Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ ๔ เทคนิคการให้คำปรึกษาและการประสานกับผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อ…
หน่วยที่ ๔
เทคนิคการให้คำปรึกษาและการประสานกับผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กพิการ
สัมพันธภาพและความรู้ความเข้าใจของบุคคลในครอบครัวมีความสำคัญต่อพัฒนาการและความมั่นคงทางอารมณ์และสังคมของสมาชิกทุกคน หากสมาชิกคนใดมีปัญหาทางอารมณ์จะมีผลกระทบต่อสมาชิกคนอื่นๆและบรรยากาศในครอบครัว และส่งผลต่อบุคลิกภาพ ปฏิสัมพันธ์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันของสมาชิกในครอบครัว การให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เหมาะสมจะทำให้เด็กพิการได้รับความช่วยเหลือ ส่งผลต่อการสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นเอื้ออาทรและการวางแผนการจัดการศึกษา และการรับบริการที่จำเป็นทำให้เด็กพิการประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตสามารถเข้าสู่สังคมและพึ่งพาตนเองได้โดยครอบครัวเป็นฐาน
เทคนิควิธีการให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
๑. ศึกษาประวัติครอบครัว เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังของครอบครัวรูปแบบปฏิสัมพันธ์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยให้ผู้รับการปรึกษาเล่าถึงเรื่องราวต่างๆในครอบครัว คนสำคัญในชีวิต
๒. รับฟังเรื่องราวอย่างตั้งใจ จับประเด็นเนื้อหาความรู้สึกเพื่อสื่อกลับให้ผู้รับคำปรึกษารับรู้ตนเองสะท้อนความรู้สึก เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาได้ทราบถึงความรู้สึกของตนเอง อาจสะท้อนโดยใช้คำพูดที่แสดงความรู้สึกจากเนื้อความที่ผู้รับการปรึกษาได้พูดมาแล้ว เช่น “ คุณรู้สึกว่า……….”
๓. ทวนคำพูด การพูดต่อเติมประโยคให้สมบูรณ์การนำคำตอบของผู้รับคำปรึกษามาประกอบการสนทนา
๔. สรุปความ โดยสรุปคำพูดของผู้รับการปรึกษาให้สั้นลง เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้รับคำปรึกษา
๕. ยกตัวอย่างประสบการณ์ของตนเองหรือผู้อื่นเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษารู้สึกว่าปัญหาที่ตนพบนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และผู้อื่นก็เคยประสบมาเช่นกัน
๖. สนับสนุน โดยการพูดให้กำลังใจแก่ผู้รับคำปรึกษาและเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษาได้ทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เช่น “สิ่งที่คุณทำนั้นนับว่าเป็นการเสียสละอย่างมาก”
การประสานงานกับผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
การที่บุคคลหรือหน่วยงานในองค์กร ทำงานร่วมกับบุคคลและหน่วยงานอื่นเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีลักษณะเป็นกระบวนการที่ต้องกระทำต่อเนื่อง สอดคล้องกันไปเพื่อให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการประสานงาน
๑.เพื่อแจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
๒.เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี
๓. เพื่อขอคำยินยอมหรือความเห็นชอบ
๔.เพื่อขอความช่วยเหลือ
๕.เพื่อขจัดข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น
๖.เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
๗.เพื่อให้งานมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของการประสานงาน
๑. ช่วยให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างราบรื่นรวดเร็ว
๒. ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในการปฏิบัติงาน
๓. ช่วยให้ทุกผ่ายเข้าใจถึงนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ
๔. ช่วยสร้างความสามัคคีและความเข้าใจในหมู่คณะ
๕. เสริมสร้างขวัญของผู้ปฏิบัติงาน
๖. ลดอันตรายจากการทำงานให้น้อยลง
๗. ช่วยลดข้อขัดแย้งในการทำงาน
๘. ช่วยให้ปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะและเพิ่มผลสำเร็จของงาน
๙. ช่วยเกิดความคิดใหม่ๆและปรับปรุงอยู่เสมอ
๑๐. ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน
๑๑. การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของการประสานงาน
๑. การประสานงานอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
๒. การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ
๓. การประสานงานในแนวดิ่ง (Top- Down Bottom-up) และแนว
เทคนิคการประสานงาน
๑. กำหนดเป้าหมายในการประสานงานให้ชัดเจน
๒. เตรียมข้อมูลที่จะใช้ในการประสานงานให้ครบถ้วนครอบคลุม
๓. ศึกษาข้อมูลของบุคคลหรือหน่วยงานจะประสานงานด้วย
๔. วางแผนการประสานงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายและระยะเวลา
๕. เตรียมตนเองให้พร้อมและเหมาะสมตามกาลเทศะ เช่น การแต่งกาย การใช้ภาษาพูดที่เหมาะสมกับบุคคลที่ประสานงานด้วย
๖. เคารพและให้เกียรติผู้ที่ประสานงานด้วยรวมทั้งเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
๗. ประเมินผลการสื่อสารและประสานงานทุกครั้ง
๘. ปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการประสานงานจากผลการประเมินทุกครั้ง