Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคขาดวิตามินอี (Vitamin E Deficiency), นศภ. ทศพล จันทร์ดี. (2557).…
โรคขาดวิตามินอี (Vitamin
E Deficiency)
ความหมาย
วิตามินอี หรือ โทโคเฟอรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน จัดเป็นหนึ่งในวิตามินที่สำคัญที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ
วิตามินอีจะช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและการอุดตันของเส้นเลือด ลดการเกิดกระบวนการอักเสบในร่างกายที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ
มีหน้าที่เบื้องต้นเสมือนฟองน้ำที่คอยดูดซับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “สารต้านอนุมูลอิสระ”
สาเหตุและการติดต่อ
ส่วนใหญ่เกิดในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากได้วิตามินจากแม่มาไม่เพียงพอ
ส่วนผู้ใหญ่เกิดจากโรคของระบบย่อยอาหารผิดปกติ ทำให้ได้รับวิตามินน้อย
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
ผู้ที่ไม่สามารถสร้างน้ำดีได้ ทำให้ไม่สามารถดูดซึมไขมันได้
เป็นโรคทางพันธุกรรมมาตั้งแต่กำเนิด
อาการและอาการแสดง
อาการขาดวิตามินถ้าขาดมากทำให้เกิดโลหิตจาง
มีความผิดปกติของสมอง มือสั่น เดินเซ
เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีระดับวิตามินอีในเลือดต่ำ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกง่าย
เด็กจะมีอาการบวม ผิวหนังเป็นผื่นแดง เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติและแตกได้ง่าย
ผู้ที่ขาดวิตามินอีจะรู้สึกชา ส่วนอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากการขาดวิตามินอี ได้แก่ ความผิดปกติทางระบบประสาท ระบบเลือด ระบบสืบพันธุ์
การรักษา
ให้วิตามินตามปริมาณของผู้ป่วยที่ควรจะได้รับ
ผู้ใหญ่ : รับประทาน 40-50 มิลลิกรัมต่อวัน
เด็ก : ทารกแรกเกิดรับประทาน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว วันละครั้ง
เด็กอายุ 1 เดือน - 18 ปี : รับประทาน 2-10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ต่อวัน สูงสุด 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว
ผู้ป่วยที่สามารถดูดซึมวิตามินอีได้เอง ก็สามารถรับประทานวิตามินอีได้ตามปกติ แต่ในกรณที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูดซึมวิตามินอี จำเป็นต้องให้วิตามินอีโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การให้ Vitamin E รูปแบบ Emulsion (hosp) ใช้กับทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือเกิดก่อนกำหนดเท่านั้นหรือใช้ป้องกันและรักษาภาวะขาดวิตามินอีในทารกและเด็กที่มีปัญหาการย่อยไขมันหรือการดูดซึมไขมันบกพร่องเท่านั้น
การใช้ยา D-alphatocopherol (astocofersolan, Vitamin E TPGS) รูปแบบ Oral sol รักษาภาวะการขาดวิตามินอี เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการดูดซึมและการย่อยไข่มันบกพร่องในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรค chronic choelestasis ซึ่งเกิดจากพันธุกรรมหรือมาเป็นแต่เกิด ซึ่งมีอายุตั้งแต่แรกเกิด (new born) จนถึง 16 หรือ 18 ปี
การพยาบาล
ประเมินภาวะขาดวิตามินอีในร่างกายของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับใด
สอบถามอาการของผู้ป่วยเพิ่มเติมที่บ่งบอกถึงอาการขาดวิตามินอี เช่น มีอาการท้องอืด หรือ อาการเดินเซ เป็นต้น
สอบถามถึงโรคประจำตัวของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อน หรือ ป้องกันการทำปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างยาที่รักษาโรคประจำตัวกับวิตามินอี
แนะนำการรับประทานอาหารที่ช่วยส่งเสริมการสร้างวิตามินอี เช่น น้ำมันพืช ไขมัน เนื้อสัตว์ นม ปลา จมูกข้าว ไข่ขาว ผักใบเขียว ถั่ว
ให้วิตามินตามแผนการรักษาของแพทย์
การป้องกัน
ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีแหล่งขิงวิตามินอี เช่น น้ำมันพืช
ไขมัน เนื้อสัตว์ นม ปลา จมูกข้าว ไข่ขาว ผักใบเขี้ยว ถั่ว
ควรเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ป่วยที่เป็น renal failure อยู่ในภาวะขาดน้ำ
ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายขาดวิตามินอย่างหนัก อาจเสริมด้วยการรับ
ประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินอีเป็นส่วนประกอบ
นศภ. ทศพล จันทร์ดี. (2557). วิตามินอี (Vitamin E) ดี โทษ อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2564, จาก
https://pharmacy.mahidol.ac.th
.
siamhealth. (ม.ป.ป.). วิตามินอี. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2564, จาก
https://www.siamhealth.net
.
นางสาวอัซมาอ์ มานา รหัสนักศึกษา 621001110