Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่1 แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน, USER_SCOPED_TEMP…
หน่วยการเรียนรู้ที่1
แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน
การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1 กำหนดปัญหา
1)ประชุมทีมงาน คือ การประชุมทีมงานผู้พัฒนาเพื่อกำหนดหน้าที่
ให้เเก่ทีมงานกำหนดลักษณะการทำงานข้อตกลงต่างๆรวมถึงมาตรฐานการทำงานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นทิศทางเดียวกันเเละควรจัดทำเอกสารบันทึกการประชุมผู้เข้าร่วมประชุมลงลายมือชื่อรับทราบด้วยเช่นกัน
ตัวอย่าง
เเผนการดำเนินงานระบบห้องสมุดโรงเรียนเเห่งหนึ่งซึ่งมีระยะเวลาการพัฒนาระบบทั้งสิ้น 4 เดือน โดยเริ่มจากเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
2).กำหนดแผนงาน คือ ขั้นตอนการจัดทำแผนการดำเนินงาน ซึ่งถือว่าเป็นผลลัพธ์ของชั้นตอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และการวางแผน ซึ่งหลังจากกำหนดแผนการดำเนินงานแล้วทีมผู้พัฒนาต้องนำเสนอแผนการดำเนินการดังกล่าวต่อผู้บริหารหรือผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาเพื่อพิจารณาและลงลายมือชื่อต่อไป หากมีการปรับปรุงแก้ไขให้รีบดำเนินการทันที
2.2 วิเคราะห์ระบบ
1).สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน คือ ขั้นตอนที่ต้องลองพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ดังนี้ ขั้นตอนการทำงานของระบบงานเดิม เอกสารการทำงานต่างๆ ของระบบงานเติม ปัญหาที่พบของระบบงานเติม ความต้องการของระบบที่สร้างขึ้นใหม่ และข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นต่างๆของระบบงานใหม่ ในการสัมภาษณ์นั้นทีมงานพัฒนาไม่ควรดำเนินงานเพียงลำพัง แต่ควรจัดทีมงานสัมภาษณ์อย่างน้้อย2คนเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการสัมภาษณ์จะเป็นนักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบ
2).วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ คือ หลังจากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลแล้วทีมผู้พัฒนาควรนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์หาข้อมูล ดังนี้ ปัญหาและสาเหตุของระบบงานเติม ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของระบบงานใหม่ ความต้องการของระบบงานใหม่กระบวนการทำงานของระบบงานใหม่ และความเกี่ยวข้องระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานใหม่โดยต้องกลับไปสัมภาษณ์และวิเคราะห์ซ้ำ หากยังไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการได้ครบถ้วน หลักการวิเคราะห์ คือ แสดงให้เห็นว่าระบบทำอะไร(what)โดยยังไม่พิจารณาว่าระบบทำอย่างไร(how)ซึ่งจะดำเนินการในขั้นตอนการออกแบบระบบ
3).กำหนดขอบเขตของระบบ คือ การกำหนดขอบเขตการพัฒนาระบบงานใหม่ โดยต้องกำหนดว่าจะดำเนินการทำอะไรบ้าง ไม่ทำอะไรบ้าง ระบบงานใหม่มีฟังก์ชั่นงานอะไรบ้าง ไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง และมีข้อจำกัดอะไรบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง หากกำหนดขอบเขตไม่ชัดเจน อาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างทีมผู้พัฒนาและทีมผ้ดูใช้งาน ส่งผลให้ทีมผู้พัฒนาดำเนินงานนอกเหนือความต้องการของระบบ หรือพัฒนาไม่ครบถ้วนตามความต้องการรวมถึงพัฒนาระบบผิดพลาดและล่าช้ากว่ากำหนด
4).วิเคราะห์กลุ่มกระบวนการทำงาน(grouping process)และกลุ่มข้อมูล(grouping data)คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อหารกระบวนการทำงานว่าประกอบด้วยกระบวนการทำงานย่อยอะไรบ้าที่จะถูกพัฒนาขึ้นมา เช่น กระบวนการค้นหาข้อมูล กระบวนการจัดการยืม-คืนหนังสือกระบวนการการจัดการข้อมูลนักเรียน เป็นต้น และการวิเคราะห์เพื่อหากลุ่มข้อมูลที่เกิดขึ้นในการพฒนาว่ามีกลุ่มข้อมูลใด โดยแต่ละกลุ่มข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลใดบ้าง เช่น กลุ่มข้อมูลหนังสือประกอบด้วยข้อมูลรหัสหนังสือ ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง จำนวนหน้า หมายเลข ISBN เป็นต้น พร้อมกับจัดทำแผนภาพกระเเสข้อมูล และแผนภาพบริบท
2.3 ออกแบบระบบ
