Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อธิบายเกณฑ์การพิจารณาปัญหาเร่งด่วน และบอกแนวทางการแก้ไขในการแก้ปัญหาเร่งด่…
อธิบายเกณฑ์การพิจารณาปัญหาเร่งด่วน และบอกแนวทางการแก้ไขในการแก้ปัญหาเร่งด่วนในชุมชน
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ในกระบวนการดำเนินงานอนามัยชุมชน บทเรียนในการนำทฤษฎีสู่การฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลในชุมชน(บุญชัย ภาละกาล.2554)
วิธีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในชุมชน
1.วิธีของภาควิชาบริหารสาธารณสุข คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบ 4 ประการ
ขนาดของปัญหา (Size of Problem or Prevalence) หมายถึงโรคที่เกิดในชุมชนว่า โรคนั้น ๆ เมื่อเกิดขึ้นมีผู้ป่วยเท่าไร และถ้าเป็นโรค ติดต่อ สามารถติดต่อหรือแพร่กระจายง่ายหรือไม่ มีแนวโน้มของโรคเป็นอย่างไร
ความรุนแรงของปัญหา (Severity of Problem) หมายถึงโรคหรือปัญหานั้นเกิดขึ้นจะมี อัตราตายหรือความทุพพลภาพมากน้อยเพียงไร โรคหรือปัญหานั้นถ้าปล่อยทิ้งไว้แล้วจะก่อให้เกิด ความเสียหายเป็นอันตรายถึงแก่ความตายหรือไม่
ความยากง่ายในการแก้ปัญหา (Ease of management) หมายถึง การดำเนินงาน แก้ปัญหาดังกล่าวจะทำได้หรือไม่
ความสนใจหรือความตระหนักของชุมชนที่มีต่อปัญหานั้น (Community Concern) หมายถึงพิจารณาว่าประชาชนในชุมชนเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มีความสําคัญหรือไม่ มีความวิตกกังวล สนใจหรือต้องการแก้ไขหรือไม่ การประเมินความสนใจของชุมชน
วิธีของแฮนลอน (John J.Hanlon) องค์ประกอบ 4 ประการ
2) องค์ประกอบ B คือ การคุกคามของ ปัญหานั้น (Seriousness of Problem) มีปัจจัย ที่ต้องพิจารณา 4 อย่าง ได้แก่ ความเร่งด่วน (Urgency) ความรุนแรง (Severity) การสูญเสียทาง ด้านเศรษฐกิจ (Economics loss) และการแพร่ กระจายไปสู่บุคคลอื่น (Involvement at other people) เกณฑ์การให้คะแนนในองค์ประกอบ C มีค่าคะแนน 0-10 คะแนน
4) องค์ประกอบ D คือ ข้อจำกัด (Limitation) หมายถึง ตัวกำหนดว่าโครงการหรือกิจกรรมจะกระทำได้หรือไม่ ภายใต้ระยะเวลาที่ กำหนด และทรัพยากรที่มีอยู่โดยต้องพิจารณาถึง สิ่งต่างๆต่อไปนี้คือ ความเหมาะสมของกิจกรรม แก้ปัญหา (Property : P) เศรษฐกิจ (Economics : E) การยอมรับ (Acceptability : A) ขุมพลังหรือ ทรัพยากร (Resource : R) ความเป็นไปได้เชิง กฎหมาย (legality : L) ปัจจัยดังกล่าวจะเป็น ตัวบ่งชี้ของความสำเร็จของโครงการต่างๆแต่ละ ปัจจัย (PEARL)
1) องค์ประกอบ A คือ ขนาดของปัญหา (Size of Problem) ในการให้คะแนนขนาดของ ปัญหาอาจใช้อัตราส่วนหรือร้อยละของประชากร ที่เกิดปัญหาบางครั้งอาจต้องนำมาคำนวณเป็น Incidence หรือ prevalence rate ต่อประชากร 100,000 เกณฑ์การให้คะแนนในองค์ประกอบ A มีค่าคะแนน 0 -10 คะแนน
3) องค์ประกอบ C คือ ประสิทธิภาพ ของการปฏิบัติงาน (Effectiveness of the Intervention) เป็นส่วนสำคัญยิ่งแต่วัดได้ยากมาก และวัดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ เกณฑ์การให้คะแนน ในองค์ประกอบ C มีค่าคะแนน 0 -10 คะแนน
วิธี 5 Dพิจารณาประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ
Disease พิจารณาจากจำนวนผู้ป่วยจาก โรคหรือปัญหาสุขภาพนั้นๆโดยมุ่งสนใจ ที่อัตราป่วย (Mobility rate) ในชุมชน
Discomfort พิจารณาถึงปัญหาสุขภาพที่ ก่อให้เกิดความไม่สุขสบายของคนใน ชุมชน
Disability ให้ความสนใจจำนวนที่เกิด ความพิการจากปัญหาหรือโรคนั้นๆ รวมถึงแนวโน้มของโรคที่เกิดขึ้นเป็น สาเหตุของความพิการหลงเหลือใน ชุมชนนั้นๆ
Dissatisfaction ให้ความสำคัญกับความ รู้สึกไม่พึงพอใจของประชาชนในชุมชน ต่อปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นและต้องการ แก้ไข
Death พิจารณาจากจำนวนคนที่เสีย ชีวิตจากโรคหรือปัญหานั้นๆ (Mortality rate) ในชุมชน
วิธีของ Standhope และ Lancaster
มีการตั้งเกณฑ์สำหรับการจัดลำดับความ สำคัญของปัญหาไว้
2) ความตั้งใจของชุมชน (motivation) ใน การจะแก้ไขปัญหานั้นๆ
3) ความสามารถของพยาบาลในการแก้ไข ปัญหา
1) การรับรู้ปัญหาของชุมชน
