Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับความพิการแต่ละประเภท - Coggle Diagram
การวางแผนการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับความพิการแต่ละประเภท
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลและแผนการสอนเฉพาะบุคคล
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หมายความว่า แผนการจัดการศึกษาที่จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการเป็นเฉพาะบุคคล โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครูและคณะสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนการจัดการศึกษาให้คนพิการ เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งในแผนจะต้องระบุระดับความสามารถในปัจจุบัน เป้าหมายระยะยาว ๑ ปี จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เกณฑ์และวิธีการวัดประเมินผล กำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตลอดจนมีการทบทวนปรับปรุงแผนตามความเหมาะสม
วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๑. เพื่อให้คนพิการได้รับการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามความต้องการจำเป็นพิเศษเป็นเฉพาะบุคคล
๒. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ การตรวจสอบความก้าวหน้า ทางการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน
๓. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครู คณะสหวิชาชีพ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนแต่ละบุคคลได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
๔. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถวางแผนจัดบริการทางการศึกษา ตลอดจนจัดหาเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน
องค์ประกอบของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๑. ข้อมูลทั่วไป
๒. ข้อมูลด้านการแพทย์หรือด้านสุขภาพ
๓. ข้อมูลด้านการศึกษา
๔. ข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น
๕. การกำหนดแนวทางการศึกษาและการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ
๖. ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
๗. คณะกรรมการจัดทำแผน
๘. ความเห็นของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้เรียน
ประโยชน์ของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ประโยชน์ต่อผู้เรียน
๑. ผู้เรียนได้รับการช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการทางการศึกษา เต็มศักยภาพอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล
๒. ผู้เรียนได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามกฎกระทรวง
๓. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษา การพัฒนาศักยภาพ การวัดและประเมินผลตลอดจนการปรับปรุงเป้าหมายในการจัดการศึกษาของตน
๔. ผู้เรียนได้รับการส่งต่อทางการศึกษา และด้านอื่นๆ อย่างเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครูผู้สอน
๑. ครูผู้สอนมีข้อมูลในการวางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของผู้เรียน
๒. ครูผู้สอนรู้ขอบเขตความรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
๓. ครูผู้สอนมีข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน
๔. ครูผู้สอนวัดผลและประเมินผลการพัฒนาได้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้
๕. ครูผู้สอนสามารถปรับแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน
๖.ครูผู้สอนสามารถจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยอื่นใดทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
๑. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษาและรับรู้เป้าหมายในการพัฒนาบุตรหลาน
๒. ผู้ปกครองสามารถขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยอื่นใดทางการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบุตรหลานที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง
๓. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของบุตรหลานได้อย่างถูกต้อง
๔. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล การปรับแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพของบุตรหลาน
๕. ผู้ปกครองรับทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของบุตรหลาน ซึ่งสามารถนำมาวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตบุตรหลานได้อย่างมีเป้าหมาย
ประโยชน์ต่อสถานศึกษา
๑. สถานศึกษามีข้อมูลในการจัดผู้เรียนเข้าศึกษาในรูปแบบ ระบบ และระดับที่เหมาะสม
๒. สถานศึกษามีข้อมูลในการวางแผนบริหาร จัดสรรงบประมาณ การพัฒนาหลักสูตร และแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียน
๓. สถานศึกษาสามารถวางแผนจัดบริการทางการศึกษา ตลอดจนจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยอื่นใดทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับ ความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน
๔. สถานศึกษามีข้อมูลในการกำหนดทิศทางการจัดการ การประสานความร่วมมือ และการส่งต่อผู้เรียนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. สถานศึกษามีข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้เรียน
ประโยชน์ต่อผู้บริหาร
๑. ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษา การวัดผล ประเมินผล และการปรับปรุง การจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม
๒. ผู้บริหารมีข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการสถานศึกษาด้านบริหารงานทั่วไป แผนงานและงบประมาณ วิชาการ และบุคลากร ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
ประโยชน์ต่อคณะสหวิชาชีพ
คณะสหวิชาชีพได้ใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาชีพ ในการวิเคราะห์ วางแผน ประเมิน และ ร่วมพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
กระบวนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๑. ขั้นเตรียมการ
๒. ขั้นการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๓. ขั้นการนำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปใช้
๔. ขั้นการประเมินผลการเรียนรู้ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
5.การสรุปและรายงานผล
๖. ขั้นการส่งต่อ