Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดเเละเงื่อนไข ในการประกอบวิชาชีพการพยาบ…
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดเเละเงื่อนไข ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลเเละการผดุงครรภ์
หมวดที่ 4 การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ส่วนที่ 2 การพยาบาลระยะคลอด
ข้อ 19 ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น หนึ่งจากการทำการผดุงครรภ์ได้แต่เฉพาะรายที่ตั้งครรภ์ปกติตลอดจนการดูแลมารดาและทารกแรกเกิด
ข้อ 20 ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ให้การผดุงครรภ์ ระยะก่อนคลอด
20.1 การประเมินหญิงมีครรภ์
20.2 การตรวจทางหน้าท้องเพื่อประเมินความพร้อมในการคลอด
20.3 การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ข้อ 21 การพยาบาลระยะคลอด:
21.1 การพยาบาลหญิงมีครรภ์ที่ได้รับการชักนำการคลอด
21.2 การทำคลอดในราย ปกติเตรียมทำคลอดเมื่อปากมดลูกเปิดสมบูรณ์แล้ว
21.3 การทำคลอดรกและเยื่อหุ้มทารก
21.4 การเย็บซ่อมแซมฝีเย็บในรายที่มีการฉีกขาดที่ไม่เกินระดับ 2
21.5 การประเมินการเสียเลือด
21.6 การประเมินสัญญาณชีพหลังคลอดทันทีและก่อนการย้ายออกจากห้องคลอด
21.6 การประเมินสัญญาณชีพหลังคลอดทันทีและก่อนการย้ายออกจากห้องคลอด
ข้อ 22 การช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทำคลอดในรายที่มีการคลอดผิดปกติ
ข้อ 23 ห้ามผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการที่เกี่ยวกับการคลอดดังนี้
23.1 การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
23.2 การทำคลอดที่มีภาวะผิดปกติ
23.4 การกลับท่าของทารกในครรภ์ทั้งภายในและภายนอกคัน
23.5 การใช้มือกดท้องในขณะช่วยทำคลอด
23.6 การเย็บซ่อมฝีเย็บที่มีการฉีกขาดระดับ 3
23.7 การทำแท้ง
ข้อ 24 ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้น 1 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 1 จะกระทำการช่วยคลอดฉุกเฉินในรายที่มีการคลอดผิดปกติที่ไม่สามารถตรวจพบก่อนการทำคลอดและไม่สามารถหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทำการคลอดได้ภายในเวลาอันสมควร
ข้อ 25 ในรายที่มีการตกเลือดหลังคลอดถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายต่อมารดาให้รักษาอาการตกเลือดเบื้องต้นตามความจำเป็นและส่งต่อทันที
ส่วนที่ 3 การพยาบาลมารดาและทารกระยะหลังคลอด
ข้อ 26 ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ให้การพยาบาลกับมารดาหลังคลอดอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะภาวะตกเลือดหลังคลอด
ข้อ27ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง จะต้องให้ยาทำลายและป้องกันการติดเชื้อสำหรับหยอดตาหรือป้ายตาทารกแรกเกิดทันที
ข้อ 28 การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยการประเมินสัญญาณชีพจรความผิดปกติและความพิการที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและให้มันได้สัมผัสโอบกอดเด็กทารกเริ่มให้ดูดนมจากมารดาภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด
ข้อ 29 จะต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของหญิงตั้งครรภ์การพยาบาลระยะตั้งครรภ์การคลอดการพยาบาลหลังคลอดและการให้การบริการตามความเป็นจริง
ข้อ 30 กระทำการพยาบาลระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและการพยาบาลหลังคลอดในรายตั้งครรภ์และการคลอดปกติในสถานพยาบาลและการเยี่ยมบ้านที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนตามแผนการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด
ส่วนที่ 1 การพยาบาลก่อนการตั้งครรภ์ระยะตั้งครรภ์
ข้อ 17 แนะนำและส่งต่อหญิงมีครรภ์ให้ได้รับการตรวจและการรักษากับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ข้อ๑๖ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้น 1 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 1 ให้การผดุงครรภ์แก่หญิงและครอบครัวเมื่อต้องการมีบุตรก่อนการตั้งครรภ์ระยะครรภ์ด้วยกระบวนการดังนี้
16.1 การตรวจประเมินภาวะสุขภาพของหญิงและคู่สมรสเพื่อวางแผนการมีบุตร
16.2 การตรวจประเมินภาวะการตั้งครรภ์ด้วยเวชภัณฑ์ทดสอบการตั้งครรภ์
16.3 การรับฝากครรภ์
16.3.1 การประเมินภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์ การสอนการปฏิบัติตนของบิดาและมารดาในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อการเตรียมการคลอด
16.3.2 การประเมินการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบันที่อาจมีผลกระทบกับการตั้งครรภ์การผ่าตัดอื่นที่นอกเหนือไปจากการผ่าตัดคลอดการใช้อาการแพ้ยาและอาหาร
16.3.3 การประเมินประวัติทางสูติกรรม จำนวนครั้งที่เคยตั้งครรภ์ผลการตั้งครรภ์แต่ละครั้งรายละเอียดการคลอดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอดครั้งก่อน
16.3.4 การตรวจร่างกายทั่วไปและการประเมินภาวะโภชนาการของหญิงมีครรภ
16.3.5 การตรวจครรภ์และทารกในครรภ์และตรวจเต้านมและหัวนม
16.3.6 ให้ยาเสริมธาตุเหล็กและโฟเลตแกหญิงมีครรภ์
16.3.7 การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักและวัคซีนอื่นตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 18 ส่งต่อหญิงมีครรภ์กลุ่มเสี่ยงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขหรือการตรวจพบภาวะครรภ์เป็นพิษให้ได้รับการรักษาพยาบาลจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ส่วนที่ 4 การวางแผนครอบครัวและการคัดกรองมารดาทารก
ข้อ 31 ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง สามารถกระทำการพยาบาลและการวางแผนครอบครัวดังนี้
31.1 การให้คำปรึกษากับคู่สมรสในการวางแผนครอบครัว
31.2 การให้บริการวางแผนครอบครัวแบบใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์
ยาเม็ดคุมกำเนิด
ยาฉีดคุมกำเนิด
ถุงยางอนามัย
วงเเหวนคุมกำเนิด
เเผ่นเเปะคุมกำเนิด
การฝังเเละการถอดยาคุมกำเนิด
อื่นๆตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ 32 ผู้ประกอบวิชาชีพผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง สามารถทำการคัดกรองมารดาทารก
ข้อ 33 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 2 ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้น 2 การให้บริการวางแผนครอบครัวแบบใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์
ยาเม็ดคุมกำเนิด
ถุงยางอนามัย
วงแหวนคุมกำเนิด
แผ่นแปะคุมกําเนิด
ส่วนที่ 5 การสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่มารดาทารกและเด็ก
ข้อ 34 ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง จะให้ภูมิคุ้มกันโรคต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ 35 ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสอง ให้คำแนะนำเรื่องการเข้ารับภูมิคุ้มกันโรคและติดตามให้มารับภูมิคุ้มกันโรค
หมวดที่ 1 บททั่วไป
การรักษาโรคเบื้องต้น
กระบวนการประเมินภาวะสุขภาพ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยแยกโรค ปฐมพยาบาล ให้ผู้ป่วยพ้นภาวะการเจ็บปวดหรือภาวะวิกฤต
การเจ็บป่วยวิกฤต
การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
หมายความว่าการเจ็บป่วยกะทันหัน จำเป็นต้องได้รับการประเมินจัดการและการบำบัดรักษาอย่างถูกวิธ
การปฐมพยาบาล
การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมการฟื้นหายการได้รับการช่วยเหลือจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การให้ภูมิคุ้มกัน
กระบวนการที่ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโดยการให้วัคซีน
หมวดที่ 3 การรักษาโรคเบื้องต้น
ข้อ 10 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ให้การประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค
ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
ข้อ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ต้องกระทำการรักษาโรคเบื้องต้นตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกัน
ตรวจวินิจฉัยและบำบัดโรค
ให้ส่งผู้ป่วยไปรับการบำบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
ข้อ 14 ในการให้ภูมิคุ้มกันโรคต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ 15 ต้องมีบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอาการและการเจ็บป่วยโรคการพยาบาลการให้การรักษาหรือการให้บริการวันเวลาในการให้บริการชื่อผู้ประกอบวิชาชีพตามความจริงเก็บบันทึกและแรงงานไว้เป็นหลักฐานเป็นเวลา 5 ปี
หมวดที่ 2 การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ส่วนที่ 1 การพยาบาล
ข้อที่ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลขั้น 1 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 1 กระทำการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
5.1 การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล ประเมินภาวะสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมการแพร่กระจายโรค การบำบัดเบื้องต้นและการฟื้นฟู
