Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะกำเริบเฉียบพลันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Acute exacerbation [AE]),…
ภาวะกำเริบเฉียบพลันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
(Acute exacerbation [AE])
การที่ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น รุนแรงขึ้น จนต้องเปลี่ยนหรือเพิ่มการรักษาจากที่เคยได้รับประจำ อาการที่มากขึ้นได้แก่ อาการหอบเหนื่อย อาการไอมีเสมหะ ที่เสมหะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองและการเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากทำให้สมรรถภาพปอดเสื่อมเร็วมากขึ้น
พยาธิสรีรวิทยาของผู็ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลัน
สมรรถภาพของปอดมีการเสียหน้าที่อยู่เดิม หากมีการอักเสบเกิดขึ้นทั้งในปอดและทั่วร่างกายก็จะส่งเสริมให้เกิดภาวะติดเชื้อที่รุนแรงกว่าบุคคลปกติ โดยพบว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของ neutrophli (เม็ดเลือดขาวชนิดที่ตอบสนองต่อการอีกเสบเฉียบพลันหรือติดเชื้อในร่างกาย) รวมทั้ง eosinophil (เม็ดเลือดขาวชนิดตอบสนองต่อปฎิกิริยาการแพ้)ในเสมหะและผนัหลอดลม และมีการเพิ่มขึ้นของ cytoine,chemokine และ protease ทำให้มีการทำลายของ elastin ซึ่งอาจเป็นสาเหตุเร่งให้สมรรถภาพปอดเสื่อมเร็วมากขึ้น
การอักเสบของหลอดลม ทำให้หลอดลมหดตัว บวม และเสมหะเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ความต้านทานของหลอดลมมากขึ้นและหายใจออกลำบาก ทำให้อากาศค้างในปอดโดยเฉพาะเมื่อหายใจเร็วหรือขณะออกกำลังกาย อากาศที่ค้างในปอดจะทำให้เหนื่อยเพิ่มขึ้นและแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
อาการและอาการแสดง
อาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจมีเสียง Wheezing มีไข้
อาการไอมีเสมหะหรือเสมหะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียวคล้ายหนอง (purulent sputum)
ชีพจรอาจเต้นเร็ว มีอาการอ่อนเพลีย สับสน ซึม
ต้องมีการวินิจฉัยแยกโรค คือ โรคปอดอักเสบ (pneumonia) ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (oneumothorax) ภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงปอด (pilmonary embolism)
การประเมินความรุนแรงเพื่อเป็นแนวทางการรรักษา แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม
การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบของโรคในกลุ่มที่มีความรุนแรงมาก (Moderate - severe exacerbation)
1.การดูแลระบบทางเดินหายใจ (Respiratory support)
1.1.การให้ออกซิเจนแบบควบคุมปริมาณการให้ (Controlled Oxygen Therapy)
1.2.การใช้เครื่องช่วยหายใจ
การใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ noninvasive mechanical ventilator (NIV)
การใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ (Invasive Mechanical Ventilation) ในผู้ป่วยโรคปอดอุ้ดกั้นเรื้อรังที่ีมีภาวการณ์กำเริบของโรคที่รุนแรงควรหลีกเลี่ยงที่จะใส่ท่อหลอดลมคอและการใช้เครื่องหายใจ
2.การใช้ยา (Pharmacologic Treatment)
2.1.การให้ยาขยายหลอดลม (Bronchodilater Therapy)
2.2.การให้ยาต้านจุลชีพ (Antibiotics)
การรักษาผู้ป่วยที่มีการกำเริบของโรคในกลุ่มที่มีความรุนแรงน้อย (Mild - severe exacerbation)
ปัญหาทางการพยาบาลที่สำคัญ
1.เสี่ยงต่อ/เกิดภาวะพร่องออกซเจนจากพยาธสภาพของโรค/การตีบแคบของหลอดลม/เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ
2.เสี่ยงต่อเกิดภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
3.ความทนในการปฎิบัติกิจวัตรประจำวันลดลงเนื่องจากอาการหายใจลำบาก/ภาวะพร่องออกซิเจน
4.ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล/การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ/เครียด/ภาวะซึมเศร้าเกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่
นางสาวภูริชญา นักสอน เลขที่47 รหัส62129301540