Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ unnamed (1), การขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ…
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
:silhouettes: ฉบับที่1 (2504-2509)
เน้นการขยายสถานบริการสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลและ สถานีอนามัย ให้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ มีการก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่ๆ เพิ่มขึ้นหลายแห่ง
แต่ยังไม่เน้นหนักในส่วนภูมิภาค
สำหรับงานด้านอนามัย ปราบปรามและควบคุมโรคติดต่อนั้นได้ดำเนินการ ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ยกเว้นในเรื่องการแก้ไขปัญหา การขาดแคลนแพทย์และพยาบาลในชนบทห่างไกล
:silhouettes: ฉบับที่ 2 (2510-2514)
เน้นการวางแผนกำลังคนและการ กระจายการพัฒนาสู่ชนบท
เร่งรัดการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข การปรับปรุงบริการสาธารณสุขโดยขยายขอบเขตการบริการ ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในชนบทห่างไกล มีการบังคับนักศึกษาแพทย์ให้ทำสัญญาปฏิบัติงาน ชดใช้ทุนเป็นครั้งแรก ในพ.ศ. 2508
:silhouettes: ฉบับที่ 3 (2515-2519)
เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น
กำหนดนโยบายประชากรเป็นครั้งแรก มุ่งเน้นการอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัวการ ควบคุมโรคติดต่อ การปรับปรุงและขยายการบริการรักษา และมีนโยบาย การให้บริการรักษาพยาบาลฟรี แก่ผู้รายได้น้อยเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2518 อัตราเพิ่มของประชากรลดลง 31.5 ต่อพัน เป็น 2671 ต่อพัน อัตราตายของประชากรลดลง 11.6 ต่อพัน เป็น 10.9 ต่อพัน แพทย์ใช้ทุนเริ่มปฎิบัติงานในพ.ศ. 2515 ทำให้มีภาพในชนบทมากกว่าขึ้น
:silhouettes: ฉบับที่ 4 (2520-2524)
เน้นการแก้ไขและลดช่องว่างของ ปัญหาสาธารณสุข การให้บริการสาธารณะสุขแบบผสมผสานแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
โดยเริ่ม ตั้งเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 โดยกลยุทธ์สาธารณสุขมูลฐานในพ.ศ. 2522 โรคติดต่อ บางอย่างลดลงจนไม่เป็นปัญหา ประชาชนในชนบทยังมีสุขภาพอนามัยไม่ดีเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดแคลนน้ำสะอาดในการบริโภคและมีพฤติกรรมที่เสี่ยง ต่อการเกิดโรคได้ สถานบริการเริ่มมีโรงพยาบาลประจำอำเภอ แทนศูนย์การแพทย์และอนามัย และมีโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2521 มีการอบรมผสส. / อสม. ครั้งแรกในพ.ศ. 2520
:silhouettes: ฉบับที่ 5 (2525-2529)
เน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก เน้นการพัฒนาชนบทอย่างผสมผสาน โดยชุมชนมีส่วนร่วมภายใต้ระบบของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) การให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการสาธารณสุขมูลฐาน การจัดตั้งโรงพยาบาลระดับอำเภอ ครบทุกอำเภอ ยกฐานะสำนักงานผดุงครรภ์ให้เป็นสถานีอนามัย และตั้งเป้าหมายทางสังคมระยะยาว (20 ปี) "สุขภาพดีถ้วนหน้า 2543 " จัดตั้ง โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอและครอบคลุมร้อยละ 85.2 และสถานีอนามัยและครอบคลุมร้อย ละ 97.9 การผลิตแพทย์และพยาบาล สามารถดำเนินการได้ร้อยละ 93.6 และร้อยละ 93.8 ของ เป้าหมายตามลำดับการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ถึงร้อยละ 126.9 ของ เป้าหมายการอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุขได้ถึงร้อยละ 119.6 ของเป้าหมาย จัดตั้งกองทุนยาได้ ถึงร้อยละ 232.2
:silhouettes: ฉบับที่ 6 (2530-2534)
ขยายสถานบริการสาธารณสุขให้ครบตามเป้าหมายการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการพัฒนาและการรณรงค์ควบคุมโรคเอดส์
เพื่อไม่ให้กระทบ ต่อความมั่นคงของชาติและเริ่มแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพ ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการตายของมารดา และทารกลดลง สถานบริการสาธารณสุขครอบคลุมครบจนถึงระดับอำเภอ / ตำบล ให้ความสำคัญกับปัญหาสาธารณสุขใหม่ คือ เอดส์ อุบัติเหตุ หัวใจ มะเร็ง สุขภาพจิต
:silhouettes: ฉบับที่ 7 (2535-2539)
เน้นการพัฒนาสถานีอนามัยให้เป็นจุดเชื่อมของงานสุขภาพดีถ้วนหน้า
และการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพมาตรฐาน เน้นความพยายามในการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพแก่คนไทยทุกคน เริ่มหันมาเน้นการพัฒนา คุณภาพบริการ และการแก้ปัญหาขาดแคลน บุคลากรที่ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ มีการกระจายครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง ทั้งในเมืองและชนบท แต่มีปัญหาการขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะแพทย์อย่างรุนแรง อัตราการเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 1.3 ใน พ.ศ. 2537 การสร้างหลักประกันสุขภาพได้ครอบคลุมร้อยละ 72 ของประชาชนทั้งหมดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะการให้วัคซีน ขั้นพื้นฐานในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีมีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 80 จึงทำให้อัตราการป่วยจากโรคดังกล่าวลดลง
:silhouettes: ฉบับที่ 8 (2540-2544)
เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เป็นวัตถุประสงค์หลัก
เน้นการพัฒนาศักยภาพของคน
ในด้านสุขภาพ
โดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพ เน้นเรื่องความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ ให้บริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนา อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ มีการปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ด้านสาธารณสุขให้สอดคล้องกับวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ
:silhouettes: ฉบับที่ 9 (2545-2549)
เน้นสุขภาพคือสุขภาพวะ พัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ
ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับสุขภาพ ระบบสุขภาพพอเพียง ภาพลักษณ์ของสังคมและระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ เริ่มกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนา สุขภาพ
วิสัยทัศน์
คนในสังคมไทยทุกคน มีหลักประกันที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพวะ และเข้าถึงบริการ สุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค รวมทั้งอยู่ในครอบครัวชุมชนและสังคมที่มี ความพอเพียงทางสุขภาพ มีศักยภาพมีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการ จัดการสุขภาพโดย สามารถใช้ประโยชน์ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทยได้อย่างรู้เท่าทัน
พันธกิจหลัก
โดยระดมพลังทางสังคมเพื่อสร้างสุขภาพ ( All for Health ) ระดมพลังทางสังคมเพื่อร่วมสร้างสุขภาพ โดยจะต้องทำให้เกิดสำนึก สุขภาพในสังคมทุกส่วนอย่างทั่วถึง และเปิดโอกาสให้ส่วนต่างๆใน
สังคมมีบทบาทและได้ใช้ศักยภาพของตนในการพัฒนาเพื่อบรรลุ สู่สังคมแห่งสุภาวะมี 10 เป้าหมาย
การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ
การสร้างความเสมอภาคทางด้านสุขภาพ
การปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างองค์กร / กลไกของรัฐในการพัฒนาสุขภาพ
การสนับสนุนการกระจายอ านาจด้านสุขภาพ
การพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพของประชาชน / ครอบครัว / ชุมชน / ประชาคม
การพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขระดับต้นทั้งเขตเมืองและชนบทโดยเชื่อมโยงกับระบบบริการขั้นสูง
การพัฒนาคุณภาพสถานบริการสาธารณสุข
การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของระบบสุขภาพโดยเน้นการแพทย์แผนไทย สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกทั้งจากภูมิปัญญาไทยและสากล
การสนับสนุนอุตสาหกรรมสุขภาพยุทธศาสตร์การพัฒนา
6 ยุทธศาสตร์
1)เร่งการสร้างสุขภาพเชิงรุก
2)การสร้างหลักประกันสุขภาพเข้าถึงบริการสุขภาพตัวหน้า
3)ปฏิรูประบบ โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการระบบสุขภาพ
4)การสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม เพื่อสุขภาพ
5)การบริหารจัดการความรู้และภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพ
6)การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและระบบสุขภาพใหม่
:silhouettes: ฉบับที่ 10 (2550-2554)
แนวคิดน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพและยึดหลักการสุขภาพดีเป็นผลจากสังคมดี
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง เพื่อสร้างให้สุขภาพดีบริการดีสังคมดีชีวิตมีความสุขอย่างพอเพียง
พันธกิจ
สร้างเอกภาพทางความคิดสร้างจิตรสำนึกสุขภาพใหม่ สร้างระบบจัดการที่โปร่งใส สร้างกลไกการมีส่วนร่วม ในการพัฒนา
6 ยุทธศาสตร์
1)การสร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการ จัดการระบบสุขภาพ
4)การสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดผลกระทบจากโรคและภัยคุกคามสุขภาพ
5)การสร้างทางเลือก สุขภาพที่หลากหลาย ผสมผสานภูมิปัญญาไทยและสากล
6)การสร้างระบบสุขภาพฐานความรู้ในการ จัดการความรู้
2)การสร้างวัฒนธรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่มีความสุขในสังคมแห่งสุขภาพวะ
3)การสร้างระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่ผู้รับบริการอุ่นใจผู้ให้บริการมีความสุข
:silhouettes: ฉบับที่ 11 (2555-2559)
หลักการมุ่งพัฒนาภายใต้หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สร้างเอกภาพ และธรรมาภิบาล ในการอภิบาลระบบสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการสร้าง กระบวนการ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมมุ่งเน้นการสร้าง หลักประกันและการจัดบริการที่ครอบคลุมเป็นธรรมเห็นคุณค่าของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่าง ผู้ให้และผู้รับบริการ
วิสัยทัศน์
ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีร่วมสร้างระบบสุขภาพพอเพียงเป็นธรรม นำสู่สังคมสุขภาพวะปลุก
:silhouettes: ฉบับที่ 12 (2560 – 2564)
อยู่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ เป็นแผนพัฒนาระยะ 5 ปี และเป็นกลไกเชื่อมต่อเปู้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ด้านสุขภาพ ให้สามารถนำสู่การปฏิบัติอย่าง เป็นรูปธรรม จึงได้ยึดหลักการ ดังนี้
(1)ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3)ยึดเปูาหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579 ควบคู่กับกรอบเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
(5)ประเด็นการปฏิรูป ประเทศด้านสาธารณสุข
(6)ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2
(7)กรอบแนวทางแผนระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข เพื่อวางฐานรากของระบบสุขภาพในระยะ 5 ปีให้เข้มแข็งเพื่อคนไทยมีสุขภาพแข็งแรง สามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
(4)การปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0
(2)ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เพื่อให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
จัดให้มีกลไกในการพัฒนาวิธีหรือกระบวนการยกร่างแผนพัฒนาสุขภาพฯ ฉบับต่อไป
จัดตั้งคณะกรรมการกำกับทิศทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เพื่อกำกับการดำเนินงาน ติดตามประเมินผลแผนฯ เป็นระยะและต่อเนื่อง
ผู้บริหารทุกระดับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญใช้เป็นกรอบแนวทางดำเนินงาน
สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาฯ 12 และนโยบายรัฐบาล เข้าสู่แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนระดับอื่น ๆ
ดำเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาคมสาธารณสุข องค์กร ภาคี สุขภาพ ตระหนักและเข้าใจในสาระสำคัญของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) และพร้อมเข้าร่วมในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ
เป้าประสงค์ (Goals)
มีกลไกการอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มีบุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแลประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม
เพิ่มขีดความสามารถของระบบบริการสุขภาพทุกระดับ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก เหมาะสม
คนไทยทุกกลุ่มวัยมีสุขภาวะที่ดีลดการตายก่อนวัยอันควร
ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย มี ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเจ็บปุวยและตายจากโรคที่ปูองกันได้ลดลง
พันธกิจ
เสริมสร้าง สนับสนุนและประสานให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ เอกชน นักวิชาการและภาคประชาสังคม ในการอภิบาลและพัฒนาระบบสุขภาพไทยให้เข้มแข็ง รองรับกับ บริบทของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
วิสัยทัศน์
ระบบสุขภาพไทยเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เพื่อคนไทยสุขภาพดีสร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ 4 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้้ำในระบบบริการสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการก าลังคนด้านสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 1: เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ
การขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) สู่การปฏิบัติ