คือ ขั้นการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆจากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ โดยขั้นตอนนี้จะกำหนดขั้นตอนการทำงานโดนใช้แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน(flowchart)แผนภาพแสดงความสำคัญของข้อมูล(Entity Relationship Diagram :ER Diagram)พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary)หน้าจอสวนติดต่อกับผู้ใช้งาน(Graphic Uscr Interface :GUI) เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ ของระบบงาน ลักษณะการเขียนชุดคำสั่ง รวมถึงจัดทำเอกสารการออกแบบระบบ เช่น ลักษณะการจัดเก็บข้อมูลสมาชิก เป็นต้น
2.4 พัฒนาระบบ และทดสอบ
คือ ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆเพื่อพัฒนาระบบ โดยดำเนินงานตามการออกแบบจากขั้นตอนการออกแบบระบบ เช่น การเขียนชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ การสร้างฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูล จัดเอกสารการพัฒนาระบบ รวมถึงการทดสอบระบบงานว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง และตรงตามความต้องการของผู้ใช่งานจากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบหรือไม่ โดยทดสอบในสภาพแวดล้อมจำลองและสภาพแงดล้อมจริง เป็นต้น
2.5 ติดตั้งระบบ คือ ขั้นตอนการนำซอฟต์แวร์เเละระบบใหม่ที่เสร็จสมบูรณ์มาติดตั้งในสภาพเเวดล้อมการทำงานจริงจัดทำเอกสารการติดตั้งระบบใหม่เเละคู่มือการใช้งาน จัดฝึกอบรมผู้ใช้งานดำเนินการใช้ระบบงานใหม่ ประเมินผลการใช้งานระบบงานใหม่เพื่อหาจุดบกพร่องต่างๆซึ่งการใช้งานระบบใหม่นั้น ควรใช้งานควบคู่กับระบบงานเดิม(กรณีที่มีงานเดิม)โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันเเละเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ หากถูกต้องตรงกันจึงนำระบบงานเดิมออก เเล้วใช้งานระบบใหม่เเทนที่
2.6 บำรุงรักษา คือ ขั้นตอนการดูเเลระบบต่างๆ เช่น การเเก้ไขจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นหลังจาการใช้งานในสภาพเเวดล้อมจริง การเพิ่มเติมความสามารถของระบบงาน การปรับเปลี่ยนการทำงานบางประการให้ทันสมัยมากขึ้น เป็นต้น จากขั้นตอนการพัฒนาโครงงานทางเทคโนโลยีสามารถนำเอาหลักเเนวคิดเชิงคำนวณเข้าไปประยุกต์ใช้ตั้งเเต่การกำหนดปัญหาหลักใหญ่ของโครงงาน เเละเเยกเเยะปัญหาเป็นปัญหาย่อย จากนั้นทำการหารูปเเบบในการเเก้ปัญหาต่างๆ
1).แนวคิดการแยกย่อย(Decomposition)
เเนวคิดการแยกย่อย เช่น แตกปัญหากระบวนการออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้จัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น ทักษะนี้เทียบเท่ากับการคิดวิเคราะห์
แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
2).แนวคิดการจดจำรูปแบบ(Pattem Recognition)
กำหนดแบบแผนจากปัญหาย่อยต่างๆจากปัญหาที่มีรูปแบบที่โดยปัญหาต่างๆมักมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือหากเราเข้าใจปัญหา จะพบว่าปัญหาที่แตกต่างกัน สามารถใช้วิธีการในการแก้ไขปัญหาแบบเดียวกันได้ ทักษะนี้เทียบเท่ากับการวิเคราะห์แบบเชื่อมโยง
3).แนวคิดเชิงนามธรรม(Abstraction)
การหาแนวคิดเชิงนามธรรมหรือการนิยาม เพื่อหาแนวคิดรวบยอดของแต่ละปัญหาย่อย เป็นการมุ้งเน้นความสำคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น เพื่อให้สสามารถเข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา ทักษะนี้เทียบเท่ากับการคิดสังเคราะห์ จนได้มาซึ่งแบบจำลอง(Model)เช่น แบบจำลองต่างๆแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในรูปของสมการหรือสูตร เป็นต้น
4).แนวคิดการออกแบบขั้นตอน(Algorithm Dgsign)
ออกแบบลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยการคิดเชิงอัลกอริทึม เป็นความคิดพื้นฐานในการสร้างขุดของลำดับขั้นตอนวิธีง่ายๆที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแบบเดียวกัน
ผู้จัดทำโดย
นางสาว ชญานันต์ อุดมศิลป์ เลขที่ 8
นางสาว นิติยา สาราธร เลขที่ 19
การเขียนรายงานการพัฒนาโครงงาน
1).ส่วนประกอบตอนต้น
ปกนอกและปกใน
บทคัดย่อ(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
สารบัญตาราง
สารบัญรูปภาพคำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ
2).ส่วนประกอบเนื้อหา
บทที่1บทนำ
บทที่2ทฤษฎีและงานที่เกี่ยวข้อง
บทที่3วิธีการดำเนินการทำโครงงาน
บทที่4ผลการทดลองและวิเคราะห์ผล
บทที่5สรุปและข้อเสนอแนะ
3).ส่วนประกอบท้าย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก