Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ . ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 - Coggle Diagram
พรบ . ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534
ส่วนที่ ๑
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
มาตรา ๗ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
(๑) สํานักนายกรัฐมนตรี
(๒) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(๓) ทบวง ซึ่งสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(๔) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
ซึ่งสังกัดหรือไม่ สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวง สํานักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง ส่วนราชการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๘๓ การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็น พระราชบัญญัติ
มาตรา ๘ ทวิ ๔ การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗
ไม่ว่าจะมีผลเป็น การจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ถ้าไม่มี
การกําหนดตําแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้าง เพิ่มขึ้น
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๘ ตรี๕ การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการตามมาตรา ๗
ให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา และในกรณีที่ชื่อตําแหน่งของข้าราชการในส่วนราชการนั้นเปลี่ยนไปให้ระบุการเปลี่ยนชื่อไว้
ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
มาตรา ๘ จัตวา๖ การยุบส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตรา
เป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบส่วนราชการ
ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งบประมาณรายจ่ายที่ เหลืออยู่ของ
ส่วนราชการนั้นเป็นอันระงับไป สําหรับทรัพย์สินอื่นของ
ส่วนราชการนั้นให้โอนให้แก่ส่วน ราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่น
ของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาตามวรรค หนึ่งกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสําหรับวิธีการจัดการกิจการ สิทธิและหนี้สินของ ส่วนราชการนั้นให้เป็นไป
ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๘ เบญจ๗ พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๘ ทวิหรือมาตรา ๘ จัตวา ที่มีผล เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จัดตั้งส่วนราชการ กฎหมายว่าด้วยการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา ๒๓๐ วรรคห้า ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ระบุให้ชัดเจนในพระราชกฤษฎีกาว่าบทบัญญัติใดถูกแก้ไข เพิ่มเติมหรือยกเลิกเป็นประการใดในกฎหมายนั้น
มาตรา ๘ ฉ ๘ การแบ่งส่วนราชการภายในสํานักงานรัฐมนตรีกรม หรือส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอํานาจหน้าที่ของแต่ละ ส่วนราชการไว้ใน
กฎกระทรวงด้วย
มาตรา ๘ สัตต๙ ให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสํานัก งบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและในการกําหนด อํานาจหน้าที่ของแต่ละ
ส่วนราชการตามมาตรา ๘ ฉ ในการเสนอความเห็นดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจัดอัตรากําลัง และสํานักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้ สอดคล้องเสนอไป
ในคราวเดียวกัน
มาตรา ๘ อัฏฐ๑๐ การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
หมวด ๑
การจัดระเบียบราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๙ การจัดระเบียบราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไป
ตามกฎหมายว่า ด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้ส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีบรรดาที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นกรม
มาตรา ๑๐ สํานักนายกรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม สํานักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบใน การกําหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในสํานักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับ นโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่
คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติโดยจะให้มีรอง นายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่ง
และปฏิบัติราชการก็ได้
มาตรา ๑๑ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กํากับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการ ส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดง ความคิดเห็น ทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจําเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอํานาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติ ราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(๔) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสํานัก
นายกรัฐมนตรีโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตรา เงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสํานักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
(๕) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดํารงตําแหน่งของอีก กระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม
(๖) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของ นายกรัฐมนตรีหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกําหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือ ค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
(๗) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสํานักนายกรัฐมนตรี
(๘) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
(๒) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกํากับการบริหารราชการของกระทรวงหรือ ทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง
(๓) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตําแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือทบวง นายกรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
ประจําสํานักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนก็ได้
มาตรา ๑๓ สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทาง การเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและให้มีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและรอง เลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
มาตรา ๑๔ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของ คณะรัฐมนตรีรัฐสภา และราชการในพระองค์มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและให้มีรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
มาตรา ๑๕ ในสํานักนายกรัฐมนตรีอาจมีส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรง ต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
มาตรา ๑๖ สํานักนายกรัฐมนตรีนอกจากมีนายกรัฐมนตรีรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีให้มีปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจําในสํานักนายกรัฐมนตรี
กําหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสํานักนายกรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัด
สํานักนายกรัฐมนตรี
(๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีรองจาก นายกรัฐมนตรีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๑๗ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ
ราชการประจําทั่วไปของสํานักนายกรัฐมนตรีและราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี
หมวด ๒
การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง
มาตรา ๑๘ ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวงดังนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางกระทรวงเห็นว่าไม่มีความ จําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
มาตรา ๑๙ กระทรวงมีอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหนึ่ง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ส่วนการจัดระเบียบราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับการทหารและ การศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๙/๑ ให้ปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจและหัวหน้าส่วนราชการ ตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ ใน กระทรวงร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ความคุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายของกระทรวง
มาตรา ๒๐ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๑ ในกระทรวงหนึ่ง ให้มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
และรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อ รัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติโดยจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่ง และปฏิบัติราชการก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจําในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ กํากับการทํางานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์และประสาน การปฏิบัติงานของส่วนราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และ ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง
(๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดกระทรวง
มาตรา ๒๒ สํานักงานรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของสํานักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มาตรา ๒๓ สํานักงานปลัดกระทรวงมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจําทั่วไปของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวง
มาตรา ๒๔ การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ให้อนุโลม ตามการจัดระเบียบราชการของกระทรวงซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ ถึงมาตรา ๒๓
หมวด ๓
การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
มาตรา ๒๕ ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้ง เป็นกระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง จะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวง เพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และให้จัดระเบียบราชการในทบวงดังนี้
(๑) สํานักงานรัฐมนตรี
(๒) สํานักงานปลัดทบวง
(๓) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงซึ่งเห็นว่าไม่มีความ จําเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
มาตรา ๒๖ การจัดระเบียบราชการในทบวงหนึ่ง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ส่วนการจัดระเบียบราชการในทบวงมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น ทบวงมีอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
มาตรา ๒๗ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๑ ทบวงหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการทบวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และกําหนดนโยบายของทบวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรี กําหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการ ทบวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
มาตรา ๒๘ ทบวง นอกจากมีรัฐมนตรีว่าการทบวง
และรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ให้มีปลัดทบวงคนหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจําในทบวง กําหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของทบวง (๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในทบวงรองจากรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานปลัดทบวงและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดทบวง
มาตรา ๒๙ สํานักงานรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการทบวง
มาตรา ๓๐ สํานักงานปลัดทบวงมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจําทั่วไปของทบวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดทบวง
หมวด ๔
การจัดระเบียบราชการในกรม
มาตรา ๓๑ กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือทบวง อาจแบ่งส่วนราชการดังนี้
(๑) สํานักงานเลขานุการกรม
(๒) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจําเป็น จะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
มาตรา ๓๒ กรมมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กําหนดใน กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอํานาจหน้าที่ของกรมนั้น
มาตรา ๓๓ สํานักงานเลขานุการกรมมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม และราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะมีเลขานุการกรมเป็น ผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานเลขานุการกรม
มาตรา ๓๔ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษ จะตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ ออกเป็นเขตเพื่อให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจําเขตแล้วแต่จะเรียกชื่อเพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการก็ได้ หัวหน้าส่วนราชการประจําเขตมีอํานาจหน้าที่เป็นผู้รับนโยบายและคําสั่งจาก กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติงานทางวิชาการ และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจําสํานักงาน เขตซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น
มาตรา ๓๕ กระทรวง ทบวง หรือกรมใดโดยสภาพและปริมาณของงานสมควรมี ผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรมนั้น ก็ให้กระทําได้
ผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรม มีอํานาจหน้าที่ตรวจและแนะนําการ ปฏิบัติราชการอันเกี่ยวกับกระทรวง ทบวง หรือกรมนั้นให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ ของกระทรวง ทบวง หรือกรมหรือมติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๓๖ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมจะมีเลขาธิการ ผู้อํานวยการ หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด
มาตรา ๓๗ ให้นําความในมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และ มาตรา ๓๕ มาใช้บังคับแก่ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมโดยอนุโลม
หมวด ๕
การปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๓๘ อํานาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการหรือการ ดําเนินการอื่นที่ผู้ดํารงตําแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
มาตรา ๓๙ เมื่อมีการมอบอํานาจแล้ว ผู้รับมอบอํานาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอํานาจนั้น โดยผู้มอบอํานาจจะกําหนดให้ผู้รับมอบอํานาจมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไป โดยจะกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการใช้อํานาจนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้