5) ความรุนแรงของปัญหาถ้าไม่ได้รับการแก้ไข
4) ผู้ชำนาญการในการแก้ปัญหานั้นๆ ที่มีอยู่
6) ความรวดเร็วของมติที่จะต้องแก้ไข ปัญหานั้น
บทบาทของชุมชนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว(ภานุพงษ์ ชูรัตน.2563)
การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ถือว่าเป็นปัญหาที่สังคมต้องร่วมกันดำเนินการแก้ไข ชุมชนเองก็เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะได้อธิบายถึงหน่วยงานต่าง ๆ ภายในชุมชนที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินการร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวของชุมชน โดยสรุปได้ ดังต่อไปนี้
*ผู้นำชุมชน
ผู้นำชุมชนถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่าอาสาสมัคร ในการร่วมแก้ไขปัญหา การใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งกลุ่มผู้นำชุมชนนั้น ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในส่วนของ การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวของผู้นำชุมชน จะมีลักษณะคล้ายกับการดำเนินการของ กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เพราะผู้นำชุมชนและอาสาสมัครมักจะดำเนินการร่วมกันเสมอ โดยเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรง ในครอบครัวขึ้นในเบื้องต้น จะประเมินสถานการณ์ว่าเกิดความรุนแรงในครอบครัวขึ้นในระดับที่รุนแรง หรือสามารถที่จะจบลงได้ ภายในครอบครัวหรือไม่ หากเป็นระดับที่มีความรุนแรง ผู้ใหญ่บ้านจะเข้าไปพูดคุยเจรจาไกล่เกลี่ยกับครอบครัวที่เกิดเหตุ ความรุนแรงขึ้นในทันที โดยใช้วิธีการสอบถามบุคคลภายในครอบครัวว่า สาเหตุเกิดจากอะไร ทำไมถึงได้มีการใช้ความรุนแรงขึ้น และพูดคุยผสานความเข้าใจของคนในครอบครัว ซึ่งภายหลังจากที่ได้มีการพูดคุยกันเรียบร้อยแล้วนั้น ครอบครัวที่ประสบปัญหา สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข อีกทั้งทางหมู่บ้านจะมีสมุดบันทึกประจำหมู่บ้าน ภายหลังจากเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหา เสร็จสิ้นแล้ว จะมีการท าบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงในสมุดบันทึก เป็นการสัญญาว่าจะไม่มีการใช้ความรุนแรงอีก
*การดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในชุมชน
การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ต้องอาศัยความร่วมมือกันของหน่วยงานภายในชุมชน การแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวของชุมชนที่จะประสบผลสำเร็จได้ โดยใช้การประสานงานกันระหว่างหน่วยงานภาคต่าง ๆ ภายในชุมชน ซึ่งมีขั้นตอนคือ เมื่อมีการพบเหตุการณ์การใช้ความรุนแรง ในครอบครัวขึ้น ประชาชนในพื้นที่จะเป็นผู้แจ้งไปยังภาคประชาสังคม คือ อาสาสมัครในพื้นที่ อีกทั้งอาสาสมัครในพื้นที่เอง ก็จะต้องประสานไปยังผู้นำชุมชน ให้เข้ามาร่วมในการดำเนินการจัดการกับปัญหาการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามที่ได้รับแจ้ง จากประชาชน จนกระทั่งสามารถนำครอบครัวที่ประสบเหตุกลับสู่สภาวะปกติได้ ทั้งนี้ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ที่ได้มีการดำเนินการแก้ไขโดยผู้นำชุมชน และกลุ่มอาสาสมัครแล้วนั้น จะมีการบันทึกและรวบรวมไปยังศูนย์พัฒนาครอบครัว ในชุมชน ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลตำบล เพื่อให้เทศบาลตำบลนำไปใช้กำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหา การใช้ความรุนแรงในครอบครัวต่อไป แต่หากกรณีปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้น อาสาสมัครและผู้นำชุมชน ไม่สามารถที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ จะส่งต่อให้กับทางเทศบาลตำบลเป็นผู้ดำเนินการต่อ โดยการส่งนักพัฒนาชุมชน เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้นำชุมชน และอาสาสมัครอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้หากเทศบาลตำบล ผู้นำชุมชน และอาสาสมัคร ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้อีกก็จะส่งเรื่องให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ศัักยภาพชุมชนในการจัดการปัญหายาเสพติด จังหวัดชัยภูมิ
