าทั้งสองต้องพ้นพื้นขณะที่กระโดดออกไป
ดึงข้อ
จัดระดับราวเดี่ยวให้สูงพอเหมาะสม เมื่อผู้รับการทดสอบห้อยตัวจนสุดแล้วเท้าไม่ถึงพื้น ให้ผู้รับการทดสอบขึ้นยืนบนม้ารอง จับราวในท่าคว่ำมือห่างกันเท่าช่วงไหล่ เอาม้ารองออกแล้วให้รับการทดสอบปล่อยตัวจนแขน ลำตัวและขาเหยียดตรงเป็นท่าตั้งต้น ออกแรงงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางพ้นราว แล้วหย่อนตัวลงกลับมาในท่าตั้งต้น งอแขนดึงตัวขึ้นมาใหม่ ทำให้ได้มากครั้งที่สุด ห้ามแกว่งเท้าหรือเตะขา ถ้าหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า 3-4 วินาที หรือไม่สามารถดึงขึ้นให้คางพ้นราวได้ 2 ครั้งติดกัน ให้ยุติการทดสอบ
วิ่งเก็บของ
วางไม้ทั้งสองท่อนกลางวง (ห่างกันประมาณ 20 ซม. ) ที่ชิดเส้นตรงข้ามเส้นเริ่มผู้รับการทดสอบยืนให้เท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วผู้ปล่อยตัวส่ง “ไป”ให้ผู้รับการทดสอบวิ่งไปหยิบท่อนไม้ในวงกลม 1 ท่อน วิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมหลังเส้นเริ่ม กลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้ววิ่งกลับมาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่มแล้ววิ่งเลยไป ห้ามโยนท่อนไม้ ถ้าวางไม่เข้าในวงต้องเริ่มใหม่
งอตัวข้างหน้า
ให้ผู้รับการทดสอบถอดรองเท้า นั่งเหยียดขาตรงสอดเท้าเข้าใต้ม้าวัดโดยเท้าทั้งสองตั้งฉากกับพื้นและชิดกัน ฝ่าเท้าจรดแนบกับที่ยันเท้า เหยียดแขนตรงขนานกับพื้นแล้วค่อย ๆ ก้มตัวไปข้างหน้าให้มืออยู่บนม้าวัด จนไม่สามารถก้มตัวได้ต่อไป ให้ปลายนิ้วมือเสมอกัน และรักษาระยะทางไว้ได้ 2 วินาทีขึ้นไป อ่านระยะจากจุด “ 0” ถึงปลายมือ (ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ)
วิ่งระยะไกล
ให้สัญญาณ “เข้าที่” ผู้รับการทดสอบยืนปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่มเมื่อให้สัญญาณ “ไป” ให้ออกวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด พยายามใช้เวลาน้อยที่สุด และควรรักษาความเร็วให้คงที่ ถ้าไปไม่ไหวอาจหยุดเดินแล้ววิ่งต่อไปจนครบระยะทางผู้จับเวลาจะขานเวลาผู้ที่วิ่งถึงเส้นชัยทีละคน ให้ผู้บันทึกเวลาบันทึกไว้ ผู้ช่วยผู้บันทึกจะจดหมายเลขผู้รับการทดสอบที่เข้าถึงสั้นชัยเรียงตามลำดับ
การทดสอบสมรรถภาพจุดประสงค์เพื่ออะไร
การทดสอบสมรรถภาพทางกายมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกายและสุขภาพว่ามีจุดอ่อนและจุดแข็ง
อะไรบ้าง เพื่อไปสู่การวางแผนปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ให้มีสมรรถภาพทางกายที่สมบูรณ์
ความเป็นมาการทดสอบสมรรถภาพ มาตรฐานนานาชาติ (ICSPFT)
สมรรถภาพทางกาย ที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และประกอบภารกิจประจำวันหรือออกกำลังกาย เล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำสม่ำเสมอ นอกจากนั้นควรมีโภชนาการที่ดีด้วย
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นวิธีที่จะบ่งบอกถึงสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายหรือการมีสมรรถภาพทางกายแต่ละด้านดีมากน้อยเพียงใด ในปี ค.ศ.1964 (พ.ศ.2507) ที่นครโตเกียว ในระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 19 ได้มีการตั้งคณะกรรมการนานาชาติ เพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางกาย (ICSPFT : International Committee for Standardization of Physical Fitness Test) เพื่อทำการศึกษาหาแบบทดสอบความสมบูรณ์ทางกายที่จะใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลก คือ ทั่วโลกมีการทดสอบไปในแนวเดียวกัน เพื่อจะได้นำมาเปรียบเทียบกันระหว่างชาติต่าง ๆ ได้ ซึ่งในสมัยนั้นมี ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ เป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้ศึกษาวิจัยรวบรวมข้อมูลนาน 8 ปี จึงได้นำข้อยุติของการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่เป็นมาตรฐานออกมาใช้ ในปี ค.ศ.1972 (พ.ศ.2515) ได้นำไปทดสอบทั่วโลก โดยถือเป็นการทดสอบสมรรถภาพทางกายพื้นฐาน (Basic physical performance) จากกิจกรรมของคณะกรรมมีการศึกษาวิจัยมากมาย และมีการรวมกันเป็นกลุ่ม จึงมีความคิดเห็นร่วมกันว่าควรร่วมมือวิจัยกันอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการภายหลังเป็นคณะกรรมการนานาชาติเพื่อวิจัยความสมบูรณ์ทางกาย (ICPFR : International Committee on Physical Fitness Research)
สำหรับประเทศไทยการทดสอบแบบ ICSPFT ได้ทำการทดสอบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.2515 โดยช่วงแรกทำการทดสอบที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนสวนบัว รวมทั้งทำการทดสอบในนักกีฬาไทยด้วย ซึ่งวิธีการดังกล่าวถูกนำมาใช้ทดสอบและประเมินสมรรถภาพทางกาย เด็ก เยาวชน และประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพราะวิธีการ อุปกรณ์ทดสอบ ไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้กับกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก แต่มีข้อจำกัด คือ ควรทดสอบในคนที่มีสุขภาพดี อายุระหว่าง 6-32 ปี ( ICSPFT การกีฬาแห่งประเทศไทย. 2543. )