Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 หญิงไทย อายุ 59 ปี - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 2
หญิงไทย อายุ 59 ปี
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม
การมีประจำเดือนครั้งแรกเร็วก่อนอายุ 12
การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนช้าหลังอายุ 55
พันธุกรรมและครอบครัว
การกลายพันธ์ุของยีนใน DNA
การถ่ายทอดมาทางสายเลือดของพ่อแม่
เกิดการกลายพันธุ์ขึ้นเองในภายหลัง เช่น ได้รับสารก่อมะเร็ง
ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านมคือ BRCA1 และ BRCA2 โดยยีนสองตัวนี้มีหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ชนิดหนึ่ง พบว่าคนที่มียีนนี้ผิดปกติจะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมสูง ประมาณ 70-80% และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้
การมีบุตรคนแรกช้าหลังอายุ 30
อาหารที่รับประทาน
อาหารที่มีไขมันสูงจะเพิ่มความเสี่ยงเพราะจะสะสมเป็นไขมันในร่างกายเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
การออกกำลังกาย
การทานยาเม็ดคุมกำเนิด
เพศและอายุ
การทานเสริมฮอร์โมนในสตรีวัยทอง
ความเครียด
การผ่าตัดเต้านมModified radical mastectomy (MMR)
ความหมาย
คือผ่าตัดเอาเต้านมทั้งเต้า ต่อมน้ำเหลือง และกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนออก เป็นการผ่าตัดเต้านมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะ 1และ 2
(stage I, IIA, IIB)
ภาวะแทรกซ้อนนหลังผ่าตัด
3. บวม(lymphedema)ที่แขนและเต้านม
จากการผ่าตัดที่เลาะเอาต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก การยกของหนักการบีบรัดแขนเป็นสาเหตุที่ทำให้การไหลกลับของน้ำเหลืองจากแขนช้าลงภาวะนี้อาจพบได้ทันทีหลังผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดผ่านไปแล้วหลายปี
4. ข้อไหล่ติดของแขนข้างเดียวกับที่ผ่าตัด
เนื่องจากการปวดตึงแผลมาก ทําให้ผู้ป่วยไม่ยอมยกแขนข้างที่ผ่าตัด จึงทําให้เกิดข้อไหลติดได้
2. เกิดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด (infection)
ภาวะนี้อาจพบได้บ่อยเพราะการผ่าตัดมีบาดแผลกว้าง มีflapบางทําให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนี้ได้น้อย หากพบการอักเสบติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะซึ่งภาวะนี้สามารถป้องกันได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัด
5. อาการชา (numbness)
บริเวณผิวหนังแขนด้านในเนื่องจากการผ่าตัด ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดจากอันตรายต่อ เส้นประสาทระหว่างผ่าตัด ผู้ป่วยจะรู้สึกชา บางครั้งรู้สึกแปล๊บๆบริเวณหน้าอกหัวไหล่รักแร้ อาการนี้จะดีขึ้นในข่วงระยะเวลา 1-3 เดือนหลังผ่าตัด
1. มีเลือดคลั่งอยู่ใต้แผล (hematoma)
เนื่องจากการผ่าตัดจะมีการเลาะใต้ผิวหนังและตัดต่อมน้ำเหลืองออกหลังการผ่าตัดจึงมีน้ำเหลืองซึมออกมามาก การป้องกันหลังผ่าตัดแพทย์จะใส่ท่อระบายแบบขวดสุญญากาศไว้ (Radivac drain) ดังนั้นพยาบาลควรเฝ้าระวังการรติดเชื้อของแผลด้วยเช่นกัน
6. การเสียสมดุลของทรวงอก
โดยเฉพาผู้ป่วยที่เต้านมขนาดใหญ่ อาจทําให้ไหล่เอียง ไหล่ห่อเดินเอียง ๆ ทําให้เสียบุคลิกภาพตามมาได้อีก
ผลข้างเคียงของการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง
การเคลื่อนไหวของแขนและไหล่ติดขัด
บวมบริเวณแขนและเต้านมที่เรียกว่า Lymphedema
ชาบริเวณผิวหนังแขนด้านใน
อาการของผู้ป่วย
หายใจเหนื่อย
สาเหตุ
O2 sat 92% ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยเมื่อมีภาวะออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดจะสูงขึ้นและ กระตุ้นตัวรับความรู้สึกเกี่ยวกับการหายใจ (chemoreceptor) ให้ เพิ่มอัตราและความลึกของการหายใจ
ภาวะที่เนื้อเยื่อบางส่วนหรือเนื้อเยื่อทั้งหมดของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างพลังงานจําเป็นต้องใช้ การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic respiration) แทน ทําให้ร่างกายเกิดภาวะเลือด เป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูง( lactic acidosis) เป็นสาเหตุให้การทํางานของระบบหายใจ ระบบหัวใจและ หลอดเลือด และระบบประสาทผิดปกติ ทำให้มีอาการหายใจเร็วและลึก เนื่องจากมีการใช้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจมากขึ้น
ความหมาย
เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่สามารถหายใจสูดอากาศเข้าไปได้อย่างเต็มที่ รู้สึกหายใจได้สั้นๆ หรือหายใจออกไม่ได้ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ อึดอัด แน่นหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนจะขาดใจ
หายใจเหนื่อยง่ายหรือหายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง คลุมเครือ อาการหายใจเหนื่อยง่ายจึงเป็นไปได้ทั้งโรคที่รุนแรง และ โรคที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยเอง
แขนขวาบวม
อาการบอกโรค
แขนบวม ปวดขา ชา ขาอ่อนแรง แขนติด เคลื่อนไหวไม่เป็นปกติ
สาเหตุ
แขนติดเชื้อ จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่า Neutrophil มีค่าสูงมากกว่าปกติ แสดงถึงการติดเชื้อจากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองทำให้เกิดการคลั่งของน้ำเหลือง ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และสาเหตุจากการฉายแสงหรือการทำเคมีบำบัดทำให้เกิดการทำลายไขกระดูก ซึ่งเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ซึ่งมีผลทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ เมื่อเม็ดเลือดขาวต่ำก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ทำให้แขนบวม
การผ่าตัด MRM ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก สามารถทำให้แขนบวมได้และหากเกิดพังผืด อาจจะส่งผลให้ท่อน้ำเหลืองเกิดพังผืด และทำให้ทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน ส่งผลให้แขนบวม
ภาวะไข้
ความหมาย
ภาวะที่ร่างกายมีอุณภูมิกายสูงกว่า 37.5 °C ซึ่งผู้ป่วยมีอุณภูมิอยู่ที่ 37 °C
ในกรณีนี้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะไข้ต่ำ(มีค่าระหว่าง37.5 - 38.5 °C)
สาเหตุ
ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะมีผลข้างเคียงต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือการทำลายเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งมีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เมื่อภูมิคุ้มกันต่ำจากการถูกทำลายจึงส่งผลให้มีการติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ร่างกายมีอุณภูมิสูงจากการติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะไข้
ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำ ( O2 sat 92% )
อาการแสดง
หายใจเหนื่อยเล็กน้อย
ความหมาย
ภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนในระดับความรุนแรงต่ำ ( mild hypoxia) เนื้อเยื่อในร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ (hypoxemia) จึงทำให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
สาเหตุ
ผู้ป่วยมีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าปกติ เนื่องจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดทำให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีฮีโมโกลบิน (hemoglobin) เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทําหน้าที่นําออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกทำลายซึ่งเป็นสาเหตุให้ออกซิเจนในเลือดลดลง
Respiratory rate (RR) สูง
สาเหตุ
เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงหลายอย่าง และมีผลข้างเคียงไปกดไขกระดูก ซึ่งไขกระดูกเป็นแหล่งสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิด เมื่อไขกระดูกถูกกด การสร้างเม็ดเลือดทำได้น้อย ส่งผลให้ค่าเม็ดเลือดต่าง ๆ ต่ำลง ดังนี้ เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อง่าย เกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออกมาก ไหลไม่หยุด เม็ดเลือดแดงต่ำ ทำให้การนำพาO2ไปเลี้ยงร่างกายทำได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากในเม็ดเลือดแดงมี hemoglobin ที่เป็นส่วนสำคัญมีหน้าที่ในการจับO2และนำพาO2ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และจะเห็นได้จากค่าHemoglobin ต่ำกว่าเกณฑ์ และค่า O2 sat ของผู้ป่วย ซึ่งมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน บ่งบอกว่าความเข้มข้นของO2ในกระแสเลือดมีน้อย ร่างกายจึงตอบสนองโดยสั่งให้หายใจเร็วขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มO2 ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ความหมาย
คือการจับวัดอัตราการหายใจเข้าออกในระยะเวลา 1 นาที โดยอัตราการหายใจของผู้ใหญ่ปกติจะอยู่ที่ 16 – 20 bpm แต่ในกรณีนี้ผู้ป่วยมีค่า Respiratory rate อยู่ที่ 26 bpm ซึ่งนั่นหมายความว่า
อัตราการหายใจของผู้ป่วยสูงเกินค่ามาตรฐาน
อาเจียนเบื่ออาหาร
กลไกการเกิด
เมื่อรับเคมีบำบัด บริเวณแรกที่ได้รับคือทางเดินอาหาร เคมีบำบัดส่งผลโดยตรงต่อเซลล์ในทางเดินอาหารทำให้มีการหลั่งซีโรโทนินและสารพี สารสื่อประสาทจับกับตัวรับที่ทางเดินอาหารและบริเวณอื่นๆ มีการนำส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทเวกัสไปที่ศูนย์อาเจียน(medulla oblongata)ส่งกระแสประสาทออกมาทาง salivation center, respiratory center, cranial nerve กระตุ้นกล้ามเนื้อหน้าท้อง กะบังลม กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ทำให้เกิดการอาเจียน
เป็นผลข้างเคียงมาจากเคมีบำบัด
ผลกระทบ
ส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อย
การป้องกัน
2.ยาป้องกันคลื่นไส้อาเจียน ยายับยั้งซีโรโทนิน,คอร์ติดคสเตียรอยด์,ยายับยั้งนิวโรไคนิน 1, Benzamides, Phenothiazine
1.ปรับพฤติกรรมการรับปรพทานอาหาร เช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ รับประทานอาหารย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารร้อน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ถ้าคลื่นไส้มากตอนเช้าให้รับประทานอาหารแห้ง หลังรับประทานอาหารไม่ควรรีบนอน ควรนั่งพักอย่างน้อย 2 ชม.
ความดันสูง
สาเหตุ
ความดันโลหิตสูงมีอยู่ 2 แบบได้แก่ primary hypertension คือ ความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติจะพบในเวลาที่เราแก่ตัวลงและ secondary hypertension คือ ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากโรคอื่น ๆ หรือผลข้างเคียงของการใช้ยาหรือการใช้ยาเสพติด สำหรับคนที่ตกอยู่ในประเภทนี้ อาจจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน
ความหมาย
คือภาวะที่แรงดันของเลือดที่มีต่อผนังเลือดสูงพอที่อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจต่าง ๆ ได้ในระยะยาว ความดันโลหิตแปรผันด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเลือดที่ถูกปั๊มออกจากหัวใจ แรงต้านการไหลเวียนของเลือด (กำหนดด้วยความแคบของเส้นเลือด)
อาการ
บางคนที่เป็นความดันโลหิตสูงอยู่หลายปี อาจไม่มีอาการใดๆ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง ในบางรายอาจมีอาการปวดหัว เลือดกำเดาไหล หายใจไม่ทัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีก็ต่อเมื่อมีความดันสูงมากจนอยู่ในเกณฑ์อันตรายและอาจเสียชีวิตได้
ระยะของมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมระยะที่ 1
มะเร็งในระยะนี้ถือว่าแพร่กระจายเนื่องจากเซลล์เนื้องอกเริ่มโจมตีเนื้อเยื่อเต้านมที่แข็งแรง โรคนี้จัดอยู่ในประเภท“ ระยะเริ่มต้น” เนื่องจากมะเร็งมีอยู่ในบริเวณเล็ก ๆ กำหนดโดยการติดฉลาก Stage IA และ Stage IB
Stage IA เนื้องอกแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อเต้านมที่มีไขมัน
แต่ไม่ใหญ่ไปกว่าถั่วลิสงที่มีเปลือก
Stage IB เซลล์มะเร็งจำนวนเล็กน้อยสามารถพบได้ใน
ต่อมน้ำเหลืองบางส่วน
มะเร็งเต้านมระยะที่ 2
ในขั้นตอนนี้มะเร็งจะถือว่าเป็นมะเร็ง มะเร็งเติบโตและหรือแพร่กระจายไปยังบริเวณที่จำกัดของเต้านมและต่อมน้ำเหลือง เช่นเดียวกับ Stage I Stage II ถูกแบ่งออกเป็น Stage IIA และ Stage IIB เพื่อระบุตำแหน่งที่แม่นยำยิ่งขึ้น
Stage IIA เนื้องอกมีขนาดเท่าผลองุ่นและแพร่กระจายไปยัง
ต่อมน้ำเหลืองใต้แขนหรือ 20 ถึง 50 มิลลิเมตร แต่ยัง
ไม่แพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง
Stage IIB เนื้องอกมีขนาดเท่าลูกวอลนัทและแพร่กระจาย
ไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง 1 ถึง 3 ต่อหรือมีขนาดใหญ่
เท่าลูกมะนาวและยังไม่แพร่กระจายไปยัง
ต่อมน้ำเหลืองใด ๆ
มะเร็งเต้านมระยะที่ 0
มะเร็งที่เริ่มต้นในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมว่า“ ในแหล่งกำเนิด” ซึ่งหมายความว่ามะเร็งนั้นอยู่“ ในที่เดิม” มะเร็งในระยะนี้ถือว่าไม่แพร่กระจายเนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าเป็นมะเร็งหรือเซลล์ผิดปกติอื่น ๆ ที่มีอยู่ในที่อื่น
มะเร็งท่อน้ำดีในแหล่งกำเนิด (DCIS) พบเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุท่อน้ำนม
Lobular carcinoma in situ (LCIS) ในทางเทคนิคแล้วไม่ใช่มะเร็ง แต่พบการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติในเยื่อบุและมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นมะเร็ง
มะเร็งเต้านมระยะที่ 3
แม้ว่ามะเร็งจะแพร่กระจายไปในระดับภูมิภาค แต่ก็ยังไม่แพร่กระจายไปที่กระดูกหรืออวัยวะโดยรอบ อย่างไรก็ตามมะเร็งในขณะนี้ถือว่าลุกลามและต่อสู้ได้ยากขึ้น ขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็นสามประเภทย่อยเพื่อกำหนดแผนการรักษาของคุณให้ดีขึ้น
Stage IIIA เซลล์เนื้องอกพบในต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง 4 ถึง 9 ต่อมน้ำเหลืองหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า 50 มิลลิเมตรและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง 1 ถึง 3 ต่อมน้ำเหลือง
Stage IIIB เซลล์เนื้องอกแพร่กระจายไปที่ผนังทรวงอกด้านหลังเต้านมและอาจแพร่กระจายหรือแตกออกทางผิวหนังหรือแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองได้มากถึง 9 ต่อมน้ำเหลืองใต้แขนหรือใกล้กระดูกหน้าอก
Stage IIIC มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่งดังต่อไปนี้: ต่อมน้ำเหลืองใต้วงแขน 10 ต่อมน้ำเหลืองเหนือหรือใต้กระดูกไหปลาร้าของคุณส่วนผสมของใต้วงแขนและใกล้ต่อมน้ำเหลืองกระดูกหน้าอกหรือผิวหนัง
มะเร็งเต้านมระยะที่ 4
ปัจจุบันมะเร็งเรียกว่า“ มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย” ซึ่งหมายความว่ามะเร็งแพร่กระจายไปไกลจากเต้านมและเข้าไปในกระดูกปอดตับและหรือสมอง ณ ตอนนี้ยังไม่มีวิธีรักษาที่เป็นที่รู้จัก แต่การรักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการและยืดอายุได้