Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal cord injuries) - Coggle Diagram
การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal cord injuries)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
การบาดเจ็บ (Trauma)
อุบัติเหตุรถยนต์ จักรยานยนต์
โดนยิง หรือถูกแทง
ตกจากที่สูง
การเล่นกีฬา
ความผิดปกติที่ไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บ (Non-traumatic disorders)
การเสื่อมของกระดูกสันหลัง
การอับเสบของเยื้อหุ้มไขสันหลัง
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
เนื้องอก
โรคของหลอดเลือด เช่น ขาดเลือดหรือเลือดออก
กลไกการบาดเจ็บไขสันหลัง
การบาดเจ็บแบบงอ (Flexion injury)
พบได้บ่อยที่สุด
ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติรถยนต์
ตำแหน่งของกระดูกสันหลังที่มีผลกระทบ คือ C5 – C6 และ T12 – L1
มีการฉีกขาดของเอ็นด้านหลัง (Posterior ligament)
ส่งผลให้ไขสันหลังขาดเลือดไปเลี้ยง
การบาดเจ็บท่าแหงนคอมากกว่าปกติ (Hyperextension injury)
เกิดจากการหกล้มคางกระแทกวัตถุ
มีการฉีกขาดของเอ็นด้านหน้า (Anterior ligament)
อาจเกิดของไขสันหลังแบบตัดขวางอย่างสมบูรณ์ (Complete transaction)
ส่งผลให้สูญเสียการเคลื่อนไหวในตำแหน่งที่ต่ำกว่าบริเวณที่มีพยาธิสภาพ
การบาดเจ็บท่างอ และหมุน (Flexion with rotation injury)
เกิดจากการหมุนหรือบิดของศีรษะและคออย่างรุนแรง
มีการฉีกขาด posterior longitudinal ligament
การบาดเจ็บแบบยุบจากแรงอัด (Compression injury)
เกิดจาการการหกล้มหรือกระโดด โดยใช้ส่วนนำ คือ ศีรษะ ก้น หรือเท้า กระแทกกับวัตถุ
มีกระดูกสันหลังยุบตัวซ้นเข้าหากัน ทำให้ไขสันหลังบาดเจ็บ
ถ้าเกิดการกระแทกโดยใช้เท้านำ จะเกิดการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนเอว(L) และส่วนอกท่อนล่าง (T)
ถ้าเกิดการกระแทกโดยใช้ศีรษะนำ จะเกิดการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอ(C)
50 % ของการบาดเจ็บเป็นแบบ Incomplete lesion
การบาดเจ็บแบบ Penetrating injury
เกิดจากถูกแทง ถูกยิง
ทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้งทางตรงและทางอ้อม
ไขสันหลังบวมและขาดเลือดและเนื้อเยื่อไขสันหลังตายจากการขาดเลือด
ประเภทของการบาดเจ็บไขสันหลัง
บาดเจ็บไขสันหลังชนิดสมบูรณ์ (Complete cord injury)
เป็นการบาดเจ็บที่ทำให้ไขสันหลังสูญเสียหน้าที่ทั้งหมด
สูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อและความรู้สึกในส่วนที่ต่ำกว่าพยาธิสภาพ
ควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดรอบทวารหนักไม่ได้
เกิดอัมพาตอย่างถาวร ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ tetraplegia และ paraplegia
บาดเจ็บไขสันหลังชนิดไม่สมบูรณ์ (Incomplete spinal cord injury)
ร่างกาย ส่วนที่อยู่ต่ำกว่าระดับพยาธิสภาพ มีบางส่วนของระบบประสาทที่ยังทำหน้าที่อยู่ เช่น ผู้ป่วยมีกำลังกล้ามเนื้อหรือมีการรับรู้ที่ผิวหนังในส่วนที่ถูกควบคุมด้วยไขสันหลังที่อยู่ต่ำกว่าระดับที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถขมิบรอบๆ ทวารหนักได้
ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บไขสันหลัง
แบ่งตาม American spinal injuries association (ASIA) มี 5 ระดับ ดังนี้
ระดับ A (complete) หมายถึง อัมพาตอย่างสมบูรณ์ไม่มีการเคลื่อนไหว และไม่มีความรู้สึก
ระดับ B (incomplete) หมายถึง มีความรู้สึกในระดับ S4-5 แต่ เคลื่อนไหวไม่ได้เลย
ระดับ C (incomplete) หมายถึง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ต่ำกว่า ระดับ 3
ระดับ D (incomplete) หมายถึง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตั้งแต่ ระดับ 3 ขึ้นไป
ระดับ E (normal) หมายถึง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและ
การรับความรู้สึกปกติ
การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital phase)
การดูแลระบบทางเดินหายใจให้โล่งขณะเดียวกันต้องระวังไม่ให้กระดูกคอเคลื่อนโดยการใส่ Philadelphia collar
การดูแลห้ามเลือดในที่เกิดเหตุ
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายและเจ็บปวดน้อยที่สุด
การเคลื่อนย้าย (transportation) ต้องใช้คนช่วยอย่างน้อย 3 คน log roll โดยการใช้ Spinal board เป็นวิธีการที่ดีที่สุด
การประเมินการบาดเจ็บไขสันหลัง
การซักประวัติ
1.1 ปวดตึงต้นคอ หรือความรู้สึกที่แขน ขาลดลง
1.2 ปวดหลังหรือปวดตามแนวกึ่งกลางหลัง จะปวดมากขึ้นถ้าร่างกายมีการเคลื่อนไหว เช่น ขยับตัว บางรายอาจบ่นรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งตามลำตัวและแขนขา
1.3 ความดันโลหิตต่ำร่วมกับชีพจรช้า
1.4 มีบาดเจ็บเหนือกระดูกไหปลาร้าหรือมีบาดเจ็บที่ใบหน้าอย่างรุนแรง
1.5 ตกจากที่สูงมากกว่า 3 เท่าของความสูงของผู้ป่วยหรือสูงมากกว่า 6 เมตร
1.6 ตกจากที่สูงในแนวดิ่ง เช่น มีกระดูกส้นเท้าหักหรือก้นกระแทกพื้นหรืออุบัติเหตุขณะดำน้ำหรือว่ายน้ำ
1.7 กระเด็นออกนอกยานพาหนะ เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์หรือนั่งในรถยนต์โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
1.8 ได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่ทรวงอกและภายในช่องท้อง
1.9 ให้ประวัติควบคุมปัสสาวะไม่ได้หลังบาดเจ็บ
1.10 ได้รับบาดเจ็บจากการแขวนคอ (hanging)
การตรวจร่างกาย ใช้หลัก ABCDE
2.1. การประเมินการหายใจ รวมทั้งการทำทางเดินหายใจให้โล่ง
2.2 การประเมินภาวะบวม หรือการมีเลือดออก เช่น ช่องท้อง ช่องอก หรือจากกระดูกหักส่วนอื่น
2.3 การประเมิน Glasgow’s Coma Score
2.4 การประเมินระบบประสาท โดยเน้นการทดสอบกำลังของกล้ามเนื้อของ American Spinal Injury Association (ASIA)
C1-3 Respiration ability ระบบหายใจ
C4 trapezieus muscle กล้ามเนื้อกระบังลม
C5 elbow flexors งอพับข้อศอก
C6 wrist extensors กระดกข้อมือขึ้น
C7 elbow extensors เหยียดข้อศอก
C8 finger flexors งอข้อปลายนิ้วกลาง
T1 Small finger abductors กางนิ้วก้อย
L2 Hip flexors งอพับข้อตะโพก
L3 knee extensors เหยียดข้อเข่า
L4 ankle dorsiflexors กระดกข้อเท้าขึ้น
L5 big toe extensors กระดกนิ้วหัวแม่เท้าขึ้น
S1 ankle plantarflexors ถีบฝ่าเท้าลง
การตรวจทางรังสีวิทยา
3.1 Plain film เป็นการตรวจคัดกรองที่สำคัญ
3.2 Computed tomography scan (CT)
3.3 Magnetic resonance imagine (MRI)
การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ระยะเฉียบพลัน
Breathing
Circulation (keep MAP ≥ 85 mmHg)
2.1 ให้สารน้ำเริ่มต้นเป็น 0.9% NSS
2.2 ให้ยา Vasopressin
การให้ยา
3.1 High-dose Methyprednisolone
ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ไขสันหลังถูกทำลายมากขึ้น
เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงไขสันหลัง
ลดการอักเสบและยับยั้งอนุมูลอิสระ
เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น UTI, pneumonia, GI hemorrhage, hyperglycemia
3.2 การให้ยาในกลุ่ม H2 antagonist และ Proton Pump Inhibitor (PPI)
3.3 ยาบรรเทาอาการปวด
การดูแลระบบทางเดินหายใจ
4.1 ดูแลการได้รับออกซิเจนในช่วง 72 ชั่วโมงแรก
4.2 ประเมิน Force Vital Capacity ผู้ป่วยทุกราย
การดูแลระบบทางเดินอาหาร และการขับถ่ายอุจาระ
การดูแลระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจะเกิดภาวะ neurogenic bladder
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความอบอุ่นเพียงพอ
จัดหาเตียงที่เหมาะสม