Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Guillain-barre syndrome (GBS) - Coggle Diagram
Guillain-barre syndrome (GBS)
สาเหตุ
การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร
คางทูม หัด อีสุกอีใส
ภายหลังการได้รับวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่
พยาธิสภาพ
การเกิดกลุ่มอาการ กิแลน เบอร์เร่ เชื่อว่าเกิดจากปฏิกิริยาการตอบสนองทางภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังมีการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัส จะกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจงทั้งการสร้างแอนติบอดี้ และทีลิมโฟไซล์มาทำลายเชื้อโรคที่เป็นสิ่งแปลกปลอม นอกจากทำลายเชื้อโรคแล้วยังมีผลทำลายปลอกหรือเยื่อหุ้มมัยอีลิน (myelin sheath) ที่อยู่รอบๆ เส้นประสาท เมื่อเยื่อหุ้มมัยอีลินถูกทำลายจะกระตุ้นให้มีการสะสมของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ รวมทั้งทีลิมโฟไซล์ (T-lymphocyte) และ แมกโครฟาจในบริเวณนั้น ทำให้เกิดอาการบวมและอักเสบเฉียบพลันของเส้นประสารท เมื่อเยื่อหุ้มมัยอีลินบางส่วนถูกทำลาย จะทำให้ความสามารถในการส่งผ่านสัญญาณประสาทบกพร่องหรือไม่สามารถส่งผ่านสัญญาณประสาทไปยังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้ ส่งผลทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
อาการและอาการแสดง
อาการทางด้านประสาทรับความรู้สึก จะปรากฎหลังจากมีการติดเชื้อ 1-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการชาเหน็บ (Tingling) และเจ็บโดยเฉพาะปลายแขนขา
อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรง มักจะเกิดอาการอ่อนแรง ตามหลังอาการชา มักเริ่มด้วยขา อ่อนแรง เดินลำบาก ลุกลามขึ้นมาที่แขนและลำตัว เมื่อมีการลุกลามไปยังกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ มักจะทำให้เกิดปัญหาการหายใจล้มเหลว
อาการลุกลามของประสาทสมอง โดยเฉพาะประสาทสมองคู่ที่ 7 คู่ที่ 9 พบว่ามีความผิดปกติร้อยละ 75 ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืน พูด หายใจ มีอัมพาตของหน้า
อาการลุกลามของประสาทอัตโนมัติ จะพบมีความผิดปกติ
ระบบประสาทพาราซิมพาเททิค อุ่น ทำหน้าที่น้อยไป ทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ระบบกล้ามเนื้อหูรูดทำงานผิดปกติ
ระบบประสาทซิมพาเททิค ทำหน้าที่น้อยไป ทำให้ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า
การดำเนินโรค แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะอาการคงที่ (Static phase) เป็นระยะที่ความเสื่อมคงที่ ร่างกายไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะไม่ดีขึ้น แต่ไม่เลวลง อาการเจ็บปวดและอาการชาจะเริ่มลดลง ใช้เวลาตั้งแต่ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์
ระยะฟื้นตัว(Recovery phase)
1.ระยะเฉียบพลัน(Acute phase) เป็นช่วงที่อาการดำเนินจนถึงจุดรุนแรง ใช้เวลานานประมาณ 1-3 สัปดาห์ อาการแสดงที่สำคัญ คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก อาจจะถึงเป็นอัมพาตอย่างสมบูรณ์ และการหายใจล้มเหลว ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย จะพบอาการอ่อนแรงอย่างมาก รีเฟล็กซ์จะลดลง อัมพาตแขนขาทั้งสองข้าง พูดไม่ชัด กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ และหายใจขัด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและอื่นๆ
3.1 การเจาะหลัง พ
3.2 การตรวจการนำไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG: Electromyogram)
3.3 การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท (NCV: nerve conduction velocity)
การรักษา (เน้นการรักษาตามอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน)
การให้ยากลุ่มสตีรอยด์ ในแง่ของการต้านขบวนการอักเสบ ช่วยลดการ อ่อนแรงของกล้ามเนื้อได้
การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (plasmapheresis) ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
การช่วยเหลือในระหว่าง 1-2 สัปดาห์แรกที่เป็นโรคจะช่วยให้อาการดีขึ้น
การช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว ผู้ป่วยควรได้รับการใส่ท่อหลอดลมและเครื่องช่วยหายใจ เมื่อมีค่าความดันของออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2 ) น้อยกว่า 60 มม. ปรอท