Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกหน้าแข้งหัก (Fracture Tibia) - Coggle Diagram
กระดูกหน้าแข้งหัก
(Fracture Tibia)
Pathology
กระดูกหักจะเกิดเมื่อมีพยาธิสภาพหรือมีแรงกระแทกบริเวณกระดูกทำให้มีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มกระดูกและเนื้อเยื่อกระดูกส่งผลให้มีภาวะเลือดออกบริเวณปลายกระดูกปริมาณของเลือดที่ออกส่งผลต่อความรุนแรงของโรคและอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้นอกจากนี้ยังพบว่าอวัยวะส่วนที่หักสั้นลงชิ้นกระดูกแยกจากกันคลำได้เสียงกรอบแกรบ (crepitus) ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของปลายชั้นกระดูกที่หัก (fragment) การเคลื่อนที่ของกระดูกส่วนที่หักจากตำแหน่งเดิมอาจทำลายอวัยวะใกล้เคียงให้เกิดการบาดเจ็บได้นอกจากนี้ยังพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณกระดูกที่หักจะเกร็งตัวบริเวณกระดูกหักเกิดอาการบวมซึ่งอาการบวมที่อยู่นานจะทำให้เกิดพังผืดโดยเฉพาะการหักของกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อซึ่งพังผืดที่เกิดขึ้นรอบข้อจะทำให้ข้อติดแข็ง
สาเหตุ
มีแรงกระทำต่อกระดูกโดยตรง
เป็นแรงกระทำต่อกระดูกหน้าแข้งเช่นอุบัติเหตุจักรยานยนต์ถูกกระสุนปืนถูกดีหรือถูกของแข็งกระแทกบริเวณหน้าแข้ง
มีแรงกระทำต่อกระดูกโดยอ้อม
เกิดจากแรงภายนอกที่มากระทำไม่ผ่านกระดูกหน้าแข้งโดยตรงเช่นการหกล้มในขณะที่เท้าติดอยู่กับที่หรือการตกจากที่สูง
Treatment
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด (non operative management)
พิจารณาการเคลื่อนของชิ้นกระดูกที่หักต้องไม่มากกว่า 50% มีการโก่งของชิ้นกระดูกไม่เกิน 10 องศา การสั้นของกระดูกที่หักไม่เกิน 5-7.5 มิลลิเมตร โดยจัดกระดูกให้เข้าที่ (closed reduction) และใช้อุปกรณ์ยึดตรึงการตามกระตูกเพื่อรอเวลาให้กระดูกติดและมีการบริหารเพื่อป้องกันภาวะข้อติด
การใส่เฝือกแบบ PTB (patellar tendon bearing cast)
การใช้เครื่องยืดกระดูก (functional bracing)
การใส่เฝือกขา (long leg cast)
การดึงถ่วงน้ำหนัก (traction)
การรักษาแบบผ่าตัด (surgery treatment)
พิจารณาจากการเคลื่อนหรือหลุดของชิ้นกระดูกรอยหักไม่มั่นคงมีอันตรายต่อเนื้อเยื่ออ่อนการหักของกระดูกที่มีการหักผ่านข้อกระดูกหักแบบมีแผลเปิดกระดูกติดช้าไม่ติดและติดผิดรูป
การผ่าตัดร้อยเหล็กผ่านโพรงกระดูก (intramedullary nailing)
ใช้ในการรักษากระดูกหักแบบขวางหรือแนวเฉียงในตำแหน่ง 1/3 ของกระดูกหน้าแข้ง
การผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่และยึดตรึงภายนอก (external fixation)
ใช้ในกระดูกหักชนิดมีแผลเปิดที่มีการหักของกระดูกไม่มั่นคง
การผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่และยึดตรึงภายใน (open reduction and internal fixation)
วัสดุที่ใช้ยึดตรึงกระดูกหน้าแข้ง เช่น แผ่นเหล็กและสกรูสำหรับดามกระดูก (plate and screw)