Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
9.1. การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต
ทำให้ระดับ creatinine และ BUN ในเลือดต่ำลง
การดูดซึมกลับของโปรตีน ทำให้พบโปรตีนในปัสสาวะ
มีระบบการหมุนเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น
urin albumin 150 mg. ใน 24 ชม
มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคที่สำคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ
มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะด้านขวา
เกิดการคั่งของน้ำปัสสาวะในไต ท่อไต ค้างอยู่นาน
Progesterone hr. ร่วมกับกดทับของมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นขณะตั้งครรภ์
มีการย้อนกลับของเชื้อเข้าสู่ไต เกิดภาวะ pyelonephritis
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบขับถ่ายปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
ภาวะไตวาย (renal failure)
5.2 ไตวายเฉียบพลัน
5.1 ไตวายเรื้อรัง
ความหมาย
การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของไต ได้แก่ GFR (Glomerrular infiltration rate ) และ ERPF (Effective Renal Plasma Flow) เพิ่มขึ้น ส่วนการขับโปรตีนเพิ่มขึ้นน้อยมาก
ในระยะตั้งครรภ์ ureter มีการขยายใหญ่ขึ้นซึ่งอาจทำให้มีปัสสาวะค้างอยู่นาน และเป็นสาเหตุทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ทำให้รูเปิดของหลอดไตที่กระเพาะปัสสาวะเกิดการบิดงอ ขับปัสสาวะออกไม้สะดวก
ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
มดลูกขยายใหญ่ และกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
การเพิ่มขึ้นของ pregesterone ขณะตั้งครรภ์
จากการติดเชื้อ E.Coli ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของ ระบบทางเดินปัสสาวะ ขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะได้ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะ ตั้งครรภ์ของไต
อาการและอาการแสดง
Upper UTI
กรวยไตอักเสบ
เจ็บบริเวณชายโครง ปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต
พบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ำล้างเนื้อ
มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน
Lower UTI
ท่อปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลต่อทารก : ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ : การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจะกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ทำให้เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนด และ/หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
หากกดบริเวณ costovertebral angle จะปวดมาก
พบปัสสาวะขุ่น หรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ มีไข้ ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ urine culture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 105 dfu/ml
รายที่มีการติดเชื้อที่กรวยไต ควรตรวจ urine culture เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกทุกรายและตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ตรวจ urine analysis จะพบไข่ขาว เม็ดเลือดขาย
การซักประวัติ
ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่สุด หรือปัสสาวะเป็นเลือด
แนวทางการป้องกันและรักษา
การรักษา
2.2 รายที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อและปลอดภัยต่อมารดาและทารกมากที่สุด
2.3 รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายทางหลอด
เลือดดำ และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ พร้อมทั้งส่งตรวจ Urine culture
2.1 รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาทุกราย
การป้องกัน
1.2 แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
1.3 ทำการคัดกรองการติดเชื้อตั้งแต่ต้น ตรวจเพาะเชื้อปัสสาวะ (urine culture)
1.1 แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
การพยาบาล
ระยะคลอด
เน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ระยะหลังคลอด
2 เน้น การคุมกำเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควบคุมกำเนิดแบบถาวร
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ระยะตั้งครรภ์
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยแนะนำให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก และแผนการรักษาพยาบาล
ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว หรือ 2,000-3,000 มิลลิลิตร และไม่กลั้นปัสสาวะ
ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ดูแลประคับประคองจิตใจ ในรายที่มีอาการรุนแรง
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงได้แก่ มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อ
น้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ปอดบวม
กระดูกบาง
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และ
ปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์
สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทำให้เกิด
ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะ
กลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม
เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดง
ของการติดเชื้อ ได้แก่ มีผื่นคล้ายหัด เป็นไข้หวัด และ/หรือมีประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน
การตรวจร่างกาย อาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
ต่อมน้ำเหลืองโต บางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ
4. สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdropson a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผ่นหลัง
มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วยคล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่ บางคนอาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอ และหลังหูโตขึ้น จนคลำได้ก้อนกดเจ็บ บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผื่น ตอนเป็นตุ่มน้ำจะรู้สึกคันมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
: ภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ พบว่าความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะ
อายุครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอดจะยิ่งอันตราย
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส
โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทำให้ทารกเกิดความพิการก่อนกำเนิดได้
การติดเชื้อปริกำเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในราย
ที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน
พยาธิสรีรภาพ
: เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ใน
กรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย มีไข้มีผื่นตุ่มน้ำใสตามไรผม ตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็น
การตรวจหาการติดเชื้อของโรคสุกใสและงูสวัด
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ เช่น การพักผ่อนอย่างเพียงพอ และดื่มน้ำ
มาก ๆ หากมีไข้ ใช้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล
การรักษาแบบเจาะจง โดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา
24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การ
แพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง
ระยะคลอด
: เน้นหลัก Universal precaution ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันที
ระยะก่อนตั้งครรภ์
: แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์
โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์
ระยะหลังคลอด
กรณีพ้นระยะการติดต่อ หรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้ว สามารถแนะนำเกี่ยวกับการให้ นมมารดาได้
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที 6. เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด และมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด
1. การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้นร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทำงานของตับ
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
อาการและอาการแสดง
แต่เมื่อใดที่ตรวจพบน้ำดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทำงานผิดปกติซึ่งทำให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน
การป้องกันและการรักษา
การรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ
อาจพิจารณาให้ immune serum globulin(ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ หรือรายที่ต้องไปอยู่ในถิ่นที่มีการแพร่กระจายเชื้อ
ส่วนทารกที่คลอดจากสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอดควรได้รับ ISG ขนาด 0.5 mg แก่ทารกทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
- แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ -รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ -มาตรวจตามนัด -หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen
5. โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก : ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลง หากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่ มีการติดเชื้อซ้ำ หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์
การดำเนินของโรครุนแรงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
การประเมินและการการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย มีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ข้ออักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้น
Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์
การตรวจ Plasma specimen for culture หรือ quantitative real-time PCR
การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต ลักษณะของอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndrome คือ ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ
ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์
อาการในเด็กทารกมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน ถึงอาการที่รุนแรงทางสมองและระบบประสาท ได้แก่ hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiaemicrocephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineural hearing loss
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน : 1. วัคซีน 2. สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี 3. วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่
การรักษา
1.การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human
การให้ยาต้านไวรัส เช่น Valtrex, Ganciclovil, Valavir เป็นต้น
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ และให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
พยาธิสรีรภาพ :เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดา ในครรภ์ในระยะคลอด ในระยะให้นม การถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ เพศสัมพันธ์ทางหายใจ (โดย สัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส (โดยสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ) แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิด เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ น้ำอสุจิสารคัดหลั่งจากปากมดลูก น้ำนม น้ำตา อุจจาระและเลือด
การพยาบาล
ระยะคลอด : ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสำคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
ระยะตั้งครรภ์ :.แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมี
เพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
2. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
สาเหตุ :
ตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus) เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus ผ่าน
ทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
พยาธิสรีรภาพ
ระยะที่สอง : ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อ จะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น
ระยะที่สา : เป็นระยะที่ anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000
IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น
ระยะแรก :เมื่อได้รับเชื้อ Hepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับ
เชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกต
ระยะที่สี่ :เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทำให้เกิดการ
อักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว
50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่
จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น
แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมา มี
โอกาสที่จะติดเชื้อได้
สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นบวกจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสตรี
ตั้งครรภ์ไปสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 90
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับ
อักเสบจากไวรัสบ
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลือง ตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจการทำงานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody ของ
ไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
6. การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ :
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ : ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อ สมองและตาจะถูกทำลาย
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค เช่น แมว เป็นต้น
การตรวจร่างกาย มักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ: การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำ พบ IgA และ IgM ารตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ
Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก
การพยาบาล
ระยะคลอด :
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารกหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด การ
สังเกตอาการผิดปกติของทารก ต้องรีบพามาพบแพทย์
ระยะตั้งครรภ์ :
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
7. การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และ
บางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด อาการอื่น ๆ ที่พบ คือ อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวด
เมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก ปวดศีรษะ
ตาแดงและเยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามร่างกาย ซีด บวม ตามปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้
อาเจียน เลือดออกตามผิวหนัง และอาการทางระบบทางเดินหายใจ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา คือความผิดปกติเกี่ยวกับ
ระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติโดยการซักประวัติอาการของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย มีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือ
ปลายเท้า เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำลาย เทคนิคที่ใช้ในการ
ตรวจ
การตรวจพิเศษ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินเส้นรอบศีรษะทารกในครรภ์
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตาม
ตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
4 ด้าน คือ ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ระบบเฝ้าระวัง
ทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด และระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท
การรักษา
ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ห้าม
รับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAIDs)
การพยาบาล
ใช้ยากำจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง ปิดประตู
สวมเสื้อผ้าเนื้อหนา สีอ่อน ๆ ที่สามารถคลุมผิวหนังและร่างกายได้มิดชิด
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยการทำความสะอาด การเทน้ำทิ้ง หรือปิดฝาภาชนะที่
สามารถ บรรจุน้ำได
หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ หรืออาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรรีบ
ปรึกษาแพทย
8. โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจ
ติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูก เจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ โดยเฉพาะ lymphocyte ค่า C-reactive protein
สูงขึ้น เกล็ดเลือดต่ำ ค่าเอนไซม์ตับและ creatine phosphokinase สูง
3.2 การยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา viralnucleic acid ด้วยวิธี real-time polymerase
chain reaction (RT-PCR) จากสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลายจากจมูกและลำคอ เสมหะ เป็นต้น
3.3 ให้ส่งสิ่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่น เช่น influenza virus A and B, adenovirus,
respiratory syncytial virus,
3.4 การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ ระยะเวลาและประวัติการเดินทางไปใน
พื้นที่เสี่ยงและมีการแพร่ระบาด
การตรวจพิเศษ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์ปอดหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกพบมีปอดอักเสบ
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ภูมิต้านของร่างกายขณะตั้งครรภ์ลด
ต่ำลง
สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อ COVID-19
ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด
หรือตรวจพบภายใน 7 วันหลังคลอดได้
ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากร เน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPE การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในรพ.และไปกับรถพยาบาล
บุคลากรต้องใส่ full PPE
2.การดูแลรักษา
2.1 สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19ถ้ามีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
2.2 สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง ให้ยาต้านไวรัส
2.3 สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง
2.3.1 หากอาการแย่ลง เช่น หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น เจ็บหน้าอก หรือมีhypoxia เป็นต้น
ควรคิดถึงภาวะ pulmonary embolism
2.3.2 ไม่ให้ออกซิเจนทาง face mask หรือ face mask with bag เนื่องจากจะเกิดการ
แพร่กระจายของละอองฝอยได้ควรให้เป็น cannula แทน
2.3.3 On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
2.3.4 ให้ยาต้านไวรัสและ/หรือยาอื่น ๆ เช่น Lopinavir/Ritonavir, remdesivir
(nucleotide analog), chloroquine (antimalarial drug), favipiravir เป็นต้น
2.4 การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน หากไม่สามารถซักประวัติได้ ให้ทำการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วย
ที่เข้าข่ายการสืบสวนโรค และบุคลากรใส่ชุด full PPE
2.5 กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
การให้ corticosteroids สำหรับกระตุ้นปอดทารกในครรภ์ ควรปรึกษาอายรุแพทย
การยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
ไม่แนะนำให้ยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อรอให้ยา corticosteroids ครบ dose
ให้ magnesium sulfate สำหรับ neuroprotection ได
อาการและอาการแสดง
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้น
ไป หรือให้ประวัติว่ามีไขคือ
ไอ น้ามูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
รักษาระยะห่าง social distancing ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ด้วยการอยู่ห่างกัน 1-2 เมตร
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ หรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
9.2 การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตกขาวผิดปกติ
1.1 การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทาน
การรับประทานยาคุมกำเนิด(high dose)
การรับประทานยาปฏิชีวนะ
อาการและอาการแสดง
อาจมีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ (dyspareunia)
มีอาการปัสสาวะลำบาก และแสบขัดตอนสุด (external dysuria)
ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่อง
คลอดอักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ ตกขาวมีลักษณะสีขาวขุ่น
สาเหตุ
อ่อนนุ่มลง บอบบางมากขึ้น จึงมีโอกาสติดเชื้อราได้มากกว่าสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
ชื้อราที่ทำให้เกิดการตกขาวผิดปกติได้ถึงร้อยละ 80-90 เกิดจากเชื้อรากลุ่ม candida albicans ซึ่งมีระยะฟักตัว 1-4 วัน
เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนัง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นมากขึ้นเป็น 2 เท่า มีความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น
ผลกระทบต่อทารก : เชื้อราในช่องปาก (oral thrush)
1.2 การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ
อาการและอาการแสดง
หนองใน (gonorrhea)
ปากมดลูกอักเสบแบบมูกปนหนอง (mucopurulent cervicitis)
หูดหงอนไก่ (condyloma acuminata)
เชื้อราในช่องคลอด (vulvovaginal candidiasis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด
มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การเจ็บครรภ์
คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ : ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย
ความหมาย
เชื้อโปรโตซัวชื่อ trichomonas vaginalis ซึ่งเป็นพยาธิที่ไม่
ต้องการออกซิเจน มีรูปร่างค่อนข้างกลมป้อม มีหนวด 3-5 เส้น มีนิวเคลียสเป็นรูปวงรี
การติดต่อมีได้ 2 ทางคือทางเพศสัมพันธ์ และอวัยวะเพศสัมผัสเชื้อโดยตรง มีระยะฟักตัว 5-28 วัน
การประเมินและวินิจฉัย : การตรวจร่างกาย การตรวจภายในช่องคลอด พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว อาจพบจุดเลือดออก
เป็นหย่อมๆ ที่ผิวปากมดลูก
แนวทางการรักษา
หลังไตรมาสแรกไปแล้ว จะรักษาด้วย metronidazole โดยให้รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว
ให้การรักษาสามีไปด้วย โดยให้ metronidazole หรือ tinidazole รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว
หรือ ornidazole 1.5 กรัม ครั้งเดียว
ยาที่ใช้ได้ผลดีที่สุดต่อการติดเชื้อพยาธิ คือ metronidazole แต่ห้ามใช้ในไตรมาสแรก
การพยาบาล
ระยะคลอด : ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ แนะนำการเหน็บยา
ระยะหลังคลอด : แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ระยะตั้งครรภ์ :. แนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
1.3 การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก : ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียใน
หลอดลมทำให้มีภาวะหายใจลำบาก มีแบคทีเรียในเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ถ้าไม่ได้รักษา อาจทำให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้นอาจทำให้เกิดการแท้งติดเชื้อ (septic abortion)
อาจมีไข้ ปวดท้องมากและมีอาการแสดงของเยื่อบุมดลูกอักเสบ
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การตรวจทางช่องคลอดและการทำ pap smear จะพบเชื้อแบคทีเรีย ตรวจ
ความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอด จะได้ผลมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
ตรวจ Wet smear โดยการหยด 10% Potassium Hydroxide (KOH) การเพาะเชื้อ (culture) ตกขาวใน columbia agar
อาการและอาการแสดง :มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลำบาก แสบขัด เจ็บขณะ
ร่วมเพศ ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell)
แนวทางการรักษา
ให้ยา metronidazole 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรืออาจให้ metronidazole 500 มิลลิกรัม
ให้ampicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
การพยาบาล
ระยะคลอด : ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกต
ระยะหลังคลอด : สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ระยะตั้งครรภ์ :แนะนำให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
2. ซิฟิลิส (Syphilis)
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage) ขณะที่แผลกำลังจะหาย
ระยะแฝง (latent syphilis) ระยะนี้จะไม่มีอาการใด ๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยังดำเนินอยู่และ
สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ รวมถึงอาจมีการกำเริบของโรคได้
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage) หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน หรือประมาณ
3 สัปดาห์ จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis) ระยะนี้เชื้อจะเข้าไปทำลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency ถ้าเชื้อเข้าสู่ระบบ ประสาทจะเกิดผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ : ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส (neonatal syphilis) ทารก
พิการแต่กำเนิดโดยอาจพบความพิการของตับม้ามโต ทารกตัวบวมน้ำ ตัวเหลือง เยื่อบุส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกายเกิดการอักเสบ ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
พยาธิสรีรภาพ
: ภายหลังได้รับเชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก หรือทางเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย ประมาณ 10-14 วัน ร่างกายจะสร้าง antibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้นมา ขณะที่ร่างกายกำลังสร้างantibody เชื้อจะแบ่งตัวทำให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไปจะเกิดการระคายเคืองเกิดปฏิกิริยา lymphocyte และ plasma cell reaction มาล้อ
