Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์, นางสาวศิริยากรณ์ สอนบาล รหัส 62113301072…
คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์
ฝากครรภ์ครั้งแรก วันที่ 29 มิถุนายน 2564
อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ (ไตรมาสที่1)
คำแนะนำ
แก้ไขหัวนมสั้น
ควรทำเมื่ออายุครรภ์25-35วิธี Hoffman’s Maneuver โดยใช้นิ้วหัวแม่มือของมือทั้งสองข้างแตะที่รอยต่อระหว่างหัวนมกับ areolar
ในด้านตรงกันข้ามของหัวนมข้างนั้น แล้วกดนิ้วทั้งสองข้างและรูดแยกห่างจากกันไปทางข้างๆและตรงๆ ควรทำซ้ำ ในทิศทางต่างกันโดยรอบ
2-3 ครั้ง หัวนมจะตั้งขึ้นมา จากนั้นจึงใช้นิ้วมือจับหัวนมที่ยื่นออกมา ดึงออกมาตรงๆเบาๆ สัก 2-3 ครั้ง
การดูแลเต้านม
การทำความสะอาดหัวนมไม่ควรใช้สบู่ฟอกเพราะหัวนมจะแห้งและแตกง่าย
ในขณะที่อาบน้ำาใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบต่างๆ ออกจากเต้านม หัวนม
คลื่นไส้อาเจียนตอนตื่นนอนตอนเช้า
ดื่มน้ำอุ่นๆทันทีที่ตื่นนอน ประมาณครึ่งแก้ว แล้วนอนพักก่อนประมาณ15 นาที ก่อนลุกไปทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อไม่ให้ท้องว่าง ซึ่งเป็นสาเหตุของการคลื่นไส้อาเจียนตอนตื่นนอน
2.รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย และกินมื้อละน้อยไม่อิ่มเกินไป แต่กินบ่อยครั้งขึ้น โดยแบ่งเป็นวันละ 5-6 มื้อ
เช่น มื้อหลัก 3 มื้อ ตามด้วยอาหารว่างอีก 2-3 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารทอด ที่มีไขมันมาก อาหารมีกลิ่นแรง หรือทำให้มีแก๊สในลำไส้
ควรแปรงฟันหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 1 ชั่วโมง เพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรรีบลงจากเตียงในตอนเช้า ควรค่อยๆลุกจากเตียง
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุน รสจัด และมีไขมันมาก หรือสิ่งที่กระตุ้นต่อการได้กลิ่น เช่น การสูบบุหรี่
6.แนะนำให้รักษาสุขภาพจิต หลีกเลี่ยงความเครียด คลายความวิตกกังวล
7.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเวลากลางคืน8-10ชั่วโมง เวลากลางวัน1-2ชั่วโมง
วิธีจัดการความเครียด
1.การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลดลง โดยในขณะฝึกจิตใจจะจดจ่ออยู่กับการการคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆทำให้ลดการคิดฟุ้งซ่าน และความวิตก กังวล จิตใจจะมีสมาธิมากขึ้น
2.การฝึกการหายใจ หรือการทำโยคะ เป็นเทคนิคในการบริหารกล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณท้องช่วยให้ร่างกายได้อากาศเข้าสู่ปอดมากขึ้น และช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อ
3.การทำสมาธิ เป็นการจัดการกับความเครียดที่ลึกซึ้งที่สุดเพราะจะทำให้จิตใจสงบ โดยใช้วิธีการนับลมหายใจ
4.การคลายเครียดจากใจสู่กาย เป็นการจัดการกับความเครียดโดยการให้ใจจดจ่อไปยังส่วนของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งกล้ามเนื้อในส่วนนั้นจะมีความรู้สึกหนัก จะทำให้ร่างกายรู้สึกว่าอบอุ่นขึ้น มีผลทำให้คลายเครียดได้
5.การนวดคลายเครียด การนวดจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทำให้รู้สึกปลอดโปร่งสบายตัว
ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 วันที่ 24 สิงหาคม 2564
อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ (ไตรมาสที่ 1)
คำแนะนำ
มารดามีสีหน้าวิตกกังวลบอกว่ารู้สึกท้องโตขึ้นเล็กน้อย
อธิบายให้มารดาทราบว่าการที่ท้องโตขึ้นเกิดจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยสัปดาห์ที่ 15-18
ทารกจะโตขึ้น วันละ 2-3 mm. จะทำให้มีอาการปวดหน่วงมดลูกเป็นบางครั้ง เนื่องจากมีการขยายของมดลูกเพื่อรองรับทารกในครรภ์