มาตรา ๔๐ ในการมอบอํานาจ ให้ผู้มอบอํานาจพิจารณาถึงการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตําแหน่งของผู้รับมอบอํานาจ
และผู้รับมอบอํานาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอํานาจตามวัตถุประสงค์ของการมอบอํานาจดังกล่าว
หมวด ๖
การรักษาราชการแทน
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน
ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รอง นายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือมี แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการ แทน
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็น ผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติ ราชการได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่รัฐมนตรีว่าการทบวงด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติ ราชการได้ให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีหลาย คน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษา ราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการใน กระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงด้วยโดย อนุโลม
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติ ราชการได้ให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกระทรวงหลายคน ให้ นายกรัฐมนตรีสําหรับสํานักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงคน ใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติ ราชการได้ให้นายกรัฐมนตรีสําหรับสํานักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้ง ข้าราชการในกระทรวงซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๔๕ ให้นําความในมาตรา ๔๔ มาใช้บังคับแก่กรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งปลัด ทบวงหรือรองปลัดทบวงตามมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๒๘ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองอธิบดีหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองอธิบดีคนใด คนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๔๗ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งเลขานุการกรมตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง หรือหัวหน้าส่วนราชการตามมาตรา ๓๓ วรรคสอง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้อธิบดีแต่งตั้ง ข้าราชการในกรมคนหนึ่งซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า เป็นผู้รักษาราชการ แทน
มาตรา ๔๘ ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้มีอํานาจหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ผู้ดํารงตําแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่งนั้นมอบหมาย หรือมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอํานาจหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอํานาจ
มาตรา ๔๙ การเป็นผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือน อํานาจนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าอธิบดีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่จะแต่งตั้งข้าราชการอื่น เป็นผู้รักษาราชการแทนตามอํานาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย
มาตรา ๕๐ ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร
หมวด ๗
การบริหารราชการในต่างประเทศ
มาตรา ๕๐/๑ ในหมวดนี้
“คณะผู้แทน” หมายความว่า บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือข้าราชการฝ่าย ทหารประจําการในต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล ใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล
“หัวหน้าคณะผู้แทน” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ง ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล
“รองหัวหน้าคณะผู้แทน” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทน
มาตรา ๕๐/๒ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับนโยบายและคําสั่งจาก นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสม กับการปฏิบัติราชการในต่างประเทศ และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทน และจะให้มี รองหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนก็ได้
มาตรา ๕๐/๓ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ให้รองหัวหน้าคณะผู้แทนรักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีรองหัวหน้าคณะผู้แทนที่จะรักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง หรือไม่มี ผู้ดํารงตําแหน่งใดอันเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้การ รักษาราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนหรือผู้ดํารงตําแหน่งใดอันเป็นบุคคลในคณะผู้แทน เป็นไปตาม ระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๕๐/๔ หัวหน้าคณะผู้แทนมีอํานาจและหน้าที่ดังนี้
(๓) บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลใน คณะผู้แทนซึ่งประจําอยู่ในประเทศที่ตนมีอํานาจหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๔) รายงานข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการของบุคคลตาม (๓) เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการต้นสังกัดเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการ เลื่อนขั้นเงินเดือน
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือ ตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
มาตรา ๕๐/๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง ปลัดสํานัก นายกรัฐมนตรีปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่า อาจมอบอํานาจให้ หัวหน้าคณะผู้แทนปฏิบัติราชการแทนได้ในการนี้ให้นําความในมาตรา ๓๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๕๐/๖ การที่กระทรวง ทบวง กรม จะมอบอํานาจหรือมีคําสั่งใดที่ เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะผู้แทน ให้แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศ
ส่วนที่ ๒
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
หมวด ๑
จังหวัด
มาตรา ๕๒ ให้รวมท้องที่หลาย ๆ อําเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดยื่นคําขอจัดตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดใน พระราชกฤษฎีกา ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ
มาตรา ๕๒/๑ให้จังหวัดมีอํานาจภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑) นําภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(๒) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม
(๔) จัดให้มีการบริการภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็ว และมีคุณภาพ
(๓) จัดให้มีการคุ้มครอง ป้องกัน ส่งเสริม และช่วยเหลือประชาชนและชุมชนที่ด้อย โอกาสเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในการดํารงชีวิตอย่างพอเพียง
(๕) จัดให้มีการส่งเสริม อุดหนุน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ สามารถดําเนินการตามอํานาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีขีดความสามารถ พร้อมที่จะดําเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวง ทบวง กรม
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐมอบหมาย หรือที่มีกฎหมายกําหนด
มาตรา ๕๓ ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่า ราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติ ของคณะรัฐมนตรีกําหนด
คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัด
รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
ปลัดจังหวัด
ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัด
หัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดจากกระทรวง และทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจําอยู่ในจังหวัด กระทรวง หรือทบวงละหนึ่งคน เป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสํานักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
อัยการจังหวัด
มาตรา ๕๓/๑ ให้จังหวัดจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ในจังหวัด ในการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการ ประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทําการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็น ราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลางและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมดในจังหวัดรวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
มาตรา ๕๓/๒ ให้นําความในมาตรา ๕๓/๑ มาใช้บังคับกับการจัดทําแผนพัฒนา กลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๕๔ ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและ คําสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้ เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่ง ปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอําเภอ และ จะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
มาตรา ๕๖ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครอง บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดดังกล่าวในมาตรา ๕๔ ให้มีปลัด จังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจําทําหน้าที่ เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอํานาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่ง สังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น
มาตรา ๕๕/๑ ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการธรร มาภิบาลจังหวัดคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ธ.จ.” ทําหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจ ของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการ
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และตำแหน่งอื่น ๆ ให้หัวหน้าส่วนราชการประจํา จังหวัดซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๕๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตา ม แผนพัฒนาจังหวัด
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง
กรม มอบหมายหรือตามที่ นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคําแนะนําและคําชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อ ไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือ การสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) กํากับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่ง ประจําอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครูให้ ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
(๕) ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการ ฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินและ ข้าราชการครูผู้ตรวจราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือ ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
(๖) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หรือเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อ สํานักงบประมาณ
(๗) กํากับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย
(๘) กํากับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการ นี้ให้มีอํานาจทํารายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือ รัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
(๙) บรรจุแต่งตั้ง ให้บําเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดตาม กฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย
มาตรา ๕๘ การยกเว้น จํากัด หรือตัดทอน อํานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดใน การบริหารราชการในจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอํานาจหน้าที่ในการบริหาร ราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะกระทําได้โดยตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๙ ให้นําความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ผู้รักษา ราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๐ ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้
(๑) สํานักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัด ของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสํานักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการของสํานักงานจังหวัด
(๒) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของ กระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา รับผิดชอบ
หมวด ๒
อําเภอ
มาตรา ๖๑ ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอําเภอ การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอําเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๖๑/๑ ให้อําเภอมีอํานาจหน้าที่ภายในเขตอําเภอ ดังต่อไปนี้
(๑) อํานาจและหน้าที่ตามที่กําหนดในมาตรา ๕๒/๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) โดยให้นําความในมาตรา ๕๒/๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๓) ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการ ดําเนินการให้มีแผนชุมชน เพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด และกระทรวง ทบวง กรม
(๔) ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อยในสังคมตามมาตรา ๖๑/๒ และมาตรา ๖๑/๓
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐใน ลักษณะศูนย์บริการร่วม
มาตรา ๖๑/๒ ในอําเภอหนึ่ง ให้มีคณะบุคคลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอม ข้อพิพาทของประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอําเภอ ในเรื่องที่พิพาททางแพ่ง เกี่ยวกับที่ดิน มรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท หรือมากกว่านั้น
ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๖๑/๓ บรรดาความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอําเภอใดหากเป็น ความผิดอันยอมความได้และมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ ถ้าผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอม หรือแสดงความจํานง ให้นายอําเภอของอําเภอนั้นหรือปลัดอําเภอที่นายอําเภอดังกล่าวมอบหมายเป็น ผู้ไกล่เกลี่ยตามควรแก่กรณีและเมื่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอมเป็นหนังสือตามที่ไกล่เกลี่ย และปฏิบัติตามคําไกล่เกลี่ยดังกล่าวแล้ว
ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา
มาตรา ๖๒ ในอําเภอหนึ่ง มีนายอําเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชา บรรดาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการ
ของอําเภอ นายอําเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
บรรดาอํานาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอําเภอหรือนายอําเภอซึ่ง กฎหมายกําหนดให้กรมการอําเภอและนายอําเภอมีอยู่ให้โอนไปเป็นอํานาจและหน้าที่ของนายอําเภอ
