Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Myasthenia Gravis (MG) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง - Coggle Diagram
Myasthenia Gravis (MG)
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
พยาธิสภาพ
ภาวะผิดปกติที่ตำแหน่งรอยต่อระหว่างเส้นใยประสาทและใยกล้ามเนื้อ ( neuromuscular junction) ส่งผลกระทบต่อการส่งกระแสประสาทในร่างกาย ไมแอสทีเนียเกรวิสเป็นความผิดปกติที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทมัส สร้างแอนติบอดี้มาทำลายตำแหน่งรับสารสื่อประสาท (acetylcholine receptor: AchR) ตรงรอยต่อระหว่างเส้นใยประสาทและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) ทำให้มีระดับสารสื่อประสาท acetylcholine ลดลง
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยที่กระแสประสาทไม่สามารถส่งทอดไปสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงานได้
เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับออโตอิมมูน (autoimmune) หรือ ภูมิต้านทานที่เกิดกับอวัยวะของตัวเอง
อาจพบร่วมกับคนที่มีต่อมไทมัส (thymus gland) โต
อาการ
พบได้บ่อย
หนังตาตก (ptosis) ซึ่งมักเกิดเพียงข้างเดียว
ตาเข มองเห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน (diplopia)
เป็นมากขึ้น
พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก พูดเสียงขึ้นจมูก หรืออาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
เป็นมาก
อ่อนแรงของแขนขาบางส่วนจนลุกขึ้นยืนหรือเดินไม่ได้
รุนแรง
ทำให้กล้ามเนื้อช่วยหายใจเป็นอัมพาต หยุดหายใจตายได้
การวินิจฉัยโรค
การอาศัยประวัติ
ตรวจร่างกาย อาการและอาการแสดง
ทดสอบโดยการฉีด
นีโอสติกมีน(Neostigmine) 1.5 มิลลิกรัม เข้าใต้หนัง
ฉีดเทนซิลอน(Tensilon) 10 มิลลิกรัม เข้าหลอด เลือดดำ
นอกจากนี้จะมีการตรวจพิเศษอื่นๆ ได้แก่ CT-scan หรือ MRI
การรักษา
การให้Anticholinesterase ได้แก่ เมสตินอล (Mestinon) หรือ พรอสติกมิน (Prostigmin)
คอร์ติโคสตีรอยด์ เนื่องจากเชื่อว่า มายแอสทีเนียกราวิสเกิดจากความผิดปกติทางด้านอิมมูน จึงใช้การให้สเตียรอยด์เพื่อกดการสร้างอิมมูนที่ผิดปกติ
รายที่ตรวจพบว่ามีต่อมไทมัสโตร่วมด้วย อาจต้องผ่าตัดเอาต่อมไทมัสออก (thymectomy) ซึ่งอาจจะช่วยให้อาการดีขึ้น
การเปลี่ยนพลาสม่า (plasmapheresis)
การพยาบาล
ระวังเรื่องท้องผูกและการกลั้นปัสสาวะ
ป้องกันการได้รับบาดเจ็บ
ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ดูแลให้ได้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
กระตุ้นการขับถ่ายให้เป็นเวลา
แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน หลีกลี่ยงภาวะเครียด