Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability) - Coggle…
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(Learning Disability)
ความหมายของบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้
บุคคลที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน คือ การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ในด้านที่บกพร่องได้ ทั้งทีระดับสติปัญญาปกติ
สาเหตุของความบกพร่องทางการเรียนรู้
๑. การได้รับบาดเจ็บทางสมอง บุคลากรทางการแพทย์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาทางการ
เรียนรู้ในหลายประเทศ มีความเชื่อว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กเหล่านี้ไม่สามารถเรียนได้ดีนั้น เนื่องมาจากการได้รับบาดเจ็บทางสมอง (Brain Damage) อาจจะเป็นการได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอดก็ได้ การบาดเจ็บนี้ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ อย่างไรก็ตามการได้รับบาดเจ็บอาจไม่รุนแรงนัก (Minimal brain dysfunction) สมองและระบบประสาทส่วนกลางยังทำงานได้ดีเป็นส่วนมาก มีบางส่วนเท่านั้นที่มีความบกพร่องไปบ้างทำให้เด็กมีปัญหาในการรับรู้ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของเด็กแต่ปัญหานี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับทั้งหมดเพราะเด็กบางคนอาจเป็นกรณียกเว้นได้
กรรมพันธุ์ งานวิจัยจำนวนมากระบุตรงกันว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้บางอย่างสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจากการศึกษาเป็นรายกรณีพบว่า เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้บางคน อาจมีพี่น้องเกิดจากท้องเดียวกัน มีปัญหาทางการเรียนรู้เช่นกันหรืออาจมีพ่อแม่ พี่ น้อง หรือญาติใกล้ชิดมีปัญหาทางการเรียนรู้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในการอ่าน การเขียน และการเข้าใจภาษา
มีรายงานการวิจัยที่น่าเชื่อถือได้ว่า เด็กฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดี่ยวกัน (Identical Twin) มีพบว่าฝาแฝดคนหนึ่งมีปัญหาในการอ่านฝาแฝดอีกคนมักมีปัญหาในการอ่านเช่นเดียวกัน แต่ปัญหานี้ไม่พบบ่อยนักสำหรับฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ (Fraternal Twin) จึงอาจโดยสรุปได้ว่าปัญหาในการเรียนรู้อาจสืบทอดทางพันธุกรรมได้
สิ่งแวดล้อม สาเหตุทางสภาพสิ่งแวดล้อมนี้ หมายถึง สาเหตุอื่น ๆ ที่มาใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง และกรรมพันธุ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กภายหลังการคลอด เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น การที่เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายล่าช้าด้วยสาเหตุบางประการ การที่ร่างกายได้รับสารบางประการอันเนื่องมาจากสภาพมลพิษในสิ่งแวดล้อม การขาดสารอาหารในวัยทารกและในวัยเด็ก การสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพของครู ตลอดจนการขาดโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น แม้ว่าองค์ประกอบทางสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยตรง แต่องค์ประกอบเหล่านี้อาจทำให้สภาพการเรียนรู้ของเด็กมีความบกพร่องมากขึ้น
ปัญหาและความบกพร่องของเด็กกลุ่มนี้จะเริ่มสังเกตเห็นได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียนแต่ภาวะปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนก็เพียงแต่มีปัญหา เกี่ยวการเรียนรู้เพียงเล็กๆ น้อยๆ เช่น เขียนตัวหนังสือโย้ไปเย้มา อ่านคำตก ๆ หล่น ๆ มีความสับสนระหว่าง“ภ กับ ถ”“ b กับ d”แต่บางคนก็มีปัญหามากมายจนส่งผลให้เกิด ความยุ่งยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและกระทบไปถึงผู้คนรอบข้างด้วย นักจิตวิทยาและนักการศึกษาเชื่อว่า ภาวะที่ความสามารถในการเรียนของบุคคล หรือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ต่ำกว่าความสามารถตามอายุระดับการศึกษา และระดับสติปัญญา
ลักษณะของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ลักษณะความบกพร่องด้านการอ่าน
ยกตัวอย่างเช่น
๑) อ่านช้าอ่านข้าม อ่านไม่หมด
๒) จำคำศัพท์คำเดิมไม่ได้ ทั้งๆ ที่เคยผ่านสายตามาแล้วหลายครั้ง
๓) อ่านเพิ่มคำ ซ้ำคำ อ่านผิดตำแหน่ง
๔) อ่านสลับตัวอักษรหรือออกเสียงสลับกัน เช่น บก อ่านเป็น กบ
๕) สับสนในพยัญชนะคล้ายกันเช่น ก ภ ถ, ฦ ฎ ฏ, ด ต ค
ลักษณะความบกพร่องด้านการเขียน
ยกตัวอย่างเช่น
๑) ไม่ชอบและหลีกเลี่ยงการเขียน หรือการลอกคำ
๒) เขียนไม่สวยไม่เรียบร้อย สกปรก ขีดทิ้ง ลบทิ้ง
๓) เขียนตัวอักษรและคำที่คล้ายๆ กันผิด
๔) ลอกคำบนกระดานผิด (ลอกไม่ครบตกหล่น)
ลักษณะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์
ยกตัวอย่างเช่น
๑) นับเลขเรียงลำดับ นับเพิ่ม นับลดไม่ได้
๒) ยากลำบากในการบวก,ลบ จำนวนจริง
๓) ยากลำบากในการใช้เทคนิคการนับจำนวนเพิ่มทีละ ๒, ๕, ๑๐, ๑๐๐
๔) ยากลำบากในการประมาณจำนวนค่า
๕) ยากลำบากในการเปรียบเทียบ มากกว่า น้อยกว่า
ลักษณะความบกพร่องทางพฤติกรรม
ยกตัวอย่างเช่น
๑) ไม่ทำตามคำสั่ง ทำงานไม่เสร็จ
๒) มีความยากลำบากในการจัดระบบงาน
๓) ทำของหายบ่อยๆ เป็นประจำ เช่น ของเล่น ดินสอ หนังสือ อุปกรณ์การเรียน
๔) ลืมทำกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวัน
ความบกพร่องทางกระบวนการการคิด
ยกตัวอย่างเช่น๑) ไม่สามารถบอกความแตกต่าง ของสิ่งที่มองเห็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวัตถุ ๒ อย่างหรือมากกว่ามีขนาดลักษณะคล้ายคลึงกัน
๒) ไม่สามารถบอกความแตกต่าง ของเสียงที่ได้ยินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงที่คล้ายคลึงกัน หรือหากบอกได้ก็ไม่แน่นอน บางทีบอกได้ บางทีบอกไม่ได้
ความบกพร่องด้านอื่น ๆ
สภาพปัญหาการเรียนรู้ในวัยต่างๆ
สภาพปัญหาหรือความลำบากในการเรียนรู้ของบุคคลมิได้มีอยู่เฉพาะในวัยเด็กเท่านั้นในบางรายปัญหาอาจมีไปถึงวัยผู้ใหญ่ ในหลายรายหากได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสม และทันเวลาแล้ว ปัญหาต่าง ๆ อาจลดลง บางปัญหาอาจหมดไป บางปัญหายังอยู่บ้างไม่มากก็น้อย สภาพปัญหา ลักษณะการประเมินผลและการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาในการเรียนรู้ ปัญหาการเรียนรู้ในวัยต่างๆ