Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงออกทางทัศนศิลป์ของศิลปิน - Coggle Diagram
การแสดงออกทางทัศนศิลป์ของศิลปิน
สถาปัตยกรรม
เอเดรียน สมิธ
ผลงานและเกียรติคุณ
เอเดรียนสมิ ธ (Adrian Smith) เป็นสถาปนิกผู้ที่มีบทบาทในการออกแบบสถาปัตยกรรมของโลกโดยเฉพาะที่นครดูไบจากเมืองกลางทะเลทรายที่อุดมไปด้วยน้ำมันให้แปรสภาพเป็นดินแดนแห่งตึกระฟ้าที่สูงที่สุดโดยการสร้างตึกเบิร์จคาลิฟาซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกอยู่ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นอกจากตึกเบิร์จคาลิฟาที่ทำสถิติเป็นตึกที่สูงที่สุดของโลกแล้วเขายังมีผลงานการออกแบบตึกสำคัญอื่น ๆ อีกหลายแห่งเช่นทรัมพ์ทาวเวอร์ชิคาโกหรือทรัมพ์ทาวเวอร์ (Trump Tower Chicago)) ตึกระฟ้าใจกลางเมืองชิคาโกสหรัฐอเมริกาจินเหมาทาวเวอร์ (Jin Mao Tower) ตึกสูงที่เมืองช่างไฟ (เซี่ยงไฮ้) สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นต้น
วิเคราะห์การใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิค
แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานจินตนาการและสิ่งก่อสร้างเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดทรงเชิงสัญลักษณ์ในความหมายใหม่ ๆ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบของสถาปัตยกรรมอิสลามและความทันสมัยแบบสากลโดยบางส่วนมีลักษณะใกล้เคียงกับงานออกแบบตึกติอิลลินอยส์ (Di Illinois) ของแฟรงก์ลอยด์ไรต์ (Frank Lloyd Wright) สถาปนิกชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลกซึ่งมีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ คอนกรีตเหล็กกระจกและวัสดุสังเคราะห์อื่น ๆ อีกหลายชนิดเข้ามาประกอบกันโดยเฉพาะส่วนของช่องลิฟต์ที่ได้ติดตั้งลิฟต์ที่มีความเร็วที่สุดในโลกคือมีความเร็ว ๑๘ เมตร / วินาที (๒๕ กิโลเมตร / ชั่วโมง)
ประวัติสังเขป
:<3:
เอเดรียน ดี. สมิธ (อังกฤษ: Adrian D. Smith; เกิด 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944) เป็นสถาปนิกจากเมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา มีความสนใจในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่เริ่มต้น หลังจากจบการศึกษาที่สหรัฐอเมริกา ได้มีโอกาสทำงานที่สำนักงานสถาปนิกเอสโอเอ็ม (SOM) โดยมีจอร์จ เอฟสตาทิวเป็นผู้บริหารโครงการ เขาได้เข้ามามีบทบาทในโครงการออกแบบและพัฒนาพื้นที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้มีสภาพเป็นเมืองแห่งตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะตึกชื่อ "บุรจญ์ดูไบ" (Burj Dubai) หรือชื่อใหม่เรียกว่า "บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์" (Burj Khalifa) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หอคอยเคาะลีฟะฮ์"
ผลตอบรับของสื่อและผู็ชมที่มีต่องาน
ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของเขาได้มีอิทธิพลต่อวงการออกแบบสถาปัตยกรรมในระดับนานาชาติและสถาปนิกรุ่นใหม่โดยเฉพาะแนวคิดการออกแบบอาคารสูงของโลกซึ่งถือว่าเป็นการพลิกโฉมวงการออกแบบผลงานทางสถาปัตยกรรมของโลกสมัยใหม่ทำให้ผู้คนทั่วโลกต่างพากันจับตามองว่าผลงานชิ้นต่อไปของเขาจะสร้างผลงานใดให้ปรากฏบนโลกอีก
จิตกรรม
ปอล เซซาน
ผลงานและเกียรติคุณ
เซซานได้ก้าวขึ้นถึงจุดสูงสุด เขาได้สร้างผลงานชั้นยอดออกมาอย่างมากมาย พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงแนวคิดและสไตล์สู่ความแปลกใหม่มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะภาพ The Card Players ที่กลายเป็นภาพที่โด่งดังที่สุดของเขาและเคยเป็นภาพที่มีราคาแพงที่สุดในโลกถูกซื้อไปในราคาราว 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2011 ผลงานระดับสุดยอดของเขาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้มีอีกมากมายอย่างเช่นภาพ The Bathers, Woman in a Green Hat, Pyramid of Skulls รวมทั้งภาพหุ่นนิ่ง (Still Life) ที่มักมีลูกแอปเปิลเป็นองค์ประกอบหลักซึ่งเขาเขียนไว้หลายสิบภาพด้วยกันและภาพภูเขา Montagne Sainte-Victoire อีกหลายเวอร์ชั่นซึ่งบางเวอร์ชั่นถือเป็นจุดกำเนิดของศิลปะแบบคิวบิสม์ (Cubism)
วิเคราะห์การใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิค
เซซานมีวิธีการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างของปอล เซซานระหว่างปี ค.ศ. 1876-1905 ในประเด็นชุดสีเทคนิคการระบายสีน้ำมัน รูปแบบการตัดทอนและการบิดเบือนการจัดภาพและมีการมองเห็นด้วยธรรมชาติด้วยการมองเห็นของรูปทรงเรขาคณิต เทคนิคการระบายสีน้ำมันใช้วิธีการลูบสีเป็นแผ่นสีสั้นๆ เชื่อมต่อกันและระบายแบบเรียบกลมกลืน แบบขอบคม แบบขอบรูปทรงผสานกันและแบบขีดเป็นเส้นกับเรียงเส้น การตัดทอนมีลักษณะเป็นรูปเรขาคณิตแบบเหลี่ยมแบบกลมและแบบอิสระการบิดเบือนมีทั้งลักษณะหดและยืด การจัดภาพใช้ทัศนมิติเชิงบรรยากาศประกอบด้วยเส้นแนวตั้งของสิ่งก่อสร้างและต้นไม้ กับเส้นแนวนอนของขอบฟ้าเพื่อสร้างดุลยภาพ การสร้างจุดสนใจพบว่าทำให้ภาพมีขอบคมเพื่อแยกรูปกับพื้นและใช้สีคู่ตรงข้ามรวมทั้งจัดวางตำแหน่งจุดสนใจไว้กลางภาพและใช้ลักษณะมืดล้อมสว่าง ส่วนการใช้วัสดุอุปกรณ์เขาจะเขียนภาพลงบนผืนผ้าใบ (Canvas) ใช้เทคนิคสีน้ำมันด้วยการป้ายเป็นแผ่นระนาบบาง ๆ ซ้อนกันไปมาในระยะแรกการป้ายสีค่อนข้างมีความละเอียดกลมกลืนกันเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ ในเวลาต่อมาการเขียนภาพมีเทคนิคการป้ายที่ตรงและเร็วเป็นฝีแปรงขนาดใหญ่ ๆ ปล่อยทิ้งเป็นจุด ๆ ไว้อย่างเด่นชัดเพื่อต้องการเน้นถึงรูปทรงและปริมาตรต่างๆตามที่เขามองเห็น
ประวัติสังเขป
:fire:
ปอล เซซาน (Paul Cézanne) เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อปี 1839 ที่เมือง Aix-en-Provence ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส พ่อของเขาเป็นเจ้าของธนาคารที่กิจการเจริญรุ่งเรืองมีฐานะร่ำรวย ปี 1852 เซซานเข้าเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียน Collège Bourbon ที่ซึ่งเขาได้พบเพื่อนนักเรียนและกลายเป็นเพื่อนสนิทกับ Émile Zola ที่ต่อมาเป็นนักเขียนชื่อดังของฝรั่งเศส เขาเริ่มเรียนการเขียนภาพในปี 1856 ที่โรงเรียนศิลปะในเมือง Aix แต่พ่อของเขาต้องการให้เขามาสานต่อธุรกิจของครอบครัวจึงให้เขาเข้าเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัย University of Aix-en-Provence แต่ยอมให้เรียนเขียนภาพควบคู่กันไปด้วย ผลงานในช่วงเริ่มต้นได้แก่ภาพ Landscape with Mill ที่ได้ฉายแววการเป็นยอดจิตรกรด้านภาพทิวทัศน์ จนถึงปี 1861 เซซานตัดสินใจเลิกเรียนกฎหมายและขอให้พ่อส่งเขาไปเรียนเขียนภาพที่กรุงปารีส” และยังเป็นจิตรกรคนสำคัญในลัทธิประทับใจยุคหลังผู้วางรากฐานแนวคิดสู่ศิลปะสมัยใหม่ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เขาเปลี่ยนแปลงแนวคิดและสไตล์การเขียนภาพจากอิมเพรสชั่นนิสม์ไปสู่ความแปลกใหม่อันเป็นที่มาผลงานระดับสุดยอดหลายต่อหลายภาพ หลายคนให้การยกย่องเขาเป็น “บิดาแห่งศิลปะ
ผลตอบรับของสื่อและผู้ชมที่มีต่องาน
