Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บท 8 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับอุบัติเหตุ และสารพิษ - Coggle…
บท 8 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับอุบัติเหตุ และสารพิษ
ปัจจัย
ตัวเด็กเอง โดยธรรมชาติเด็กจะมีความอยากรู้ อยากเห็น ตามพัฒนาการของเด็ก
ความประมาท เลินเล่อ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบิดามารดา
สิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพและ สิ่งแวดล้อมด้านสังคม
อุบัติเหตุที่แบ่งตามช่วงอายุของเด็ก
วัยทารก – 3 เดือน หายใจไม่ออกเนื่องจากหน้าจมอยู่ในหมอน ลื่นจมน้ำ สำลักนม ส่วนของร่างกายติดขัดอยู่กับซี่กรงของเตียง การตกจากที่สูง และน้ำร้อนลวก
วัยทารก 3 - 12 เดือน หกล้ม ตกจากที่สูง น้ำร้อนลวก วัตถุหรือของเล่นติดคอ กลืนวัตถุมีพิษ ไฟดูด
วัยหัดเดิน 1 – 3 ปี หกล้ม ตกบันได กินสารพิษหรือยาเกินขนาด ไฟดูด น้ำร้อนลวก วัตถุติดคอ
วัยก่อนเรียน 3 – 6 ปี อุบัติเหตุในถนนจากการวิ่งลงถนน ข้ามถนน ถีบจักรยาน จมน้ำ ไฟดูด
วัยเรียน 6 – 12 ปีเล่นไม้ขีดไฟ เล่นปืนหรือของมีคม อุบัติเหตุบนถนน การกลืนสารพิษ ตกจากที่สูง
วัยรุ่น 12 – 18 ปี อันตรายจากการใช้พาหนะ เมาสุรา จมน้ำ ใช้อาวุธทำร้าย
อุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
การประเมินระดับความลึกของบาดแผลไฟไหม้
ความลึก ผิวหนังมีความลึก 2 ชั้น
First degree burn บาดแผลที่มีการทำลายของเซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอกเท่านั้น
Second degree burnบาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น (ทั้งชั้นผิวนอกและชั้นในสุด) และหนังแท้
Third degree burn บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้ง ต่อมเหงื่อ ขุมขนและเซลล์ประสาท
การแบ่งความรุนแรงของบาดแผลตาม American Burn Association
ระดับเล็กน้อย เป็นบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกที่มีความลึกระดับ 1- 2
ระดับปานกลาง บาดแผลมีความลึกระดับ 2 มีการทำลายของพื้นที่ผิวหนังระหว่างร้อยละ 10 - 20
ระดับรุนแรง บาดแผลมีความลึกระดับ 2 มีการทำลายพื้นที่ผิวหนังมากกว่าร้อยละ 20
การรักษา
บาดเจ็บเล็กน้อย ให้ล้างทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำเกลือ สบู่อ่อน ๆ
อุบัติเหตุจากการกลืนสิ่งแปลกปลอม
การช่วยเอาสิ่งแปลกปลอมออก
เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำอยู่บนตัก และมือของผู้ช่วยเหลือ ให้ศีรษะตรง และอยู่ต่ำกว่าส่วนของลำตัว
เด็กโต ให้เด็กนอนคว่ำพาดบนตักผู้ใหญ่ โดยให้ศีรษะของเด็กห้อยต่ำกว่าลำตัว แล้วตบบริเวณกลางระหว่างไหล่สองข้าง
Abdominal thrusts หรือ Heimlich maneuver เป็นวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยที่สงสัยมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปีที่รู้สึกตัวอยู่
Finger Sweep การใช้นิ้วล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในปากและคอ
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการให้อาหารชิ้นใหญ่และกลม
หลีกเลี่ยงการให้ผลไม้ที่มีเมล็ด เนื้อปลามีก้าง
เลือกของเล่นที่มีขนาดใหญ่
อุบัติเหตุจากการได้รับสารพิษ
การประเมิน
1.ซักประวัติ
การตรวจร่างกาย ดูลักษณะทั่วไป ลักษณะผิวหนัง กลิ่นลมหายใจ
หายใจหอบ เหงื่อออก ปากพอง ปวดท้อง หัวใจเต้นผิดปกติ
การปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง
กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
ใช้นิ้วชี้ล้วงกวาดลำคอให้ลึก
ให้ Ipecac syrup
ใช้น้ำเกลือแกง 2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว แล้วให้ดื่มให้หมด
ดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร
ให้ยาแก้พิษ
การป้องกัน
ไม่ปล่อยเด็กไว้ตามลำพัง
เก็บยา สารเคมีต่างๆ ไว้ให้พ้นมือเด็ก
ไม่เก็บยา หรือสารเคมีไว้ที่เดียวกับอาหาร
ไม่หลอกเด็กว่ายา คือขนม
การจมน้ำ
สาเหตุ
เด็กมีทักษะไม่เพียงพอ ที่จะเล่นน้ำ
เกิดจากเด็กขาดความรู้
เกิดจากสภาพแวดล้อม
การป้องกัน
เฝ้าระวังและจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
สอนให้เด็กรู้ว่าแหล่งน้ำไหนเสี่ยง ไม่ควรไปวิ่งเล่นใกล้ๆ
ฝึกลอยตัวในน้ำ 3 นาที
ฝึกให้ว่ายน้ำได้ 15 เมตร เพื่อเป็นทักษะในการว่ายเข้าฝั่ง
รู้อันตราย ไม่กระโดดลงไปช่วยเพื่อนที่กำลังจมน้ำ
สอนการใช้ชูชีพ การลอยตัวเมื่อใส่ชูชีพ
การปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่ไม่หายใจและ/หรือ หัวใจไม่เต้น
เรียกผู้อยู่ข้างเคียงให้มาช่วยเหลือ และโทร 1669
เปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบกดหน้าผากลง
ช่วยการหายใจ เมื่อพบว่าเด็กไม่หายใจ
บทบาทของครอบครัวและชุมชนในการดูแลและป้องกันอุบัติเหตุเบื้องต้น
ชวนลูกจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านอย่างมีระเบียบและสนทนาแนะนำลูก
แสดงสภาพการเกิดอุบัติเหตุจากหุ่น ตุ๊กตา ให้ลูกเห็นผลของการเกิดอุบัติเหตุ
ชี้แนะให้ลูกรู้จักสิ่งของที่เป็นอันตราย เช่
แนะนำและสาธิตการเล่นที่ถูกวิธี การเล่นเครื่องเล่นสนาม
เล่าเรื่องธรรมชาติสัตว์เลี้ยงที่ทำร้ายเด็กได้
ให้ลูกรู้จักสัตว์ดุร้าย มีพิษ และเชื้อโรคจากสื่อประเภทต่างๆ
อ่านหนังสือสารคดีเด็กเรื่องอุบัติเหตุให้ลูกฟัง
นำลูกร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานที่จัดขึ้นเพื่อฝึกการหนีภัยธรรมชาติ
ฝึกลูกให้มีวินัยในเรื่องต่างๆ
นำลูกเดินทางร่วมกับพ่อแม่เพื่อฝึกการเดินถนนอย่างปลอดภัย