Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโ…
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตกขาวผิดปกติ
การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทาน
การรับประทานยาคุมกําเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก (high dose)
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์
การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ําตาลในเลือดสูง
การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ําตาลมาก ทําให้ เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
อาการและอาการแสดง
ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ติดเชื้อราจะไม่มีอาการ
มีอาการคันและระคายเคืองมากในช่องคลอดและปากช่องคลอด ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่อง คลอดอักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ ตกขาวมีลักษณะสีขาวขุ่น
อาจมีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ (dyspareunia)
มีอาการปัสสาวะลําบาก และแสบขัดตอนสุด (external dysuria)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ ทําให้อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นมากขึ้นเป็น 2 เท่า มีความระคาย เคือง คันช่องคลอดมากขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอดทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการ ไม่มีผลเสียต่อการ ตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
ทารกที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่มีการติดเชื้อราในช่องคลอด จะเป็นเชื้อราในช่องปาก (oral thrush) ได้มากกว่าปกติ 2-35 เท่า
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเองให้มีอาการสุขสบาย ขึ้นจากอาการคันในช่องคลอด และปากช่องคลอด
แนะนําการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง โดยการเหน็บยาในช่องคลอดอย่างมี ประสิทธิภาพ และรักษาติดต่อกันจนยาหมด หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือยังมีอาการหลงเหลืออยู่ ให้ไปพบ แพทย์ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทําความสะอาดชุดชั้นในต้องซัก ให้สะอาดและตากแดดให้แห้งเสมอ ชุดชั้นในควรเป็นผ้าฝ้ายไม่ควรใช้ไนลอนเพราะจะทําให้อับชื้น
หากอาการติดเชื้อเป็นซ้ํา ๆ หรือสามีมีอาการแสดง ควรพาสามีให้มารักษาพร้อมกัน
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกต
ระยะหลังคลอด
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนลดลง อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดจะ ดีขึ้น
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งเสมอ ชุดชั้นในต้อง สะอาดและแห้ง ไม่อับชื้น
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อการดูแลทารกต่อไป
1.2 การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (Vaginal trichomoniasis)
อาการและอาการแสดง
ผู้ติดเชื้อร้อยละ 10 ไม่แสดงอาการ ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 มักจะพบโรคคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่น ร่วมด้วย
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง (foamy discharge) มีกลิ่น เหม็น
มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง และอาจทําให้ปาก มดลูกอักเสบ มีจุดเลือดออกเป็นหย่อม ๆ
อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด การเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกําหนด และทารกแรกเกิดมีน้ําหนักตัวน้อย
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คําแนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนําการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ําเสมอ
แนะนําให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนําการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนําการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ และซักชุดชั้นในให้สะอาดตากแดดให้แห้ง
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกต
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนําให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยาให้หาย ในช่วงที่มีอาการ
อาจต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ และรักษาให้หาย รวมถึงแนะนําการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการใช้ ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis)
อาการและอาการแสดง
มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด
ถ่ายปัสสาวะลําบาก แสบขัด เจ็บขณะ ร่วมเพศ
ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell) โดยเฉพาะหลังการมีเพศสัมพันธ์แล้ว
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ถ้าไม่ได้รักษา อาจทําให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้เชื้อแบคทีเรียยังจะคืบคลานเข้าสู่ โพรงมดลูก ท่อนําไข่ ทําให้มีการติดเชื้อในมดลูก (chorioamnionitis) ปีกมดลูกอักเสบ (salpingitis) และ เกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease: PID) ได้
