Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคขาดวิตามินบี ๑ (Vitamin B1 Deficiency), อ้างอิง กรมอนามัย.…
โรคขาดวิตามินบี ๑ (Vitamin B1 Deficiency)
อาการของโรควิตามินบี 1
อาการเริ่มแรก ได้แก่ เบื่ออาหาร ไม่สบายท้อง ท้องผูก กลืนลำบาก อ่อนเพลีย
อาการแสดงของระบบประสาท ได้แก่ความจำไม่ดีกระสับกระส่ายรบกวนการนอนหลับนั่งยองๆแล้วลุกขึ้นเองไม่ได้ปวดแสบปวดร้อน และชาที่ขา เป็นตะคริวและปวดที่น่องขากระดกข้อเท้าไม่ขึ้นและมีสภาพกล้ามเนื้อลีบในระยะต่อมา
อาการความดันโลหิตต่ำและอาการแสดงระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ มีอาการ
บวมน้ำ อาการหัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หรือหัวใจล้มเหลว
เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 1จะเกิดโรคเหน็บชา หรือเกิดโรคเบอริเบอริ (beriberi) ซึ่งมี 2 แบบคือ
แบบชาร่วมกับมีอาการบวมที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและแบบไม่มีอาการบวม
โรคเหน็บชาในเด็ก (infantile beriberi) พบบ่อยในทารกอายุ 2-3 เดือนมักเป็นในทารกที่ดื่มน้ำนมแม่ และแม่กินอาหารที่ขาดวิตามินบี 1ทารกมักถูกนำมาพบแพทย์ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันหน้าเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม หัวใจเต้นเร็ว หัวใจโต ร้องเสียงแหบหรือไม่มีเสียง
สาเหตุของการขาดวิตามินบี 1
เกิดจากความอดอยาก
และหรือการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน
การรับประทานอาหารที่มีสาร thiaminase ทำลายวิตามินบี1
สารที่ไม่ทนต่อความร้อน (heat labile) ซึ่งเป็นเอนไซม์ ที่เรียกว่า thiaminase พบได้ในอาหารจำพวกปลาน้ำจืด หอยลาย และปลาร้า
สารที่ทนต่อความร้อน (heat stable) สารประเภทนี้มีอยู่หลายชนิด พบได้ในพืชและผัก พวกใบชา ใบเมี่ยง สีเสียด นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในปลาน้ำจืดบางชนิด
อาหารที่มีซัลไฟต์สูงซึ่งมักใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร
(food additive)สารกลุ่มซัลไฟต์ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
เกลือซัลไฟด์ เกลือโซเดียมและโพแทสเซียมของไบซัลไฟด์
ภาวะมีการเพิ่ม metabolismะมีการสลายตัวของคาร์โบไฮเดรต
เพิ่มขึ้น ความต้องการวิตามินบี 1 จึงสูงขึ้น
การลดการดูดซึมวิตามินบี 1 จากลำไส้ หรือการสูญเสียวิตามินบี 1
การรับประทานชาและกาแฟก่อนอาหารประจำมีสาร Tannic acid และ Caffeic acid ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี1)
ผู้ที่ชอบดื่มสุรา อดอาหาร
การสูญเสียวิตามินบี1 ซึ่งร่างกายจะสูญเสีย
วิตามินบี1 ในผู้ป่วยที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ท้องร่วง ล้างไต
ภาวะทางสรีระวิทยา ได้แก่ เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงมีครรภ์ และหญิงกำลังให้นมบุตร การทำงานหนัก
การรักษา
ผู้ที่เกิดภาวะหัวใจวาย แพทย์จะใช้การฉีดวิตามินบี 1 จำนวน 50-100 มิลลิกรัมเข้าสู่เส้นเลือดดำ เพราะตอบสนองได้ดีกว่า กรณีที่มีอาการทางประสาท ต้องฉีดเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2 ครั้ง จนว่าอาการจะดีขึ้น และให้รับประทานวิตามินเสริมต่อเนื่องวันละ 20-30 มิลลิกรัม
ทำการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าผู้ป่วยมีภาวะขาดวิตามินบี 1 หรือเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากโรคทางกายชนิดอื่น สังเกตปริมาณของวิตามินที่ถูกขับออกมา บางรายอาจมีการตรวจหาค่าเอนไซม์จากเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte Transketolase Activity) ในช่วงก่อนและหลังให้วิตามิน หากพบว่าการขาดวิตามินแบบไม่รุนแรง แพทย์จะให้รับประทานวิตามินบี 1 ชนิดอาหารเสริม วันละ 20-30 มิลลิกรัม ติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์
การป้องกัน
ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายโดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินบี1สูงเช่น เนื้อหมูม่ติดมัน ปลาตับ ไต นม ไข่แดงซ้อมมือข้าวกล้องข้าวโอ๊ตข้าวบาร์เลย์จมูกข้าวสาลีรำข้าว เปลือกข้าว โฮลเกรน เมล็ดทีไม่ผ่านการขัดสีถั่วต่าง ๆผัก หน่อไม้ฝรั่งเห็ดแตงโม น้ำส้ม
หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่มีลูกอ่อนที่ต้องให้นมลูก และผู้ที่ต้องทำงานหนักอย่างเพียงพอ
สำหรับผู้ใหญ ่ปริมาณที่แนะนำให้รับประทาน
ต่อวันคือ1-1.5 มิลลิกรัม(1.0 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ชายและ0.9
มิลลิกรัมต่อวันในผู้หญิง)และ1.5-1.6 มิลลิกรัม
ลดการรับประทานอาหารที่มีสารทำลายหรือยับยั้ง
การดูดซึมวิตามินบี1 เช่น ชา กาแฟ ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้าปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ ปลาน้ำจืดดิบ
สีเสียดเป็นต้น
ในทารก
0-5 เดือนควรได้รับปริมาณไธอะมินน้ำนมแม่ 0.2มิลลิกรัมต่อวัน
เด็ก 1-3 ปีควรได้รับปริมาณไธอะมิน0.5มิลลิกรัมต่อวัน
เด็ก 4-5 ปีควรได้รับปริมาณไธอะมิน0.6มิลลิกรัมต่อวัน
เด็ก 6-8 ปีควรได้รับปริมาณไธอะมิน0.6มิลลิกรัมต่อวัน
การพยาบาล
ซักประวัติทางด้านโภชนาการ ซักประวัติโรคประจำ
ตัว โรคทางเมตาบอลิซึม และประเมินปริมาณการขาดวิตามินบี1
ประเมินควาามรู้ผู้ป่วยเรื่องการรับประทานอาหารและการรับประทานวิตามิน1
ดูแลให้ผู้ป่วยที่ขาดวิตมินบี1ได้รับวิตามินตามความต้องการของร่างกาย
ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารและคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานวิตมิน
ความหมาย
การที่ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมวิตามินไว้ได้เองเนื่องจากวิตมินจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางไตแล้วขับออกไปกับปัสสาวะ และมนุษย์ไม่สามารถสร้างวิตามินชนิดนี้ได้เอง ร่างกายจึงต้องต้องการวิตามินบี 1 จากอาหารที่รับประทานอย่างสม่ำเสมอและการเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสม
อ้างอิง
กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข. วิตามิน บี1 2558, สืบค้นเมื่อ 14 ก.ค. 2564].จาก
:
http://nutrition.anamai.moph.go.th/b1.htm
ณัฏฐ์ฑิพัฒณ์ จุฑาเจริญวงศ์. (2562). เด็กขาดวิตามินบี 1 เสี่ยงโรคหัวใจ. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2564,จาก
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B5-1-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88
นางสาวน้ำทิพย์ เต็งฉ้วน รหัส621001045