เกียรติคุณผลงานจิตรกรรมส่วนใหญ่ของปอลเซซาน (Paul Cezanne) ได้มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานในลัทธิบาศกนิยมต่อมาไม่ว่าจะเป็นจอร์จบราค (George Braque) และปาโบลรุยซ์ปิกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso) ต่างรับแนวคิดของเขาไปต่อยอดทั้งสิ้นโดยเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติเขาได้วิเคราะห์รูปร่างต่างๆที่เขาเห็นโดยวิเคราะห์ให้เห็นเป็นโครงสร้างมูลฐานของรูปทรงกลมรูปลูกบาศก์และรูปทรงกระบอกทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีลักษณะเรียบง่ายในลักษณะที่เป็นโครงสร้างทางเรขาคณิตที่มีความสมดุลกันอย่างลงตัวผลงานสำคัญเช่น“ คนอาบน้ำ "(The Bathers) (ค.ศ. ๑๙๙๙) เป็นภาพเทคนิคสีน้ำมันที่แสดงถึงการจัดองค์ประกอบกลุ่มคนที่อาบน้ำการใช้เกรียงปาดสีทำให้ภาพดูเป็นเหลี่ยมเกิดเส้นซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปะแบบบาศกนิยม“ สะพานที่เมืองแมงซี" (The Bridge at Maincy) (ค.ศ. ๑๙๑๗๔) เป็นภาพเทคนิคสีน้ำมันที่มีการใช้พู่กันป้ายและการใช้เกรียงปาตภาพท่าให้ภาพดูเป็นเหลี่ยม“ หุ่นนิ่งกับแอปเปิลและสัม” (Still Life with Apples and Oranges) (ค.ศ. ๒๕๕๑๕) เป็นภาพเทคนิคสีน้ำมันที่แสดงให้เห็นถึงการจัดองค์ประกอบที่ลงตัวการใช้เกรียงปาดอย่างมั่นคงเด็ดเดี่ยวและหนักแน่น“ คนเล่นไฟ” (The Card Players) (ค.ศ. ๑๘๙๐) เป็นภาพเทคนิคสีน้ำมันที่สื่อให้เห็นความรู้สึกของคนเล่นไพ่กำลังใช้ความคิดที่จะเอาชนะซึ่งกันและกันเป็นต้น
ประติมากรรม
คอร์ราโด เฟโรชี
:fountain_pen:
ผลงงานและเกียรติคุณ
จึงได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยศิลปากรและของประเทศไทย โดยเฉพาะในงานประติมากรรมที่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากมายที่สร้างไว้แก่ประเทศไทย ได้แก่ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมไปถึง พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่วงเวียนใหญ่, พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์ เป็นต้น
วิเคราะห์การใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิค
มีอุดมการณ์ที่จะต้องการพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีก และในยุคที่ศิลปะตะวันตกกำลังรุ่งเรืองในประเทศไทย สิ่งที่ท่านเล็งเห็นก็คือการทำอย่างไรให้คนไทยสามารถสร้างผลงานรูปแบบตะวันตกได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องว่าจ้างช่างตะวันตก และมีงานศิลปะที่เป็นตัวของตัวเองไม่ลอกเลียนแบบตะวันตกไปเสียหมด ด้วยแนวคิดนี้จึงเกิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้นเพื่อเพาะพันธุ์เมล็ดศิลปินที่จะเติบโตไปเป็นช่างแห่งกรุงสยามในภายภาคหน้า อีกสาเหตุหนึ่งที่ท่านตัดสินใจตั้งโรงเรียนขึ้นก็เพราะท่านมองว่าการเปิดโรงเรียนสอนเพื่อผลิตศิลปินนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อวงการศิลปะมากกว่าการสร้างสรรค์งานแต่ตัวท่านเพียงลำพัง นอกจากนี้เขายังได้มีส่วนช่วยในการจัดหาทุนทรัพย์และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาศิลปะชาวไทยเพื่อรักษาให้ชาติยังคงมีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นต่อไป
ประวัติสังเขป
:checkered_flag:
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี - Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากรจนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย
ผลตอบรับของสื่อและผู้ชมที่มีต่องาน
จากความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกที่ท่านได้พร่ำสอนให้แก่ลูกศิษย์นี้เองทำให้วงการศิลปะไทยเกิดศิลปินหน้าใหม่ที่มีฝีมือและรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ออกมาได้ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ได้รับมอบหมายให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของไทยมากมายหลายแห่ง ซึ่งท่านได้ใช้ความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกสร้างงานแต่ก็ยังมิได้ละทิ้งความงามของศิลปะไทยหรือที่เรียกกันว่า ศิลปะแบบไทยประเพณีไป ทั้งนี้เพราะท่านได้เล็งเห็นว่าศิลปะไทยก็มีความงามและเอกลักษณ์เป็นของตน อีกทั้งช่างไทยยังได้มีการสืบทอดความรู้วิชาในด้านศิลปะไทยมายอย่างยาวนาน การที่จะทำให้วงการศิลปะไทยก้าวหน้าก็ต้องไม่ลืมรากเหง้าเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ท่านจึงได้ทำการศึกษาศิลปะไทยอย่างละเอียดโดยเฉพาะการศึกษาพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยที่ท่านได้ยกย่องไว้ว่ามีความงดงามเป็นที่สุด ได้มีการศึกษารูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปและมีบทความวิชาการตีพิมพ์ออกมามากมาย ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการออกแบบพระพุทธรูปพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของความงามของศิลปะไทย มีการนำความรู้ใหม่คือศิลปะตะวันตกในลัทธิสัจนิยมที่เชื่อในเรื่องของความสมจริงมาผนวกใช้กับความงามแบบดั้งเดิมของศิลปะสุโขทัย ที่สร้างแบบศิลปะไทยประเพณีจนก่อให้เกิดความงามรูปแบบใหม่ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นต้นแบบของศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง เนื่องจากเขาได้เป็นผู้วางรากฐานให้อย่างมั่นคง จึงส่งผลให้ศิลปินรุ่นหลังสามารถสืบทอดงานศิลปะไทยออกไปได้อย่างเต็มที่
สื่อผสม
โรเบิร์ด รอว์เซนเบิกด์
ผลงานเกียรติคุณ
คุณโรเบิร์ตรอว์เซนเบิกต์ เป็นผู้ที่บุกเบิกศิลปะประชานิยม (Pop Art) คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งและได้นำความคิตที่เปิดหนทางสู่วงการจิตรกรรมให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นโดยได้นำความคิดเรื่องการใช้วัสดุสำเร็จรูปวิธีการปะติดและการอัดภาพถ่ายลงบนผลงานมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้เป็นอย่างดีผลงานสำคัญเช่น“ อักษรย่อ (Monogram)“ ผู้ค้นหา” (Tracer)“ ภาพปริศนา (Retus) เป็นต้นเขาได้รับการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า“ นักวิจารณ์ศิลปะและวรรณกรรมแห่งยุคสมัย”
วิเคราะห์การใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิค
สร้างผลงานที่มีการนำวัสดุสำเร็จรูป การปะติดผสมหรือสลัดสี เพื่อช่วยให้ภาพที่ปรากฏดูมีความหมายใหม่ๆ มีชีวิตชีวา นอกจากนั้นภาพถ่ายประกอบเข้ากับโลหะ หลอดไฟ กระจก และหนังสือพิมพ์ โดยใช้วิธีการผสมผสานด้วยการนำวัสดุจริงมาประกอบเข้าด้วยกัน
ประวัติสังเขป :star:
โรเบิร์ตรอว์-เซนเบิกต์ (Robert Rauschenberg) เกิดที่เมืองพอร์ทอาเธอร์มลรัฐเทกซัสสหรัฐอเมริกาศึกษาวิชาศิลปะจากเมืองแคนซัสซิตีและสกูวเดนท์อาร์ตลีกนครนิวยอร์กสหรัฐอเมริกาเขามีความสนใจในการทำงานศิลปะมาตั้งแต่เด็กชอบการค้นคว้าทดลองผ่านการทำกิจกรรมทางศิลปะอยู่เสมอ ๆ ผลงานระยะแรกของเขานิยมทำเป็นกล่องบรรจุสิ่งของต่างๆ
ผลตอบรับของสื่อและผู้ชมที่มีต่องาน
ที่มีต่อผลงานโรเบิร์ตรอว์เซนเบิกต์ (Robert Rauschenberg) เป็นศิลปินผู้บุกเบิกงานศิลปะประชานิยมในระยะเริ่มต้นและมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของวัสดุสำเร็จรูปกับการทำงานทัศนศิลป์ซึ่งทำให้เกิดสีสันในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์รวมถึงเป็นการทำลายกรอบประเพณีการสร้างภาพที่ แต่เดิมมีอยู่เพียงแค่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมของผืนผ้าใบเท่านั้นทำให้เขาได้รับรางวัลใหญ่ของโลกทางด้านทัศนศิลป์คือ“ เวนิสเบียนนาเล่” (La Beinnale di Venezia) และแนวการทำงานของเขาได้มีอิทธิพลต่อศิลปินด้านนี้ไปทั่วทุกมุมโลก