Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพ - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552
ข้อ ๑ ธรรมนูญนี้เรียกว่า “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒ ธรรมนูญนี้ให้มีผลตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”
ตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบายคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมท่อวันที่ 10 มิถุนายน 2552วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับทราบเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 และ 10 กันยายน 2552
ข้อ ๓ในธรรมนูญ
“ปัญญา” หมายความว่า ความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี
ความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจ องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ องค์การมหาชนและหน่วยงานอื่นของรัฐ
“สุขภาพ” หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิตทางปัญญา และทางสังคม
เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
“คุณธรรม” หมายความว่า คุณงามความดีที่วิญญูชนพึงสำนึกในจิตใจของตน ในเรื่องความจริง
ความดีความงาม และใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
“จริยธรรม” หมายความว่า แนวทางแห่งความประพฤติที่ยึดหลักคุณธรรม
“มนุษยธรรม” หมายความว่า ธรรมของคน ธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกัน
มีเมตตากรุณา
“เศรษฐกิจพอเพียง” หมายความว่า แนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
“ธรรมาภิบาล” หมายความว่า คุณลักษณะของการบริหารหรือการปกครองเพื่อให้เกิดประโยชน์
สุขแก่ประชาชน
หมวด ๑
ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
ข้้อ ๗ ระบบสุขภาพจะต้องส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และต้องให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม และความเท่าเทียมกันในสังคม
ข้อ ๘ ระบบสุขภาพจะต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา
และทางสังคม เชื่อมโยงกันอย่างสมดุล
ข้อ ๖ ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคงของประเทศัฐและทุกภาคส่วนในสังคมพึงให้ความสำคัญอย่างสูงแก่การพัฒนาระบบสุขภาพ
ข้อ ๙ ระบบสุขภาพจะต้องให้ความสำคัญสูงกับการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนและการพึ่งตนเองได้ของประชาชน
ข้อ ๕ ระบบสุขภาพ เป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีระบบการบริการสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ
ข้อ ๑๐ ทุกภาคส่วนมีหน้าที่ร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจากแนวทางบริโภคนิยมไปสู่แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพทางจิต ปัญญาและสังคม
ข้อ ๔ สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
หมวด ๒
คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
ข้อ ๑๓ การจัดการระบบสุขภาพจะต้องยึดหลักธรรมาภิบาล
ข้อ ๑๔ ระบบสุขภาพจะต้องเกื้อหนุนส่งเสริม และเอื้ออำนวยให้บรรลุเป้าหมายแห่งสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพทุกประการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๒ ระบบสุขภาพจะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส
ข้อ ๑๕ กรอบเวลาเป้าหมายของธรรมนูญฉบับนี้ เป็นภาพรวมของระบบสุขภาพที่มองยาวไปถึง ปีพ.ศ.๒๕๖๓
ข้อ ๑๑ ระบบสุขภาพจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม ธรรมาภิบาลความรู้และปัญญา
หมวด ๗ การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
หมวด ๘ การคุ้มครองผู้บริโภค
หมวด ๖ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
หมวด ๙ การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
หมวด ๕ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
หมวด ๑๐ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
หมวด ๔ การสร้างเสริมสุขภาพ
หมวด ๑๑ การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
หมวด ๓ การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
หมวด ๑๒ การเงินการคลังด้านสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2559
ตามที่มาตรา ๒๕ (๑) มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และการดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ
ได้จัดทําเป็นธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๙ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ และได้รายงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบแล้ว เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๙
สถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อระบบสุขภาพไทยใน ๑๐ ปีข้างหน้า ได้อย่างน้อย ๗ ด้านสําคัญ ได้แก่
๒. สถานการณทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ําหรือช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในเรื่องการกระจายรายได้ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาในระบบสุขภาพนั้น การเข้าถึงบริการสุขภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และกลุ่มคนในชุมชนแออัดยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
๓. สถานการณ์ทางประชากรและสังคม ในอนาคตสัดส่วนประชากรสูงอายุจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อัตราส่วนการพึ่งพิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประชากรวัยทํางานจะต้องแบกรับภาระในการดูแลคนสูงอายุมากขึ้น
๑. สถานการณ์ทางการเมืองการปกครองความขัดแย้งทางการเมืองและการคอร์รัปชั่นส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศ กล่าวคือ ทําให้การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ มีความล่าช้า สูญเสียโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทําให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลง เกิดความเครียด วิตกกังวลและหวาดระแวงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพของคนไทย
๔. สถานการณ์ทางเกษตรและอาหาร ในขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งในประเทศยังคงขาดความมั่นคงทางอาหาร คนเมืองต้องพึ่งพาอาหารจากการซื้อหา เด็กไทยบางส่วนมีปัญหาทุพโภชนาการ ขณะเดียวกันปัญหาโรคอ้วนและน้ําหนักเกิน อันมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อหลายชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
๖.สถานการณ์ด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีัจจุบันได้มีการนําเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการรักษาพยาบาลและป้องกันโรคมากขึ้น แต่เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกลไกอื่นที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมดูแลการใช้เทคโนโลยี ด้านสุขภาพที่เหมาะสม จึงส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
๗.สถานการณ์ด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน อุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อและปัญหาด้านสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นไปตามพฤติกรรมและวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบสุขภาพเริ่มให้ความสําคัญกับปัจจัยสังคมที่กําหนดสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อุบัติเหตุทางถนน หรือความสูญเสีย
จากภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ
๕.สถานการณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโลกร้อนจะรุนแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรงและเกิดความสูญเสียมากขึ้น
นิยามศัพท์
สุขภาพ หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม
เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
สุขภาวะ หมายความว่า ภาวะที่บุคคลมีรางกายแข็งแรง มีอายุยืนยาว มีจิตใจที่ดี มีความเมตตา
กรุณา ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ดําเนินชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ การมีสุขภาวะเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่าง
เป็นองค์รวม
ระบบสุขภาพ หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
หลักประกันสุขภาพ หมายความว่า การดําเนินการให้บุคคลมีความมั่นคงด้านสุขภาพ คือ มีกําลังกาย กําลังใจ กําลังสติปัญญา และกําลังสามัคคีอย่างเพียงพอ
สิทธิด้านสุขภาพ หมายความว่า สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพที่บุคคลพึ่งได้รับด้วยมาตรฐานที่สูงที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางเศรษฐกิจและสังคมโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
ต่อบุคคลและไม่มีการแบ่งแยกไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ
บุคคล หมายความว่า ทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ไม่จํากัดเฉพาะแต่คนไทย โดยรวมถึง
ชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยด้วย เช่น แรงงานข้ามชาตินักท่องเที่ยว
ชุมชน หมายความว่า กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน และมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเป็น
ปกติและต่อเนื่อง โดยเหตุที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“สุขภาพ” หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
“ปัญญา” หมายความว่า ความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี ความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ
“ระบบสุขภาพ” หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
“บริการสาธารณสุข” หมายความว่า การสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน
“บุคลากรด้านสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดรองรับ
1 more item...
“คณะกรรมการสรรหา” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
“คณะกรรมการบริหาร” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
“กรรมการบริหาร” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการบริหาร
1 more item...
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด
(๒) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการ แล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้
(๑) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจำเพาะ
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ บุคคลมีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้า และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดำเนินการได้ ความยินยอมดังกล่าว ผู้รับบริการจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้
มาตรา ๑๐ เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
มาตรา ๑๑ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาต
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐”