Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล…
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2564
หมวดที่ 1 บททั่วไป (ข้อ 4 คำจำกัดความ)
"การรักษาโรคเบื้องต้น" หมายความว่า กระบวนการประเมินภาวะสุขภาพทั้งการซักประวัติตรวจร่างกายวินิจฉัยแยกโรครักษาโรคและการบาดเจ็บป้องกันโรครวมถึงการประถมพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาความเจ็บป่วยบรรเทาความรุนแรงหรืออาการเพื่อให้ผู้ป่วยผลภาวะการเจ็บป่วยหรือภาวะวิกฤต
"การเจ็บป่วยฉุกเฉิน" หมายความว่า การได้รับบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยกระทันหันซึ่งเป็นภยันตรายต่อการ ดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญจำเป็นต้องได้รับการประเมินจัดการและบำบัดรักษาอย่างทันทีให้หมายความรวมถึงการปฐมพยาบาล การปฏิบัติและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต ตั้งแต่จุดเกิดเหตุหรือจุดแรกพบผู้ป่วยจนกระทั่งผู้ป่วยได้รับการรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อป้องกันการเสียชีวิต อาการรุนแรงขึ้นจากการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น
"การเจ็บป่วยวิกฤต" หมายความว่าการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
"การปฐมพยาบาล" หมายความว่าการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เจ็บป่วยโดยดูแลเพื่อบรรเทาอาการหรือป้องกันไม่ให้แย่ลงหรือเพื่อส่งเสริมการฟื้นหาย การได้รับการช่วยเหลือจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
"การให้ภูมิคุ้มกัน" หมายความว่ากระบวนการที่ทำให้ร่างกายสร้างหรือเกิดภูมิคุ้มกันหรือมีภูมิต้านทานต่อโรคที่ต้องการโดยการให้วัคซีน
หมวดที่ 2 การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ส่วนที่ 1 การพยาบาล (ข้อ 5-8)
ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
5.1 การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล การตรวจประเมินภาวะสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและการบาดเจ็บ ควบคุมการแพร่กระจายโรคปฐมพยาบาล บำบัดโรคเบื้องต้นและการฟื้นฟูสุขภาพทั้งทั่วไป ยุ่งยาก ซับซ้อนหรือฉุกเฉิน วิกฤต
5.2 การสอนการแนะนำการให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การวางแผนการดูแลต่อเนื่องการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลตนเองของประชาชน
5.3 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันควบคุมและแก้ปัญหาความเจ็บป่วยหรือวิกฤต
5.4 การปฎิบัติการพยาบาลตามแผนการพยาบาลหรือแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมการใช้เครื่องมือพิเศษการติดตามผลรวมทั้งประสานทีมสุขภาพในการจัดบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
5.5 การให้การพยาบาลที่บ้านและการส่งเสริมความสามารถของบุคคลครอบครัวและชุมชน เพื่อใช้ชีวิตอย่างปกติหรือสามารถจัดการวิถีชีวิตให้อยู่ กับความเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามศักยภาพ
ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะผู้ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาหรือเมื่อเป็นการรักษาโรคเบื้องต้นหรือการปฐมพยาบาล
6.1 ห้ามให้ยาหรือสารละลายในช่องรอบเยื่อบุไขสันหลังหรือช่องไขสันหลัง หรือสายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลางและช่องทางอื่นตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
6.2 ห้ามให้ยาหรือสารละลายหรือสารที่เกี่ยวข้องกับรังสีวินิจฉัยและยาอื่นตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
ยาที่ให้ทางช่อง Edidural space, Subarachnoid space & Spinal space คือ ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ Bupivacaine and lidocaine ในผู้คลอดหรือผู้ป่วยผ่าตัดต่ำกว่าเอว
ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องห้ามมิให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำดังต่อไปนี้
กลุ่มสารละลายทึบรังสี (Contrast media) ทุกชนิด
กลุ่มยาระงับความรู้สึกที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (Intravenous anesthetic agents) ได้แก่ Thiopental sodium, Ketamine hydrochloride, Propofol, Etomidate ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งที่ผ่านการอบรมวิสัญญีพยาบาลและปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดหอสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลตามกฏหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
