Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบหัวใจ หลอดเลือด และไต - Coggle Diagram
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบหัวใจ หลอดเลือด และไต
ยาลดความดันโลหิตสูง
(ANTI-HYPERTENSIVE DRUGS)
Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors (ACEIs)
ยากลุ่มนี้ได้รับความนิยมมากกลุ่มหนึ่ง มีประสิทธิภาพที่ดีในการลดความดัน
มีผลในการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจโต มีผลดีต่อไต และหลอดเลือดที่ไต
สามารถใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง และมีภาวะโรคไตร่วมด้วย
ผลข้างเคียง
ที่พบบ่อย คือ อาการไอแห้งๆ
การรับรสเปลี่ยนไป
ระดับโปตัสเซียมสูง
ความดันโลหิตต่ำ เมื่อใช้ยาเป็นครั้งแรก ระวังผู้ได้รับยาขับปัสสาวะปริมาณสูง ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว
ข้อห้ามใช้
ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดที่ไตตีบ ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ เพราะเสี่ยงต่อทารกเกิดความผิดปกติ มีความดันดลหิตลดลง
Angiotensin Receptor Blockers (ARBs)
ใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, Heart Failure, Post-MI
ใช้ในกลุ่ม ACEIs ไม่ได้ผล เนื่องจากมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการไอแห้ง (ประมาณ 20% ของผู้ป่วย) สาเหตุจากการสะสมของ bradykinin ผู้ป่วยไม่สามารถทนต่ออาการไอได้
รักษาโรคไตที่เป็นผลแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวาน ทั้ง 3 ข้อดังกล่าวมา ควรได้รับการรักษาด้วย ARBs อาจเรียกยากลุ่มนี้ว่า Sartans Angiotensin II Receptor Blockers ยาทั้งกลุ่มมองท้ายด้วย sartan เช่น Lorsartan
กลไกการออกฤทธิ์
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว
หลอดเลือดขยายตัว
เพิ่มการขับ Sodium และน้ำ
ผลข้างเคียง
ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ ถ้าให้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ เกิดภาวะ Hyperkalemia
ให้ผลในการรักษาและอาการข้างเคียงจะคล้างคลึงกับการใช้ ACEIs แต่ไม่เกิดอาการไอเหมือน ACIs
Beta-blockers
ใช้รักษาความดันโลหิตสูงทุกระดับความรุนแรง
สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มี angina, post-myocardial infarction, tachyarrthymia
ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มี nephropathy
มีฤทธิ์กดการทำงานของหัวใจ ห้ามใช้ผู้ที่มี second หรือ third degree heart block
กลไกการออกฤทธิ์ของยา
ลดการหลั่งสาร Norepinephrine และ Renin
ยับยั้งที่จำเพาะเจาะจงต่อ Beta-1 receptor ที่หัวใจทำให้หัวใจเต้นช้าลง มีผลลด cardiac output (Beta-1 selective Beta-blockers เช่น Atenolol, Bisoprolol, Metoprolol)
ขยายหลอดเลือดผ่านการยับยั้ง Beta-2 receptor ส่งผลให้มี vasomotor tone ลดลง (nonselective Beta-blockers เช่น Propranolol, Esmolol, Timolol)
ขยายหลอดเลือดผ่านการยับยั้ง Alpha-1 receptor (nonselective Beta and Alpha-1 blockers เช่น carvedilol, Labetalol)
ขยายหลอดเลือดผ่านการกระตุ้นการหลั่งสาร Nitric oxide (Beta-1 blockers with NO-mediated vasodilatory effects เช่น Nebivolol
ข้อห้ามใช้
ผู้ป่วยที่มีsevere or active airway diseases เนื่องจากยาไม่มีผลยับยั้ง Beta-2 receptor ที่หลอดลม อาจทำให้เกิด bronchospasmได้ ถ้าผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการทางหลอดลมได้แล้ว และมีความจำเป็นต้องใช้ยากลุ่ม Beta-blockers ให้พิจารณายาที่จำเพาะเจาะจงต่อ Beta-1 receptor
ผู้ที่มีภาวะ acute decompensated heart failure
ผู้ที่มีภาวะ second- or third-degree atrioventricular block หรือมี sick sinus syndrome
ป่วยโรคหอบหืด เกิดอาการมือเท้าเย็น นอนไม่หลับ ฝันร้าย เหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า บางรายอาจเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
ข้อควรระวัง
มีผลทำให้เกิด glucose tolerance และไขมันในเลือดสูง ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
ตัวอย่างยาได้แก่ Propanolol, Atenolol, Metoprolol
Calcium channel blockers
ยากลุ่มนี้แต่ละตัวอาจมีผลต่อการทำงานของหัวใจต่างกัน nifedipine,amlodipine,felodipine จะเพิ่มอัตราเต้นของหัวใจม verapamil, diltiazem ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ความแตกต่างนี้จะใช้พิจารณาในการเลือกใช้ยาสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ออกฤทธิ์เป็นยาขยายหลอดเลือด ทำให้สามารถลดความดันโลหิตเลือด
ผลข้างเคียง
nifediphin เป็นยาที่ได้รับความนิยมและมีผลข้างเคียงไม่มากนัก
ส่วน verapamil, diltiazem อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก และเกิด heart block ได้ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Diuretics ยาขับปัสสาวะ
เป็นยาที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาความดันโลหิตสูงไม่รุนแรง
ใช้ร่วมกับกลุ่มอื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความดันโลหิต
ใช้รักษาภาวะ potassium ในเลือดสูง ลดอาการบวมจากสาเหตุต่างๆ รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema)
กลไกการออกฤทธิ์
ควบคุมความดันโลหิตได้ดีที่ขนาดยาต่ำๆ
การเพิ่มขนาดยาให้สูงขึ้น ไม่ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น แต่จะเพิ่มอาการไม่พึงประสงค์
ยาขับปัสสาวะ(Diuretic drugs)
กลุ่ม loop diuretics
ยาขับปัสสาวะกลุ่ม loop diuretics เช่น Furosemide, Bumetanide
กลไกการออกฤทธิ์ของยา
ยับยั้งการดูดซึมของ NaCl ที่ท่อไตบริเวณ thick ascending limb ของ henle's loop
ลดการดูดซึมกลับบริเวณ proximal tubule
เพิ่มการขับ potassium ions, magnesium tons, calcium ions และ sodium ions
เพิ่มอัตราการไหลเวียนเลือดที่ไต
อาการข้างเคียง
ผื่นคัน ความดันเลือดต่ำ
ระดับ potassiumในเลือดต่ำ เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ระดับ magnesium ในเลือดต่ำ
ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่ม
กรดยูรกในเลือดสูง (hyperuricemia)
เกิดความเป็นพิษต่อหูได้ถ้าใช้ในขนาดสูง
ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงได้ (severe dehydration)
เนื้อเยื่อไตอักเสบ (interstitial nephritis)
ตับทำงานผิดปกติ
กลุ่ม Thiazide Diuretics
เช่น Hydrochlorothiazide (HCTZ), Benzthiazide, hlorthalidone
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการดูดกลับของ NaCl ที่บริเวณ distal tubule มีผลเพิ่มการขับ sodium ions และ chloride ions จากไต
เพิ่มการขับ potassium ions ทำให้ร่างกายสูญเสีย potassium ions เพิ่มการดูดซึมกลับของ calcium ions
ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อย-ปานกลาง (mild- moderate)
ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่มีอาการบวมจากไตทำงานผิดปกติ ใช้ในผู้ป่วยเบาจืดจากการไม่ตอบสนองต่อ antidiuretic hormone
ช่วยกระตุ้นไตให้ตอบสนองต่อ hormone ได้ดีขึ้น
อาการข้างเคียง
ระดับ K ในเลือดต่ำ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเสียชีวิตได้
ระดับกรดยูริกในเลือดสูง (hyperurecemia)
ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycrmia)
มีการเพิ่มระดับไขมันโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในซีรั่ม
