Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ที่มีความวิตกกังวลและความเครียดผิดปกติ - Coggle…
การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ที่มีความวิตกกังวลและความเครียดผิดปกติ
Adjustment Disorders
Adjustment Disorders เป็นโรคทางจิตเวชเนื่องจากการปรับตัวผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจที่เกิดมาจากสภาพการณ์ทางสังคมได้แก่ปัญหาการเจ็บป่วยหรือพิการปัญหาความรักและชีวิตสมรสการหย่าร้างปัญหาครอบครัวกับคนในครอบครัวงานบ้านปัญหาการงานอาชีพเศรษฐกิจเกษียณอายุปัญหาการเรียนและปัญหาทางด้านกฎหมาย
Adjustment Disorders ไม่จัดอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวลเพราะแตกต่างจากASD และPTSD โดยที่อาการไม่รุนแรงเท่าแต่มีอาการรุนแรงกว่าปฏิกิริยาของความเครียดปกติทั่วไปหรือปฏิกิริยาของภาวะสูญเสีย(Grief)
สาเหตุ
ประสบการณ์ของชีวิต
ความสามารถเฉพาะตัว
อุปนิสัย
วิธีแก้ปัญหา และในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นพบว่าเด็กที่เป็นโรคเรื้อรังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวผิดปกติ
อาการและอาการแสดงของAdjustment Disorders
มีอาการทางอารมณ์หรือพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์หนึ่งหรือมากว่าแล้วทําให้เกิดความเครียดภายใน3 เดือนหลังจากเริ่มต้นเหตุการณ์
อาการทางอารมณ์หรือพฤติกรรมนั้นมีความสําคัญทางการแพทย์โดยมีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
รู้สึกทุกข์ทรมานอย่างมากเกินกว่าที่ควรจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นั้นๆ
กิจกรรมทางด้านสังคมการงานหรือการศึกษาบกพร่องลงอย่างชัดเจน
อาการไม่ใช่ปฏิกิริยาจากการสูญเสียทั่วไป
เมื่อเหตุการณ์สิ้นสุดลงอาการจะคงอยู่ต่อไปอีกไม่นานกว่า6 เดือนถ้าอาการความผิดปกติคงอยู่นานกว่า6 เดือนเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์เครียดเรื้อรัง
ปัญหาที่เกิด
ด้านร่างกาย
แบบแผนการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง
ร่างกายได้รับอุบัติเหตุ
เสี่ยงเกิดความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
ด้านจิตใจ
การตัดสินใจและการแก้ปัญหามีประสิทธิภาพลดลง
ไม่สามารถผ่านกระบวนการเศร้าโศกได้
อยู่ในภาวะสิ้นหวังและขาดเป้าหมายในการดําเนินชีวิต
รับรู้ในคุณค่าตนเองต่ํา
มีภาวะวิตกกังวลหรือเครียด
บกพร่องในการเผชิญปัญหา/การเผชิญปัญหาขาดประสิทธิภาพ
ด้านสังคม
บกพร่องในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
มีการเปลี่ยนแปลงในการดําเนินชีวิต
ไม่สามารถดํารงบทบาทในครอบครัวได้
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
ช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักในปัญหาหรือผลที่เกิดขึ้น
ร่วมกับทีมสหวิชาชีพกําหนดเป้าหมายการพยาบาล
ร่วมกับผู้ป่วยกําหนดเป้าหมายการพยาบาล
วางแผนการช่วยเหลือตามปัญหาของผู้ป่วย
การพยาบาลที่ช่วยลดความวิตกกังวล
การพยาบาลที่ช่วยจัดการความรุนแรงหรือลดความเสี่ยงของการใช้ความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
การพยาบาลที่ช่วยให้ผู้ป่วยเผชิญปัญหาอย่างเหมาะสม
การพยาบาลที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมจากการเผชิญกับสภาวะโศรกเศร้าสูญเสีย
การพยาบาลที่ช่วยเสริมคุณค่าในตนเอง ช่วยลดความรู้สึกเป็นปมด้อย ช่วยเสริมความหวังในการมีชีวิตอยู่
การพยาบาลที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดําเนินชีวิตตามบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม
ให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกออกมาและช่วยหาวิธีลดความรุนแรงของปัญหา
ชนิดของโรคในกลุ่มของ Adjustment Disorders ชนิดย่อยของ Adjustment Disorders แบ่งย่อยตามอาการที่แสดงออกมา ได้แก่
ร่วมกับอารมณ์เศร้า (With depressed mood) ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หรือสิ้นหวัง
ร่วมกับความวิตกกังวล (With Anxiety) ผู้ป่วยจะรู้สึกกังวล ตื่นเต้น ไม่อยู่นิ่ง หรือในเด็กจะมีความกลัวการพลัดพรากจากคนเลี้ยงดู
ร่วมกับอารมณ์ผสมทั้งวิตกกังวลและอารมณ์เศร้า (With Mixed Anxiety and depressed mood)
ร่วมกับความประพฤติผิดปกติ (With Disturbance of Conduct) ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมละเมิดสิทธิของผู้อื่น ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น ชกต่อย ท าลายของสาธารณะ หนีโรงเรียน
ร่วมกับอาการผสมทั้งอารมณ์และความประพฤติผิดปกติ (With Mixed Disturbance of Emotions and Conduct) โดยที่ผู้ป่วยมีทั้งอารมณ์เศร้า ความวิตกกังวล และความประพฤติผิดปกติ
Somatoform Disorders
ความหมายของSomatoform Disorders เป็นการเจ็บป่วยที่มีอาการแสดงออกมาทางร่างกายโดยตรวจไม่พบสาเหตุทางด้านร่างกายหรือพยาธิสภาพแต่พบว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาหรือความขัดแย้งทางด้านจิตใจ
สาเหตุ
Somatoform Disorders จากการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า พันธุกรรม พัฒนาการการเรียนรู้ บุคลิกภาพ และปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม เป็นสาเหตุนําสาเหตุกระตุ้น และทําให้เกิด Somatoform Disorders (Keltner et al,2011) นอกจากนี้ความผิดปกติของโครงสร้างของสมอง หรือการทํางานของสารสื่อประสาททําให้การตีความสภาพทางกายผิดไป เช่น มีลมในลําไส้เล็กน้อย สมองเข้าใจผิดว่ามีการบาดเจ็บในช่องท้อง (Varcarolis and Halter,2010)
ชนิดของโรคในกลุ่มของSomatoform Disorders จําแนกออกเป็น
Somatization Disorders
Conversion Disorders
Pain Disorders
Hypochondriasis
Body Dysmorphic Disorders
อาการและอาการแสดงของSomatoform Disorders
Somatization Disorders
ผู้ป่วยเริ่มเป็นก่อนอายุ30 ปีโดยมีอาการทางกายหลายๆอย่างเป็นซ้ําๆกันมาเป็นเวลาหลายปีจนต้องแสวงหาการรักษาหรือทําให้เกิดความบกพร่องในการดําเนินชีวิตทางสังคมการงานอาชีพและอื่นๆอาการทางกายได้แก่
อาการปวด(Pain) อย่างน้อย4 ที่เช่นศีรษะท้องหลังข้อแขนขาปวดท้องขณะมีประจําเดือนปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
อาการของระบบทางเดินอาหาร(Gastrointestinal symptom) อย่างน้อย2 อาการเช่นคลื่นไส้แน่นท้องอาเจียนท้องเดิน
อาการทางเพศ(Sexual symptom) อย่างน้อย1 อาการเช่นเฉื่อยชาทางเพศประจําเดือนมาไม่สม่ําเสมออวัยวะเพศไม่แข็งตัว
อาการที่คล้ายโรคทางระบบประสาท(Pseudoneurological symptom) น้อย1 อาการเช่นการทรงตัวเสียแขนขาไม่มีแรงหรือเป็นอัมพาตกลืนอาหารลําบากพูดไม่มีเสียงตามองไม่เห็นหูหนวกชักเป็นต้น
Hypochondriasis
ผู้ป่วยหมกมุ่นครุ่นคิดว่าตนเป็นโรคทางกายที่ร้ายแรง
เมื่อได้รับการตรวจและยืนยันจากแพทย์แล้วว่าไม่พบโรคที่ผู้ป่วยกังวลแต่ผู้ป่วยก็ยังคงหมกมุ่นครุ่นคิดหรือกังวลอยู่
ความหมกมุ่นครุ่นคิดที่กังวลใจนั้นไม่รุนแรงถึงขั้นอาการหลงผิดและผู้ป่วยอาจยอมรับได้ว่ากังวลมากไป
ความหมกมุ่นครุ่นคิดทําให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์หรือทําให้เกิดความบกพร่องในการดําเนินชีวิตทางสังคมการงานอาชีพและที่สําคัญอื่นๆ
อาการเป็นนานอย่างน้อย6 เดือน
Conversion Disorders
พบได้บ่อยในกลุ่มSomatization Disorders และพบมากในผู้หญิงโดยเฉพาะแม่บ้านผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ําการศึกษาน้อยสังคมชนบทและผู้เคยมีประสบการณ์เห็นคนเจ็บป่วยในลักษณะที่เป็นเช่นนี้มาก่อน
มีความผิดปกติทางระบบประสาท(Neurological disorder) ตั้งแต่หนึ่งอาการขึ้นไปเป็นการเจ็บป่วยทางกาย(Medical condition) ที่เกิดขึ้นในระบบการเคลื่อนไหวหรือการรับรู้(Voluntary motor or sensory function) เช่นตาบอด(Blindness) หูหนวก(Deafness) อัมพาต(Paralysis) หรือชัก(Seizures)
อาการหรือความผิดปกติทางกายสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านจิตใจเพราะเนื่องมาจากความเครียดทางจิตใจ
ไม่ได้เป็นการแกล้งทํา(Malingering) หรือจงใจให้เกิดอาการ(Factitious disorder) และเป็นผลมาจากวัฒนธรรม(Cultural sanction)
ไม่ใช่การเจ็บป่วยทางกายหรือเป็นผลจากการใช้สารเสพติด
สาเหตุของความผิดปกติเนื่องมาจากภาวะทางสังคมหรือการงาน
การพยาบาลผู้ป่วยSomatoform Disorders
สร้างสัมพันธภาพให้ผู้ป่วยยอมรับพยาบาลทั้งในด้านบุคลิกภาพและความรู้ความสามารถ
ดูแลอาการทางกายโดยตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง
ให้ผู้ป่วยบอกความรู้สึกว่าเขารู้สึกอย่างไรและให้ระบายความรู้สึกนั้นออกมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้ระลึกรู้ความรู้สึกและความต้องการของตนเองมากกว่าที่จะไปมุ่งอยู่ที่อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย
ช่วยผู้ป่วยให้ได้พัฒนาวิธีการที่เหมาะสมที่จะพูดระบายความรู้สึกและความต้องการของตนเองให้มากขึ้น
จํากัดพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยการเฉยหรือมุ่งความสนใจไปที่อาการทางกายและให้แรงเสริมทางบวกเมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
ให้การพยาบาลด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย
หันเหความสนใจของผู้ป่วยไปที่การเข้าร่วมกิจกรรมบําบัด
ไม่ตอกย้ําหรือตําหนิติเตียนเกี่ยวกับปัญหาหรือความคับข้องใจของผู้ป่วย