Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่มีผลความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยของพยาบา…
ปัจจัยที่มีผลความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยของพยาบาลในสถานประกอบการเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยของพยาบาลในสถานประกอบการเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงาน แรงจูงใจในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานและการรับรู้บทบาทพยาบาลอาชีวอานามัยกับการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยของพยาบาล ในสถานประกอบการเขตนิคมอุตสาหกรรมภาค ตะวันออก
เพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงาน แรงจูงใจ สภาพแวดล้อมในการทางาน และการรับรู้บทบาท พยาบาลอาชีวอนามัยมีความสัมพันธ์กับการ ปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยของ พยาบาลในสถานประกอบการเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
วิธีการดำเนินการวิจัย
ประชาการและกลุ่มตัวอย่าง
พยาบาลที่ทำงานในสถานประกอบการท่ีมีพนักงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไปท่ีขึ้นทะเบียนกับนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้สูตรของ Cohen ได้ 125 คน เพื่อป้องกันการ สูญหายของข้อมูล จึงเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20 ดังน้ันขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาน้ีมี จำนวน 150 คน
-
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ทำหนังสือขอความร่วมมือผู้บริหารสถาน ประกอบการและพยาบาลในสถานประกอบการ จัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้พยาบาลพร้อม ติดแสตมป์เพื่อส่งกลับคืนผู้วิจัยภายใน 2 สัปดาห์ นับแต่วันที่ได้รับแบบสอบถาม
ผลการวิจัย
ส่วนที่1
1) ข้อมูลท่ัวไปของพยาบาลส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง ร้อยละ 88.10 มีอายุอยู่ระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 32.10 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 57.50 วุฒิการศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 78.4 ประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการอยู่ระหว่าง 1-10 ปี ร้อยละ 91.00 ได้รับการอบรมด้านการพยาบาอาชีวอนามัย ร้อยละ 67.2 ปฏิบัติงานแบบบางเวลา ร้อยละ 65.7 มีภาระงานท่ีรับผิดชอบในระดับน้อย คือ 1-3 งาน ร้อยละ 50.00 โดยเฉลี่ยมีภาระงานที่รับผิดชอบ 3 งาน (𝑥̅ = 3.40, S.D. = 1.69) เมื่อจำแจกรายด้านงานท่ีรับผิดชอบ มากท่ีสุด คือ งานการรักษา พยาบาลเบื้องต้น รองลงมา งานการให้คำปรึกษาและการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค ร้อยละ 95.50, 88.10, 47.80 ตามลำดับ
2) แรงจูงใจในการทำงานโดยรวมในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.5 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการทำงานด้านความต้ังใจ ความรับผิดชอบ การฝึกอบรม และการปรับปรุงภาระงาน
อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100.00, 65.70, 60.40 และ 48.50 ตามลดับ ส่วนแรงจูงใจในการทำงานด้านการยอมรับนับถือและเงินเดือนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.10 และ 61.20 ตามลำดับ
3) สภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวมที่มีสิ่งคุกคามสุขภาพระดับปานกลาง ร้อยละ 89.60 เมื่อจพันกรายด้านพบว่า สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีสิ่งคุกคามสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ทุกด้าน โดยสภาพแวดล้อมทางจิตสังคมมีสิ่ง คุกคามสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางมากท่ีสุด ร้อย ละ 73.90 รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมทางเคมี และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ คิดเป็นร้อยละ 72.40, 65.70 ตามลำดับ
4) การรับรู้บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย โดยรวมในระดับสูง ร้อยละ 97.00 เมื่อจำแนกราย ด้านพบว่า การรับรู้บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยการรับรู้บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยด้านผู้จัดการรายกรณีสูงที่สุด ร้อยละ 100.00 รองลงมาคือ ด้านผู้ให้คำปรึกษาและผู้วิจัย ร้อยละ 97.00 และ 94.00 ตามลำดับ
5) การปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย โดยรวมในระดับปานกลาง ร้อยละ 44.8 เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยด้านผู้ให้ความรู้ มากท่ีสุด (𝑥̅ = 1.93) รองลงเป็น ผู้วิจัย ผู้ให้ คำปรึกษา ผู้ให้บริการทางคลินิก (𝑥̅ = 1.83, 1.82, 1.75 ตามลำดับ) ส่วนค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยด้านผู้จัดการ ต่ำสุด (𝑥̅ = 1.34)
ส่วนที่ 2
1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล
กับการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย พบว่าระดับการศึกษา การได้รับการอบรมด้านการพยาบาลอาชีวอนามัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประสบการณ์การทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย
2) ลักษณะงานด้านรูปแบบการทำงาน ความ
ยากง่ายของงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนภาระงานและระยะเวลาในการทางานไม่มีความสัมพันธ์ กับการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย
3) สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านสภาพแวดล้อมทางจิตสังคมและทางเคมี มีความสัมพันธ์ทาง ลบกับการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ส่วน สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การรับรู้บทบาทพยาบาล อาชีวอนามัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติท่ีระดับ 0.05
ส่วนที่ 3
ปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน เรียงตามระดับขนาดความสำคัญทางสถิติ พบว่ามีตัวแปรอิสระ 5 ตัว ได้แก่ การอบรมด้านการพยาบาลอาชีวอนามัย การรับรู้บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมทางจิตสังคม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยได้ ร้อยละ 34.1
อภิปรายผล
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างท่ีศึกษา (ร้อยละ 44.8) มีการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีว อนามัยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับการศึกษา การได้รับการอบรมด้านการ พยาบาลอาชีวอนามัย ลักษณะงาน รูปแบบการทำงาน ความยากง่ายของงาน สภาพแวดล้อมในการทางาน ด้านกายภาพ เคมี จิตสังคม และการรับรู้บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน ตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า การอบรมด้านการพยาบาลอาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านกายภาพ เคมี จิตสังคม และการรับรู้บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยได้ ร้อยละ 34.1 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
-