ร่างกายอยู่ในภาวะเป็นด่าง
Sodium ในเลือดต่ำ (hyponatremia)
ข้อห้ามใช้
ไม่ควรใช้ยาบ่อยครั้งหรือใช้ยาขนาดสูงในผู้ป่วยตับแข็ง ไตวาย หัวใจล้มเหลว เบาหวานและโรคเก๊าซ์
ไม่ใช่ร่วมกับผู้ป่วยที่ได้รับยา digitalis เพราะทำให้เกิด digitalis toxicity ได้ง่าย
กลุ่ม potassium-sparing diuretics
ได้แก่ยา Spironolactone, Triamterene, Amiloride
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการดูดซึมกลับของ sodium ions ที่บริเวณ collecting duct แลกกับ potassium ions มีการเก็บ potassium ions เข้าสู่ร่างกาย
ช่วยลดการสูญเสีย potassium ions
ยับยั้งการทำงานของ aldosterone โดยปิดกั้นที่ aldosterone receptoe
การนำไปใช้ทางเทคนิค
มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะอย่างอ่อน นิยมใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะกลุ่มอื่น เช่น thiazide และ furosemide เพื่อช่วยลดการสูญเสีย potassium
ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
รักษาอาการบวมที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล
อาการข้างเคียง
คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน ปวดศีรษะ
ตะคริวที่ขา
ยูเรียนในเลือดสูง
เต้านมโตในชาย
ไตวายเฉียบพลับ
กลุ่ม Osmotic diuretics
กลไกการออกฤทธิ์ของยา
ยับยั้งการดูดซึมกลับของ sodium และน้ำที่บริเวณ proximal tubule, descending limb of the loop of henle และ collecting tubule
ตัวยามีคุณสมบัติในการดูดน้ำจากเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายเข้ามาในกระแสเลือด
ทำให้มีปริมาณน้ำและเกลือแร่ผ่านเข้าไตมากขึ้น ขับน้ำและ electrolyte ออกทางปัสสาวะได้มากขึ้น
การนำไปใช้ทางคลินิก
ลดความดันในลูกตาก่อนและหลังผ่าตัด
ลดความดันในสมอง ป้องกันและรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน
อาการข้างเคียง
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อาจพบโซเดียมในเลือดต่ำ
การใช้ยาในขนาดสุงอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
กลุ่ม Carbonic Anhydrase inhibitors
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ carbonic anhydrase
พบมากในบริเวณ proximal tubule
ส่งผลยับยั้งการดูดซึมกลับของ NaHCO3 ทำให้เพิ่มการขับปัสสาวะ
การนำไปใช้ทางคลินิก
รักษาโรคต้อหิน โดยลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา
รักษาภาวะร่างกายอยู่ในภาวะเป็นด่างจากการทำงานของไต
รัก(ษาโรคแพ้ความดันอากาศในที่สูง หรือแพ้ความสูง (Acute mountain sickness)
ใช้ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง (urinary alkalinization)
อาการข้างเคียง
ปวดศีรษะ
ง่วงซึม
การรับความรู้สึกผิดไป
ร้อนวูบวาบ
เบื่ออาหาร (anorexia)
หูอื้อ (tinitus)
เนื้อตับตาย (hepatic necrosis)
นิ่วในไต
ยาที่ใช้ในการรักษาความผิดปกติของหัวใจ (ANGINA PECTORIS DRUGS)
ยาที่ใช้รักษาภาวะปวดเค้นหน้าอก
ยากลุ่มไนเตรท (Nitrates) และไนไตรท์ (Nitrite)
กลไกการออกฤทธิ์
ขยายหลอดเลือดโดยการหลั่ง nitric oxide (NO) เข้ากล้ามเนื้อเรียบ
กระตุ้น guanylate cyclase ใน cytoplasm กล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดดำขยายตัว เลือดไหลกลับหัวใจลดลง
แรงในการบีบตัวของหัวใจลดลง
ลดความต้องการออกซิเจน
หลอดเลือดแดงหัวใจคลายตัว
ออกฤทธิ์ต่อเลือดดำมากกว่าเลือดแดง
ยากลุ่มนี้
Glyceryl trinitrate (Nitroglycerin)
Isosorbide dinitrate : Isordril
อาการข้างเคียง
หัวใจเต้นเร็ว
ความดันโลหิตลดลงเมื่อเปลี่ยนท่า
เป็นลม (syncope)
หน้าแดง ปวดมึนศีรษะ บางรายพบอาการปวดศีรษะคล้ายปวดไมเกรน