มาตรา ๖๓ ในอําเภอหนึ่ง นอกจากจะมีนายอําเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและ รับผิดชอบดังกล่าวในมาตรา ๖๒ ให้มีปลัดอําเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจําให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอําเภอ และมีอํานาจบังคับบัญชา ข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง
กรมนั้น ในอําเภอนั้น
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งนายอําเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง ปลัดอําเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๖๕ นายอําเภอมีอํานาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมาย ใดมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของ นายอําเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่ นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคําแนะนําและคําชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีหน้าที่ ตรวจการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัด มอบหมาย ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของ คณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอําเภอตามกฎหมาย
มาตรา ๖๖ ให้แบ่งส่วนราชการของอําเภอดังนี้
(๑) สํานักงานอําเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอําเภอนั้น ๆ มีนายอําเภอ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(๒) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอําเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจําอําเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา
มาตรา ๖๗ ให้นําความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ผู้รักษา ราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๘ การจัดการปกครองอําเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่
ส่วนที่ ๓
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ส่วนที่ ๓
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๖๙ ท้องถิ่นใดที่เห็นสมควรจัดให้ราษฎรมีส่วนในการปกครองท้องถิ่นให้จัด ระเบียบการปกครองเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๑ การจัดระเบียบการปกครององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๗๐ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นดังนี้
(๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒) เทศบาล
(๔) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนด
(๓) สุขาภิบาล
ส่วนที่ ๔
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
มาตรา ๗๑/๑ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ร.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีหนึ่งคนที่นายกรัฐมนตรีกําหนดเป็นรองประธาน ผู้ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมายหนึ่งคน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสิบคน ซึ่ง คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทางด้านนิติศาสตร์เศรษฐศาสตร์รัฐศาสตร์การ บริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ การเงินการคลัง จิตวิทยาองค์การ และสังคมวิทยา อย่างน้อยด้านละ หนึ่งคน
มาตรา ๗๑/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๔) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือ เจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๕) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับ ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๗๑/๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีผู้ซึ่ง พ้นจากตําแหน่งแล้ว อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่
มาตรา ๗๑/๔นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้น จากตําแหน่งเมื่อ
(๔) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือ หย่อนความสามารถ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗๑/๒
มาตรา ๗๑/๕ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระและยัง มิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
มาตรา ๗๑/๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง หรือ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นยังมีวาระอยู่ใน ตําแหน่ง ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งมีวาระการดํารงตําแหน่งเท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังอยู่ในตําแหน่ง
มาตรา ๗๑/๗ การประชุม ก.พ.ร. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ไม่ว่ากรรมการดังกล่าวจะเป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทํางานเต็มเวลาหรือไม่
มาตรา ๗๑/๘ การปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้อง ทํางานเต็มเวลา ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๗๑/๙ ให้มีสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นส่วน ราชการในสํานักนายกรัฐมนตรีทําหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ ก.พ.ร. และหน้าที่อื่นตามที่ กฎหมายหรือ ก.พ.ร. กําหนด โดยมีเลขาธิการ ก.พ.ร. ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเป็น ผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรับผิดชอบ การปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๗๑/๑๐ ก.พ.ร. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ และงานของรัฐอย่างอื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่น ให้เป็นไปตามมาตรา ๓/ ๑ โดยจะเสนอแนะให้มีการกําหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และมาตรการก็ได้
(๒) เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกํากับของราชการ ฝ่ายบริหารตามที่หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ
(๔) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดตั้ง การ รวม การโอน การยุบเลิก การกําหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกําหนดอํานาจหน้าที่ และการแบ่งส่วน ราชการภายในของส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
(๘) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้หรือ กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็น ปัญหา มติของคณะกรรมการตามข้อนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ตามกฎหมาย
(๙) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการ พิจารณา
(๓) รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดําเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับ หลักเกณฑ์ที่กำหนด
(๕) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา และกฎที่ออกตาม พระราชบัญญัตินี้
(๖) ดําเนินการให้มีการชี้แจงทําความเข้าใจแก่ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป รวมตลอดทั้งการฝึกอบรม
(๗) ติดตาม ประเมินผล และแนะนําเพื่อให้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้และ รายงานต่อคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
(๑๐) จัดทํารายงานประจําปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐ อย่างอื่นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
(๑๑) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ต่าง ๆ ตามที่มอบหมาย และจะกําหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นด้วยก็ได้
(๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรี มอบหมาย