Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ติดเชื้อหนองในร่วมกับการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
ติดเชื้อหนองในร่วมกับการตั้งครรภ์
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองใน เปิดโอกาสให้ซักถามและให้กำลังใจในการรักษารวมทั้งเน้นความสำคัญในการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยาและการสังเกตอาการข้างเคียงของยา เพื่อให้ตั้งครรภ์เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลตนเองจากการเป็นโรคหนองในในขณะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งจนกว่าจะรักษาหายขาด และการมารับการรักษาต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่คู่นอนของหญิงตั้งครรภ์
แนะนำการรักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ ต้องเช็ดให้แห้งเสมอไม่ให้หมักหมมและชุดชั้นในต้องซักให้สะอาดและตากแดดให้แห้ง เพื่อลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย
ติดตามสามีมาตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน เพื่อตรวจหาการติดเชื้อหนองในของสามีหญิงตั้งครรภ์ หากพบการติดเชื้อหนองในจะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ระยะคลอด
ใช้หลักการป้องกันสากล (Universal precaution) ในการทำคลอด เพื่อลดการกระจายเชื้อจากการสัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่ง
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิดอย่างละเอียด เพื่อเป็นการตรวจดูความผิดปกติของทารกหลังคลอด
ดูแลเช็ดตาทารกแรกเกิดด้วย0.9%NSS และป้ายตาด้วย0.5% Erythromycin หรือ 1% Tetracycline eye ointment โดยหยอดตาเข้าบริเวณเปลือกตาด้านล่างจากหัวตาไปหางตาทันทีหลังคลอดหรือไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อลดจำนวนเชื้อเเบคทีเรียที่เกิดขึ้นหลังทารกคลอดและป้องกันการติดเชื้อเยื่อบุตาอักเสบ
ระยะหลังคลอด
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นเรื่องความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และชุดชั้นใน เพื่อให้มารดาหลังคลอดดูเเลตนเองได้อย่างถูกวิธี
สังเกตอาการผิดปกติของทารกได้แก่ ตาแฉะ ตาอักเสบ ต้องรีบพาบุตรไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาต่อไป เพื่อจะได้รับการรักษาได้อย่างทันถ่วงที เนื่องจากมารดาเป็นโรคหนองในขณะตั้งครรภ์
ล้างมือทั้งก่อนและหลังสัมผัสทารกเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสเนื่องจากทารกมีภูมิคุ้มกันต่ำ
ส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีและน้ำนมมารดามีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อทารก
วิธีการถ่ายทอด
ถ่ายทอดผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด หรือทวารหนักและบางครั้งก็ทางปาก สามารถถ่ายทอดโดยการสัมผัสโดยตรง เช่น ทารกที่คลอดผ่านทางช่องคลอดของมารดาที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุตา ในสตรีที่มีเชื้อสามารถแพร่จากช่องคลอดไปทวารหนักได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
ผลต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อทารก
ทำให้เกิดการตาอักเสบ (gonococcal opthalmia neonetorum) เกิดจากการสัมผัสเชื้อระหว่างการคลอดผ่านทางช่องคลอด จะมีอาการแสดงใน 5-12วันแรกเกิด ในรายที่กลืนหรือสูดสำลักน้ำคร่ำที่มีการติดเชื้อหนองในเข้าไปจะทำให้ช่องปากอักเสบ หูอักเสบ กระเพาะอักเสบ และปอดบวมได้
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด เกิดการแท้งบุตร เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
การตรวจวินิจฉัยโรค
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยการนำหนองที่ออกมาจากบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ไปตรวจซึ่งทำได้ 3 วิธีคือ
3.2. ตรวจโดยทำการเพาะเลี้ยงเชื้อหนองใน ซึ่งได้ผลแม่นยำกว่าการย้อมสีแกรม
3.1. ตรวจโดยการย้อมแกรมจากมูกหนองบริเวณคอมดลูก หรือเยื่อบุปากมดลูก
3.3. ตรวจโดยวิธี nucleic acid amplification test (NAAT) จากมูกบริเวณคอมดลูกหรือปากมดลูก และอาจเก็บจากทวารหนัก หรือในช่องปาก ถ้าผล positive Neisseria gonorrheae จะแปลผลว่ามีการติดเชื้อ
2. การตรวจร่างกาย
จะพบอาการ ดังนี้ มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต (inguinal adenopathy) ต่อมskene และ Bartholin บวม บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกบวม แดง มีสารคัดหลั่งทางช่องคลอดคล้ายหนอง หรือมีเลือดปน ปากมดลูกอักเสบ บวม แดง การตรวจทางทวารหนักจะพบเยื่อบุบวม มีสารคัดหลั่ง หรือมีเลือดออก
1. การซักประวัติ
ถึงอาการ อาการแสดง การมีเพศสัมพันธ์ หรือเคยมีประวัติการติดเชื้อมาก่อน
บทความวิชาการที่เกี่ยวข้อง
สมบูรณ์ บุญยเกียรติ และ ชวนพิศ เจริญพงศ์. (2559). บทบาทของพยาบาลกับการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อในสตรีตั้งครรภ์.
วารสารเกื้อการุณย์, 23(1)
, 163-179.
การตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อในสตรีต้ังครรภ์จะช่วยให้สามารถค้นพบโรคในสตรี ต้ังครรภ์ตั้งแต่แรกเริ่มซึ่งจะเกิดผลดีต่อการรักษา ลดภาวะการติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ รวมทั้งลดความผิดปกติหรือความพิการที่อาจจะเกิดข้ึนได้ในทารก พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ คือ
1) การให้การปรึกษาก่อนการเจาะเลือดเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเจาะเลือด
2) การให้การปรึกษาหลังการตรวจเลือด กรณีที่พบความผิดปกติพยาบาล จะต้องประเมินการรับรู้ที่มีต่อโรคในด้านความรู้และความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น และจะต้องให้ข้อมูล ที่เหมาะสม
3) การแนะนำวิธีลดและการจัดการกับความวิตกกังวลโดยเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก การฝึกวิธีการผ่อนคลาย การเสริมสร้างพลังด้านบวกทั้งพลังใจในตนเองและพลังสนับสนุนของครอบครัว
4) คำแนะนำถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ให้ปลอดภัย
การดูแลรักษา
สตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหนองในชนิดมีภาระแทรกซ้อนเฉพาะที่ (local complicated gonorrhea)
ได้แก่ bartholin's abscess และ paraurethral abscess ให้การรักษาเหมือนโรคหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกช้อน แต่ให้การรักษาอย่างน้อย 2 วัน หรือจนกว่าจะหาย และแนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ 7 วันหลังให้การรักษา
การติดเชื้อหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกช้อน (uncomplicated gonorrhea)
ในสตรีตั้งครรภ์และสตรีในระยะให้นมบุตรแนะนำให้ใช้ Ceftriaxone 500 Mg ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียวร่วมกับ Azithromycin 1 gm รับประทานครั้งเดียว
การติดเชื้อหนองในชนิดมีภาวะแทรกซ้อนแบบแพร่กระจาย (disseminated gonococcal infection)
ได้แก่ petechiae หรือ pustule ที่ผิวหนัง septic arthritis รักษาโดยใช้ Ceftriaxone 12 gm. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ วันละ 1 ครั้ง จนอาการดีขึ้นแล้วเปลี่ยนเป็นยาชนิดรับประทาน cefuroxime 400 mg. วันละ 2 ครั้ง รักษาอย่างน้อย 7 วัน ร่วมกับให้ Azithromycin 1 gm. รับประทานครั้งเดียว และหากมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ meningitis หรือ endocarditis ร่วมด้วย ใช้ยา ceftriaxone 1:2 gm. ฉีดเข้าหลอดเลือดคำทุก 12 ชั่วโมงร่วมกับ Azithromycin 1 gm. รับประทานครั้งเดียวถ้าเป็น meningitis ให้รักษาติดต่อกัน 10-14 วัน และendocarditis ให้รักษาติดต่อกัน 4 สัปดาห์
ทารก
นิยมใช้ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment ป้ายตาทารกโดยไม่ต้องล้างออก กรณีที่ทารกมีการติดเชื้อไปแล้วต้องได้รับการรักษาดังนี้ ทารกแรกเกิดติดเชื้อหนองในที่เยื่อบุตา (neonatal conjunctivitis) รักษาโดยให้ยา Ceftriaxone 25-50 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ไม่เกิน 125 mg) ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดคำเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบบแพร่กระจาย เช่น bacteremia , arthritis , abcess เป็นต้น ในอวัยวะต่างๆ ให้ยา Ceftriaxone 50 mg/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ไม่เกิน 2 gm) ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน แต่ถ้าติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง (meningitis) ให้ Ceftriaxone 50 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ไม่เกิน 2 gm) ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำทุก 12-24 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 10-14 วัน
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการของการติดเชื้อในรายที่มีอาการแสดง คือ มีสารคัดหลั่งทางช่องคลอด ลักษณะสีเหลืองๆ เขียวๆ คล้ายหนองปริมาณมาก มีสารคัดหลั่งทางทวารหนัก บริเวณอวัยวะสืบพันธ์บวม และคัน ถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะแสบขัด รู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ มีอาการปวดข้อ และเอ็นต่างๆ
เชื้อก่อโรค
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดกรัมลบ ที่ชื่อ Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิและสารน้ำในช่องคลอด
อ้างอิง
บังอร ศุภวิทิตพัฒนา. (2562). การพยาบาลและการผดุงครรภ์:สตรีที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน.
พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : บริษัท สมาร์ทโคตติ้งแอนด์เซอร์วิส จำกัด
เยาวเรศ สมทรัพย์. (2558). การผดุงครรภ์ (เล่ม 1). พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา : บริษัท หาดใหญ่ เบสท์เซลส์
แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
รสพร กิตติเยาวมาลย์, และศุภโชค คงเทียน. (2562). แนวทางดูแลโรคหนองในพ.ศ.2562. ใน ณัฐนรี
เกิดเทพ และเอกชัย แดงสอาด (บ.ก), มาตรฐานการบำบัดรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ.2531. (น.1-33). กรุงเทพฯ: หจก.สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
วิลาวัณย์ ทิพย์มนตรี,เจนจิต ฉายะจินดาและรสพร กิตติเยาวมาลย์. (2563). แนวทางการดูแลรักษาโรค
หนองในเฉพาะที่(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมบูรณ์ บุญยเกียรติ และ ชวนพิศ เจริญพงศ์. (2559). บทบาทของพยาบาลกับการตรวจคัดกรองโรคติด
เชื้อในสตรีตั้งครรภ์. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 163-179.