การนำไปใช้ทางคลินิก
กรณีเจ้บรุนแรงเฉียบพลัน (acute angina attack) 5 mg อมใต้ลิ้น
ใช้ป้องกันการเกิดอาการเจ็บหน้าอก (10 mg)
2.ยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blocking agents)
อกฤทธิ์ลดการทำงานของหัวใจได้ดี
ลดอัตราการเต้นของหัวใจ Nifedipine
ขยายหลอดเลือดได้ดี มีผลต่อการทำงานของหัวใจน้อย
ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเบต้าอะดรีเนอร์จิกรีเซพเตอร์ ( beta-blockers)
ลดความแรงในการบีบตัวของหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องการใช้ออกซิเจนลดลง
ลดอัตราการเต้นของหัวใจ
ลดความดันโลหิต
นิยมใช้ป้องกันการเกิดอาการเจ็บอก
ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเพื่อลดภาวะบวมน้ำ ปริมาตรเลือดกลับสู่ปกติ ช่วยลด preload ได้โดยไม่มีผลต่อ cardiac output
การนำไปใช้ทางคลินิก
loop diuretics ใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังระดับรุนแรง ภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดเฉียบพลัน
ใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
กลุ่มไธอะไซด์ ใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวระดับปานกลาง ที่การทำงานของไตปกติ
ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบเรนินแองจิโอเทนซิน
ACEIs : Captopril, Enalapril
นิยมใช้เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค
เพิ่มคุณภาพชีวิต และอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
ARBs : Losartan, Valsartan
ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาในกลุ่ม ACEIs
ยากลุ่มขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
ลด preload, afterload
ลดการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจ
การนำไปใช้ทางคลินิก
ยา Hydralazine และ Isosorbine dinitrate
นิยมใช้ในกรณีไม่สามารถใช้ยาในกลุ่ม ACIs ได้
ลดอัตราการตายของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวได้
ยา Glyceryl trinitrate
ใช้ในกรณีเกิดอาการหัวใจล้มเหลวชนิดเฉียบพลัน และมีอาการปวดบวมร่วมด้วย
กลุ่ม Blockers
หัวใจเต้นช้าลง นิยมใช้ร่วมกับยา ACEIs หรือ ARBs และ Diuretics
จากการศึกษาพบว่าการเริ่มใช้ยากลุ่มนี้ในขนาดต่ำๆ ค่อยเพิ่มขนาด ในระยะยาวมีผลทำให้หน้าที่ของหัวใจห้อง ventricle ดีขึ้น
ลดความรุนแรงของโรค
ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ (Positive innotropics)
ยากลุ่ม Cardiac glycosides
สารสกัดจากใบของ foxglove หรือ Digitalis purpurea Digitalis (Digoxin) เป็นยาตัวเดียวในกลุ่ม cardiac glycosides ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
กลไกการออกฤทธิ์
อกฤทธิ์ยับยั้ง Na+,K+-ATPase มีผลให้ sodium ions ในเซลล์มากขึ้น
ส่งผลลดการทำงาน Na+/Ca2+ exchanger
ลดการขับ calcium ions ออก ทำให้ calcium อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น และ calcium ions ที่เข้ามาในเซลล์ มีผลกระตุ้นหลั่งของ calcium ions จาก sarcoplasmic reticulum ในเซลล์ออกมา
มีผลเพิ่มความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
การนำไปใช้ทางคลีนิก
รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว มีผลเพิ่ม การบีบตัวของหัวใจ
รักษาและป้องกันการเกิดภาวะน้ำท่วมปอด ช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น
การรักษา
โดยปกติจะให้ยาแบบ loading dose ก่อน เมื่อผู้ป่วยตอบสนองต่อยา จึงลดระดับยาลง
ระดับรักษา 0.5-1.5 ng/ml ระดับที่ก่อให้เกิดพิษ > 2 ng/ml
อาการข้างเคียง
ยา digitalis มีความเป็นพิษค่อนข้างสูง การใช้ยาเกินขนาด รักษาเพียงเล็กน้อย อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษได้
การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น คลื่นไส้อาเจียน จาก cardiac glycosides
กระตุ้น chemoreceptor trigger zone (CTZ) ในสมอง
ระบบทางเดินอาหาร พบการระคายเคืองทางเดินอาหาร เบื่ออาหาร ท้องเสีย
ยาออกฤทธิ์กระตุ้นอะดรีเนอจิกรีเซพเตอร์(Adrenergic agonists)
ได้แก่ dopamine, dobutamine
กลไกการออกฤทธ์
Dobutamine
ออกฤทธิ์**กระตุ้นที่ receptor ที่กล้ามเนื้อหัวใจส่งผลเพิ่ม cardiac output
Dopamine
การใช้ใน low dose ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ dopaminergic receptor บนกล้ามเนื้อเรียบ ของหลอดเลือด
ทำให้หลอดเลือดคลายตัวมีผลเพิ่ม ปริมาณเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลช่วยคงสภาพ
การนำไปใช้ทางคลินิก
ใช้ในกรณีหัวใจล้มเหลวชนิดเฉียบพลัน หรือใช้ยาชนิดรับประทานไม่ได้ผล โดยใช้ในระยะสั้น
อาการข้างเคียง
อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
ความต้องการ O2 ของกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้น
ทำให้เกิดอาการเจ็บอก หรือการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ต่อผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด
ยาออกฤทธิ์
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเทอเรส (Phosphodiesterase inhibitors)
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ phosphodiesterase ในหลอดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ มีการขยายตัวของหลอดเลือดแดง เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น
ลด vascular resistance » เพิ่ม cardiac output
การนำไปใช้ทางคลินิก
ใช้ในกรณีใช้ dobutamine ไม่ได้ผล (ดื้อยา)
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ phosphodiesterase ในหลอดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ มีการขยายตัวของหลอดเลือดแดง เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดี
อาการข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
เจ็บอก
ความดันโลหิตต่ำ
ปวดศรีษะ
การพยาบาลผู้ที่ได้รับยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
ประเมินสัญญาณชีพ ประเมินจังหวะ ความแรง การเต้นของหัวใจ ก่อนและหลังการให้ยา หากมีจังหวะและความแรงไม่สม่าเสมอ ควรหยุดยาและรายงานแพทย์ทันที
ประเมินและติดตามการตรวจ electrolyte
ประเมินน้ำหนักตัว การบวม เช่น แขน ขา
ประเมิน/บันทึกความสมดุลของสารน้ำ
ประเมินอาการข้างเคียงหลังการให้ยาแต่ละชนิด
การพยาบาลผู้ที่ได้รับยากลุ่ม digitalis
ประเมินอาการข้างเคียงและความเป็นพิษของยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารท้องเสีย การมองเห็นผิดปกติ ใจสั่นให้หยุดยา รายงานแพทย์ทันที
ควรดแูลให้รับประทานพร้อมอาหาร เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
ประเมินระดับยาในกระแสเลือด ควรอยู่ในระดับ 0.5-2 ng/ml
ประเมินอัตราเต้นชีพจรก่อนให้ยา ถ้าเท่ากับหรือน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที
ห้ามให้ยาและรายงานแพทย์
ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (drug used for cardiac arrhythmia)
Class I sodium channel-blockers
Class I subgroup 1A
quinidine,procainamide, disopyramide ใช้รักษาภาวะ ventricular arrhythmia
ผลข้างเคียง
ท้องเสีย เบื่ออาหาร ขมในปาก วิงเวียน ปวดศรีษะ
Class I subgroup 1B
lidocaine,tocainide, mexiletine
ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ร่วมกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เฉียบพลัน
ผลข้างเคียง