กลุ่มยาเคมีบำบัดเว้นแต่ได้ปฎิบัติตามข้อสองอาจให้กลุ่มยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ ได้ในกรณีดังต่อไปนี้ คือ 1.ต้องผ่านการอบรมการให้ยาเคมีบำบัดตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนดและได้รับใบรับรองจากสภาการพยาบาล 2.ต้องเป็นกลุ่มยาเคมีบำบัดที่ได้มีการเตรียมหรือผสมเรียบร้อยแล้วจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3.ต้องให้กลุ่มยาเคมีบำบัดได้เฉพาะทางหลอดเลือดดำส่วนปลายหรือทางหลอดเลือดดำที่เปิดไว้แล้วโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดและการผดุงครรภ์ชั้นสอง ให้กระทำการพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนตามแผนการพยาบาลในกรณีที่เป็นปัญหายุ่งยากซับซ้อนเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือวิกฤตจะทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้จะต้องทำร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดและการผดุงครรภ์ชั้นสอง จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะการให้ยาทางปากและอย่าภายนอกตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาหรือเมื่อเป็นการปฐมพยาบาลและห้ามไม่ให้ยาในชนิดและช่องทางตามที่สภาการพยาบาลประกาศตามข้อ 6.1 และ 6.2
ส่วนที่ 2 การทำหัตถการ (ข้อ 9)
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยการทำหัตถการตามขอบเขตที่กำหนด ดังนี้
9.1 การทำแผล ตกแต่งบาดแผล เย็บแผลขนาดลึกไม่เกินชั้นเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังและไม่อยู่ในตำแหน่งซึ่งเป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายโดยใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่หรือการตัดไหมในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตราย การดูแลรักษาบาดแผลไหม้ แผลน้ำร้อนลวกหรือสารเคมีไม่เกินระดับสองของแผลไหม้
9.2 การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมการผ่าฝี การผ่าตัดตาปลา การล็อกออนใต้ผิวหนังในบริเวณที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกายโดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนังหรือฉีดยาชาเฉพาะที่ในการเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากอวัยวะ
9.3 การถอดเล็บการจี้โหดหรือจี้ตาปลาโดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนังหรือฉีดยาชาเฉพาะที่
9.4 การให้ออกซิเจน
9.5 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตสูญเสียสมดุลย์เสี่ยงต่อภาวะช็อก
9.6 การให้ยาทางปากผิวหนังหลอดเลือดดำหรือช่องทางอื่นๆตามแผนการรักษาหรือตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
9.7 การให้เลือดตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
9.8 การเปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยการดูดเสมหะหรือเคาะปอด
9.9 การช่วยฟื้นคืนชีพเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตของผู้ป่วย
9.10 การเช็ดตาล้างตาหยอดตาป้ายตาปิดตาหรือการล้างจมูก
9.11 การสาดใส่สายยางลงไปในกระเพาะอาหารเพื่อให้อาหารยาหรือล้างกระเพาะอาหารในรายที่กินสารพิษหรือตามแผนการรักษา
9.12 การสวนปัสสาวะหรือเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะในรายที่ไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
9.13 การส่วนทางทวารหนักในรายที่ไม่มีข้อบ่งชี้อันตราย
9.14 การดามใส่เฝือกชั่วคราว
9.15 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
9.16 การเจาะเก็บตัวอย่างจากหลอดเลือดดำส่วนปลายหรือปลายนิ้วสารคัดหลังเพื่อส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการตามข้อบังคับหรือประกาศสภาการพยาบาลประกาศกำหนด
9.17 หัตถการอื่นๆตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
หมวดที่ 3 การรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกัน
ข้อ 10 ให้กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรค เบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกัน
ข้อ 12 ต้องกระทำการรักษาโรคเบื้องต้นตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค
12.1 ตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาโรคตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
12.2 ให้ส่งผู้ป่วยรับการบำบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพตื่นเมื่อ ตรวจพบหรือพิจารณาแล้ว
ข้อ 14 ในการให้ภูมิคุ้มกันโรคต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ 11 ให้กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรค เบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกัน
ข้อ 13 ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาให้ใช้ยาได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลกำหนด
ข้อ 15 ต้องมีบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอาการและการเจ็บป่วยโรคการพยาบาลการให้การรักษาหรือการให้บริการวันเวลาในการให้บริการชื่อผู้ประกอบวิชาชีพตามความเป็นจริงตามแบบของสภาการพยาบาลเก็บบันทึกและรายงานเป็นหลักฐานเวลา 5ปี
11.1 สาขาที่ศึกษาเฉพาะทาง
11.2 ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรและได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
11.3 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งตามข้อ 11.1 และ 11.2 นอกจากปฏิบัติตามข้อ 9และข้อ 10 ได้แล้วสามารถทำการพยาบาลรักษาโรคเบื้องต้นและหัตถการในสาขาที่ผ่านการศึกษาฝึกอบรมตามข้อบังคับหรือประกาศที่สภาการพยาบาลกำหนด
หมวดที่ 4 การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ส่วนที่ 1 ระยะก่อนตั้งครรภ์และระยะตั้งครรภ์ (ข้อ 16-18)
ข้อ 16 ให้การผดุงครรภ์แกหญิงและครอบครัวเมื่อต้องการมีบุตรก่อนการตั้งครรภ์ระยะตั้งครรภ์ด้วยกระบวนการดังนี้
16.1 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพของหญิงและคู่สมรสเพื่อวางแผนการมีบุตร
16.2 ตรวจประเมินภาวะการตั้งครรภ์ด้วยเวชภัณฑ์ทดสอบการตั้งครรภ์
16.3 การรับฝากครรภ์
ข้อ 17 แนะนำและส่งต่อหญิงมีครรภ์ให้ได้รับการตรวจและการรักษากับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามเกณฑ์การฝากครรภ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 18 ส่งต่อหญิงมีครรภ์ส่งเสียงหรือการตรวจพบภาวะครรภ์เป็นพิษหรือถ้าของทารกในครรภ์ผิดปกติมีภาวะความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และการคลอดอื่นๆให้ได้รับการรักษาพยาบาลหรือส่งต่อไปสถานพยาบาลที่มีความพร้อมเพื่อความปลอดภัยของหญิงมีครรภ์และทารก
ส่วนที่ 2 ระยะคลอด (ข้อ 19-25)
ข้อ 19 กระทำการผดุงครรภ์ได้เฉพาะลายที่ตั้งครรภ์ปกติและคลอดอย่างปกติตลอดจนการดูแลมารดาและทารกแรกเกิด
ข้อ 20 ให้การผดุงครรภ์หญิงมีครรภ์ระยะก่อนคลอดดังนี้
20.1 ประเมินหญิงมีครรภ์
20.2 ประเมินทารกในครรภ์
20.3 ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ข้อ 21 การพยาบาลระยะคลอด
ข้อ 22 การช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทำคอดในรายที่มีการคลอดผิดปกติ
ข้อ 23 ห้ามกระทำการที่เกี่ยวกับการคลอดดังนี้
23.1 เจาะน้ำคร่ำ
23.2 ทำคลอดที่มีความผิดปกติ
23.3 การล้วงรก
23.4 กลับท่าของทารกในครรภ์
23.5 ใช้มือกดท้องขณะช่วยทำคลอด
23.6 เย็บซ่อมฝีเย็บที่มีการฉีกขาดระดับสาม
23.7 ทำแท้ง
ข้อ 24 กระทำการช่วยคลอดฉุกเฉินในรายที่มีการคลอดผิดปกติที่ไม่สามารถตรวจพบก่อนการทำคลอดไม่สามารถหาผู้ประกอบวิชาชีพทำการคลอดได้เห็นว่าถ้าละเลยไว้จะเป็นอันตรายก็ให้ทำคลอดในรายเช่นนั้นได้แต่ห้ามให้ใช้คีมสูงในการทำคอดหรือเครื่องดูดสุญญากาศหรือการผ่าตัดหรือให้ยารัดมดลูกก่อนคลอด
ข้อ 25 ในรายที่มีการตกเลือดหลังคลอดถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายต่อมารดาให้รักษาอาการตกเลือดเบื้องต้นตามความจำเป็นและส่งต่อทันที
ส่วนที่ 3 การพยาบาลมารดาและทารก ระยะหลังคลอด (ข้อ 26-30)
ข้อ 26 ให้การพยาบาลกับมารดาหลังคลอดอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะภาวะตกเลือดหลังคลอดหรืออาการอื่นที่อาจจะเกิดขึ้น
ข้อ 27 ใช้ยาทำลายและป้องกันการติดเชื้อสำหรับยอดตาหรือป้ายตาทารกแรกเกิดทันที
ข้อ 28 การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยการประเมินสัญญาณชีพความผิดปกติหรือความพิการที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและให้มารดาได้สัมผัสอบกอดและเริ่มให้ดูดนมจากมารดาภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด
ข้อ 29 บันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของหญิงตั้งครรภ์ การพยาบาลระยะตั้งครรภ์ การคลอด การพยาบาลหลังคลอดและการให้การบริการตามความเป็นจริงตามแบบของสภาการพยาบาลเก็บไว้เป็นหลักฐานเป็นระยะเวลา 5ปี
ข้อ 30 ให้กระทำการพยาบาลระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและการพยาบาลหลังคลอดในรายตั้งครรภ์และการคลอดปกติในสถานพยาบาลและการเยี่ยมบ้านตามแผนการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด
ส่วนที่ 4 การวางแผนครอบครัวและการคัดกรองมารดาและทารก (ข้อ 31-33)
ข้อ 31 สามารถกระทำการพยาบาลและการวางแผนครอบครัว ดังนี้
31.2 บริการวางแผนครอบครัวแบบใช้ยาหรืออุปกรณ์
31.1 ให้คำปรึกษากับผู้สมรสแบบวิธีธรรมชาติหรือคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติไม่ต้องใช้ยาหรืออุปกรณ์
ข้อ 32 ทำการคัดกรองมารดาทารก
32.1 ทำ Pap smear
32.2ประเมินภาวะสุขภาพความผิดปกติและความพิการของทารก
ข้อ 33 ให้บริการวางแผนครอบครัวแบบใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์
33.1 ยาเม็ดคุมกำเนิด
33.2 ถุงยางอนามัย
33.3 วงแหวนคุมกำเนิด
33.4 แผ่นแปะคุมกำเนิด
ส่วน 5 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่มารดา ทารกและเด็ก (ข้อ 34-35)
ข้อ 34 จะให้ภูมิคุ้มกันโรคต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ 35 ให้คำแนะนำเรื่องการเข้ารับภูมิคุ้มกันโรคและติดตามให้มารับภูมิคุ้มกันโรค
นางสาวณัฎฐนิชา รักยิ้ม ปี2ห้องA เลขที่ 16 รหัสนักศึกษา 63123301036