การประเมินและวินิจฉัย
ระยะที่เป็นแผลสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre
หากไม่มีแผลหรือผื่น การวินิจฉัยทำโดยการตรวจเลือด
การคัดกรองส่วนใหญ่นิยมใช้การตรวจด้วยวิธี VDRL
แนวทางการรักษา
การรักษาในระยะ primary, secondary และ early latent syphilis รักษาด้วย Benzathine
Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
การรักษาในระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4
ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
ให้ยา Penicillin G ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ และป้องกันการติดเชื้อของทารก
3. หนองใน (Gonorrhea)
อาการและอาการแสดง
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทำให้ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก อาจพบอาการกด
เจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland) หากมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบ
อาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ : ไม่มีอาการ มีบุตรยาก กรณีที่มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก : ทารกแรกเกิดที่คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ช่องคลอด หรือ
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกที่ตาของทารก ทำให้เกิดตาอักเสบ
พยาธิสรีรภาพ :
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheae เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก โดยจะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจำนวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue จากนั้นเชื้อNeiseria gonorrheae จะทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น บางรายอาจพบเลือดปนหนอง หากมี
การอักเสบมากขาหนีบจะบวม กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน หรือต่อมข้างท่อปัสสาวะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจขั้นต้นโดยการเก็บน้ำเหลืองหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบมาย้อมสีตรวจ gram stain smear หากมีการติดเชื้อจะพบ intracellular gram negative diplocooci ส่วนการตรวจเพื่อยืนยันผลทำได้โดยการเพาะเชื้อ (culture) หรือการตรวจ Nucleic acid test (NAT)
แนวทางการรักษา
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะ ceftriaxone ตามแผนการรักษาของ
กุมารแพทย
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5%erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
4. การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อทารก : ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะ
ตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ : การติดเชื้อครั้งแรกขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ส่วนการติดเชื้อซ้ำขณะตั้งครภร์มีผลกระทบค่อนข้างน้อย
การประเมินและการวินิจฉัย
จะพบตุ่มน้ำใส หากตุ่มน้ำแตกจะพบแผลอักเสบ แดง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณขอบแผลค่อนข้างแข็ง แต่ไม่ติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียงเหมือนกับแผลจากการติดเชื้อซิฟิลิส อาจพบต่อน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตแบบกดไม่เจ็บ
การเพาะเชื้อใน Hank’s medium
การทำให้ตุ่มน้ำแตกแล้วขูดบริเวณก้นแผลมาป้ายสไลด์แล้วย้อมสี (Tzanck’s test)
อาการและอาการแสดง
ก่อนจะตำสะเก็ด บางรายอาจมีอการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต ผู้ที่เคยติดเชื้อ HSV มักจะเกิดการติดเชื้อซ้ำเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ
จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์
แนวทางการรักษา
กรณีที่เคยติดเชื้อเริมมาก่อน แต่ขณะคลอดตรวจไม่พบรอยโรคหรือไม่มีอาการของการติด
เชื้อ ให้คลอดทางช่องคลอด และเฝ้าระวังทารก เพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน 5-7 วัน แต่หากมีอาการของระบบอื่นที่
รุนแรงร่วมด้วยอาจให้ Acyclovir 5 mg/kg ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
พยาธิสรีรภาพ
:ภายหลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ำใส เล็ก ๆจำนวนมาก เมื่อตุ่มน้ำแตก หนังกำพร้าจะหลุดพร้อมกับทำให้เกิดแผลตื้น ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล ขณะเดียวกันเชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวที่ปมประสาท และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
ระยะคลอด
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการทางช่องคลอด เช่น การตรวจทางช่องคลอด การเจาะถุงน้ำคร่ำ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษา
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะหลังคลอด
แนะนำมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว การ
กำจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนำการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการ
แพร่กระจายเชื้อเช่นเดียวกับระยะคลอด
4.ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา
ระยะตั้งครรภ
แนะนำให้นำสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
3.รับประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติโดยละเอียด ตรวจ
ร่างกาย หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อควรส่งพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์
5. หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ : หากเกิดรอยโรคใหญ่อาจขัดขวางช่องทางคลอด หรือทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด และ มีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลต่อทารก
ทารกอาจติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis
ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เสียงเปลี่ยน (voice change)
เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
การประเมินและการวินิจฉัย
ตรวจร่างกาย : จะพบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ
บริเวณปากช่องคลอด ในช่องคลอด หรือบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ควรวินิจฉัยแยกโรคออกจากซิฟิลิสและ genital cancer (CA vulva)
โดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือตรวจ Pap smear หรือตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธีPolymerase Chain Reaction (PCR) หรือการตรวจ DNA (DNA probe)
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่น ปากช่องคลอดหรือในช่องคลอด เป็นต้น การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
แนวทางการรักษา
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery หรือelectrocoagulation with curettage
ระยะคลอดหากหูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่ อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
สาเหตุ
: เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มี
ระยะฟักตัวนาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์
พยาธิสรีรภาพ:
ภายหลังการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาว จากนั้นเชื้อ HIV จะเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น แล้วใช้enzyme reverse transcriptase สร้าง viral DNA แทรกเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้ว
เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อไวรัส HIV ทำให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จำนวนมาก
อาการและอาการแสดง
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ระยะนี้ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่หากตรวจ
เลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อ HIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ อาจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน ท้องเดินเรื้อรัง หรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง น้ำหนักลดเกิน10% ของน้ำหนักตัว
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ติดเชื้อ HIV จนกระทั่งร่างกายเริ่มสร้าง
antibody กินเวลาประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ จากนั้นจะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น
ระยะป่วยเป็นเอดส์จะมีอาการดังต่อไปนี้ คือ ไข้ ผอม ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อมเต็มที่ ทำให้เชื้อโรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย ทำให้เกิดวัณโรคปอด ปอดอักเสบ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เป็นมะเร็ง
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด การติดเชื้อในทารกเกิดขึ้นขณะคลอดหรือใกล้คลอดถึงร้อยละ 65 เนื่องจากระหว่างคลอดทารกจะสัมผัสกับเลือดของมารดา น้ำคร่ำ และสารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดาทำให้ทารกมีโอกาสที่จะติดเชื้อ HIV จากมารดาได้สูงในระยะคลอด
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก โดยผ่านเซลล์ trophoblast และ
macrophages เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ HIV
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด ภายหลังคลอดทารกจะติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง
ของมารดา แต่ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากน้ำนมมารดา
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ : สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
ฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อทารก : มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย โดยการตรวจร่างกายทั่วไป ซึ่งหากเป็นระยะที่แสดงอาการอาจพบว่ามีไข้ ไอ
ต่อมน้ำเหลืองโต มีแผลในปาก มีฝ้าในปาก ติดเชื้อราในช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HIV เป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อ HIV
หลักการที่ใช ้ ได้แก่ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA)
การตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte และการตรวจวัดปริมาณ viral load
1.การตรวจเชื้อ HIV (HIV viral testing) เป็นการตรวจหาเชื้อ HIV หรือส่วนประกอบของเชื้อ
ได้แก่ ตรวจหาโปรตีนชนิด p24 antigen หรือสารพันธุกรรมของเชื้อ HIV
การตรวจพิเศษ การตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ตรวจเสมหะและเอกซเรย์ ในรายที่สงสัยจะเป็นวัณโรคปอด หรือปอดอักเสบแทรก เจาะหลังในรายที่สงสัยจะเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ส่องกล้องตรวจดูทางเดินอาหารในรายที่สงสัยจะมีการติดเชื้อรา เป็นต้น
การซักประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ประวัติการใช้ยา
เสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ รวมทั้งซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเอดส์
การป้องกันและการรักษา
การให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสระหว่างตั้งครรภ์ หาก CD4 < 200 cells/mm3 ป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส PCP โดยให้ยา TMP-SMX (80/400 mg) ให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 24 ชั่วโมง หรือdouble strength TMP-SMX (160/800 mg) 1 เม็ด ทุก 24 ชั่วโมง
พิจารณาระยะเวลาที่จะให้คลอด และวิธีการคลอด
การให้ยาต้านไวรัสแก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV เพื่อลดปริมาณของเชื้อ HIV ในเลือดให้ต่ำที่สุด
คือน้อยกว่า 50 copies/ml และเพิ่มปริมาณ CD4 ให้สูงที่สุด
หลังคลอดหลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่ม ergotamine เช่น methergine เป็นต้น กับมารดาที่ได้รับยา
ต้านไวรัสกบุ่ม protease inhibitors (PIs)
การพยาบาล
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
หากปริมาณ viral load ≤ 50 copies/mL แพทย์อาจพิจารณาเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อชักนำการ
คลอด ก่อนเจาะ ขณะเจาะ และหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิด และรายงานกุมารแพทย์เพื่อ
เตรียมช่วยเหลือทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน
ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะ
ติดเชื้อ ภาวะซีด ความผิดปกติทางโลหิตวิทยา และเม็ดเลือดขาวต่ำ
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการได้รัยยาต้านไวรัส ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาที่พบได้แก่
กดไขกระดูก ซีด มีความผิดปกติทางโลหิตวิทยา ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ประเมินระดับความวิตกกังวล ความกลัวของสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และเปิดโอกาสให้
สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก หรือความไม่สบายใจ
ระยะหลังคลอด
ให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอด เพื่อป้งอกันการแพร่กระจายเชื้อ
ดูแลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution