Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพ - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพเเห่งชาติ พ.ศ.2552
หมวด ๔ การสร้างเสริมสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๒๐ มีการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและเป็นรูปธรรม
ข้อ ๒๑ มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างหลากหลายและเป็น รูปธรรม
ข้อ ๒๒ มีการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม อย่างสมดุลและเชื่อมโยง กันตามหลักการสร้างเสริมสุขภาพ
ข้อ ๒๓ มีชุมชนท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งด้านสุขภาพครอบคลุมร้อยละ ๘๐ ของตำบลทั่วประเทศ
มาตรการ
ข้อ ๒๔ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกระดับ และภาคส่วนต่างๆในสังคมพัฒนา นโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ที่ใช้องค์ความรู้เป็นฐานอย่าง เพียงพอ และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ เพื่อให้ได้นโยบายสาธารณะที่ดี
ข้อ ๒๕ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกระดับและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมร่วมกัน พัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การจัดการสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ ลานกีฬา ลานชุมชน สถานที่ทำงานสุขภาวะ ชุมชน-เมือง
ข้อ ๒๖ ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตและการสร้างเสริม สุขภาพ อันจะนำไปสู่การเพิ่มพูนขีดความสามารถในการดูแลตนเองและการพึ่งตนเองของบุคคล ครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ข้อ ๒๗ ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคล ครอบครัว ชุมชนและเครือข่าย ตลอดจนส่งเสริมการกระจายยา เวชภัณฑ์ความรู้และเทคโนโลยีที่จำเป็นอย่าง เพียงพอและทั่วถึง เพื่อการดูแลตนเองและการพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน
ข้อ ๒๘ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนและบุคคลในการ ดูแลและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อม เพื่อให้เอื้อต่อสุขภาพ
ข้อ ๒๙ ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ พัฒนามาตรการทางการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก เยาวชน สตรีผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อย โอกาสในสังคม โดยเน้นการจัดการในระดับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน กองทุนชุมชนและกิจกรรมชุมชนต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม
ข้อ ๓๐ ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ สนับสนุนการสร้างและการจัดการความรู้การวิจัย เทคโนโลยี ทุน และการตลาด เพื่อการพัฒนาการเกษตร การอุตสาหกรรม ธุรกิจและการบริการที่เอื้อต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ข้อ ๓๑ ให้รัฐจัดให้มีแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์แบบมีส่วนร่วม และสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนให้เป็นรูปธรรม
หลักการ
ข้อ ๑๙ การสร้างเสริมสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดสุขภาวะอย่างเป็นองค์รวมทั่วทั้งสังคม มุ่งไปสู่ การลดการเจ็บป่วย การพิการและการตายที่ไม่สมควร และการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ตามแนวทาง “การสร้างสุขภาพ นำการซ่อมสุขภาพ” โดยมีการดำเนินงานในทุกระดับอย่างครบวงจร ตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์มารดาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยยุทธศาสตร์อย่างน้อย ๕ ประการ
(๓) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้น กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม
(๔) การพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน
(๒) การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
(๕) การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ เป้าหมาย
(๑) การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ
หมวด ๓ การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
ข้อ ๑๗ การสร้างหลักประกันและความคุ้มครองดังกล่าว ให้มีการมีส่วนร่วมอย่างสมานฉันท์ เกื้อกูล เอื้ออาทร จากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ วิชาชีพ และ ประชาสังคม
ข้อ ๑๖ หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพจะต้องครอบคลุมประชาชนทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย โดยไม่มีการแบ่งแยกตามฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพทางกาย ความพิการ เพศ อายุถิ่นที่อยู่ เชื้อชาติสัญชาติศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อและอุดมการณ์ทางการเมือง
ข้อ ๑๘ หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ จะต้องครอบคลุมการจัดการกับปัจจัย ทั้งหมดที่กระทบต่อสุขภาพ ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะ หลักประกันการเข้าถึงบริการสาธารณสุขเท่านั้น และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม ทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งนโยบายสาธารณะต่างๆ
หมวด ๕ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๓๔ ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม สุขภาพในระดับพื้นที่ มาตรการ
ข้อ ๓๓ รัฐมีเอกภาพในการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที ่คุกคามสุขภาพที ่เชื ่อมโยงและ ประสานสอดคล้องกันทุกระดับ
มาตรการ
ข้อ ๓๖ ให้รัฐสนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจ พร้อมทั้งการเสริมสร้างขีดความสามารถของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งทางด้านโครงสร้าง กำลังคนและงบประมาณ ให้มีความพร้อมที่จะรองรับ ภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพที่กำหนดขึ้น
ข้อ ๓๘ ให้รัฐจัดให้มีกลไกทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิด จากนโยบายสาธารณะ โครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๕ ให้รัฐจัดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม สุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่เชื่อมโยงและประสานสอดคล้องกันทั้งระดับชาติระดับจังหวัด และระดับ ท้องถิ่นโดยการจัดตั้งกลไกที่ประกอบด้วยหน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคเอกชน องค์กรทางวิชาการและ ภาคประชาสังคมในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงการประสานเชื่อมโยงกับสากล และโดย เฉพาะประเทศเพื่อนบ้านด้วย
ข้อ ๓๙ ให้รัฐเร่งส่งเสริมและพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังของรัฐและภาคส่วนต่างๆ เพื่อ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามต่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ มีบูรณาการระหว่าง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกันทุกระดับ
ข้อ ๓๗ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนรองรับ แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพในระดับชาติและจังหวัด
ข้อ ๔๐ ให้รัฐนำมาตรการทางภาษีมาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม ภาษีการนำเข้าวัตถุหรือของเสียอันตราย
ข้อ ๔๑ ให้รัฐพัฒนากฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิตามข้อ ๓๒ และกฎหมายวิธีพิจารณาคดีหรือ ข้อพิพาทด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม รวมทั้งสร้างกลไกการไกล่เกลี่ยและเยียวยาชดเชยแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และหาข้อยุติในกรณีข้อพิพาท
ข้อ ๔๒ ให้รัฐส่งเสริมให้มีการรณรงค์ ให้ข้อมูลข่าวสาร และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ประชาชน อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้มีภูมิคุ้มกัน และสนับสนุนให้ชุมชน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อการดำเนินชีวิต และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ปลอดภัยจากโรคและปัจจัยที่ คุกคามสุขภาพอย่างรู้เท่าทัน
หลักการ
ข้อ ๓๒ บุคคลมีสิทธิดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ได้รับการ ป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพอย่างมีมาตรฐาน ทันต่อเหตุการณ์โดยให้ถือเป็นภาระ หน้าที่ร่วมกันของทุกภาคส่วน ทุกระดับ โดยการใช้มาตรการเชิงรุกที่มีธรรมาภิบาล บนพื้นฐานแห่ง ดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หมวด ๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
ข้อ ๑๓ การจัดการระบบสุขภาพจะต้องยึดหลักธรรมาภิบาล
ข้อ ๑๕ กรอบเวลาเป้าหมายของธรรมนูญฉบับนี้ เป็นภาพรวมของระบบสุขภาพที่มองยาวไปถึง ปีพ.ศ.๒๕๖๓
ข้อ ๑๒ ระบบสุขภาพจะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับ ประเทศ ยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการพึ่งตนเอง และยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อ ๑๔ ระบบสุขภาพจะต้องเกื้อหนุน ส่งเสริม และเอื้ออำนวยให้บรรลุเป้าหมายแห่งสิทธิและ หน้าที่ด้านสุขภาพทุกประการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ ระบบสุขภาพจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม ธรรมาภิบาล ความรู้และปัญญา
หมวด ๖ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๔๔ ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิได้รับการยอมรับ มีศักดิ์ศรีได้รับความไว้วางใจและเป็น ที่พึ่งหลักจากประชาชน และเชื่อมโยงกับระบบบริการสาธารณสุขระดับอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง เป็นระบบบริการที่มุ่งสนับสนุนให้ชุมชน และท้องถิ่นให้มีความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพและ พึ่งตนเองด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อ ๔๕ มีระบบบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ
มาตรการ
ข้อ ๔๖ ให้รัฐส่งเสริมการบริการสาธารณสุขปฐมภูมิที่จัดโดยแพทย์หรือบุคลากรด้านสาธารณสุข ประจำครอบครัว เพื่อให้บริการครอบคลุมประชากรอย่างทั่วถึงทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยสถาน บริการสาธารณสุขปฐมภูมิต้องสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและการทำงานเชิงรุกในการป้องกันและ แก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนร่วมกับท้องถิ่น ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมต่อกับระบบ บริการสาธารณสุขระดับอื่นๆ โดยมีระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
ข้อ ๔๗ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพในการรับผิดชอบ การจัด บริการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมภูมิรวมทั้งให้ถ่ายโอนสถานบริการสาธารณสุขแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการเตรียมการและมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้น เป็นตอน ด้วยความสมัครใจและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรด้านสาธารณสุข ชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ให้มุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ข้อ ๔๘ ให้รัฐส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับประชากรกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะและมีความจำกัดในเข้าถึงการบริการสาธารณสุข ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรีผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุผู้ด้อยโอกาสในสังคม อย่างเป็นระบบ ครบวงจร และมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๕๐ ให้รัฐส่งเสริมให้มีการรณรงค์ ให้ข้อมูลข่าวสาร และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ประชาชน และบุคลากรด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีบนพื้นฐานความเข้าใจถึงข้อจำกัด ต่างๆ ของการบริการสาธารณสุข และความเป็นไปได้อันอาจเป็นเหตุให้เกิดเหตุไม่พึงประสงค์ รวมถึง ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อลดเหตุไม่พึงประสงค์และการเยียวยาปัญหาร่วมกันอย่างสมานฉันท์
ข้อ ๔๙ ให้รัฐและทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาให้เกิดระบบบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจความเป็น มนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณสุข ในรูปแบบของอาสาสมัครและอื่นๆ และมุ่งเน้นบริการสาธารณสุขที่มุ่งประโยชน์สาธารณะ
ข้อ ๕๑ รัฐไม่พึงให้การสนับสนุนหรือสิทธิพิเศษทางภาษีและการลงทุนกับบริการสาธารณสุขที่มุ่ง เน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
ข้อ ๕๒ ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำกับดูแลทิศทางการพัฒนาระบบบริการ สาธารณสุข กลไกที่ทำหน้าที่ควบคุมกำกับและพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุข และกลไกที่ทำหน้าที่ ควบคุมกำกับและพัฒนาการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งกลไกอื่นที่มี ความจำเป็นด้วย
หลักการ
ข้อ ๔๓ ระบบบริการสาธารณสุขต้องเป็นระบบที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ ราคาไม่แพง มุ่งเน้นสนับสนุนและลงทุนในบริการและเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพสูง
หมวด ๗ การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
เป้าหมาย
ข้อ ๕๘ มีระบบและกลไกที่เข้มแข็ง มีฐานวิชาการที่เข้มแข็ง อิสระและเป็นกลางในการคัดกรอง ส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคด้านการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ที่มีประสิทธิผล ประหยัด คุ้มค่า และ ปลอดภัย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพของประชาชน
ข้อ ๕๖ มีรายการยาไทยและยาพัฒนาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างพอเพียง อย่างน้อย ร้อยละ ๑๐ ของรายการยาทั้งหมด และได้รับการส่งเสริมและใช้ในระบบบริการสาธารณสุข เพื่อการพึ่งตนเองด้านยาของประเทศ
ข้อ ๕๕ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้มีกลไกและทรัพยากรที่เพียงพอต่อการใช้และการพัฒนาอย่างเป็นระบบและเป็นองค์รวม ได้แก่ การสร้างและจัดการความรู้การสร้างและพัฒนาระบบสุขภาพ ระบบบริการสาธารณสุข บุคลากร ด้านสาธารณสุข ระบบยาไทยและยาพัฒนาจากสมุนไพร โดยมีระบบ กลไก และจัดงบประมาณ สนับสนุนอย่างเพียงพอสำหรับโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย และการคุ้มครองภูมิปัญญาไทย
ข้อ ๕๗ มีระบบและกลไกที่เข้มแข็งในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์ แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน ในระดับชุมชน ระดับประเทศและระดับภูมิภาค
ข้อ ๕๔ ชุมชนและชุมชนท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการ แพทย์ทางเลือกอื่นๆ เพื่อการดูแลสุขภาพของชุมชนและชุมชนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม
ข้อ ๕๙ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์ แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ อย่างพอเพียง เพื่อการสร้างและจัดการความรู้ อย่างเป็นระบบ ในการศึกษาวิจัย การผลิตและพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาตำรา
ข้อ ๖๐ มีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นต้นแบบที่มีมาตรฐาน ในการบริการ การศึกษา วิจัย และการฝึกอบรมบุคลากร อย่างน้อยภาคละ ๑ แห่ง
มาตรการ
ข้อ ๖๗ ให้รัฐส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ที่มีประสิทธิผล ประหยัด คุ้มค่า และปลอดภัย เพื่อการดูแลสุขภาพ
ข้อ ๖๒ ให้รัฐสร้างเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนและชุมชนท้องถิ่น ในการฟื้นฟู สืบสานและใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และการประยุกต์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบททางด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง ส่งเสริม สนับสนุน ให้ชุมชน ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในจัดการภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านสุขภาพในระดับชุมชน
ข้อ ๖๓ ให้รัฐสร้างเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สถาบันวิชาการในท้องถิ่นในการส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน โดยการสนับสนุนและเสริมสร้างสถานภาพของหมอพื้นบ้าน การพัฒนาศักยภาพหมอพื้นบ้านในชุมชน การสนับสนุนการสืบทอดสู่หมอพื้นบ้านรุ่นใหม่โดยส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของหมอพื้นบ้าน
ข้อ ๖๑ ให้คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ภายใต้คณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีในการ ขับเคลื่อน ผลักดันการดำเนินงาน ติดตาม กำกับ ประเมินผล แผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญา ไท สุขภาพวิถีไท และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อน ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยงาน ของรัฐที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการให้บรรลุผล
ข้อ ๖๔ ให้รัฐส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาการแพทย์แผนไทย ให้มีคุณภาพและ มาตรฐาน
ข้อ ๖๕ ให้รัฐ หน่วยงานของรัฐ และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยาไทย และยาพัฒนาจากสมุนไพร ในบัญชียาหลักแห่งชาติและในเภสัชตำรับของโรงพยาบาล
ข้อ ๖๖ ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสร้าง ระบบ และกลไกในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านให้มี ความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับประเทศและระดับภูมิภาค
หลักการ
ข้อ ๕๓ การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์ แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
หมวด ๑ ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
ข้อ ๗ ระบบสุขภาพจะต้องส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และต้องให้ความสำคัญ กับความเป็นธรรม และความเท่าเทียมกันในสังคม
ข้อ ๘ ระบบสุขภาพจะต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมภาวะของมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันอย่างสมดุล
ข้อ ๖ ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคงของ ประเทศ รัฐและทุกภาคส่วนในสังคมพึงให้ความสำคัญอย่างสูงแก่การพัฒนาระบบสุขภาพ
ข้อ ๕ ระบบสุขภาพ เป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีระบบการ บริการสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ
ข้อ ๔ สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ข้อ ๙ ระบบสุขภาพจะต้องให้ความสำคัญสูงกับการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู ่สุขภาวะ ที่ยั่งยืนและการพึ่งตนเองได้ของประชาชน
ข้อ ๑๐ ทุกภาคส่วนมีหน้าที่ร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจากแนวทางบริโภคนิยม ไปสู่แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้าน สุขภาพทางจิต ปัญญาและสังคม
หมวด ๘ การคุ้มครองผู้บริโภค
เป้าหมาย
ข้อ ๖๙ ผู้บริโภคต้องได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติตลอดจนได้รับการ พัฒนาศักยภาพให้สามารถปกป้องคุ้มครองตนเองและสังคม รวมถึงได้รับความรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ที่ครบถ้วน สมประโยชน์และทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภค ตลอดจนสามารถนำความรู้ และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาใช้ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและเท่าทัน
ข้อ ๗๐ เด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาสในสังคมต้องได้รับความ คุ้มครองเป็นพิเศษตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติและต้องได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะชีวิต รู้เท่าทันสื่อ มีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรการ
ข้อ ๗๑ ให้รัฐดำเนินการในการคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อ ๗๓ ให้สถาบันวิชาการ สภาวิชาชีพและคณะกรรมการวิชาชีพด้านสาธารณสุข ร่วมกันสร้าง และพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็งและเป็นธรรม ร่วมตรวจสอบ ประเมิน และพัฒนากลไก การคุ้มครองผู้บริโภค โดยส่งเสริมให้มีตัวแทนผู้บริโภคจำนวนพอเพียงร่วมเป็นกรรมการในองค์กร
ข้อ ๗๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดนโยบาย และจัดให้มีแผน งบประมาณ ข้อบัญญัติ ท้องถิ่น และกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคเข้าไปเป็นภารกิจหลัก ของแผน โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค
ข้อ ๗๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจและสื่อมวลชนต่างๆ ดำเนินงานโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภคและมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสำคัญ มุ่งสนับสนุนการบริโภคที่ยั่งยืนโดยร่วมกันกำหนดและ ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ หลักเกณฑ์จริยธรรม ว่าด้วยการ ประกอบธุรกิจและการส่งเสริมการขาย และควบคุมกันเองให้เป็นไปตามข้อกำหนด รวมทั้งป้องกันและ เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยเร็ว
ข้อ ๗๕ ในการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายที่เกี่ยวพันมาจากหนังสือสัญญา ระหว่างประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
หลักการ
ข้อ ๖๘ ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ต้องเป็นไปเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของ ผู้บริโภค
หมวด ๑๐ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๘๙ ประชาชนได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกต้องและเพียงพอ
ข้อ ๙๐ มีระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ดีมีเครือข่ายครอบคลุมทั้งประเทศ และเชื่อม ประสานกับนานาชาติได้
มาตรการ
ข้อ ๙๒ ให้รัฐจัดให้มีกลไกตรวจสอบกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการเตือนภัย การ คุ้มครองประชาชนและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน
ข้อ ๙๓ ให้รัฐสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและ ภาคส่วนอื่นๆ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการเผยแพร่และการสื่อสาร ตลอดจนสนับสนุนการใช้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่เหมาะสม
ข้อ ๙๑ ให้รัฐพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และกลไกการนำข้อมูลด้านสุขภาพไปสู่การ ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
ข้อ ๙๔ ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการพัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสารด้านสุขภาพ บริหารนโยบาย ติดตามดูแลและประเมินผลนโยบายอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายองค์กรข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
หลักการ
ข้อ ๘๘ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารด้านสุขภาพ ต้องมีความเป็นกลาง เป็นธรรม และรอบด้าน ผ่านช่องทางที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้และนำไปประกอบการตัดสินใจ ปรับพฤติกรรมสุขภาพ อันจะนำไปสู่สุขภาวะ โดยเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ข้อมูล ข่าวสารด้านสุขภาพได้โดยง่าย เป้าหมาย
หมวด ๑๒ การเงินการคลังด้านสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๑๐๕ การเงินการคลังรวมหมู่สำหรับการบริการสาธารณสุขได้รับการพัฒนาเพื่อบรรลุ เป้าหมายในปี๒๕๖๓
มาตรการ
ข้อ ๑๐๘ ให้รัฐเพิ่มการลงทุนในการบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ การสร้าง เสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ โดยให้มีอัตราการเพิ่มไม่ต่ำกว่า อัตราเพิ่มด้านการรักษาพยาบาล สนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ข้อ ๑๐๙ ให้รัฐพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังสำหรับการจัดบริการ สาธารณสุขให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้โดยใช้การเงินการคลังรวมหมู่แบบปลายปิดที่กำหนดวงเงิน ค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้เช่น การจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัวหรือ ตามรายโรค และมีการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมแก่ผู้ให้บริการ
ข้อ ๑๐๗ ให้รัฐขยายระบบการเงินการคลังรวมหมู่ให้ครอบคลุมประชาชนที่มีภูมิลำเนาถาวร ในประเทศ รวมถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าว เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างถ้วนหน้า รวมทั้ง จำกัดการใช้มาตรการร่วมจ่ายเมื่อใช้บริการสาธารณสุขเฉพาะ
ข้อ ๑๑๐ ให้รัฐส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสุขภาพของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและ ควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้มีระบบการติดตาม ประเมินผลและการตรวจสอบเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล
ข้อ ๑๐๖ ให้รัฐจัดระบบการเงินการคลังรวมหมู่มาจากแหล่งเงินซึ่งมีการจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเพิ่มการจัดเก็บภาษีจากการบริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ เชิงธุรกิจและ สินค้าที่ทำลายสุขภาพ และจัดระบบการเงินการคลังรวมหมู่ภาคบังคับให้เป็นไปตามหลักการไม่มุ่งเน้น ผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
ข้อ ๑๑๑ ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่วางแผนการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศ ในระยะยาว ติดตามประเมินผล รวมถึงสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการเงินการคลัง ด้านสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง โดยให้มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ
หลักการ
ข้อ ๑๐๔ การเงินการคลังด้านสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ระบบการเงินการคลังรวมหมู่ภาคบังคับต้องไม่ดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
หมวด ๙ การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ ๗๙ รัฐและภาคส่วนต่างๆ มีการลงทุนและมีบทบาทในการสร้าง การจัดการ การสื่อสาร และ การเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดระบบสุขภาพที่อยู่บนฐานความรู้อย่างกว้างขวางและ ครอบคลุมในทุกระดับ
มาตรการ
ข้อ ๘๒ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีความสามารถสร้าง จัดการความรู้ด้านสุขภาพ และสนับสนุนให้เกิดช่องทางการเรียนรู้และการสื่อสารที่เหมาะสมและหลากหลายในชุมชน
ข้อ ๘๓ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน มีส่วนร่วมลงทุนในการ สร้าง การจัดการ การสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ
ข้อ ๘๑ ให้รัฐส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการสร้างความรู้ด้านสุขภาพ และ จัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสมให้แก่กลุ่มองค์กรในพื้นที่ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการสร้าง การจัดการ การสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้
ข้อ ๘๗ ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการสร้าง การจัดการ การสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอในการพัฒนาระบบสุขภาพ บริหารนโยบาย ติดตามดูแลและประเมินผลนโยบายอย่างต่อเนื่อง
ข้อ ๘๐ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านสุขภาพ ทั้งการวิจัยระบบสุขภาพและ การวิจัยในสาขาต่างๆ ที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ในสัดส่วนใกล้เคียงกับงบประมาณการวิจัยด้านสุขภาพ ที่เป็นมาตรฐานสากล
ข้อ ๘๔ ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนและการพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายการสร้าง การจัดการ การสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพในทุกระดับ
ข้อ ๘๖ ให้รัฐกำหนดมาตรการและจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สื่อมวลชนทุกรูปแบบจัดสรรเวลา หรือพื้นที่ เพื่อการสื่อสารเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้องอย่างพอเพียง โดยมีความเหมาะสมทั้งด้าน ช่วงเวลา คุณภาพเนื้อหา และการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
ข้อ ๘๕ ให้รัฐสร้างระบบตรวจสอบ กลั่นกรอง และติดตามการสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้าน สุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
หลักการ
ข้อ ๗๖ ความรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพ รัฐมีหน้าที่ สนับสนุนการสร้างความรู้บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเกิด การเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
ข้อ ๗๗ นโยบายสาธารณะต้องพัฒนามาจากฐานความรู้ที่รอบด้าน เพียงพอ เชื่อถือได้โดย สามารถเปิดเผยที่มาของแหล่งความรู้นั้น
ข้อ ๗๘ การสร้าง การจัดการ การสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ ต้องคำนึงถึง ประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก สอดคล้องกับปัญหาสำคัญของประเทศ เพื่อมุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
หมวด ๑๑ การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
เป้าหมาย
ข้อ ๙๘ บุคลากรด้านสาธารณสุขมีการทำงาน เพื่อให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในลักษณะที่เป็นสหวิชาชีพ รวมทั้งทำงานเชื่อมโยงสอดประสานอย่างใกล้ชิดกับกำลังคนด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มีบทบาท ในระบบสุขภาพด้วย
ข้อ ๙๗ บุคลากรด้านสาธารณสุข รวมทั้งกำลังคนด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มีบทบาทในระบบสุขภาพ มีคุณภาพ มีจริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม มีปริมาณที่เพียงพอ และมีการกระจายอย่างทั่วถึงและ เป็นธรรม
มาตรการ
ข้อ ๑๐๑ ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรวิชาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ส่งเสริมสนับสนุนการให้ บุคลากรด้านสาธารณสุขแสดงบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนกำลังคนด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มีบทบาท ในระบบสุขภาพ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่และมีส่วนร่วมในการทำงานขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ร่วมกันอย่างจริงจัง
ข้อ ๑๐๒ ให้รัฐสนับสนุนให้บุคลากรด้านสาธารณสุขสาขาต่างๆ ให้เป็นวิชาชีพที่มีกฎหมาย เฉพาะรองรับ และสนับสนุนให้มีกระบวนการทำงานเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรวิชาชีพ และเปิดช่องทาง ให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อ ๑๐๐ ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนระบบการผลิตที่ให้บุคคลจากชุมชน ท้องถิ่น ต่างๆ ให้มีโอกาสเข้าศึกษาและพัฒนาเพื่อกลับไปปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นของตนเองโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด
ข้อ ๑๐๓ ให้รัฐสนับสนุนให้มีการพัฒนากลไกระดับพื้นที่เพื่อทำหน้าที่ประสานการวางแผน บุคลากรด้านสาธารณสุข และกำลังคนด้านสุขภาพอื่นๆ ในระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดการกระจายและ การใช้กำลังคนด้านสุขภาพในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเป็นธรรม
ข้อ ๙๙ ให้คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติภายใต้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ดูแลทิศทาง นโยบาย และยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติรวมทั้งประสาน กำกับ ติดตาม ประเมินผลระบบกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพที่พึงประสงค์
หลักการ
ข้อ ๙๕ บุคลากรด้านสาธารณสุข รวมทั้งกำลังคนด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มีบทบาทในระบบสุขภาพ เป็นกำลังคนที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้เกิดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์
ข้อ ๙๖ รัฐมีหน้าที่กำหนดนโยบาย การวางแผน การผลิต การพัฒนา และการกระจายบุคลากร สาธารณสุขอย่างเป็นธรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ โดยควบคุมมิให้เป็นไปตามกลไก ตลาดเป็นหลัก
พระราชบัญญัติสุขภาพเเห่งชาติ พ.ศ.2550
หมวด ๔ สมัชชาสุขภาพ
มาตรา 43 ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดวัน เวลาและสถานที่ในการประชุม
มาตรา 44 ผู้ใดประสงค์จะเข้ารวมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งใดให้สมัครลงทะเบียน
มาตรา 42 ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจํานวนตามที่ คสช. กําหนด
มาตรา 41 ให้ คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา 45 ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีขอเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติหรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพให้เสนอต่อ คสช.
มาตรา 40 การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่
หมวด ๕ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา 46 ให้ คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา 47 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ต้องสอดคล้อง กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอย่างน้อยต้องมีสาระ สําคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(6) การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
(7) การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการ แพทยทางเลือกอื่น ๆ
(5) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
(8) การคุ้มครองผู้บริโภค
(9) การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
(4) การสร้างเสริมสุขภาพ
10) การเผยแพร่ข้อมูลขาวสารด้านสุขภาพ
(3) การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
(11) การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
(2) คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
(12) การเงินการคลังด้านสุขภาพ
(1) ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
มาตรา 48 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบาย และ ยุทธศาสตรด้านสุขภาพตามมาตรา 25(2) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความ เห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยว ของที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามอํานาจหน้าที่ของตน
หมวด ๖ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๕๒ ให้ถือว่าข้าราชการที่โอนมาตามมาตรา ๕0 ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณีให้ถือว่าลูกจ้างที่ โอนมาตามมาตรา ๕ ออกจากงานเพราะทางราชการยุบเลิกตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
มาตรา ๕๓ ให้นำความในมาตรา ๕- มาใช้บังคับกับการออกจากราชการหรือออกจากงานของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่สำนักงานรับเข้าทำงานด้วยโคยอนุโลม แต่ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้นต้องแสดงความจำนงเป็นหนังสือสมัครเข้าทำงานต่อสำนักงานภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๕๑ ให้นำบรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติมาใช้บังกับกับการปฏิบัติงานของสำนักงานโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีข้อบังดับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕0 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๕ ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๑๘ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังกับ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑6 (๒) ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการตามมาตรา ๒ ให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
(๑) ประธานกรรมการสรรหาตามมาตรา ๑๙ (*) ให้แต่งตั้งจากผู้เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตราที่ 49 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่ เกี่ยวข้องกับการให้ บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจใน การรับหรือไมรับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิด ข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งหรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังตอไปนี้
(๑) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
(๒) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการ แล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่่าจะทําให้ บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผยแต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอํานาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้าน สุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมี ความจําเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิตต้องไดรับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่างสอดคล้องแลเหมาะสม สุขภาพของเด็ก คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสในสังคมและกลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีความจําเพาะในเรื่องสุขภาพต้องได้ รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสมด้วย
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ บุคคลมีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการดําเนินการให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 9 จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงาน
วิจัย ต้องได้รับความยินยอมก่อน
มาตรา 10 เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบ
มาตรา 11 บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการ ประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบ ด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา 12 มีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับ บริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระ สุดท้ายของชีวิตตน
หมวด ๒ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา 19 ให้มีคณะกรรมการสรรหา คณะหนึ่ง ซึ่ง คสช. แต่งตั้ง
มาตรา 20 ให้คณะกรรมการสรรหา มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดวิธีการ หลักเกณฑ์และระยะเวลา ตลอดจนดําเนินการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 15 17 และ 18 (2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการสรรหามอบหมาย
มาตรา 18 การเลือกกรรมการตามมาตรา 13 (10)
มาตรา 21 กรรมการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี
มาตรา 17 การเลือกกรรมการตามมาตรา 13 (9) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด
มาตรา 25 หน้าที่และอํานาจของ คสช.
มาตรา 16 การเลือก กรรมการตามมาตรา 13 (8) ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ กําหนด
มาตรา 22 นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการ ตามมาตรา 13 (6) จะพ้นจากตําแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 15 (1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี
มาตรา 15 การดําเนินการเลือกกรรมการตามมาตรา 13
มาตรา 23 นอกจากการพ้นจากตําแหน่ง ตามวาระกรรมการ ตามมาตรา 13 (6) (7) (8) (9) และ (10) จะพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ ตาย ลาออก ถูกจําคุก คสช. มีมติไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ให้ออกเพราะบกพร่อง ต่อหน้าที่ มีความประพฤติ เสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
มาตรา 14 กรรมการตามมาตรา 13 (6) (7) (8) (9) และ (10) ต้องมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(3) ไม่เป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ หน้าที่
(4) ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(5) ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยถึงไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐ
(1) มีสัญชาติไทย
(6) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ
มาตรา 24 หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุม คสช. และการปฏิบัติงานของ คสช.
มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “คสช.”
หมวด ๓ สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา 30 การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงาน
มาตรา 36 ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสํานักงานในกิจการของสํานักงานที่เกี่ยวของกับบุคคลภายนอก
มาตรา 29 บรรดารายได้ของสํานักงานตามมาตรา 28 ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนําส่งกระทรวงการคลัง
มาตรา 37 ให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร
มาตรา 28 รายได้ของสํานักงาน
มาตรา 38 การดํารงตําแหน่งการพ้นจากตําแหน่งการประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามระเบียบที่ คสช.กําหนด
มาตรา 27 ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจ
มาตรา 39 หน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการบริหาร
มาตรา 26 ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็น ส่วนราชการ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2559
หมวด 6 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
หมวด 7 การสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
หมวด 5 การส่งเสริมสนับสนุนและ การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผน ไทยการแพทย์พื้นบ้านและการ แพทย์ทางเลือกอื่น
หมวด 8 การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสาร ด้านสุขภาพ
หมวด 4 การบริการสาธารณสุขและ
การสร้างหลักประกันคุณภาพ
หมวด 9 การสร้างและพัฒนาสังคมด้านสุขภาพ
หมวด 3 การป้องกันและควบคุมโรค
และปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
หมวด 10 การเงินการคลังด้านสุขภาพ
หมวด 2 การเสริมสร้างสุขภาพ
หมวด 11 สุขภาพจิต
หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
หมวด 12 สุขภาพทางปัญญา
หมวด 14 ธรรมนูญสุขภาพพื้นท
หมวด 13 การอภิบาลระบบสุขภาพ