Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของหญิงตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์
เต้านม
ขนาดใหญ่ขึ้นและลานนมมีสีเข้มขึ้น
Montgomery tubercles ใหญ่ขึ้น
มีการหลั่งสารหล่อลื่นเพื่อช่วยป้องกันหัวนมแตก
เต้านมจะมีเลือดไหลเวียนเพิ่มขึ้น
ไตรมาสที่ 1
ท่อน้ำนมจะเจริญขึ้นด้วยอิทธิพลของ estrogen
ไตรมาสที่ 2
lobules เจริญพร้อมการสร้าง alveolus
ไตรมาสที่ 3
epithelial secretory cell ของ alveoli เริ่มสร้างน้ำนม เต้านมขยายขนาดใหญ่ขึ้น
มดลูก
ระยะแรก มดลูกเพิ่มขนาดจาก estrogen และ progesterone ภายหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพิ่มขนาดการเจริญเติบโตของทารกและรก และปริมาณน้ำคร่ำที่เพิ่มขึ้น
ปากมดลูก
มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณปากมดลูกมากขึ้น อันเป็นผลมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
ปากมดลูกจะอ่อนนุ่ม (Goodell’s sign)
สีคล้ำเกือบม่วง (Chadwick’s sign)
รังไข่
ในระยะตั้งครรภ์จะไม่มีการตกไข่ เนื่องการปฏิกิริยาสะท้อนกลับของปริมาณฮอร์โมน estrogen และ progesterone
ช่องคลอดและฝีเย็บ
การกระตุ้นของ ฮอร์โมน estriol และมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น
เยื่อบุช่องคลอดมีจำนวนเพิ่มขึ้น (hyperplasia) มีขนาดใหญ่ขึ้น (hypertrophy)
ทำให้มีสีคล้ำม่วงแดง เรียกว่า Chadwick’s sign ผนังช่องคลอดมีสารคัดหลั่งมากขึ้น สารคัดหลั่งจะมีสีขาว มีความเป็นกรด pH 3.5-6.0
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด
1 ปริมาณเลือด
ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนสารอาหารที่บริเวณรกได้ดี
การเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือด เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณพลาสมาและเม็ดเลือดแดง
ดังนั้น สตรีมีครรภ์จะมี Hb และHct ต่ำลงเล็กน้อย เรียกว่าเป็นภาวะโลหิตจางของการตั้งครรภ์
การสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
fibrinogen เพิ่มขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันของลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (venous thrombosis)
โปรตีนในเลือดจะต่ำลง จากความต้องของทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้สารน้ำซึมออกไปอยู่นอกเซลล์ เท้าและหน้าแข้งจึงอาจจะบวมกดบุ๋มได้
2 หัวใจ
มดลูกที่มีขนาดโตดันกระบังลมให้ยกขึ้น ทำให้หัวใจถูกดันไปด้านซ้ายและสูงกว่าปกติ
ขนาดของหัวใจใหญ่ขึ้น ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้ CO เพิ่มขึ้น
ปริมาณเลือดที่เปลี่ยนแปลงทำให้ได้ยินเสียงหัวใจเปลี่ยนแปลงไป เป็นภาวะปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15 ครั้ง/นาที
เสียงลิ้นหัวใจที่ควรสงสัยว่าสตรีมีครรภ์เป็นโรคหัวใจ ได้แก่ diastolic murmurs, pre-systolic หรือ continuous murmurs และ systolic murmurs ที่ฟังได้ตั้งแต่เกรด 3/6 ขึ้นไป
3 ความดันโลหิต
ความดันโลหิตลดลง 5-10 มิลลิเมตรปรอท
ไตรมาสที่2
เนื่องจาก cardiac output เพิ่มขึ้นและแรงต้านทานของหลอดเลือดลดลง
ความดันโลหิตจะกลับสู่ค่าปกติใน
ไตรมาสที่3
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินหายใจ
มดลูกดันกะบังลมเลื่อนสูงขึ้นประมาณ 4 เซนติเมตร
ฮอร์โมน estrogen ทำให้เส้นเลือดฝอยในทางเดินหายใจมีเลือดคั่ง (vascular congestion)
ปริมาตรอากาศที่แลกเปลี่ยนต่อหนึ่งนาทีเพิ่มขึ้น และปริมาตรอากาศที่หายใจออกต่อหนึ่งนาทีเพิ่มขึ้น อิทธิพลของ progesterone ทำให้ศูนย์หายใจมีความไวต่อคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้มีภาวะหายใจลึกและยาว (hyperventilation)
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร
1 ช่องปากและเหงือก
estrogen ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณช่องปากและเหงือกมากขึ้น จึงทำให้สตรีมีครรภ์มีเหงือกบวมนุ่ม เหงือกอักเสบ (gingivitis) ได้ง่าย
ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายมากขึ้นและไหลมากกว่าปกติ เรียกว่า Ptyalism
2 หลอดอาหาร กระเพาะและลำไส้
การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดน้อยลง เนื่องจากแรงดันจากมดลูก และ progesterone ที่เพิ่มขึ้น
กระเพาะอาหารจะหลั่งกรดและ pepsin ลดลง จากอิทธิพลของ estrogen
สตรีตั้งครรภ์อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน (nausea and vomiting) จากฮอร์โมน estrogen และ HCG รวมทั้งอิทธิพลทางด้านจิตใจ
3 ถุงน้ำดีและตับ
progesterone ทำให้ถุงน้ำดีเคลื่อนไหวช้าลง โป่งตึง และมีน้ำดีสะสมคั่งค้าง
estrogen ส่งผลให้น้ำดีทำหน้าที่ในการละลาย cholesterol ลดลง เกิดภาวะ hypercholesterolemia จะตกผลึกกลายเป็นนิ่วได้ง่ายใน
ไตรมาสที่2และ3
การที่มีน้ำดีคั่งค้างยังทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนัง (pruritus)
ตับจะถูกกดเบียดจากมดลูก และ estrogen ทำให้ plasma albumin ลดลงและ serum cholinesterase ทำงานลดลง