Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์, นายศราวุฒิ เป็งมูล 6201210255 เลขที่…
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
1. การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรคการรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
2.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.2 รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
2.3 มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
2.4 หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen
2. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดำเนินของโรค แผนการรักษาพยาบาลที่จะให้แก่สตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด
ให้การดูแลผู้คลอดโดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
3. หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อ
4. สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตาม
ไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลัก universal precaution
กรณีพ้นระยะการติดต่อ สามารถแนะนำเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที
เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
5. โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV
)
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ
ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การดำเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล รวมถึงเปิดโอกาสให้ซักถาม
3.แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
6. การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย
คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
แนะนำเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก
7. การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุ
และปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
2.1 อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การวินิจฉัย และการดูแลรักษา
2.2 ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ
2.3 เตรียมสตรีตั้งครรภ์
2.3 ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
2.4 เน้นย้ำการมาตรวจครรภ์ตามนัด
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป
8. โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
อาการและอาการแสดง
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเชื้อ COVID-19
1.1 หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้
1.2 รักษาระยะห่าง social distancing ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
1.3 หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
1.4 รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ
1.5 หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัว
1.6 ล้างมือบ่อย ๆ
1.7 ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย
1.8 สตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
1.9 เน้นย้ำให้สตรีตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดได้ตามปกติ
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด
2.1 แยกตนเองออกจากครอบครัว
2.2 งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น
2.3 กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์
2.4 กรณีเจ็บครรภ์คลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันที
การดูแลทารกแรกเกิด ควรอธิบายถึงความเสี่ยง ความจำเป็น และประโยชน์ ของการแยกแม่ออกจากทารกชั่วคราวให้แม่เข้าใจและปฏิบัติตาม
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับมารดาหลังคลอด
นายศราวุฒิ เป็งมูล 6201210255 เลขที่ 15 Sec.A