5.2 การสอน การแนะนำ ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
5.3 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันควบคุมแก้ปัญหาความเจ็บป่วยวิกฤต
5.4 การปฏิบัติการพยาบาลตามแบบแผนการพยาบาลผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมการใช้เครื่องมือการติดตามผลรวมถึงการประสานทีมสุขภาพ
5.5 การให้การพยาบาลที่บ้านและการส่งเสริมความสามารถของบุคคลสามารถจัดการวิถีชีวิตให้อยู่กับความเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามศักยภาพ
ข้อ 6 จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษา
6.1 ห้ามใช้ยาหรือสารละลายในช่องรอบเยื่อบุไขสันหลังหรือช่องไขสันหลังหรือสายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง
6.2 ห้ามให้ยาหรือสารละลายหรือสารที่เกี่ยวข้องกับรังสี
ห้ามมิให้ยาหรือสารละลายทางหลิดเลือดดำ
1.1 การให้สารทึบแสงชนิดกิน
พยาบาลซักประวัติเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และช่วยแพทย์ในการฉีดสารทึบรังสีรวมทั้งดูแลและเฝ้าระวังให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
1.2 กลุ่มยาระงับความรู้สึกที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
ไธโอเพ็นทัลโซเดียม
ดีตามินไฮโดรคลอไรด์
พรอโพฟอล
เอโทมีเตท
ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 1 หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 ที่ผ่านการอบรมวิสัญญีพยาบาลและการปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดของสถานพยาบาลที่มิใช่สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
1.3 กลุ่มยาเคมีบำบัดเว้นแต่ได้ปฏิบัติตามข้อ 2 อาจให้กลุ่มยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
2.1 ต้องผ่านการอบรมการให้ยาเคมีบำบัดตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนดและได้รับใบรับรองจากสภาการพยาบาล
2.2 ต้องเป็นกลุ่มยาเคมีบำบัดที่ได้มีการเตรียมหรือผสมเรียบร้อยแล้ว
2.3 ต้องให้กลุ่มยาเคมีบำบัดได้เฉพาะทางหลอดเลือดดำส่วนปลายหรือทางหลอดเลือดดำที่เปิดไว้แล้วโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 2 ให้กระทำการพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนตามแผนการพยาบาล
ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 2 จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะการให้ยาทางปากและยาภายนอก
ส่วนที่ 2 การทำหัตถการ
ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 1 การทำการพยาบาลโดยการทำหัตถการตามขอบเขตที่กำหนด
9.1 การทำแผลการตกแต่งบาดแผลการเย็บแผลขนาดลึกไม่เกินชั้นเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังและไม่อยู่ในตำแหน่งซึ่งเป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายโดยใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่หรือการตัดไหมในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตราย
9.2 การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมฝีตัดตาปลาการล็อคก้อนใต้ผิวหนังตำแหน่งที่แม่แต่ละรายโดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนังหรือฉีดยาชาเฉพาะที่
9.3 การถอดเล็บ การจี้หูดหรือตาปลา
9.4 การให้ออกซิเจน
9.5 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตภาวะสูญเสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะช็อค การปฐมพยาบาลหรือตามแบบแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
9.6 การให้ยาทางปากทางผิวหนังทางหลอดเลือดดำ
9.7 การให้เลือดตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
9.8 การเปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยการดูดเสมหะและการเคาะปอด
9.9 การช่วยฟื้นคืนชีพเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตของผู้ป่วย
9.10 การเช็ดตา ล้างตา หยอดตา ป้ายตา ปิดตาหรือการล้างจมูก
9.11 การสอดใส่สายยางลงในกระเพาะอาหารเพื่อให้อาหารให้ยาล้างกระเพาะตามแบบแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
9.12 การสวนปัสสาวะในรายที่ไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
9.13 การสวนทางทวารหนักในรายที่ไม่มีข้อบ่งชี้อันตราย
9.14 การดามหรือการใส่เฝือกชั่วคราว
9.15 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
9.17 หัตถการอื่นๆตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
9.16 การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลายหรือปลายนิ้วหรือสารคัดหลั่งเพื่อส่งทางห้องปฏิบัติการ