Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Multiple sclerosis, นางสาวนวลพรรณ จุลรัตน์ เลขที่ 41 รหัสนักศึกษา…
Multiple sclerosis
อาการและอาการแสดง
1.แขนขาอ่อนแรง เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด กล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ของขา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอัมพาตท่อนล่าง รีเฟล็กซ์ไวกว่าปกติ(hyperreflexia) มี Babinski’s sign ทั้ง 2 ข้าง
- พูดตะกุกตะกัก (dysarthria) ลูกตากระตุก (nystagmus) อาการสั่นเมื่อตั้งใจ (intention termor)
- การรับความรู้สึกผิดปกติรวมถึงอาการชาและอาการเสียวแปลบของแขนขา ลำตัวหรือใบหน้า อาจมีอาการเหมือนถูกไฟฟ้าช็อต เมื่อผู้ป่วยก้มหน้าเรียกว่า “Lhermitte sign” ซึ่งเกิดจากรอยโรคที่ส่วนหลังของกระดูกไขสันหลังระดับคอ
- กล้ามเนื้อใบหน้าส่วนครึ่งล่างอ่อนแรง มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ปวดประสาทใบหน้า(trigeminal neuralgia) อาการกลืนลำบาก พบได้ในผู้ป่วยระยะก้าวหน้าของโรคเนื่องจากมีรอยโรคในซีรีเบลลัม
- การเห็นผิดปกติ เห็นภาพซ้อน ภาพมัว หรือสายตาเสื่อมลง อาจเป็นได้ทั้งข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ลานสายตาผิดปกติ
- ระบบการขับถ่ายเสียหน้าที่ การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดปกติ เช่น การกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะกระปริบกระปรอย
- ความผิดปกติทางด้านอารมณ์และจิตใจที่พบบ่อยได้แก่ อาการซึมเศร้า ความจำเสื่อม มีอาการทางจิตประสาท
การพยาบาล
- ส่งเสริมและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายและฝึกการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ
- ช่วยเอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวต่อภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจากผลของโรค
- ป้องกันปัญหาและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ปัญหาที่พบบ่อย คือ ปัญหาการปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก
- ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้เต็มที่ ตลอดจนช่วยเหลือในด้านความสุขสบายต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหานอนไม่หลับ
- ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยมีปัญหาการมองเห็นภาพซ้อน ตากระตุก พยาบาลควรจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ยกไม้กั้นเตียงขึ้นเสมอ
สาเหตุ
- ภูมิคุ้มกัน เชื่อว่าอาจเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านเนื้อเยื่อตนเอง
- การอักเสบติดเชื้อจากไวรัสอย่างช้าๆ ซึ่งอาจติดเชื้อมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
- กรรมพันธุ์ ในผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีประวัติเป็นมัลติเพิลสเคอโรซิส พบว่ามีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไปถึง 12-15 เท่า
- สภาพแวดล้อมยังไม่ทราบปัจจัยที่แน่นอน
การวินิจฉัย
- จากอาการเฉพาะที่ทางคลินิคที่ปรากฎให้ชัดเจน
- การเจาะหลังพบ ระดับ grammar globulin ในน้ำไขสันหลังมีค่าสูง รวมทั้งโปรตีนและเม็ดเลือด
- CT scan จะพบการเปลี่ยนแปลง ฝ่อลีบ หรือเหี่ยว
- การตรวจคลื่นสมอง อาจพบความผิดปกติได้
การรักษา
- การให้ ACTH(adrenocorticotrophic hormone), Prednisolone, Dexamethasone เพื่อลดภาวะบวมของมัยอิลิน
- การรักษาทางยา ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก
- ให้ยาลดสภาพของอารมณ์ที่ไม่มั่นคง เช่น Diazepam
- การทำกายภาพบำบัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดินออกกำลังกายปกติ และการเดินออกกำลังกายในสระน้ำเพื่อการบำบัด
พยาธิสรีรวิทยา
มีการทำลายของ Myelin nerve axon sheaths และบางครั้ง axon ก็ถูกทำลายด้วย ทำให้การส่งกระแสประสาทขาดช่วงเป็นระยะๆ
-