ความดันโลหิตลดลง อาการใจสั่น คลื่นไส้ การได้ยินผิดปกติ พูดช้า ชัก
Class I subgroup 1C
flecainide
propafenone
Class II blockers
Propanolol,Esmolol
ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ Esmolol ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลัน
Class III Potassium channel blocker
amiodarone, bretylium (IV), sotalol
ทำให้มีระยะaction potential ยาวนาน
Amiodarone ใช้ในภาวะ ventricular arrhythmia รุนแรง และภาวะ supraventricular arrhythmia เช่นatrial fibrillation
ผลข้างเคียง
ทำให้เกิดหัวใจเต้นช้าลงเกิด heart block ได้
การทำงานของตับ ไต ผิดปกติ
ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสแสงแดด
อาจพบภาวะ hypo หรือ hyperthyroidism
ความดันโลหิตลดลงเมื่อเปลี่ยนท่า
Class IV กลุ่มยาต้านแคลเซียม : verapamil
กลไกการออกฤทธิ์
ทำให้หัวใจเต้นช้าลง โดยยับยั้งที่SA และ AV node
ภาวะ supraventricular tachycardia
ลดอัตราการทำงานของ ventricular ใน atrial fibrillation
รักษาภาวะ ventricular arrhythmia
ผลข้างเคียง
การเต้นของหัวใจช้าลง หัวใจหยุดเต้น หัวใจล้มเหลว
ความดันโลหิตลดลง ปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ ท้องผูก
อาการบวมของอวัยวะส่วนปลาย เช่น ขา เท้า
การพยาบาลผู้ที่ได้รับยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ประเมินสัญญาณชีพ ประเมินจังหวะ ความแรงการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ก่อนและหลังการให้ยา อัตราการเต้นของหัวใจไม่ควรเกิน 120 ครั้ง/นาที หรือไม่ควรต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที หากพบอาการดังกล่าวควร หยุดให้ยา และรายงานแพทย์ทราบ
การให้ยาชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ควรให้ผู้รับยานอนพักจนกว่าสัญญาณอยู่ในระดับปกติ
ควรจัดเตรียม อุปกรณ์และยาในการช่วยชีวิต ให้พร้อมใช้อยู่เสมอ และจัดวางไว้ให้หยิบใช้ได้สะดวก
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
(Anticoagulant )
กลไกการแข็งตัวของเลือดประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 มีการสร้าง thromboplastin จากปัจจัยภายใน (intrinsic factors) และภายนอก (extrinsic factors)
ขั้นที่ 2 thromboplastin ทําหน้าที่เป็น proteolytic enzyme มาย่อย prothrombin ให้กลายเป็น thrombin
ขั้นที่ 3 thrombin จะทําหน้าที่เป็น proteolytic enzyme มาย่อย fibrinogen เป็น fibrin ซึ่งจะรวมตัวกันกลายเป็น clot
ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดออกเเบ่งเป็น 3 กลุ่ม
anticoagulant ยากลุ่มนี้จะยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและยับยั้งไม่ให้clot ขยายตัวใหญ่ขึ้น ได้แก่ ยา Heparin และ oral anticoaglulant
2.ยาที่กระตุ้นให้เกิดการละลายของ thrombus ได้แก่ ยาในกลุ่มthrombolytic drugs
ยาจะช่วยละลาย clot ที่เกิดขึ้น เช่นในผู้ป่วยที่มีภาวะ pulmonary embolism, deep vein thrombosis
การให้ยาในกลุ่มนี้ต้องให้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ทำให้เลือดออกได้ ได้แก่ ่ Streptokinase, Urokinase, Antistreplase
antiplatelet drug คือ ยาที่ยับยั้งการจับกลุ่มกันของเกล็ดเลือด ได้แก่ ASA, Clipidogrel,Ticlopidine
Heparin
กลไกการออกฤทธิ์
เพิ่มการออกฤทธิ์ของ antithrombin III
ในการยับยั้งการทำงานของ thrombin และ factor Xa, IXa, XIa, XIIa และ Kallikrein (Intrinsic pathway)
โดยทำหน้าที่เป็น catalytic template เร่งให้ Thrombin or factor + antithrombin III สารประกอบ
Therapeutic dose ในพลาสมา = 0.1-1.0 หน่วย/มล. รูปแบบยา 25,000u/vial (5,000u/ml.)