อาจทําให้เกิดการแท้งติดเชื้อ (septic abortion) ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด และเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกําหนด
มารดาหลังคลอดอาจมีไข้ ปวดท้องมากและมีอาการแสดงของเยื่อบุมดลูกอักเสบ (endometritis) ทั้งหลังการคลอดปกติและหลังการผ่าตัดคลอด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกําหนด ซึ่งอาจตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียใน หลอดลมทําให้มีภาวะหายใจลําบาก มีแบคทีเรียในเลือด ซึ่งต้องรีบรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คําแนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และเน้นย้ำให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ให้อับชื้นโดยใช้น้ําธรรมดา
แนะนําให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
แนะนําการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ท้องแข็งบ่อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ โดยให้การพยาบาลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
เน้นการทําความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ซิฟิลิส (Syphilis)
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)
หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน หรือประมาณ 3 สัปดาห์ จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หรือในช่องคลอดและปากมดลูก ต่อมน้ําเหลืองบริเวณขาหนีบโตแต่กดไม่เจ็บ
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)
ขณะที่แผลกําลังจะหาย หรือหลังจากแผลหายจะพบผื่น กระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ โดยผื่นที่พบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะยกนูน ร่วมกับมีอาการไข้ ต่อมน้ําเหลืองโต เจ็บคอ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ปวดศีรษะ
ระยะแฝง (latent syphilis)
ระยะนี้จะไม่มีอาการใด ๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยังดําเนินอยู่และ สามารถแพร่กระจายเชื้อได้รวมถึงอาจมีการกําเริบของโรคได้ซึ่งระยะแฝงของซิฟิลิสจะอยู่ได้นานเปน็ปี หากยังไม่ได้รับการรักษาจะพัฒนาไปเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของ
โรคซิฟิลิส (tertiary syphilis)
ระยะนี้เชื้อจะเข้าไปทําลาย ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทําให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency ถ้าเชื้อเข้าสู่ระบบ ประสาทจะเกิดผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด เกิดรอยโรคที่อวัยวะ ภายในและกระดูกที่มีลักษณะเฉพาะเรียกว่า gumma lesion
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทําให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกําหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส (neonatal syphilis)
ทารก พิการแต่กําเนิดโดยอาจพบความพิการของตับม้ามโต ทารกตัวบวมน้ํา ตัวเหลือง
เยื่อบุส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบ ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กําเนิด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระยะที่เป็นแผลสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre หรือ ผื่น มาตรวจด้วยกล้อง dark-field microscope
หากไม่มีแผลหรือผื่น การวินิจฉัยทําโดยการตรวจเลือด
การตรวจหา antibody ที่ไม่จําเพาะต่อเชื้อ (nontreponemal test) ได้แก่การตรวจ
Rapid plasma Reagin (RPR), Venereal Disease Research Laboratory (VDRL) test แ ล ะ the toluidine red unheated serum test หาก nontreponemal test ให้ผลบวก reactive จะยังไม่ สามารถระบุได้ว่าเป็นซิฟิลิส ต้องตรวจยืนยันด้วย treponemal test เสมอ
การตรวจหา antibody เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส ที่จําเพาะต่อเชื้อ Treponema pallium โดยตรง (treponema test) ได้แก่ Chemiluminessence microparticle immunoassay (CMIA), enzyme immunoassay (EIA), Immuno Chromatographic Strip (ICS), Treponema Pallidum Hemagglutination Assay (TPHA) แ ล ะ Treponema pallidum particle agglutination assay (TPPA) การแปลผล หาก treponema test ให้ผลบวก reactive แปลผลว่าเป็นซิฟิลิส
การคัดกรองส่วนใหญ่นิยมใช้การตรวจด้วยวิธี VDRL เนื่องจากเป็นวิธีที่ให้ผลเร็ว ใช้คัดกรอง ในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก หากผล reactive (titer มากกว่า 1:8) จะต้องตรวจยืนยันด้วยการ ตรวจ treponema test โดยวิธี TPHA หรือ TPPA
แนวทางการรักษา
การรักษาเป็นแนวทางเดียวกับสตรีที่ติดเชื้อซิฟิลิสขณะไม่ตั้งครรภ์ โดยยึดหลักการรักษาให้หาย ครบถ้วน และต้องให้สามีมารับการตรวจและรักษาพร้อมกัน
ให้ยา Penicillin G ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ และป้องกันการ ติดเชื้อของทารก
การรักษาในระยะ primary, secondary และ early latent syphilis รักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
การรักษาในระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน และภายหลังการรักษาควรตรวจ VDRL title
หนองใน (Gonorrhea)
อาการและอาการแสดง
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอด
ทําให้ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก
อาจพบอาการกด เจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน
(bartholin’s gland)
หากมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบ อาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่มีอาการ มีบุตรยาก กรณีที่มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทําให้ถุงน้ําคร่ำอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดที่คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ช่องคลอด หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกที่ตาของทารก ทําให้เกิดตาอักเสบ (gonococcalophalmia neonatorum) และอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้
แนวทางการรักษา
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ(VDRL)
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้า กล้ามเนื้อ ทั้งนี้ควรระวังเรื่องของการเพิ่มของ blood level ระหว่างที่ได้รับยาเนื่องจากจะมีผลต่อการ ทํางานของหัวใจของสตรีขณะตั้งครรภ์
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกัน การติดเชื้อที่ตา
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะ ceftriaxone ตามแผนการรักษาของ กุมารแพทย์
การรักษาในสตรีตั้งครรภ์ควรคํานึงว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ซิฟิลิส HIV เป็นต้น หากมีควรรักษาพร้อมกัน รวมถึงต้องตรวจและรักษาคู่นอนด้วยเช่นกัน
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
อาการและอาการแสดง
อาการของการติดเชื้อปฐมภูมิมักเกิด 3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ โดยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค
ตุ่มน้ําใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะ ตําสะเก็ด บางรายอาจมีอการคล้ายหวัด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อครั้งแรกขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ส่วนการติดเชื้อซ้ําขณะตั้งครภร์มีผลกระทบค่อนข้างน้อย
ผลกระทบต่อทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกําหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทําให้เกิดความพิการแต่กําเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตไ
แนวทางการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษา herpes simplex ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบ ประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อซ้ําเติม ล้างแผลด้วย NSS ในรายที่เป็นการติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศครั้งแรกและมีอาการรุนแรง เป็นต้น
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน 5-7 วัน แต่หากมีอาการของระบบอื่นที่ รุนแรงร่วมด้วยอาจให้ Acyclovir 5 mg/kg ฉีดเข้าหลอดเลือดดํา ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
การรักษาในระยะคลอด
3.1 กรณีที่เคยติดเชื้อเริมมาก่อน แต่ขณะคลอดตรวจไม่พบรอยโรคหรือไม่มีอาการของการติดเชื้อ ให้คลอดทางช่องคลอด และเฝ้าระวังทารก เพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
3.2 กรณีที่พบรอยโรคขณะคลอดไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรกหรือติดเชื้อซ้ำให้คลอดโดยการผ่าตัดคลอด และเฝ้าระวังทารกเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่นปากช่องคลอดหรือในช่องคลอด เป็นต้น
การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
หากเกิดรอยโรคใหญ่อาจขัดขวางช่องทางคลอด หรือทําให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด และ มารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได
ผลต่อทารก
ทารกอาจติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis ทําให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เสียงเปลี่ยน
แนวทางการรักษา
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery หรือ electrocoagulation with curettage
แนะนําการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ระยะคลอดหากหูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่ อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการคลอดติดขัด
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ติดเชื้อ HIV จนกระทั่งร่างกายเริ่มสร้าง
antibody กินเวลาประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ จากนั้นจะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ําเหลืองโต
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ระยะนี้ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่หากตรวจ เลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อ HIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ระยะติดเชื้อโดยไม่มี อาการจะนาน 5-10 ปี บางรายอาจนานมากกว่า 15 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ อาจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ มีอุณหภูมิร่างกายสูง มากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน ท้องเดินเรื้อรัง หรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง น้ําหนักลดเกิน 10% ของน้ําหนักตัว
ระยะป่วยเป็นเอดส์ จะมีอาการดังต่อไปนี้ คือ ไข้ ผอม ต่อมน้ําเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้น หรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อม เต็มที่ ทําให้เชื้อโรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ : สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อทารก : มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกําหนด ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยให้คําปรึกษาก่อนและหลังการตรวจ เลือด โดยสตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV จํานวน 2 ครั้ง
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ความแตกต่างระหว่างการ ติดเชื้อ HIV กับการเป็นเอดส์ โอกาสในการแพร่กระจายเชื้อจากมารดาสู่ทารก การให้ยาต้านไวรัสเพื่อลด การแพร่กระจายเชื้อจากมารดาสู่ทารก และการป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส
แนะนําให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ รวมทั้งประเมินอาการของโรคเอดส
แนะนําการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์ ดังนี้
-รับประทานยาตามแผนการรักษา
-รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธ์
-หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทําให้ร่างกายอ่อนแอ เช่น การอดนอน การทํางานหนัก เป็นต้น
-แนะนําเกี่ยวกับความสําคัญของการมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ รวมถึง
อาการผิดปกติที่ต้องมาตรวจก่อนวันนัด
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ พร้อมทั้ง อธิบายให้ผู้คลอดที่ติดเชื้อ HIV ทราบถึงวิธีการแพร่กระจายเชื้อ และการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการ แพร่กระจายเชื้อ
ให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ได้แก่ ประเมินสัญญาณชีพ และเสียงหัวใจทารกอย่าง ใกล้ชิด ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด สังเกตความผิดปกติต่าง ๆ เตรียมตรวจ และติดตามการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หากปริมาณ viral load ≤ 50 copies/mL แพทย์อาจพิจารณาเจาะถุงน้ําคร่ำเพื่อชักนําการ คลอด ก่อนเจาะ ขณะเจาะ และหลังเจาะถุงน้ําคร่ำให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดที่ไม่มีการติดเชื้อ หรือกรณีที่ถุงน้ําคร่ำแตกเองขณะรอคลอด ฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารก และรายงานแพทย์ทันที
ทําคลอดด้วยวิธีที่ทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คลอดกและทารกน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้ สูติศาสตร์หัตถการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จากมารดาไปสู่ทารก
ระยะหลังคลอด
ดูแลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ให้คําแนะนําแก่มารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
หลีกเลี่ยงเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ไปสู่ทารก
แนะนําให้ใส่เสื้อชั้นในที่คับเพื่อยับยั้งการสร้างและหลั่งน้ํานม
แนะนําวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น การกําจัดสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี
แนะนําการวางแผนครอบครัว โดยสามารถใช้วิธีคุมกําเนิดได้ทุกวิธีโดยต้องใช้ร่วมกับการ
ใช้ถุงยางอนามัยเสมอ (dual protection)
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติโดยละเอียด ตรวจ ร่างกาย หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อควรส่งพบแพทย์
แนะนําให้นําสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และหากมีการติดเชื้อแนะนําให้รักษาพร้อมกัน
อธิบายให้เข้าใจถึงการดําเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์ แผนการรักษาพยาบาล การป้องกันสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
2.หลีกเลยี่งการทําหัตถการทางช่องคลอดเช่นการตรวจทางช่องคลอดการเจาะถุงน้ําคร่ำหาก หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทําอย่างระมัดระวังและไม่ทําให้ถุงน้ําคร่ําแตก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ ทารก กรณีที่ถุงน้ําคร่ำแตกนานควรรายงานแพทย์
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผู้คลอดที่มีการ ติดเชื้อหนองใน ทารกแรกเกิดต้องได้รับการป้ายตาด้วย 1% Tetracyclin ointment หรือ 0.5% Erythromycin ointment หรือ หยอดตาทารกแรกเกิดด้วย 1% Silver nitrate (1%AgNO3)
หากไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสําหรับการผ่าตัดนําทารกออก ทางหน้าท้องทั้งทางร่างกาย จิตใจ และกฎหมาย
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการ แพร่กระจายเชื้อเช่นเดียวกับระยะคลอด
แนะนํามารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว การ กําจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิดได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ชัก หรือ มีแผล herpes ตามร่างกาย ซึ่งหากทารกสัมผัสกับเชื้อเริมควรแยกทารกออกจากทารกรายอื่น
แนะนําการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง และหากไม่มีแผลบริเวณ หัวนมหรือเต้านมสามารถให้นมมารดาได้
ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา