Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
hepatitis A virus: HAV
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ปวดข้อ และ ปวดศีรษะ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
พบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทำงานของตับ
การป้องกันและการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาการติดเชื้อ HAV
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
Hepatitis B virus
พยาธิสรีรภาพ
4 ระยะ
ระยะแรก
เมื่อได้รับเชื้อ Hepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติ
ระยะที่สอง
ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน
ระยะที่สาม
เป็นระยะที่ anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL)
ระยะที่สี่
เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน)
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
คลอดก่อนกำหนด
ต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
ทารกตายในครรภ์
เสียชีวิตแรกเกิด
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
พบอาการและอาการแสดง
คลื่นไส้
อาเจียน
เบื่ออาหาร
ตับโต
ตัวเหลือง
ตาเหลือง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจการทำงานของตับ
ตรวจหา antigen
antibody ของไวรัส
แนวทางการป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทำงานหนัก หรือออกกำลังกาย
แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
แนะนำให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแก่ ทารกในครรภ์
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดำเนินของโรค
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
หัดเยอรมัน
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก
ตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก
มีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ำเหลืองโต
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ
ครั่นเนื้อครั่นตัว
เบื่ออาหาร
ตาแดง ไอ เจ็บคอ
น้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต
ปวดข้อ
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
รู้สึกไม่สุขสบาย
ต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว
ตับม้ามโต
ตัวเหลือง
โลหิตจาง
เกล็ดเลือดต่ำ
ความผิดปกติถาวร
หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง
ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
พบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI)
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง คุ้มกับค่าใช้จ่าย และควรเน้นการ ฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองหารายที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อให้วัคซีน
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน
Varicella-zoster virus: VZV
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น
ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ
ผลกระทบ
ต่อทารก
ติดเชื้อในครรภ์
ติดเชื้อปริกำเนิด
อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด
ต่อสตรีตั้งครรภ์
ระบบหายใจล้มเหลว
มีอาการทางสมอง
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
มีไข้ มีผื่นตุ่มน้ำใสตามไรผม ตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV)
เทคนิค ELISA
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
รักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ
รักษาแบบเจาะจง โดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
ฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์ โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ หรือการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการฉีดวัคซีน
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
Cytomegalovirus: CMV
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง
การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลง
เสี่ยงต่อการแท้ง
คลอดก่อนกำหนด
ต่อทารก
IUGR
แท้ง
fetal distress
คลอดก่อนกำหนด
แนวทางการป้องกันและการรักษา
วัคซีนที่ให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ CMV
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี
วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การดำเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล
แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
Toxoplasmosis
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย
ปวดกล้ามเนื้อ
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
หากจำเป็นต้องทำความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง ไข่ดิบ นมสดที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และควรล้างมือให้สะอาดหลังจับต้องเนื้อสัตว์ดิบ
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนำให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม และให้กำลังใจในการรักษา
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
แนะนำเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที จากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3)
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก ต้องรีบพามาพบแพทย์
Zika
อาการและอาการแสดง
รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน
ไข้
ผื่นแดง
ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
ครอบคลุม 4 ด้าน
ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา
ระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด
ระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิกา
รักษาตามอาการ
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อาการและอาการแสดงของโรค ความรุนแรงของโรค วิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าบุคคลในบ้านป่วยเป็นโรค
อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อ สตรีตั้งครรภ์และทารก การวินิจฉัย และการดูแลรักษาให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา และไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป
COVID-19 during Pregnancy
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
อาการเพิ่มเติม ไอ น้ามูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
คลอดก่อนกำหนด
ติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ต่อทารกในครรภ์
คลอดน้ำหนักตัวน้อย
คลอดก่อนกำหนด
ติดเชื้อ COVID-19
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนมแต่อย่างใด
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ำนม
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับมารดาหลังคลอด