Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะปอดติดเชื้อหรือปอดอักเสบ, นางสาวภัชชา กฤษณะชัยยะ เลขที่46 …
ภาวะปอดติดเชื้อหรือปอดอักเสบ
ความหมาย
เนื้อปอดอักเสบ มีนำ้เข้าไปอยู่ในถุงลมอาจเกิดบางส่วนหรือกระจายไปทั่วปอด
ปอดอักเสบ/ติดเชื้อในชุมชม (community acquire pneumonia; cap)
ปอดอักเสบจากโรงพยาบาลโดยไม่นับหลังจากจำหน่าย เกิดจากการสูดดม ติดเชื้อจากเลือด นำ้เหลือง
ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia: VAP)
ปอดอักเสบหลังจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ48ชั่วโมง คือการสำลักเอาเชื้อที่อยู่บริเวณช่องปากและลำคอเข้าไป สูดหายใจเอาเชื้อเข้าไป
พยาธิสภาพ
ปอดมีการอักเสบติดเชื้อจากสิ่งกระตุ้น จะมี neutrophil เกิดการอักเสบ cytokine หลั่งออกมาบริเวณถุงลม ทำให้หายใจลำบาก มีไข้ มีฝ้าทึบและลุกลามไปทั่วปอดได้ มี4ระยะ
1.ระยะเลือดคั่ง congestion เกิดภายหลัง24ชม. ปอดจะมีสีแดงนิ่ม
2.ระยะปอดเเข็งสีแดง red hepaiztion เกิด2-3วัน เนื้อปอดมีสีแดงอิฐ แต่ผนังถุงลมยังไม่ถูกทำลาย มีเลือดในลุงลมปอดมาก
3.ระยะปอดแข็งเทา gray hepatizationพบวันที่ 4-5 กลีบปอดที่ติดเชื้อจะแข็ง มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเชื้อกระจายไปทั่วปอดจนทำให้เกิดหนอง
4.ระยะฟื้นตัว resolution เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรค เม็ดเลือดขาวสามารถทำลายแบคทีเรียในถุงลมปอด ต้านอักเสบก็จะหาย
สาเหตุและปัจจัยการเกิด
จากการติดเชื้อเเบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา
กลุ่มเสี่ยง
ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
ติดเชื้อไวรัส
มีปัญหาการกลืน
โรคเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง
คนมีภูมิตำ่
อาการและอาการแสดง
มีไข้สูง 40 องศา มีอาการหนาวสั่น ไอ มีเสมหะหายใจเร็วตื้น 30-50ครั้ง/นาที
ผู้ป่วยอาจมีจมูกบาน เป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยหายใจลำบาก บ่งชี้สภาพเนื้อปอด ที่เริ่มแข็งกว่าปกติ มีเสียงเวลาหายใจหลอดลม ความเจ็บปวดเฉียบพลัน เวลาหายใจลึกๆจะเจ็บ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ อาการและอาการแสดง เช่น ไอ มีไข้ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้า เสมหะข้น เขียวหนาวสั่น
การตรวจร่างกาย เคาะ คลำ ฟัง
การส่งตรวจ chest x-ray, CBC ABG การเจาะปอด
การรักษา
การรักษาโดยทั่วไป
ให้ร่างกายได้สารนำ้เพียงพอ
ให้อาหารน้อยๆแต่บ่อยครั้ง
ลดการคั่งค้างของเสมหะ โดยให้ดื่มนำ้มากๆหรือยาละลายเสมหะ กายภาพบำบัดทรวงอก
การรักษาตามอาการ
ให้ออกซิเจนในผู้ป่วยปอดอักเสบ
หากพบภาวะปอดหดเกร็ง โดยการพบเสียง sonorous rhonchi หรือ wheezing ให้ยาขยายหลอดลม
ยาขับเสมหะ ยาละลายเสมหะ
ยาปฏิชีวนะขึ้นกับชนิดของเชื้อ
การพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลมเพื่อลดอาการหอบเหนื่อย สังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
2.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
3.จัดท่านอน fowler’s position เพื่อให้กล้ามเน้ือหน้าท้องหย่อนตัว ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นเพิ่มพื้นที่ ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
4.ใช้หูฟังตรวจสอบเสียงการหายใจท่ีปอด เพื่อประเมินความผิดปกติจากมีการอุดกั้น ของทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากเสมหะอยู่ในหลอดลมปอดหรือถุงลมปอด
5.สังเกตอาการขาดออกซิเจนคือท่ีผิวหนังเล็บเยื่อบุช่องปากริมฝีปากว่าเขียวหรือไม่
6.วัดสัญญาณชีพและติดตามการเปลี่ยนแปลง
7.กระตุ้นให้ผู้ป่วยไออย่างถูกวิธี
ภาวะแทรกซ้อน
1.ปอดบวมนำ้หรือมีโลหิตคั่งในปอด
2.เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ทั้งชนิดมีนำ้และไม่มีนำ้ในโพรงเยื่อหุ้มปอด
3.มีหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด
4.มีการติดเชื้อของไต เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบเป็นหนอง การติดเชื้อในอวัยวะเหล่าน้ีเกิดจากมีการติดเชื้อในกระแสโลหิต ทาให้เกิดพิษของแบคทีเรียกระจายไปสู่อวัยวะ อื่นๆ
5.หูชั้นกลางอักเสบและโพรงอากาศอักเสบ
6.ช็อคจากการติดเชื้อ
7.ระบบไหลเวียนล้มเหลวร่วมกับหัวใจวายชนิดโลหิตคั่ง
8.เกิดการจับ กลุ่มของโลหิตอุดตันในหลอดโลหิต เกิดข้ึนได้ในกรณีท่ีปอดอักเสบอย่างรุนแรง
นางสาวภัชชา กฤษณะชัยยะ เลขที่46
รหัสนักศึกษา 62129301523