วิธีบรรเทาอาการปวดหน่วงท้องน้อย
ให้บรรเทาอาการนี้ด้วยการอาบน้ำอุ่น
2.ควรนอนนิ่ง ๆ หรือนั่งพัก รอจนอาการปวดท้องน้อยทุเลาลง
3.ขณะนั่ง ควรยกขาขึ้นให้สูง จะทำให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยลดอาการปวดท้องน้อยได้
ออกกำลังกายเบา ๆ หรือโยคะเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังแข็งแรงจะช่วยลดอาการปวดท้องน้อยได้
ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 วันที่ 18 ตุลาคม 2564
อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ 6 วัน
(ไตรมาสที่ 2)
คำแนะนำ
กระตุ้นเซล์ลประสาทการได้ยิน
เปิดเสียงดนตรีให้ทารกในครรภ์ฟัง ควรเลือกเพลงเย็นๆ เบาๆ หรือใช้การร้องเพลง การอ่านหนังสือ การเล่านิทาน
หรือการ ใช้ Infant phone ควรเปิดให้ทารกในครรภ์ฟังเป็นประจำสม่ำเสมอ วันละ10 - 15 นาที
การเสริมสร้างประสิทธิภาพระบบประสาทการเคลื่อนไหว
หญิงตั้งครรภ์ควรนั่งโยกตัวไปด้านหน้าและด้านหลัง หรือโยกไปทางซ้ายและขวา
ทำเสมอทุกวันในช่วงเวลาใดและนานเท่าไหร่ก็ได้
การดูแลเต้านม
การทำความสะอาดหัวนมไม่ควรใช้สบู่ฟอกเพราะหัวนมจะแห้งและแตกง่าย
ในขณะที่อาบน้ำาใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบต่างๆ ออกจากเต้านม หัวนม
เป็นตะคริวที่ขา
1.ขณะมีอาการให้เหยียดกล้ามเนื้อส่วนที่ปวดให้ตึงมากที่สุด ไม่ควรนวดทันที
สวมใส่รองเท้าส้นเตี้ย
หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า หรือสวมถุงน่องที่รัดแน่น
หลีกเลี่ยงการกดปลายเท้าลง และการนั่งไขว่ห้าง
ถ้ามีอาการปวดตะคริวมากจนเดินไม่ได้ ให้หญิงตั้งครรภ์เหยียดน่องและใช้มือกดที่หัวเข่าข้างที่เป็นตะคริวให้เหยียด
ใช้ความร้อนประคบบริเวณที่เป็นตะคริว
8.ให้ลดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น นม เนื้อ แต่ให้เพิ่มอาหารแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย
หลีกเลี่ยงการยืนนานๆหรือนั่งห้อยเท้านานๆ
หัวนมสั้น
วิธี Hoffman’s Maneuver ควรทำเมื่ออายุครรภ์25-35สัปดาห์ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือของมือทั้งสองข้างแตะที่รอยต่อระหว่างหัวนมกับ areolar
ในด้านตรงกันข้ามของหัวนมข้างนั้น แล้วกดนิ้วทั้งสองข้างและรูดแยกห่างจากกันไปทางข้างๆและตรงๆ ควรทำซ้ำ ในทิศทางต่างกันโดยรอบ 2-3 ครั้ง
หัวนมจะตั้งขึ้นมา จากนั้นจึงใช้นิ้วมือจับหัวนมที่ยื่นออกมา ดึงออกมาตรงๆเบาๆ สัก 2-3 ครั้ง
ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 วันที่ 7 ธันวาคม 2564
อายุครรภ์ 32 สัปดาห์
(ไตรมาสที่ 3)
คำแนะนำ
การกระตุ้นเซลล์ประสาทการมองเห็น
ใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้อง เปิดปิดไฟแบบกะพริบ ๆ เพื่อให้แสงเคลื่อนที่บนล่างอย่างช้าๆผ่านหน้าท้อง
ไปที่น้ำคร่ำ เล่นกับทารกด้วยวิธีนี้วันละ 5-10 ครั้งประมาณ 1-2 นาที
การเสริมสร้างประสิทธิภาพระบบประสาทการเคลื่อนไหว
หญิงตั้งครรภ์ควรนั่งโยกตัวไปด้านหน้าและด้านหลัง หรือโยกไปทางซ้ายและขวา
ทำเสมอทุกวันในช่วงเวลาใดและนานเท่าไหร่ก็ได้
บวมที่หลังเท้า
ยกขาสูงทุกครั้งที่ทำได้ เช่น การหาเก้าอี้หรือกล่องมาช่วยหนุนขาให้สูงขึ้น
เปลี่ยนท่าบ่อย ๆ เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลุกขึ้นเดินยืดเส้นสายทั้งขา
นอนให้เท้าสูงกว่าระดับหัวใจ อาจใช้หมอนรองเท้า หรือผ้าห่ม มาวางซ้อนไว้ที่ปลายเตียง
เลี่ยงอาหารรสเค็ม เพราะอาหารรสเค็มจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ และเกลือหรือโซเดียมนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมได้
ปัสสาวะบ่อย
อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุของการปัสสาวะบ่อย เนื่องจากเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ไม่ควรงดดื่ม แต่ควรดื่มน้ำวันล 8 แก้ว เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
และควรดื่มน้ำให้น้อยลงในช่วงเวลากลางคืนก่อนเข้านอน
ถ้าหญิงตั้งครรภ์มีอาการปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ควรบริหารร่างกายโดย การฝึกขมิบกล้ามเนื้อรอบช่องคลอด
แน่นอึดอัดท้อง หายใจไม่สะดวกเวลานอน
1.ไม่นอนหงายเป็นเวลานาน ใช้หมอนหนุนศีรษะและหลังส่วนบน หรือนอนตะแคง ซ้ายเพื่อไม่ให้หลอดเลือดดำบริเวณหลังถูกกด
บริหารร่างกายโดยยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะหายใจเข้าช้าๆ วางมือลงพร้อม หายใจออกช้าๆ หรือ กางแขนออกแล้วยกมือขึ้น
แตะกันเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้าๆ จากนั้นกางแขน ออกช้าๆ พร้อมหายใจออก จะท าให้ช่องออกยืดออกกว้างขึ้น
ปวดหลัง
1.แนะนำการออกกำลังกายในท่านั่งขัดสมาธิ
แนะนำให้ใช้กางเกงในแบบ Support หน้าท้อง
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก ขณะทำงานไม่ควรก้มหรือเอียงในท่าที่ทำให้ กล้ามเนื้อตึงตัวมากนานๆและควรให้นอนท่าตะแคง
ควรยืนหรือนั่งในท่าหลังตรง ไม่ควรก้มหยิบของในที่ต่ำ แนะนำให้ย่อตัวท่าลงนั่งของก่อนหยิบ
ใส่รองเท้าสันเตี้ยหรือสันสูง ไม่เกิน 1 นิ้ว
ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 วันที่ 4 มกราคม 2564
อายุครรภ์ 36 สัปดาห์
(ไตรมาสที่ 3)
คำแนะนำ
การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์
การลูบหน้าท้องและการสัมผัสด้วยการใช้น้ำอุ่นและน้ำเย็น ช่วยพัฒนาเซลประสาทรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว
สร้างความอบอุ่น และความผูกพัน ช่วยให้ลูกสงบ อารมณ์ดี ไม่ก้าวร้าว
บวมที่หลังเท้า
ยกขาสูงทุกครั้งที่ทำได้ เช่น การหาเก้าอี้หรือกล่องมาช่วยหนุนขาให้สูงขึ้น
เปลี่ยนท่าบ่อยๆ เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
นอนให้เท้าสูงกว่าระดับหัวใจ อาจใช้หมอนรองเท้า หรือผ้าห่ม มาวางซ้อนไว้ที่ปลายเตียง
เลี่ยงอาหารรสเค็ม เพราะอาหารรสเค็มจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ และเกลือหรือโซเดียมนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมได้
ปวดหน่วงท้องน้อยเวลาเดิน
1.แนะนำการออกกำลังกายในท่านั่งขัดสมาธิ
แนะนำให้ใช้กางเกงในแบบ Support หน้าท้อง
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก ขณะทำงานไม่ควรก้มหรือเอียงในท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวมากนานๆ และควรให้นอนท่าตะแคง
ควรยืนหรือนั่งในท่าหลังตรง ไม่ควรก้มหยิบของในที่ต่ำ แนะนำให้ย่อตัวท่าลงนั่งของก่อนหยิบ
ใส่รองเท้าสันเตี๋ยหรือสันสูง ไม่เกิน 1 นิ้ว
ปวดถ่วงในอุ้งเชิงกรานและเดินลำบาก
1.ระวังเรื่องลื่นหรือหกล้มเนื่องจากเคลื่อนไหวลำบาก
2.นั่งเอนตัวไปข้างหน้า อย่าให้น้ำหนักกดบริเวณอุ้งเชิงกรานมากเกินไป
หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินติดต่อกันนานๆ นิ่มๆ ระหว่างหัวเข่าทั้งสองข้างและใต้ท้อง
ไม่นอนบนที่นอนที่แข็งจนเกินไป ควรนอนตะแคงกอดหมอนข้าง หรือวางหมอน
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
มีอาการคลื่นไสอาเจียนมาก
ปวดศีรษะตาพร่ามมัว จุกแน่นลิ้นปี่
บวมบริเวณใบหน้า
ถ่ายปัสสาวะแสบขัดหรือปวดเวลาถ่ายสุด
เด็กดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้น
มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีตกขาวมากผิดปกติ
มีมูกหรือเลือดปนออกมาทางช่องคลอด
มีไข้
มีน้ำเดิน
นางสาวศิริยากรณ์ สอนบาล รหัส 62113301072 ชั้นปีที่3 รุ่นที่ 37