Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภท - Coggle Diagram
กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภท
โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder)
จัดเป็นโรคในกลุ่มโรคจิต (Psychotic disorders)
ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่ (เฉลี่ยที่ 40 ปี)
โดยทั่วไปผู้ป่วยมักดูปกติ ไม่มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาดหรือพูดจาที่สับสน ไม่มีอาการ
หูแว่ว แต่จะ
มีอาการหลงผิดที่เด่นชัด
สาเหตุของโรคจิตหลงผิด
1. ปัจจัยด้านจิตใจ
พบว่าเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูในช่วงวัยเด็ก ลักษณะที่ทำให้ขาดความไว้วางใจต่อโลกภายนอก
2. ปัจจัยด้านสังคม
มักพบในกลุ่มผู้อพยพ หรือกลุ่มที่ต้องพบกับสภาวะต่าง ๆ ที่มีความเครียดสูง และชนชั้นที่มีเศรษฐฐานะต่ำ
3. ปัจจัยด้านชีวภาพ
เกิดจากสารสื่อประสาทในสมอง คือ
สารโดปามีน
ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ได้ฟังมีมากเกินไป ทำให้ไม่สมดุล
ชนิดของอาการหลงผิด
1. อาการหลงผิดว่าคู่ของตนนอกใจ (Jealous type)
ผู้ป่วยจะมีความเชื่ออย่างรุนแรงว่าคู่ของตนนอกใจหรือมีคนอื่น และเชื่ออย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานสนับสนุน หรือแม้มีหลักฐานแย้งว่าไม่น่าจะเป็นจริง
มักจับเอาเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ มาเป็นหลักฐานของความเชื่อนั้น
2. อาการหลงผิดว่ามีคนปองร้าย (Persecutory type)
ผู้ป่วยเชื่อว่าตนเองถูกผู้อื่นจ้องทำร้าย คอย
ติดตาม หรือถูกใส่ร้าย เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด
3. อาการหลงผิดว่ามีคนอื่นหลงรักหรือเป็นคู่รักตนเอง (Erotomanic type)
ผู้ป่วยเชื่อว่าคนอื่นมาหลงรักตัวเอง หรือเชื่อว่าเป็นคู่รักของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นคนที่มีชื่อเสียงหรือดูดีกว่า
ความเชื่อรูปแบบนี้มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และผู้ป่วยมักตีความพฤติกรรมของคนที่เชื่อว่าหลงรักอย่างผิด ๆ ว่าเป็นการมีใจให้
4. อาการหลงผิดว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือเป็นโรค (Somatic type)
ผู้ป่วยเชื่อว่าร่างกายตนเองผิดปกติหรือโรคบางอย่าง เช่น เชื่อว่ามีพยาธิหรือแมลงบางอย่างอยู่ในผิวหนัง
ตนเอง (Delusions of parasitosis)
5. อาการหลงผิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น (Grandiose type)
มีความหยั่งรู้พิเศษ มีอำนาจ มีเงินทองมากมาย หรือหลงผิดว่าตนเองเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับบุคคลสำคัญ เชื้อพระวงศ์ พระอรหันต์
6. Mixed type
มีอาการหลงผิดมากกว่าหนึ่งอาการข้างต้น และไม่มีอาการใดโดดเด่น
การรักษา
ถือว่าเป็นโรคที่รักษาค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้ป่วยเชื่อว่าความเชื่อของตัวเองเป็นสิ่งที่
เป็นจริง จึงไม่ไปพบแพทย์
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic)
เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของอาการหลงผิดลงได้ โดยพบว่าเมื่อรักษาแล้ว ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งอาการหลงผิดหายไป
ผู้ป่วยที่อาการหลงผิดไม่หายไปหรือหายไปไม่หมด การ
ทำจิตบำบัด
สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นและปรับตัวได้ แม้จะมีความคิดหลงผิดอยู่บ้าง
การวินิจฉัย
พูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตเเพทย์ เพื่อประเมินอาการของผู้ป่วย โดยอาจสังเกตจากพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ป่วยผ่านการสัมภาษณ์พูดคุย
เเพทย์อาจวินิจฉัยตามคู่มือ DSN-5
การพยาบาลผู้ที่มีอาการหลงผิด
ประเมินอาการ และระดับความรุนแรง
หลักการพยาบาล เน้นการช่วยเหลือ
2.1 ดูแลให้ผู้ที่มีอาการหลงผิดได้รับความปลอภัยจากอาการหลงผิดทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2.2 เสนอตัวเป็นเพื่อนคอยดูแลช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยมีอาการ โดยเฉพาะผู้ที่หลงผิดว่าตนจะได้รับอันตรายจนเกิดอุบัติเหตุ ระมัดระวังอันตรายที่เกิดขึ้นจากการกระทําของผู้ป่วย ในขณะที่มีอาการหลงผิด และพยายามหนีจากสภาพการณ์ที่หลงผิด
2.3 ยอมรับพฤติกรรม ไม่ตําหนิโต้แย้งหรือปฏิเสธพฤติกรรมหลงผิดของผู้ป่วย
2.4 ให้ผู้ที่มีอาการหลงผิดระบายความรู้สึกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่หลงผิดพยาบาลใช้การสนทนา การปฏิสัมพันธ์ และสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดโดยเน้นให้ผู้ป่วยรู้สึกและยอมรับว่าตนเกิดอาการหลงผิดจริง
2.5 จัดสถานการณ์ให้ผู้ที่หลงผิดได้เรียนรู้สถานการณ์จริงด้วยตนเอง เช่น การจัดกิจกรรมกลุ่ม
2.6 ลดอาการหลงผิดโดยหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทําเพื่อดึงความคิดของผู้ป่วยให้อยู่ที่กิจกรรมและอยู่กับความจริง
ผู้ป่วยโรคออติสติค ( Autistic disorder)
โรคที่มีความผิดปกติในพัฒนาการของเด็ก
เด็กมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถพัฒนาด้านสังคม การสื่อสารความหมายและขาดจินตนาการ
ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้
สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่นอน เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน ได้แก่
1. การเลี้ยงดูแลพัฒนาการทางจิตใจ
เด็กมักจะขาดความอบอุ่นและถูกปล่อยปละละเลยจากบิดา มารดา ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคม
2. มารดามีปัญหาแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และระหว่างการคลอด
เช่น การตกเลือด การติดเชื้อ
ไวรัสระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
3. พันธุกรรม
4. พยาธิสภาพของสมอง
พบว่าสมองของเด็กออติสติคมีเซลล์สมองผิดปกติอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณควบคุม
ด้านความจำ อารมณ์ แรงจูงใจ และบริเวณที่ควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ของร่างกาย
5. มีความผิดปกติของชีวเคมีในสมอง
ชนิดซีโรโตนินและโดปามีนสูงขึ้นมาก
ลักษณะอาการ
ICD-10
ความบกพร่องอย่างมากในการสื่อสารความหมาย และการ ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
มีพฤติกรรมที่ชอบทำอะไรซ้ำๆ แปลกๆ
ส่วนใหญ่ เกิดขึ ้นใน 3 ขวบปี แรกและมักมีความบกพร่องของสติปัญญาร่วมด้วย
DSM-IV ระบุว่ามักพบลักษณะสำคัญๆ ดังนี้
มีความบกพร่องในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
มีความบกพร่องในการติดต่อสื่อสารทั้งคำพูดและท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกในเชิงจิตนาการ
มีความจำกัดการทำกิจกรรมหรือความสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น การเคลื่อนไหวซ้ำๆ หมกมุ่นอยู่กับวัตถุ แสดงความโกรธ ก้าวร้าวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
การบำบัดรักษาแนวทางในการรักษา
พฤติกรรมบำบัด
เพื่อให้เด็กลดพฤติกรรมซ้ำๆ และช่วยขจัดปัญหาทางด้านพฤติกรรมที่ผิดปกติ
อื่นๆด้วย
จัดการศึกษาพิเศษ
โดยสอนให้มีพัฒนาการของภาษาและสังคมที่เหมาะสม ร่วมกับการกระตุ้นให้เด็กมีความสามารถและแสดงออกของความผูกพันทางอารมณ์
จิตบำบัดแบบประคับประคองต่อครอบครัว
การรักษาทางยา
Schizophrenia
สาเหตุ
1. ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetic factors)
2. ปัจจัยด้านชีวเคมีของสมอง (Biological factors)
คือ มีปริมาณ dopamine ที่ synapse ในสมองมากเกินไป
3. ปัจจัยด้านจิตใจ (Psychological factors)
เป็นความผิดปกติจากพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลในวัยเด็ก โดยเฉพาะในขวบปีแรก มีผลให้เกิดพยาธิสภาพส่วนที่ทำ หน้าที่ในการปรับตัว การควบคุมพฤติกรรม และการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
4. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factors)
ประชากรที่มีฐานะยากจนป่วยเป็นโรคจิตเภทมากกว่า ประชากรที่มีฐานะดี ประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำต้องเผชิญกับสภาวะเครียดมากกว่าประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคจิตเภท ตามเกณฑ์วินิจฉัย DSM-5
C. มีอาการต่อเนื่องนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมี Active phase (ตามข้อ A) อย่างน้อยนาน 1 เดือน
D. ต้องแยกโรคจิตอารมณ์ โรคซึมเศร้า หรือโรคอารมณ์สองขั้วออก
E. ต้องแยกอาการโรคจิตที่เกิดจากสาเหตุทางร่างกายและสารสารเสพติดออก
F. ผู้ป่วยที่มีประวัติกลุ่มโรคออทิสติก หรือโรคเกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่วัยเด็ก จะวินิจฉัยโรคจิตเภทก็ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรืออาการประสาทหลอนที่เด่นชัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
A. มีอาการนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไปนาน 1 เดือน โดยอย่างน้อยต้องมีอาการในข้อ 1-3 อยู่ 1 อาการ
2. อาการประสาทหลอน
3. การพูดอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน
4. พฤติกรรมที่ไม่มีระเบียบแบบแผนที่คนในสังคมหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วยไม่ทํากัน
(Grossly disorganized behavior) พฤติกรรมการเคลื่อนไหวมากเกินไป น้อยเกินไป หรือแปลก ประหลาด(Catatonic behavior)
5. อาการด้านลบ
เช่น สีหน้าทื่อ เฉยเมย แยกตัวจากคนอื่น
1. อาการหลงผิด
B. ระดับความสามารถในด้านสําคัญ ๆ เช่น ด้านการทํางาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือการดูแลตนเอง ลดลงไปจากเดิมอย่างชัดเจนอย่างน้อย 1 ด้าน
การวินิจฉัยโรคจิตเภทตามเกณฑ์ ICD-10
โรคทางจิตเวชที่มีความผิดปกติของสมอง แสดงออกทางความคิด ความรู้สึกและ พฤติกรรม ที่่มีระดับความรุนแรงที่หลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะมีอาการต่อเนื่องระยะยาว โดยอาจมีช่วงท่ีอาการ ดีขึ้นเป็นระยะ
ลักษณะอาการทางคลินิก
1. กลุ่มอาการด้านบวก (Positive symptoms)
แสดงออกถึงความผิดปกติของความคิด การรับรู้ การติดต่อสื่อสาร และพฤติกรรม ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ
Psychotic dimension
ได้แก่ อาการหลงผิด และอาการประสาทหลอน
Disorganization dimension
ได้แก่ Disorganized behavior and speech
2. กลุ่มอาการด้านลบ (Negative symptoms)
เป็นภาวะที่ขาดในสิ่งที่คนทั่ว ๆ ไปมี เช่น ในด้านความรู้สึก ความต้องการในสิ่งต่าง ๆ อาการเหล่านี้ได้แก
Alogia
พูดน้อย เนื้อหาที่พูดมีน้อย ใช้เวลานานกว่าจะตอบ
Affective flattening
การแสดงออกทางอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไม่ค่อย สบตา แม้ว่าบางครั้งอาจยิ้ม
หรือมีอารมณ์ดีบ้าง แต่โดยรวมแล้วการแสดงออกของอารมณ์จะลดลงมาก
Avolition
ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชาลง ไม่สนใจเรื่องแต่งกาย ผู้ป่วยอาจนั่งอยู่ เฉย ๆ ทั้งวันโดยไม่ทําอะไร
Asociality
เก็บตัวเฉย ๆ ไม่ค่อยแสดงออก หรือไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนาน
Anhedonia
เป็นอาการไม่ยินดียินร้าย ไม่สนุก หรือไม่อยากทําสิ่งที่เคยรู้สึกว่าเคยสนุก และอยากทํา
การรักษา
1. การรักษาด้วยยา
ยารักษาโรคจิตในกลุ่ม Atypicals antipsychotics
ตัวอย่างเช่น Abilify, Geodon, Clozapine, Risperidone, Seroquel, Zyprexa
ยาในกลุ่ม Typical Neuroleptics
ตัวอย่างเช่น Chlorpromazine, Thioridazine, Mesoridazine, Haloperidol,Fluphenazine, Thiothixene, Loxapine
2. การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy: ECT)
3. การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
4. การบําบัดทางจิตสังคม (Psychosocial intervention)
กระบวนการพยาบาลสําหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเภท
การกําหนดวัตถุประสงค์การพยาบาล
ทุกแผนการพยาบาล ควรระบุเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ในการดูแลไว้ในลักษณะของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น และสามารถเป็นไปได้จริง โดยเน้นที่ความสอดคล้องกับข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การประเมิน
การสัมภาษณ์” ซักประวัติเพื่อประเมินอาการผู้ป่วยทําให้ทราบว่าป่วยมีอาการผิดปกติไม่และความรุนแรงอยู่ในระยะใด
ตรวจสภาพจิตเพื่อนําไปวางแผนให้การพยาบาลได้ตรงตามประเด็นปัญหา
การวางแผน
การวางแผนระยะสั้น
การดูแลความปลอดภัย
การดูแลสภาพร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยหมกมุ่นอยู่กับตนเองจนขาดการสนใจตนเองในสิ่งเหล่าน
การดูแลด้านการบําบัดทางชีวภาพ โดยให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างถูกต้องและ ปลอดภัย
ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลด้วยไฟฟ้า (ECT)
การพัฒนาทักษะสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและกลุ่ม
พัฒนาการปรับตัว การมองตน และการมองโลกในแง่ดี
การวางแผนระยะยาว
การดูแลตนเองด้านสุขภาพ และการบําบัดอย่างต่อเนื่อง
การกําหนดแผนการดําเนินชีวิตในครอบครัวและในสังคม
อย่างเหมาะสม
การใช้แหล่งบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน
และหน่วยงานใกล้บ้าน