การการแก้ไขอาหารเป็นพิษของ Heparin
อาการเลือดออกที่ไม่รุนแรงจาการใช้ Heparin แก้ไขได้โดยไม่ใช้ยาต้านการออกฤทธิ์ ของ Heparin
ถ้าเลือดออกรุนแรงอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ยาต้านการออกฤทธิ์ heparin คือ Protamine sulfate ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีนํ้าหนักโมเลกุลต่ำ มีฤทธิ์เป็นเบสยาออกฤทธิ์ โดยจับกับ Heparin ซึ่งมีฤทธิ์เป้นกรด ทำให้ Heparin สูญเสียฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดไป
Protamine ยังสามารถทำปฏิกริยากับเลือด fibrinogen และโปรตีนอื่นๆในพลาสมา ทำให้เกิดการต้านการเเข็งตัวของเลือดได้โดยตัวมันเอง จึงควรให้ Protamine ในปริมาณน้อยที่สามารถลบล้างฤทธิ์ Heparin ที่มีเหลืออยู่ในพลาสมา
ข้อห้ามใช้ยา
Heparin ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้
ผู้ป่วยที่มีภาวะเกร็ดเลือดตํ่าขั้นรุนแรง
ผู้ป่วยที่มีเลือดออกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้
ยกเว้นในรายที่เลือดออกมามีสาเหตุจากภาวะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดกระจายทั่วไป (disseminagted intravascular coagulation)
ประโยชน์ที่ใช้ในการรักษา
Heparin ในขนาดต่ำใช้ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดในสภาวะที่มีอัตราเสี่ยงสูง
Heparin ในขนาดปานกลางใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ Warfarin ได้ เช่น หญิงมีครรภ์ที่มีประวัติของการอุตตันในหลอดเลือดดำลึก
Heparin ในขนาดสูง ใช้ในการรักษาการอุดตันในหลอดเลือดดำลึกและการอุดตันของหลอดเลือดในปอดโดยให้ยาขนาดสูงในครั้งแรก 5,000-10,000 หน่วย และตามด้วยหยดอย่างต่อเนื่องเข้าหลอดเลือดดำในขนาด 25,000-40,000 หน่วยต่อวัน
การปรับขนาดของ Heparin
การปรับขนาดของ Heparinโดยจะใช้ activated partial thromboplastin time (aPTT)
เป็นตัวควบคุมการปรับขนาดของยาโดยให้ aPTTเป็น 1.8-2.5 เท่าของคนปกติ
Heparin
จะยับยั้งการแข็งตัวของเลือดทั้งภายในและภายนอกร่างกายทันที
จะจับกับ antithrombin และยับยั้ง clotting factor
จะไปเร่งอัตราการทําลาย thrombin
ต้องบริหารโดยการฉีดเข้าสู่ร่างกาย นิยมฉีดเข้าทางหลอดเลือดดําและฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ห้ามฉีดเข้ากล้ามเนื้อเนื่องจากการดูดซึมไม่แน่นอน และอาจเกิดเลือดออกเฉพาะที่
ไม่ผ่านรกและไม่ออกมาทางน้ำนม ดังนั้นหญิงมีครรภ์ที่มีความจําเป็นต้องได้รับ anticoagulant อาจให้ Heparin ได้หน่วยของยาเป็น unit
ยังมีชนิดที่เป็น low molecular weight heparin ได้แก่ Enoxaparin,
Fraxiparin
Warfarin
อาการไม่พึงประสงค์
อาการเป็นพิษที่สําคัญคือเลือดออก ถ้าเกิดที่อวัยวะภายในที่สําคัญ เช่น ภายในสมอง ไขสันหลัง เยื่อหุ้มหัวใจ จะทําให้บริเวณนี้ถูกกดและถูกทําลายอย่างถาวร
ทำให้เกิดการเสียเลือดในทางเดินอาหาร
การใช้ Warfarin ในระหว่างไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นสาเหตุของความผิดปกติในทารก และการแท้งบุตร
การให้ยาในระหว่างไตรมาสที่สองและไตรมาสสุดท้ายทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางได้ ยานี้จึงไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์
ควรหยุดยาก่อน OR 10 วัน
มีภาวะ GI bleeding ในระยะ3 เดือนก่อนได้ยา
มีโรค HT,CVA
มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic drugs)
PLASMINOGEN ACTIVATOR
ตัวยา
STREPTOKINASE (STK)
UROKINASE
ALTEPLASE (t-PA)
ANISTREPLASE (STK+PLASMINOGEN)
ข้อบ่งใช้
coronary or pulmonary emboli
ลด emboli ป้องกัน AMI (ใชร่วมกับ ASA)
ผลข้างเคียง
bleeding >>>> brain, lung, wound
สรุป
anticoagulants และ thrombolytic drugs
ใช้กับโรค DVT embolism ของ ปอด, หลอดเลือดแดง
Streptokinase
เป็นโปรตีนสร้างจาก β-hemolytic streptococci ไม่มีฤทธิ์เป็นเอ็นไซม์Streptokinase จับกับplasminogenได้เป็นสารประกอบและเปลี่ยน plasminogen ได้เป็น plasmin
สารประกอบ Streptokinase-plasminogen จะไม่ถูกยับยั้งโดย α2-antiplasmin ต้องให้ Streptokinase ขนาดสูงในครั้งแรกฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อไม่ให้แอนติบอดี้ต่อ Streptokinase ซึ่งมีอยู่ในหลอดเลือดทำลาย Streptokinase
ค่าครึ่งชีวิตของ Streptokinase ประมาณ 80 นาที
อาการไม่ที่พึงประสงค์
เลือดออก
เกิดการแพ้และมีไข้ได้
ยาต้านการจับกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
(Antiplatelet drug)
ช่วยป้องกันการเกิดก้อนเลือดอุดตัน และใช้ในการรักษา ผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตัน
Aspirin (ASA)
ป็นยาแก้ปวดลดไข้แล้วยังมีฤทธิ์ในการต้านจับกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
มีผลยับยั้งการทำงานของ cyclooxygenase ในเกล็ดเลือดอย่างถาวร
ทำให้ arachidonic acid ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น thromboxane A2 ได้
อาการข้างเคียง
ที่พบได้บ่อยมีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร
ทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก
Clopidogrel, Ticlopidine
ยามีผลยับยั้งการจับกลุ่มกันโดยผ่านทาง ADP pathway
กลไกการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด
เกิดจาก thromboxane A2 และ ADP จับกับ receptor ที่ผิดของเกล็ดเลือดทำให้มีการสร้างสื่อต่างๆ
ทำให้เกล็ดเลือดจับกลุ่มกันมากขึ้น
เมื่อให้ยาจะไปทำให้เกล้ดเลือดไม่สามารถจับกลุ่มกันได้
อาการไม่พึงประสงค์
ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
ทำให้เกิดภาวะ agranulocutosis จึงต้องมีการติดตามนับจำนวนเม็ดเลือดขาวในระยะ 3 เดือนแรกของการให้ยา
อาการผลข้างเคียง
Clopidogrel พบได้น้อยกว่า Ticlopidine
ขนาดของยาที่ใช้
Clopidogrel ขนาด 75 mg
Ticlopidine รับประทานครั้งละ 250 mg วันละครั้ง
ข้อห้ามใช้
หญิงตั้งครรภ์, ให้นมบุตร
active bleeding
GI bleeding
platelet ต่ำ
leukopenia