แนวทางการปรับใช้ศักยภาพชุมชนในการจัดการปัญหายาเสพติดใน
ชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
ทำความเข้าใจกับปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนสำรวจ คัดกรองเพื่อบ่งชี้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ประชุมประชาคม วิเคราะห์ข้อมูลจำแนกเป็นกลุ่มต่าง ๆ
เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะกับแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ค้า ผู้เสพ/ผู้ติด กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติวิเคราะห์ศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อประเมินต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 2 ระดับ ระดับชาวบ้านทำให้เกิดความตระหนักในโทษและพิษภัยของยาเสพติด มุ่งมั่นมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาโดยการ
ประชุมประชาคม การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างเสริมความเข้าใจและปรับทัศนคติ ฯลฯระดับแกนนำสรรหาผู้น ทั้งทางการและผู้นำธรรมชาติ พัฒนาศักยภาพโดยฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน ฯลฯ
วางแผนงานของหมู่บ้าน/ชุมชน วางแผนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดและแก้ไขปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องที่เป็นเหตุของปัญหายาเสพติด โดยต้อง
สอดคล้องกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมและประยุกต์ใช้ต้นทุน ศักยภาพและภูมิปัญญาที่มีในชุมชนเอง ประสานแนวร่วมหาความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ลงมือแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมจากคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งร่วมรับรู้
ร่วมคิด ร่วมทำร่วมรับประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
ของหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้ นี้ก าหนดกติกาชุมชน/มาตรการทางสังคมร่วมกันในการป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติดในข้อตกลง กติกา ระเบียบ และ/หรือธรรมนูญของชุมชน
พัฒนาสู่ความยั่งยืนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน แก้ไขปัญหาพื้นฐาน
คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพจัดการองค์ความรู้และเชื่อมโยง
เครือข่าย ประเมินผล สรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมเชื่อมโยง
เครือข่ายภายนอกชุมชน เพื่อเพิ่มพลังความเข้มแข็งในการท างานพัฒนาแกนน ารุ่นต่อไป
การพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจน
ของชุมชนในประเทศไทย(ิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ.2563)
องค์ประกอบแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน ร่างออกมาเป็นรูปแบบฯ โดยมี 3 องค์ประกอบแนวทางและ 1 องค์ประกอบที่เป็นผลการแก้ปัญหา ดังนี้
1 แนวทางการดำเนินการของพฤติกรรมของบุคคลและครอบครัว มีตัวชี้วัด4 ตัว ได้แก่ การพัฒนาทัศนคติในการใช้จ่าย การจัดทำบัญชีครัวเรือน ระบบประกันความเสี่ยง/ภูมิคุ้มกัน และการเพิ่มความรู้ความสามารถให้ประชาชนทุกคน
2 แนวทางการดำเนินการของชุมชน มีตัวชี้วัด 5 ตัวได้แก่ การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและการเชื่อมโยงกับภายนอก การพัฒนาระบบสวัสดิการการช่วยเหลือกันในชุมชน การมีจิตสำนึกการดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และการพัฒนาแผนของชุมชนและการปฏิบัติตามตัวชี้วัดและประเมินผล
3 มาตรการของรัฐและท้องถิ่น มีตัวชี้วัด 5 ตัว ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การลงทุนทางสังคมให้กับชุมชน การมีระบบการโอนเงินให้คนจน และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
4 ผลการแก้ปัญหาความยากจน มีตัวชี้วัด 3 ตัว ได้แก่ สิ่งจำเป็นตาม
มาตรฐานการดำรงชีพ (จปฐ.) ได้รับการพัฒนา ความสามารถในการเข้าถึงบริการพื้นฐานทาง
เศรษฐกิจและสังคม และประชาชนมีรายได้มากกว่า 38,000 บาท ต่อคนต่อปี โดยสรุปเป็น
รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนในประเทศไทย